The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

องค์ประกอบของนักปรัชญาในอินเดียโบราณ

The Knowledge Components of Being Philosophers in the Tripitaka

๑.บทนำ  องค์ประกอบของนักปรัชญาในพระไตรปิฎก 

                  โดยทั่วไป   ผู้คนทั่วโลกคงเคยได้ยินเรื่อง "นักปรัชญา" หรือ "นักปราชญ์" กันมาตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยแล้ว เพราะเป็นวิชาพื้นฐานที่นิสิตปีหนึ่งต้องเรียน หรือจากการศึกษาปรัชญาตะวันออก และปรัชญาตะวันตกด้วยตนเอง นักปรัชญาตะวันตกที่พวกเขารู้จักได้แก่ เพลโต อริสโตเติลและเรอเน เดส์การ์ตส์  เป็นต้น  ส่วนนักปรัชญาตะวันออกตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณก็มีอยู่มาก เช่น ครูปูรณะ กัสสปะ ครูมักขลิโคศาล ครูอชิตะ เกสกัมพล  ครูปกุธ กัจจายนะ เป็นต้น เมื่อได้ยินชื่อนักปรัชญาแล้ว   นิสิตก็ยอมรับโดยปริยายว่านักปรัชญาเหล่านี้มีอยู่จริง

          อย่างไรก็ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า    เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เล่าต่อกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน เราไม่ควรเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง         เราควรสงสัยจนกว่าเราจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน  เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราก็จะใช้หลักฐานนั้น  เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริงตามหลักการใช้เหคุผล  เพื่อพิสจน์ความจริง โดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้  คำตอบที่ได้จากการวิเคราะห์จะเป็นความรู้ที่ชัดเจนและมีเหตุผล ถือเป็นความรู้แท้จริงในเรื่องนั้น  

         ๒.ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา นักปรัชญา นักตรรกะสนใจในปัญหาของต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์     วิธีการที่นักปรัชญาพิจารณาความจริง และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์ เป็นต้น เมื่อศึกษาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์นั้น เดิมนักปรัชญาพราหมณ์และนักตรรกะศาสตร์ในสมัยพุทธกาลนั้น เชื่อว่าพระพรหมและพระอิศวรนั้น  เป็นผู้สร้างมนุษย์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่เทพเจ้าสร้างขึ้นมานั้น      ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา  แต่เมื่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนของศาสนา และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วนวรรณะ  ย่อมมีสภาพบังคับตามกฎหมายให้ประชาชนในแคว้นสักกะต้องปฏิบัติตาม คือ ห้ามประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะ และปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น   หากใครฝ่าฝืนจะถูกพระพรหมลงโทษเรียกว่า "ลงพรหมทัณฑ์" ด้วยการให้คนในสังคมนั้นไล่พวกเขาออกจากบ้านไปตลอดชีวิต     นักโทษทางสังคมเหล่านี้ถูกเรียกว่า "จัณฑาล" 

          เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง พระองค์ทรงมีจิตกรุณาอยากช่วยมนุษย์ทุกคนหลุดพ้นจากความมืดมิดของชีวิต พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้และรวบรวมหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคล   เช่น พราหมณ์บางคนซึ่งเป็นนักตรรกะศาสตร์เป็นนักปรัชญา หรือพราหมณ์บางคนเป็นศาสดา  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสถามการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ นักตรรกะศาสตร์ นักปรัชญาจะได้ทัศนะของตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริงนักปรัชญาและนักตรรกะ เหล่านั้น เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคม  พราหมณ์เหล่านั้น ก็มักจะแสดงความเห็นของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริงนี้ว่า "อัตตา, โลกเที่ยง หรือศาสดาบางคนในโลก เป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา   เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักแสดงธรรมตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง    ศาสดาเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา ก็ย่อมมีการใช้เหตุผลถูกบ้าง ก็ย่อมมีการใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง  เป็นอย่างนี้บ้าง เป็นต้น     ในพรหมจรรย์ (หมายถึงศึกษาปรมัตถ์, การศึกษาพระเวท) ของศาสดานั้น    เมื่อวิญญูชนรู้ดังนี้ว่าลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ไม่น่าไว้วางใจย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น เมื่อพรหมจรรย์ที่ไม่น่าไว้วางใจที่วิญญูชนไม่พึงประพฤติเลย ถึงเมื่อก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้   เป็นต้น

            ตามข้อเท็จจริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เราแยกองค์ประกอบของนักปรัชญาในสมัยพุทธกาลได้ดังนี้กล่าวคือ 

               ๑.ผู้ใด  
               ๒.ได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  
               ๓.แสดงทัศนะของตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
               ๔.ด้วยวิธีการใช้เหตุผล 
               ๕.ผลการแสดงทัศนะของตนเองต่อผู้อื่น  
          ตามองค์ประกอบความรู้ดังกล่าวนั้น ผู้เขียนสามารถอธิบายความจริงนักปรัชญาได้ดังต่อไปนี้    

           ๑.ผู้ใด หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่มีองค์ประกอบชีวิตเกิดจากปัจจัยร่างกายและจิตใจ   มีวิญญาณที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา แล้วเจริญเติบโตเป็นเวลา ๙ เดือน    คลอดออกมาแล้วมีชีวิตรอดอยู่ ก็จะมีสภาพบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย มีลมหายใจแล้วย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นต้น  เมื่อที่มาของความรู้ของมนุษย์ เกิดขึ้นเมื่อจิตใจของมนุษย์ใช้อาตนะภายในร่างกายของตนเองในการรับรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว จิตก็จะเก็บเรื่องราวเหล่านั้น เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตนแล้วใช้หลักฐานเหล่านั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นที่นักปรัชญาตั้งขึ้น  แต่คำตอบนั้น ไม่มีความสมเหตุสมผล  เพราะนักปรัชญา นักตรรกะ เป็นมนุษย์มีทีมีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้และมีอคติต่อผู้อื่น   ชีวิตจึงเต็มไปด้วยมืดมน  ขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิต หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   เป็นต้น 

       ๒. เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว   กล่าวคือ เมื่อนักตรรกะหรือ นักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องมนุษย์  โลก  ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และเรื่องอื่น ๆ  เป็นต้น  ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเอง พวกเขาแล้วก็จะเก็บเรื่องราวเหล่านั้น เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ         แต่ธรรมชาติของมนุษย์ไม่เพียงแต่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ  และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ในจิตใจเท่านั้น    ยังมีธรรมชาติของนักคิดอีก ด้วย     เมื่อรับรู้สิ่งใด พวกเขาก็จะคิดจากสิ่งนั้น  โดยจิตของพวกเขาคิดจากหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ  
    
         ๓. แสดงทัศนะของตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เมื่อนักปรัชญา นักตรรกะ ได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องใดที่เกิดขึ้นในชีวิต   ก็แสดงทัศนะเรื่องนั้นตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล และคาดคะเนความจริงในเรื่องนั้น  ตัวอย่างเช่น   พราหมณ์อารยันสอนว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์เอง และสร้างวรรณะให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเองเกิดมา   และพวกเขาสื่อสารกับเทพเจ้าผ่านพิธีกรรมการบูชายัญ เป็นต้น
   
               ๔. ด้วยวิธีการใช้เหตุผล   เมื่อธรรมชาติของมนุษย์มีจิตเป็นผู้คิด  มนุษย์ย่อมคิดจากสิ่งที่ได้ยินมานั้นแล้วใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญานั้น  อธิบายในสิ่งที่ตนคิดที่มีอยู่ในจิตใจนั้น   ออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยเหตุผล 
 
             ๕. ผลการแสดงทัศนะของตนเองต่อผู้อื่น ด้วยการใช้เหตุผลนั้น  พระพุทธเจ้าสอนว่านักตรรกะหรือนักปรัชญา แสดงทัศนะหรือความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้ยินมานั้น หรือคาดคะเนความจริงจากสิ่งที่ได้ยินมานั้น บางครั้งอาจใช้เหตุผลถูกบ้าง ผิดบ้าง  เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง   เมื่อเหตุผลของคำตอบยังไม่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร?  วิญญูชนได้ยินข้อเท็จจริงของคำตอบนั้น  ย่อมไม่เชื่อว่าเป็นความจริง เป็นต้น 
       เช่น     คนเอามีดไล่แทงตัวเราเองโดยไม่รู้จักกันมาก่อนดังนั้น  เราจึงไม่รู้แรงจูงใจในการกระทำความผิดของบุคคลนั้น  เพราะมันเป็นอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน และเรามีการรับรู้ที่จำกัด  เป็นต้น  เราเห็นโจรลักทรัพย์สินต่อหน้าเราโดยตรง  แต่ไม่รู้เหตุจูงใจในการขโมย  เพราะเอาไปขายเพื่อซื้อยามาเสพหรือตกงานและไม่มีรายได้ที่จะเลี้ยงดูครอบครัว ทั้งนี้เป็นเพราะเรามีการรับรู้ที่จำกัด เป็นต้น ในสมัยอินเดียโบราณศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง  คำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี  และมนุษย์สามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าได้โดยการบูชายัญเท่านั้น   

        แม้ว่าเราจะเห็นการบูชายัญต่อหน้าเราโดยตรง  แต่เราก็ไม่สามารถรู้แรงจูงในในการบูชายัญหรือเจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชเพราะนิมิต ๔  ประการ แต่เราไม่รู้แรงจูงใจในการแสวงหาสัจธรรมซึ่งเป็นความจริงเกี่ยวกับอะไรเนื่องจากเรามีการรับรู้ที่จำกัด  เป็นต้น  นอกจากนี้ มนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นเกิดจากความไม่รู้ของตนเองว่าชีวิตของมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ เว้นแต่บุคคลนั้นจะปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘  เท่านั้น แล้วจึงจะรู้ว่าจิตอาศัยอยู่ในบุคคลใด เมื่อคิดจะทำกรรม ลงมือกระทำกรรม จิตก็น้อมรับพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์อยู่ในจิตของตน
      
 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ