Problems with the truth about untouchables in the Tripitaka
๑.บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของจัณฑาล
แม้เรื่อง "คนจัณฑาล"จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลและได้รับยินการเล่าขานว่าเป็นเรื่องราวที่สืบทอดกันมาช้านาน เรื่อง "จัณฑาล" จะเป็นบุคคลที่สมมติขึ้นตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เป็นบุุคคลที่ถูกผู้คนในสังคมอนุทวีปได้ลงพรหมทัณฑ์(ลงโทษ) ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ และละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะ มกุฏราชกุมารแห่งราชอาณาจักรสักกะ ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะหรือประเทศสักกะ (Sakka country) ให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่เท่าเที่ยมกัน แต่พระองค์ก็ทรงไม่ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสังคมที่ติดอยู่กับกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะและรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในการปกครอง ที่ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีที่ประกาศใช้และบังคับใช้แล้ว เป็นต้น
แม้ว่าในปัจจุบัน ระบบวรรณะจะไม่ได้บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินเดียหรือประเทศอื่นใดอีกต่อไป แต่ก็ยังคงเป็นสัญญาที่เป็นอคติอยู่ในใจของมนุษย์ และยังคงแบ่งแยกผู้คนตามฐานะทางเศรษฐกิจของพวกเขาออกเป็นสองกลุ่มคือคนจนและคนรวยในปัจจุบัน แม้ว่ามนุษย์บางคนจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากปรัชญาตะวันตก จนวิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้ สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตให้เป็นพื้นที่แบ่งปันความรู้ในสาขาต่าง ๆ และคนทั่วโลกสามารถเข้าไปศึกษาค้นคว้าและแสวงหาหาความรู้บนอินเตอร์เน็ตได้ เมื่อผู้คนทั่วโลกรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตแล้วก็จะเก็บเรื่องราวเหล่านั้นเป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจแล้วใช้หลักฐานทางอารมณ์นั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้และคาดคะเนความจริง โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ๆต่อไป
มนุษย์และสัตว์ชนิดอื่น ๆ จะเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีพละในตัวเอง จึงมีศรัทธาในตัวเอง โดยมีความเชื่อว่าสามารถพัฒนาตนเองให้ชีวิตดีขึ้นได้ มีความขยันมั่นเพียรในการศึกษา ค้นคว้า ความรู้ในระบบการศึกษาของประเทศและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต มีสติสัมปชัญญะระะลึกความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมอยู่ในจิตใจ แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน รู้จักฝึกสมาธิให้จิตใจแน่วแน่ในการทำงาน เพื่อให้ได้ปัญญาเข้าใจความจริงในเรื่องนั้น ๆ ด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่่อมีหลักฐานเพียงพอก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต
ส่วนสัตว์อื่น ๆ ดำรงชีวิตโดยใช้สัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอดเพราะมันไม่มีศรัทธาในตนเอง ไม่ขยันหมั่นเพียรในการศึกษา ขาดสติสัมปชัญญะ สมาธิและปัญญาที่จะเข้าใจความจริง พวกมันจึงมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายเพียงเล็กน้อย ที่จะรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ ดังนั้น พวกมันจึงขาดปัญญาในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกมัน จึงไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุผล เพื่ออธิบายความจริงของเรื่องราวที่เกิดขึ้นชีวิตของพวกมันได้
ปัญหาเรื่อง "จัณฑาล" ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เป็นปัญหาที่น่าสนใจ เป็นข้อเท็จจริงที่ควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอปัญหานี้ต่อสังคมมนุษย์ ให้มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจความจริงของชีวิตมนุษย์ เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลทุกระดับในสังคม โดยเฉพาะผู้คนทั่วโลกที่ชอบดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นด้วยสีผิว รูปร่าง หน้าตา ฐานะทางสังคมและความสามารถต่าง ๆ เป็นต้น
เมื่อปรัชญา พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ของมนุษย์ และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางร่างกายและจิตใจในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อทารเกิดมา จะอยู่ในโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นชีวิตมนุษย์ก็เสื่อมสลายและสูญสลายไป ดังนั้น เมื่อชีวิตมนุษย์จึงไม่ได้เกิดจากร่างของพระพรหม เมื่อมนุษย์ตายไปก็ไม่สูญสลายไปตามคำสอนของพราหมณ์ เพราะวิญญาณออกจากร่างไปเกิดในภพชาติอื่นไม่สิ้นสุด
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ จิตของมนุษย์จะใช้อายตนะภายในร่างกายเชื่อมโยงกับกิจกรรมทางสังคม และสั่งสมหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ จากนั้นจิตใจจะวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์เหล่านั้น โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมีทั้งจริงและเท็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ เนื่องจากข้อจำกัดของการรับรู้ของอายตนะภายในร่างกายและมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอ อาจแสดงความคิดเห็นที่หลอกลวงผู้อื่นในสังคม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมีมูลค่าหลายแสนล้านบาทต่อปี พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อเราได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใดเรืื่องหนึ่ง ที่ฟังตามกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เราไม่ควรเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง เราควรสงสัยก่อน จนกว่าเราจะได้สืบเสาะข้อเท็จจริง และมีหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในใจแล้วจึงวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบว่าจริงหรือเท็จ หากผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้คำตอบที่ชัดเจน ก็จะเป็นความรู้ของมนุษย์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาศักยภาพชีวิตและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

๒.ประเภทของความจริง
แม้ปรัชญาจะเป็นความรู้ของมนุษย์ แต่มนุษย์บางคนเท่านั้นที่เป็นนักตรรกะ และนักปรัชญา พวกเขามีความสนใจศึกษาปัญหาของความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและการมีอยู่จริงของเทพเจ้าเป็นต้น แต่ปัญหาของความจริงเหล่านี้ มีทั้งความรู้ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยอายตนะภายในร่างกายและความรู้ที่เกินขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ ในสมัยพุทธกาลเมื่อพราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ นักตรรกะและนักปรัชญามักจะแสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนเองและคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล โดยใช้อธิบายการมีอยู่ของเทพเจ้าว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นพระมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครเทียบได้ ผู้มองเห็น เป็นผู้ทรงอำนาจเป็นผู้อิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้ทรงบันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดมาและกำลังจะเกิดมา ส่วนพระพรหมผู้สร้างเหล่านี้ขึ้นมา เหตุใดจึงเป็นเพราะว่าพวกเราได้เห็นพระพรหมองค์นี้เกิดที่นี้ก่อนในขณะพวกเราเกิดทีหลัง
เมื่อพราหมณ์ซึ่งเป็นปุโรหิต (Priesthood)ที่ปรึกษาของกษัตริย์ในเรื่องกฎหมาย ขนบธรรมเนียม (custom) และจารีตประเพณี(tradition) ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พระพรหมได้สร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา เมื่อมนุษย์ได้เรียนรู้และค้นคว้าเรื่องราวเหล่านี้จากตำรา หรือคัมภีร์ต่าง ๆ จากครูบาอาจารย์ของตนแล้ว มักจะเชื่อทันทีว่ามันเป็นความจริงโดยปริยาย แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเราไม่ควรเชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นทันที่ เราควรสงสัยก่อน จนกว่าตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอก็ใช้เป็นหลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้และคาดคะเนความจริง โดยการใช้เหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น
ดังนั้น เมื่อนักปรัชญายอมรับความจริงของอภิปรัชญาแล้วมีทั้งความรู้ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น ภูเขา แม่น้ำและมนุษย์ เป็นต้น ยังมีความรู้อีกประเภทหนึ่งที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์โดยเฉพาะสภาวะเหนือธรรมชาติของมนุษย์ เช่น วิญญาณของมนุษย์ที่เกิดมาในวัฏจักรแห่งการเกิดใหม่ไม่สิ้นสุด โลกแห่งเทวดาหรือนรก แม้แต่คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตนเอง อาศัยเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือเป็นเครื่องมือสื่อสารทางปัญญา ดังนั้นเมื่อเรารับฟังข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์ตามหลักอภิปรัชญาแล้ว เราจึงสามารถแบ่งความจริงออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๒.๑.ความจริงที่สมมติขึ้น มนุษย์โดยทั่วไปอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สภาพแวดล้อมเหล่านี้จะปรากฏขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วหายไปจากสายตาของมนุษย์ เช่น พายุในทะเลจีนใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดคลื่นใหญ่ได้ในช่วงระยะสั้น ๆ ก่อนจะสงบลงและหายไปจากสายตาของมนุษย์ เป็นต้น ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะประสูติและทรงมีพระชนม์ชีพอยู่เป็นเวลา ๘๐ ปี ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานและสูญหายไปจากสายตาของชาวพุทธทั่วโลก เป็นต้น
แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะหายไปจากสายตาของมนุษย์ จิตใจของมนุษย์สามารถใช้อายตนะภายในร่างกาย เพื่อรับรู้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นได้โดยตรง แล้วสั่งสมเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้นไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตนเองอย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นมิได้มีหน้าที่รับรู้และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจเท่านั้น แต่ยังมีธรรมชาติเป็นนักคิด เมื่อจิตใจของมนุษย์รับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ย่อมคิดจากสิ่งนั้น แต่เมื่ออาตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้และมักมีอคติเนื่องจากความไม่รู้ของตนเอง ทำให้ชีวิตของมนุษย์ตกอยู่ในความมืดมนของชีวิต ทำให้ขาดความสามารถในการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผลได้
เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักปรัชญา เป็นนักตรรกะมักจะแสดงความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น มนุษย์บางคนซึ่งเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา จึงอาจให้เหตุผลบางครั้งผิดบ้าง บางครั้งผิดบ้าง อาจเป็นอย่างนั้นบ้าง อาจเป็นอย่างนี้บ้าง ดังนั้นวิญญูชนจึงไม่ยอมรับตำยืนยันความจริงของนักตรรกะ นักปรัชญาว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นได้
ทั้งนี้ เมื่อลักษณะของมนุษย์นั้นมีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อยู่ห่างไกล ใต้ท้องทะเลหรือ ในถ้ำบนภูเขา หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล เมื่อกว่า๒,๕๐๐ปีมาแล้ว มนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นเนื่องจากความไม่รู้ ความกลัว ความรักและความชัง เป็นต้น ทำให้ชีวิตมนุษย์มืดมน จึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้จากอำนาจสมาธิ หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษที่เรียกว่า "ญาณ" เมื่อข้อเท็จจริงของมนุษย์เป็นเช่นนี้ การได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากพยานเพียงคนเดียวย่อมขาดความน่าเชื่อถือเพราะข้อจำกัดของการรับรู้และอคติ เมื่อไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น ความเห็นของพยานคนเดียวก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ และไม่สามารถยืนยันด้วยเหตุผล เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นจริงหรือเท็จได้
ดังนั้นวิธีพิจารณาความจริงที่สมมติขึ้นในพระพุทธศาสนา จึงต้องอาศัยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ เป็นต้น
๒.๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์โดยหลักทั่วไป ความจริงขั้นปรมัตถ์คือความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ผ่านอายตนะภายในของมนุษย์ธรรมดาที่ยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในชีวิตพวกเขาจึงไม่สามารถรับรัู้ความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ด้วยตนเองแม้พวกเขาจะได้รับการศึกษาจากการฟัง การได้ยิน การอ่าน การปฏิบัติในห้องเรียนของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแม้จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงขั้นปรมัตถ์ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการศึกษาในเชิงทฤษฎีเท่านั้น เว้นแต่ผู้นั้นจะลงมือปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นเนื่องจากมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกาย มีข้อจำกัดในการรับรู้ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นระยะไกลและสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นและมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องมืดมิดอยู่เสมอ
ในยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างสรรค์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้น เพื่อสืบเสาะหาความจริงของสิ่ง ๆ และรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงถึงการมีอยู่ของวิญญาณ นรก และโลกแห่งสวรรค์ที่เหล่าเทวดาอยู่อย่างมีความสุข อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่านักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหาความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์หรือความจริงขั้นปรมัตถ์ และไม่มีหน่วยงานของรัฐใด ประกาศรับรองผลการวิจัยในเรื่องนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้พบหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณว่า พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงศึกษาและค้นคว้าหลักการปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่างๆซึ่งมีวิธีการมากมาย ในที่สุดพระองค์ก็ทรงค้นพบหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ และทรงใช้หลักปฏิบัตินี้พัฒนาศักยภาพของชีวิต จนตรัสรู้ความจริงแห่งกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนมีวัฏจักรชีวิตแห่งการเวียนว่ายตายเกิดนับไม่ถ้วนในสังสารวัฏ เมื่อเกิดใหม่ เป็นมนุษย์ก็จะปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดาเป็นเหมือนกันทุกคนมนุษย์ จึงไม่ได้ถูกสร้างโดยพระพรหมและพระอิศวรตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนความจริงขั้นปริมัตถ์ บุคคลมีปัญญาหยั่งรู้ความจริงนี้ได้ต้องเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าเท่านั้น ที่สามารถบรรลุปัญญาในระดับอภิญญา ๖ ต้องผ่านการพัฒนาศัยภาพของชีวิตตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานนั้น ก็ย่อมไม่น่าเชื่อถือและไม่สามารถยอมรับว่าเป็นความจริงได้ อย่างไรก็ตามพยานหลักฐานทางปรัชญาส่วนใหญ่มักเป็น "พยานบุคคล" (witness) ที่มีอายตนะภายในร่างกายที่มีข้อจำกัดในการรับรู้การมีอยู่ของปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นและมักมีอคติต่อผู้อื่น มักจะทำในสิ่งไม่ควรโดยมีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในการยืนยันความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นว่าจริงหรือเท็จก็ได้ ทำให้หลักฐานไม่น่าเชื่อถือเพื่อแก้ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของหลักฐาน นักปรัชญาจึงได้สร้างทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมโดยมีแนวคิดว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้จากประสาทสัมผัสของมนุษย์และสั่งสมอยู่ในจิตใจเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นบุคคล ผู้มีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น"
ดังนั้นการศึกษาปัญหาความจริงเรื่อง"จัณฑาล"ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณนั้น เมื่อเรามีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ถึงที่มาของจัณฑาลและมักมีอคติเนื่องจากความไม่รู้ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น
๓.ข้อเท็จจริงในเรื่องจัณฑาล
เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบพยานหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ อรรถกถา และเอกสารวิชาการอื่น ๆ เป็นต้น ผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า แคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันโดยสายเลือดกัน เพราะในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราชทรงได้อภิเษกสมรสสองครั้ง พระองค์ทรงมีพระราชโอรส พระธิดา ๙ พระองค์ซึ่งประสูติกาล จากพระนางกษัตริย์และพระองค์ทรงมีพระราชโอรสองค์ใหม่อีก ๑ องค์ประสูติกาลจากพระมเหสีองค์ใหม่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับอัมพัฏฐมานพว่า เจ้าชายศากยะทั้งหลายเป็นพระโอรสของกษัตริย์ทั้งหลาย เพราะพระเจ้าโอกกากราชเป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์ศากยะ ส่วนอัมพัฏฐมานพเป็นข้าราชบริพาร(วรรณะศูทร)ของพระราชวงศ์ศากยะ เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงหลักฐานเอกสารในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว ผู้เขียนคาดคะความจริงว่าการประกาศใช้กฎหมายวรรณะจารีตประเพณีครั้งแรกในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ยิ่งใหญ่ที่ปกครองแคว้นโกลิยะ เมื่อแคว้นสักกะประกาศแยกตัวออกจากแคว้นโกลิยะเป็นรัฐอิสระและไม่อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกลิยะอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้นำชาวสักกะก็ได้นำกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีจากแคว้นโกลิยะมาประกาศบังคับใช้ให้ประชาชนในแคว้นสักกะต้องปฏิบัติตนตามกฎหมายวรรณะอย่างเคร่งครัดต่อไป เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนศึกษาประวัติของจัณฑาลจากหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกายสีลวรรค[อัมพัฏฐสูตร] พระพุทธดำรัสกล่าวว่าอัมพัฏฐมานพ เป็นลูกหญิงรับใช้ข้อ.๒๖๗ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่าอัมพัฏฐมานพนี้ ชอบเหยียดหยามพวกศากยะเป็นคนรับใช้ทางที่ดีควรถามถึงตระกูลเธอบ้าง จึงตรัสถามถึงตระกูลดูบ้างจึงตรัสถามว่า "อัมพัฏฐะ เธอมีตระกูล(โคตร)อย่างไร เขาทูลตอบว่า"ท่านโคดม ข้าพเจ้าคือกัณหายนะตระกูล (กัณหา ยนโคตร)"พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อัมพัฏฐะ เมื่อเธอระลึกถึงตระกูลเก่าแก่ของบิดา มารดาของเธอ(จะรู้ว่า)พวกศากยะเป็นลูกเจ้า แต่เธอเป็นลูกของหญิงรับใช้ของพวกศากยะ ก็ศากยะพาอันอ้างถึงพระเจ้าโอกกากราชว่าเป็นบรรพบุรุษของตน..
จากข้อความซึ่งเป็นบทสนทนาของพระพุทธเจ้ากับอัมพัฏฐมานพในพระไตรปิฎกข้างต้นนั้นผู้เขียนคาดคะเนความจริงจากกฎหมายจรีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะในสักกะนั้นตามหลักเหตุผลนั้น แบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะกล่าวคือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น พวกศากยะหมายถึงสมาชิกแห่งพระราชวงศ์ศากยะนั้นเอง ส่วนอัมพัฏฐะนั้นเป็นลูกของหญิงรับใช้ของวรรณะกษัตริแห่งพระราชวงศ์ศากยะซึ่งหมายถึงวรรณะศูทรนั่นอง
มีปัญหาว่า"จัณฑาล"เป็นวรรณะที่ต่ำหรือไม่เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาฯเล่มที่๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรคภาค๒ [๙.ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ]๓.อิมัสมิงธัมมวินเยอัฏฐัจฉริยะข้อ [๓๘๕] ๔.วรรณะ ๔ เหล่านี้คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร....
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงมาว่ากฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับการแบ่งวรรณะ ระบุอย่างชัดเจนว่าประชาชนในแคว้นสักกะแบ่งออกได้ ๔ วรรณะคือ วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น โดยระบุสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายไว้ดังนี้
๑.ผู้คนในวรรณะพราหมณ์มีหน้าที่ศึกษาและสาธยายมนต์ เพื่อใช้ในพิธีกรรมเพื่อคลายความทุกข์ที่เกิดในชีวิตเท่านั้น
๒.พวกวรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองประชาชน ให้มีความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน และบัญญัติกฎหมายให้ประชาชนปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เป็นต้น
๓.ส่วนวรรณะแพศย์ มีหน้าที่ทำการเกษตร ค้าขาย และส่งสินค้าไปขายในเมืองต่าง ๆ เป็นต้น
๔.ส่วนวรรณะศูทรนั้นมีหน้ารับใช้คนวรรณะสูงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนพวกไร้วรรณะเรียกว่า"พวกจัณฑาล"นั้น เพราะพวกเขาฝ่าฝืนกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ โดยการแต่งงานข้ามวรรณะ ต้องสูญเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมาและถูกขับไล่ออกจากสังคมไปตลอดชีวิต ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามพระนครใหญ่เช่นพระนครกบิลพัสดุ์ พระนครเทวทหะ เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะมิได้ระบุว่าจัณฑาลเป็น ๑ ใน ๔ วรรณะ ดังนั้นผู้เขียนพิจารณาเห็นว่าคนจัณฑาลเป็นคนไร้วรรณะ เพราะวรรณะต่ำสุดตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะคือศูทร เป็นต้น
๓.๑ปัญหาว่าใครคือจัณฑาลในพระไตรปิฎก
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๒ พระวินัยปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑๔อังคุตตรนิกายปัญจก- ฉักกนิบาตโฑณสูตร ข้อ.๑๙๒..พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาลอย่างไร? คือพราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดาเป็นผู้มีชาติกำเนิดถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูลเขาย่อมแสวงหาดีเจ็ดชั่วโคตรนางพราหมณ์ ที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง เขาย่อมสมสู่กับพราหมณีบ้างสตรีชั้นกษัตริย์แพศย์บ้าง นายพรานบ้าง ศูทรบ้าง ชั้นจันทาลบ้าง ฯลฯ.....พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาลอย่างนี้แล
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ข้างต้น ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงมาว่าแคว้นสักกะ แคว้นโกลิยะและแคว้นอื่น ๆ ในอนุทวีปอินเดียได้นำเอาหลักคำสอนของพราหมณ์ มาบัญญัติเป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ และมีบทบัญญัติที่สำคัญประการหนึ่งคือ ในกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะคือ ห้ามมิให้ชาวแคว้นสักกะแต่งงานข้ามวรรณะ หากชายหรือหญิงฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายจารีตประเพณีว่า ด้วยวรรณะก็คือด้วยเจตนาร่วมประเวณีกันและอยู่ร่วมกัเป็นสามีภริยา หรือจัดการแต่งงานตามประเพณีพวกเขาต้องเสียสิทธิ และหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมาไปโดยปริยาย ถ้าไม่ยอมรับว่ากระะทำของตนฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายคนในสังคมจะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผล มาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัยนั้นและคนในสังคมจะตัดสินลงโทษพวกเขาที่กระทำความผิดฐานฝ่าฝืนบทบัญญัติคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะอย่างร้ายแรง ต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมของตนตามกฎหมายวรรณะ และถูกลงโทษด้วยการถูกขับไล่ออกจากถิ่นที่อยู่เดิม
ดังนั้นเมื่อชีวิตทุกคนมีตัณหาราคะอยู่ในจิตใจไม่เว้นแม้แต่วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพทย์ และวรรณะศูทร เป็นต้น จึงไม่สามารถยับยั้งตนเองที่จะแสดงความสมัครรักใคร่ต่อกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศ(สมสู่)กับหญิงต่างวรรณะได้ เพราะมีชีวิตที่อ่อนแอจึงขาดสติสัมปชัญญะ ที่จะนึกถึงหลักคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ มาเป็นหลักในการใช้พิจารณา ก่อนกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายยจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะว่า จะถูกคนในสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาพิจารณาลงโทษ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมากมายในสังคมของแคว้นสักกะ ที่การแต่งงานข้ามวรรณะจะถูกลงพรมทัณฑ์และถูกขับไล่ออกจากสังคมนั้น
ดังนั้นปัญหาที่ว่าจัณฑาลคือใคร? เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ นั้นฟังข้อเท็จจริงว่าวรรณะทั้ง ๔ คือวรรณะพราหมณ์หรือนักบวช วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เมื่อจัณทาลไม่รวมอยู่ในวรรณะตามคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะแล้วผู้เขียนเห็นว่าจัณฑาลนักโทษที่ถูกสังคม ลงโทษฐานะกระทำความผิดต่อหลักคำสอนในศาสนาและกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะอย่างร้ายแรง เพราะการมัวเมาในชีวิตสมสู่กับคนต่างวรรณะ เป็นต้น
๓.๒"พรหมทัณฑ์"บทลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายวรรณะประเพณี
เมื่อผู้เขียนศึกษาคำว่า "พรหมทัณฑ์" จากหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ให้ความหมายของคำว่า "พรหมทัณฑ์"ซึ่งแปลว่า"การลงโทษของพระพรหม" และอีกความหมายหนึ่ง คือการลงโทษอย่างสูงห้ามมิให้ใครพูดด้วยแห่งสงฆ์ เป็นต้น คำว่า "พรหมทัณฑ์" นั้น หลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกหลายฉบับด้วยกันกล่าวคือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่๗, ที่๘, ที่๙, ที่๑๐ เป็นต้นในพระไตรปิฎกหลายฉบับด้วยกัน มีสาระสำคัญคือลงโทษพระภิกษุฉันนะดังกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรคภาค๒ ว่าด้วยการลงพรหมทัณฑ์ ข้อ [๔๔๕]ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับพระภิกษุเถระทั้งหลายดังนี้ว่า"ท่านผู้เจริญในเวลาจะปรินิพพานพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่าภิกษุทั้งหลายเมื่อเราล่วงไปสงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ "พระภิกษุเถระทั้งหลายถามว่า"ท่านพระอานนท์ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาค หรือว่าพระพุทธเจ้าข้าพรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า"ท่านผู้เจริญ" กระผมทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วว่า"พระพุทธเจ้าข้าพรหมทัณฑ์เป็นอย่างไรพระองค์รับสั่ง "อานนท์ภิกษุฉันนะพึงพูดได้ตามที่ปรารถนาภิกษุทั้งหลายไม่พึ่งว่ากล่าวไม่พึ่งตักเตือน ไม่พึ่งพร่ำสอนภิกษุฉันนะ"ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "ท่านอานนท์ถ้าอย่างนั้นท่านนั้นแลจงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ"
ตามหลักฐานในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ได้นิยามคำว่า"พรหมทัณฑ์"ให้มีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑.การสาปแห่งพราหมณ์และ
๒.บทลงโทษต่อพระภิกษุผู้ว่า ยากคือห้ามมิให้ผู้ใดสนทนาในหมู่สงฆ์ด้วยกันเป็นต้นเมื่อผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง "พรหมทัณฑ์"จากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลาย ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพาน พระองค์ตรัสว่าโปรดลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ การลง "พรหมทัณฑ์"ตามกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีจึงเป็นการลงโทษในสังคมฆราวาส ซึ่งกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะประเพณีอย่างร้ายแรง ส่วนสังคมในคณะสงฆ์สำหรับพระภิกษุที่สอนยาก ไม่ยอมปฏิบัติตาม พระธรรมวินัยพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้คณะสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระภิกษุรูปได้ด้วยการไม่ว่ากล่าวตักเตือน เมื่อเขาทำอะไรผิดหรือละเมิดพระธรรมวินัย เมื่อไม่ถูกว่ากล่าวตักเตือนก็กลายเป็นส่วนเกินของสังคมไปเมื่อสังคมคฤหัสถ์ในแคว้นสักกะ ประชาชนถูกแบ่งแยกตามสิทธิและหน้าที่ของแต่ละวรรณะ พวกวรรณะสูงจึงปฏิเสขที่จะคบวรรณะต่ำและจัณฑาลโดยไม่ว่า กล่าวไม่ตักเตือนและอบรมสั่งสอนแต่บทลงโทษของคนในสังคมหนักที่สุดคือ การไม่ยอมให้จัณฑาลใช้สาธารณสมบัติร่วมกับคนในวรรณะสูง เช่น บ่อน้ำหรือก็อกน้ำในที่สาธารณะเรียนหนังสือร่วมชั้นกับชนในวรรณะสูง เมื่อจัณฑาลถูกลงโทษด้วยการลงพรหมทัณ์จากคนในสังคม หรือสาปแช่งจากพราหมณ์ พวกจัณฑาลจึงสร้างสังคมตนเองขึ้นมาด้วยการมีลูกมากด้วยการไม่คุมกำเนิด ทำให้กลายเป็นประชาชนมีคุณภาพของชีวิตต่ำเพราะไม่ได้รับการศึกษาเพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองใช้ชีวิต สองข้างถนนสาธารณะในเมืองใหญ่เช่นเมืองกบิลพัสดุ์ด้วย ดังนั้นภาพของประชาชนที่เราเรียกว่าจัณฑาลนั้นใช้ชีวิตสองข้างถนนจึงเป็นที่พบเห็นเรื่องปกติในสมัยก่อนพุทธกาล จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไปแม้ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกในยุคสมัยปัจจุบันนั้น พบเห็นเห็นคนไร้บ้านเรือนไม่มีงานทำใช้ชีวิตข้างทางจึงเป็นเรื่องปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น