introduction: The Caste problem in the Tripitaka
๑.บทนำความเป็นมาและความสำคัญของวรรณะในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ
โดยทั่วไป ชาวพุทธทั่วโลกจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองศักดิ์สิทธิทั้ง ๔ ในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าในการช่วยให้มนุษยพ้นจากความทุกข์ ที่ดวงวิญญาณมนุษย์ต้องมาเกิดใหม่ในโลกหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระปัญญาธิคุณอันประเสริฐ เพราะทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ วิชาที่สถาบันวิศวามิตร เมื่อพระองค์ทรงผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงค้นพบหลักปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เมื่อพระองค์ทรงปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้ความจริงขั้นปรมัตถ์เรียกว่าอภิญญา๖ เมื่อความรู้ทางโลกที่มนุษย์ศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วโลก ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ให้มองเห็นความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ก็ทำให้ผู้คนติดอยู่ในความมืดมนของชีวิต และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ การมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ทรงยกย่องเมืองสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ได้พัฒนาศักยภาพในชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุธรรมคือความจริงขั้นปรมัติหรือภาวะแห่งพุทธะเช่นพระองค์ ในระหว่างการเดินทางไปที่เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่ง จะมีการเทศนาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนไทยได้ฟังและเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ดีขึ้น
อีกประเด็นหนึ่งที่ชาวพุทธไทยให้ความสนใจ คือเรื่อง "วรรณะ" ในสาธารณรัฐอินเดียชาวพุทธไทย มักตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเราไม่ได้ศึกษาเรื่อง"วรรณะ" อย่างจริงจัง ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา แม้ว่าการแบ่งวรรณะจะมีบทบาทสำคัญในการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา เพื่อปฏิรูปสังคมในยุคอินเดียโบราณ แต่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทยแทบจะไม่มีการกล่าวถึงเรื่องวรรณะในตำราเลย นั่นอาจเป็นเพราะนักปรัชญาชาวพุทธส่วนใหญ่เชื่อว่า"วรรณะ" ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของพุทธศาสนาในอนุทวีปอินเดีย ดังนั้น ชาวไทยพุทธจึงสนใจศึกษาพระพุทธศาสนา ในการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อหลีกหนีจากวัฏจักรของการเกิดขึ้นและการตายในวัฏสังสารให้ได้เสียก่อน

๒.ความเป็นมาของวรรณะ วรรณะในอินเดียโบราณเป็นระบบแบ่งชั้นทางสังคม ที่ซับซ้อน และมีอิทธิพลอย่างมากต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอนุทวีปอินเดียโบราณ ระบบวรรณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลัน แต่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นเวลานาน โดยมีรากฐานมาจากหลายปัจจัย ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและศาสนาเป็นต้น
แม้สาเหตุการกำเนิดของวรรณะนั้น ยังคงเป็นถกเถียงกันอยู่ แต่ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมาก ที่สุดคือการแบ่งชั้นทางสังคม ที่สะท้อนถึงการแบ่งงานในสังคมยุคเริ่มแรก โดยแบ่งงานในสังคมยุคเริ่มแรก โดยแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะหลักได้แก่
๒.๑ วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุดประกอบด้วยนักบวชและปุโรหิต มีหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและการศึกษา ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ และปัญญาสูงสุด
๒.๒วรรณะกษัตริย์ เป็นวรรณะของผู้ปกครองและนักรบ มีหน้าที่ปกป้องประเทศและดูแลประชาชน มีความกล้าหาญ และความสามารถในการปกครอง
๒.๓ วรรณะไวศยะ เป็นวรรณะของพ่อค้าและเษตรกร มีหน้าที่ในการผลิต และค้าขาย มีความขยันหมั่นเพียรและความสามารถในการทำมาหากิน
๒.๔ วรรณะศูทร เป็นวรรณะของผู้ใช้แรงงาน มีหน้าที่ในการทำงานต่าง ๆ เช่นการก่อสร้าง การเกษตรและการบริหาร มักถูกมองว่าเป็นวรรณะต่ำสุด นอกจากเหนือจาก ๔วรรณะหลักแล้ว ยังมีลุ่มคนที่อยู่ต่ำกว่าวรรณะศูทร เรียกว่า "ดาลิด (Dalit) หรือสัมผัสไม่ได้ กลุ่มนี้ถูกกิดกันทางสังคมแลละถูกมองว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและศาสนา เป็นต้น
๓.ความสำคัญของวรรณะในสังคมอนุทวีปอินเดีย
ในยุคอินเดียโบราณระบบวรระมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำของคนในสัังคมอนุทวีป กำหนดสถานะทางสังคมสิทธิและหน้าที่ของแต่ละบุคคล การแต่งงาน การประกอบอาชีพแและารเข้าสังคมล้วนถูกจำกัดด้วยระบบวรรณะ การแต่งงานระหว่างวรรณะที่แตกต่งกันเป็นสิ่งไม่พึ่งประสงค์ และการเปลี่ยนแปลงวรรณะนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ระบบวรรณะยังมีบทบาทสำคัญในศาสนาฮินดูโดยพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ มักถูกจำกัดไว้เฉพาะวรรณะพราหมณ์และวรรณะอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อห้ามต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันระบบวรรณะในอินเดียได้ลดบทบาทสำคัญลงไปมาก แม้ว่ายังคงมีการแบ่งแยกทางสังคมอยู่บ้าง แต่สาธารณรัฐอินเดียไม่ได้บัญญัติเรื่องวรรณะไว้ในรัฐธรรมฉบับปัจจุบันแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าระบบวรรณะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย และรัฐบาลอินเดียได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของพวกดาลิดและต่อต้านการเลือกปฏิบัติทางวรรณะ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ก็มีส่วนช่วยลดความสำคัญของระบบวรรณะลง แต่ร่องรอยของวรรณะยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ในสังคมอินเดียจนปัจจุบัน โดยสรุป ระบบวรรณะในอินเดียโบราณเป็นระบบแบ่งชั้นทางสังคมที่ซับซ้อนและมีอิทธิพลอย่างมากต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอนุทวีป แม้ว่าในปัจจุบันระบบนี้จะลดความสำคัญลงไปมาก แต่ก็ยังส่งอิทธิพลต่อสังคมอินเดียในระดับหนึ่ง การทำความเข้าใจระบบวรรณะจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอินเดียอย่างลึกซึ้ง
เมื่อชาวอารยันสามารถก่อตั้งชุมชนทางการเมืองของตนได้ เช่น แคว้นโกลิยะ และแคว้นสักกะรวมทั้งแคว้นอื่นๆอีก ๒๐ แคว้น เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนในอนุทวีปอินเดียซึ่งเดิมเป็นดินแดนของชาวมิลักขะ แม้ว่าชาวอารยันจะมีอำนาจอธิปไตยก็ตาม ชาวอารยันได้สร้างระบบวรรณะขึ้นมา โดยบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวดราวิเดียนในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การศึกษา การมีส่วนร่วมทางเมือง เป็นต้น เมื่อคำสอนของพราหมณ์เกี่ยวกับการบูชาเทพเจ้า(God)และเทวดา(Deva) เป็นผลให้พราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะมีรายได้มหาศาลจากการบูชา และสวดพระเวทเมื่อพราหมณ์ทั้งสองนิกายมีรายได้มหาศาลจากการบูชา ทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย เนื่องจากความโลภของพราหมณ์อารยันที่ต้องการผูกขาดการบูชา พวกเขาจึงพยายามหาวิธีจำกัดสิทธิ และหน้าที่ของพราหมณ์มิลักขะในการบูชา ต่อมาเมื่อพวกพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต มีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่มหาราชาแห่งแคว้นสักกะในเรื่องกฎหมาย ประเพณี และขนบธรรมเนียม เป็นต้น เมื่อพวกเขาก็มีอิทธิพลทางการเมืองและเห็นว่า เมื่อพวกพราหมณ์มิลักขะได้รับความศรัทธาจากประชาชน ในอนาคต มหาราชาแห่งแคว้นสักกะ พระองค์อาจทรงแต่งตั้งพราหมณ์มิลักขะเป็นปุโรหิตแทนพราหมณ์อารยันก็ได้ ก็คงยากที่มหาราชาจะปกครองแคว้นสักกะโดยสงบสุขตามหลักศีลธรรมและกฎหมาย เพื่อให้ประเทศมีเสถียรภาพ และรักษารายได้จากการบูชาเทพเจ้า

พราหมณ์อารยันได้เสนอคำสอนของพราหมณ์อารยันต่อรัฐสภาแห่งชาติสักกะ เพื่อประกาศใช้เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะตามจารีตประเพณี เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของชาวสักกะอย่างชัดเจน ผู้คนจึงถูกแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะ คือ วรรณะพราหมณ์มีหน้าที่บูชาและสวดพระเวท วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครอง วรรณะแพศย์มีหน้าที่ทำการเกษตรและค้าขาย และวรรณะศูทรมีหน้าที่รับใช้วรรณะที่สูงกว่า เป็นต้น กฎหมายวรรณะกำหนดเงื่อนไขที่ห้ามมีเพศสัมพันธ์กับผู้คนจากวรรณะอื่น และห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น เมื่อมนุษย์มีความปรารถนา(ตัณหา)มาก พวกเขาก็ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ดังนั้น พวกเขาจึงกระทำความผิดอย่างร้ายแรงในการละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ เมื่อพวกเขาถูกสังคมลงโทษ เนื่องจากความเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านประสาทสัมผัสที่สั่งสมในจิตใจของมนุษย์ จึงกลายเป็นความเชื่อที่หยั่งรากลึกในจิตใจของผู้คนในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าวิญญาณของพวกเขา จะผ่านวัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่มาแล้วนับไม่ถ้วนแต่ความรู้สึกเหล่านั้น ไม่เคยหายไปจากจิตใจของพวกเขา ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ ยังมีการบูชาเทพเจ้าเป็นประจำทั่วโลก ในการศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับสาเหตุของการแบ่งชนชั้นวรรณะในอนุทวีปอินเดีย แม้ว่าเราจะได้ยินความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณะ ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์จากการแสดงพระธรรมเทศนาของพระภิกษุสงฆ์เถรวาท และการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทย แม้ว่าข้อเท็จจริงในเรื่องวรรณะนี้จะถูกยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริง

แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่ควรเชื่อทันที เราควรสงสัยก่อน จนกว่าเราจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ก็จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบ การให้การของพยานเพียงคนเดียว ถือว่าไม่น่าเชื่อถือและข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นไม่สามารถยอมรับว่าเป็นความจริงได้เพราะมนุษย์อคติต่อกันและอายตนะภายในร่างกาย มีข้อจำกัดในการรับรู้ประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมความรู้ในจิตใจของตนเองเพื่อแก้ปัญหาความไม่น่าถือของหลักฐานโดยเฉพาะคำให้การของประจักษ์พยาน ญาณวิทยาจึงสร้างทฤษฎีความรู้แบบประสบการณ์นิยมขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการได้ยินข้อเท็จจริงว่าผู้ที่ให้การต้องมีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในจิตใจเท่านั้น
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณและพระไตรปิฎกฉบับหลวง ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าโอกกากราชแห่งอาณาจักรโกฬิยะ (Koliya Kingdom) ชาวโกลิยะ (Koliya people) มีความเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันเกี่ยวกับความมีอยู่ของพระพรหม พระอิศวร พระอินทร์ เป็นต้น ชาวโกลิยะเชื้อสายมิลักขะ บูชาเทวดาเป็นประจำทุกปี ชาวโกลิยะเชื้อสายอารยัน จะประกอบพิธีบูชาเทพเจ้าด้วยของมีค่าต่างๆ เมื่อพิธีบูชาเสร็จสิ้นเครื่องทำพิธีจะตกเป็นของพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีโดยปริยาย

เมื่อการบูชายัญจึงนำมาซึ่งความมั่งคั่งให้กับทั้งพราหมณ์อารยันและมิลักขะ เมื่อสถานการณ์ทางสังคมเป็นเช่นนี้ พราหมณ์อารยันก็ต้องการผูกขาดศรัทธาของประชาชน และผลประโยชน์จากการบูชาเทพเจ้า พราหมณ์บางคนจากนิกายต่าง ๆซึ่งเป็นนักตรรกะและนักปรัชญา จึงแสดงธรรมะตามปฏิภาณของตนเอง ในการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของตนเอง อธิบายคุณค่าของเทพเจ้าตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงว่า พระพรหมและพระอิศวรมีอำนาจเหนือกว่าเทพเจ้าอื่น ๆ เพื่อเรียกร้องค่าบูชาด้วยด้วยของมีค่าต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์จากนโยบายทางการเมือง ทำให้การบูชาเทพเจ้าจึงกลายเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างชาวอารยันกับชาวมิลักขะ เมื่อมหาราชของแคว้นใดทรงมีความศรัทธาในเทพเจ้า หากพราหมณ์อารยันหรือพราหมณ์ดราวิเดียนประกอบพิธีกรรมบูชายัญเทพเจ้าองค์นั้น มหาราชาของแคว้นนั้นทรงประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศ พระองค์จะทรงแต่งตั้งพราหมณ์ให้เป็นปุโรหิต (priesthood) ซึ่งมีหน้าที่จะให้คำปรึกษาแก่มหาราชเกี่ยวกับกฏหมาย ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อพวกพราหมณ์อารยันหยิบยกกรณีของพราหมณ์มิลักะมาเป็นกรณีศึกษาและร่วมกันพิจารณาว่า หากยังเปิดโอกาสให้พราหมณ์ดราวิเดียนประกอบพิธีบูชาเทวดา (Deva) แก่มหาราชาแห่งแคว้นของตน หากพระองค์ทรงปกครองประเทศสำเร็จ พระองค์ก็จะทรงแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิต ซึ่งกระทบต่อนโยบายทางการเมืองของรัฐนั้น เพื่อผูกขาดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการบูชาเทพเจ้า ความมั่นคงของชาติ และป้องกันไม่ให้พวกดราวิเดียน กลับมามีอิทธิพลทางการเมืองในแคว้นสักกะอีก หากปล่อยให้สถานการณ์ทางการเมืองของแคว้นสักกะดำเนินต่อไปตามกฎธรรมชาติพวกเขาอารยันก็จะใช้อำนาจอธิปไตยปกครองประเทศให้เจริญรุ่งเรืองตามหลักศาสนาพราหมณ์และกฎหมาย ได้โดยชาวอารยันเพียงกลุ่มเดียวได้ยาก พวกปุโรหิตจึงเสนอให้บัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีและขนบธรรมว่าด้วยวรรณะ เพื่อแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายวรรณะกำหนดไว้ หากประชาชนฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะให้สิทธิในการลงโทษผู้คนในสังคมด้วยการเนรเทศตลอดชีวิต ผู้คนหวาดกลัวจนต้องใช่ชีวิตเร่ร่อนบนท้องถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น

เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง"วรรณะ"จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ออนไลน์ทั้ง ๔๕ เล่มและอรรถกถา ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าอาณาจักรโกลิยะและสักกะ ได้ประกาศใช้กฎหมายวรรณะ โดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น แม้ผู้เขียนจะยอมรับความจริงข้อนี้โดยปริยาย แต่เมื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์ในใจ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องวรรณะ ก็ยังคงมีหลักฐานไม่เพียงพอ ที่จะยืนยันต้นกำเนิดของวรรณะในอาณาจักรสักกะและอาณาจักรโกลิยะได้ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือสิ่งที่ปฏิบัติกันมาตามขนบธรรมเนียม ประเพณีที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยข่าวลือ ด้วยอ้างอิงตำราหรือคัมภีร์ ด้วยการใช้เหตุผล (คิดเอาเอง) อย่าได้เชื่อทันที เราควรตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะได้สืบเสาะหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผล พิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเรื่อง "วรรณะ" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ยังมีข้อสงสัยและผู้เขียนชอบศึกษาในเรื่องนี้เพิ่มเติม ผู้เขียนจึงสืบเสาะหาข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแบ่งชนชั้นในแคว้นต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และข่าวสารเกี่ยวกับวรรณะตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ไว้ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ผู้เขียนจึงวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบเกี่ยวกับสาเหตุของการแบ่งวรรณะในอนุทวีปอินเดียโดยเขียนคำอธิบายในรูปแบบบทความวิเคราะห์ บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมทูตสายต่างประเทศในอินเดีย และเนปาลใช้บรรยายประวัติพระพุทธศาสนา แก่ผู้แสวงบุญชาวไทยในเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่งในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล วิธีการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาปริญญาเอกด้านปรัชญา พุทธศาสนา และนิติศาสตร์เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระดับปริญญาเอก เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และความจริงที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินความรู้ที่แท้จริงอย่างสมเหตุสมผลโดยไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับความจริงของคำตอบในปัญหานั้น
3 ความคิดเห็น:
ทุกคนล้วนมีความชอบที่แตกต่างกัน
แต่ปลายทางเหมือนกัน...ครับ
🥰😇
ดีมากครับ.🥰😇
แสดงความคิดเห็น