The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

บทนำ แนวคิดเรื่องมนุษย์ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ

    Introduction the concept of Human in the Tripitaka 

บทนำ 

   พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่รวบรวมปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในพระทัยของพระพุทธเจ้า และพระอานนท์ซึ่งเป็นพุทธอุปฐากของพระพุทธองค์ได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นไว้ในพระไตรปิฎก สามเดือนหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ นั้น ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า ปรัชญาพราหมณ์เป็นวิชาแรกที่ศึกษาปัญหาเกี่ยวความเป็นจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์  ชาวชมพูทวีปเชื่อการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์  แต่มีพระพรหมเท่านั้น เป็นเทพเจ้าที่สร้างมนุษย์ขึ้นจากพระวรกายของพระองค์เอง แต่ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้ากลายเป็นปัญหาทางการเมือง          เมื่อพวกพราหมณ์หลายสำนักต่างต้องการรักษาผลประโยชน์มหาศาลจากการบูชาไว้ในสำนักบูชาของตนเองเพียงฝ่ายเดียว และหาทางลิดรอนสิทธิและหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ด้วยการออกกฎหมายจำกัดสิทธิและหน้าที่ปกครองประเทศ การศึกษา  การประกอบอาชีพ   และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  เป็นต้น  เมื่อมหาราชาแห่งแค้นโกฬิยะและแคว้นสักกะ ประกาศบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ตามคำแนะนำของพราหมณ์ปุโรหิต  (priesthood) ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของพระเจ้าโอกากราชทรงซึ่งเป็นมหาราชาแห่งแคว้นโกลิยะ พระองค์ทรงได้ประกาศใช้คำสอนของพราหมณ์ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยให้เหตุผลว่า พระพรหมสร้างวรรณะขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ทำหน้าที่ของตน โดยแบ่งชาวแคว้นโกลิยะออกเป็น ๔ วรรณะ และห้ามการแต่งงานระหว่างวรรณะ  

             แต่โดยทั่วไป ชาวแคว้นโกลิยะมีชีวิตที่อ่อนแอจึงขาดสติที่จะระลึกว่า หากตนร่วมประเวณีกับคนต่างวรรณะฉันสามีภริยากันหรืออยู่กินเป็นสามมีภริยากัน เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ จะถูกตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงตามข้อกล่าวหา  เมื่อกระทำผิดจริงจึงถูกคนในสังคมลงโทษ ด้วยการขับไล่ออกจากที่พำนักตลอดชีวิต ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามท้องถนนตลอดชีวิต แม้อยู่ในวัยชรา เจ็บป่วย และนอนตายข้างถนน และถูกคนในสังคมเรียกนักโทษเหล่านี้ว่า "คนจัณฑาล" เป็นต้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาเรื่องคนจัณฑาล ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานจากพราหมณ์ในฐานะปุโรหิต (priesthood)  พระองค์ทรงได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์ และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของตนจริง และได้เห็นพระพรหมและพระอิศวรในอาณาจักรสักกะ ตั้งแต่สมัยของบรรพบุรุษก่อนคนเกิดมาทีหลัง  แต่เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า พระพรหมและพระอิศวรมีความเป็นมาอย่างไร? แต่ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้  เมื่อฟังความจริงของพระพรหมและพระอิศวรอันเป็นที่สุดได้เช่นนี้   เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงสงสัยถึงการมีอยู่ของพระพรหมและอิศวร และพระองค์ก็ทรงไม่มีความรู้ที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของพระองค์เกี่ยวกับเทพเจ้าแต่อย่างใด เมื่อปุโรหิตไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้แต่อย่างใด เมื่อวิเคราะห์หลักฐานจากข้อเท็จจริงจากคำให้การของปุโรหิตแล้วเป็นข้อกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆและไม่ได้กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติอย่างไรจึงจะเข้าถึงการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรได้เห็นว่าพระพรหมและพระอิศวรไม่มีอยู่จริงตามที่พราหมณ์ปุโรหิตกล่าวอ้างแต่อย่างใด       

      เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ชีวิตมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ เดิมนักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงจากคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า พระพรหมสร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระพรหม และสามารถช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ด้วยการบูชาเทพเจ้ากับพราหมณ์อารยันเท่านั้น  เมื่อชาวอนุทวีปอินเดียเชื่อการมีอยู่จริงของเทพเจ้า และตกลงที่จะทำพิธีบูชาเทพเจ้าโดยมีพราหมณ์อารยันหรือพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นผู้ทำพิธีให้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับการรับรู้ถึงการมีอยู่เทพเจ้าผ่านประสาทสัมผัสของตนเองก็ตาม แต่พวกเขาก็เชื่อในการมีอยู่เทพเจ้า และตกลงปฏิบัติตามคำสอนของพราหมณ์ด้วยเหตุผลที่อธิบายถึงสภาวะของการมีอยู่ของเทพเจ้าและอ้างว่าเคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อน การอ้างตนเป็นพยานหลักฐานในฐานะปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในด้านนิติศาสตร์ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี และเป็นผู้ใหญ่ในประเทศตามกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" เป็นผู้ให้การยืนยันความจริงของคำตอบในการมีอยู่จริงของพระพรหม ยิ่งเพิ่มความเชื่ออย่างมั่นใจในคำสอนของพราหมณ์และตกลงทำพิธีกรรม  เพื่อขอเทพเจ้าช่วยตัวเองให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและการทำงานในการเซ่นสังเวยเทพเจ้ามักจะถวายเครื่องบูชาด้วยสิ่งของล้ำค่าต่าง ๆ    โดยพราหมณ์ที่ประกอบพิธีเรียกร้องจากผู้ถวายเครื่องบูชายัญ  และเครื่องสังเวยเหล่านี้นำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์ในนิกายต่างๆ และครอบงำผู้คนที่ยึดติดในสิ่งเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบันนี้ 

       แนวคิดอภิปรัชญาคือแนวคิดอย่างมีเหตุผลของมนุษย์ที่เรียกว่า"นักปรัชญา" อภิปรัชญาเป็นความรู้จากประสบการณ์ของชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์และเกิดขึ้น  เมื่อชีวิตของนักปรัชญาเชื่อมต่อกับสภาวะ สิ่งของ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ และรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์ในจิตใจ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางอารมณ์และเรื่องราวก็ปรากฏขึ้นในใจพวกเขายังไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร  พวกเขาจึงสงสัยและชอบที่จะค้นคว้าหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ในสมัยอินเดียโบราณ นักปรัชญาพราหมณ์เริ่มอ้างหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้เช่น พวกพราหมณ์สอนว่าพระพรหมและพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่แท้จริง พระองค์สร้างมนุษย์และวรรณะให้สิทธิและหน้าที่แก่มนุษย์ในการทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา โดยอ้างปุโรหิตเป็นพยานบุคคล เมื่อได้รับคำตอบของปุโรหิตแล้ว ผู้คนก็คลายความสงสัยได้ต่อมานักปรัชญาคนอื่นค้นพบหลักฐานใหม่สำหรับการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของเรื่องนั้นเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงดั้งเดิม หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จได้ ความจริงที่เคยเชื่อในเรื่องนั้นเป็นอันตกไป ดังนั้น เมื่อแนวคิดเรื่องอภิปรัชญาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของโลก มนุษย์ ธรรมชาติ และความมีอยู่ของพระเป็นเจ้าเป็นต้น เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ พบว่าหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในหลายเรื่อง มีความสอดคล้องต้องกับกระบวนการคิดของนักปรัชญาตะวันตก เช่น ความสงสัยที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าอย่าตกลงใจเชื่อในข้อเท็จจริงเพราะฟังตามกันมา การเชื่อตามจารีตประเพณีต่อเนื่องกันมา การแพร่ข่าวและการคิดหาเหตุผลเอาเองโดยไม่มีหลักฐานยืนยันความจริง การคาดคะเนตามหลักเหตุผล การไตร่ตรองตามแนวเหตุผลเข้าได้กับทฤษฎีที่ตั้งธงคำตอบไว้เป็นแล้วรูปลักษณะของเรื่องราวน่าจะเป็นไปได้เชื่อว่านักบวชนี้เป็นครูของเราเป็นต้น,  

         แต่ผู้เขียนชอบเรียนรู้ความจริงในเรื่อง "แนวคิดทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับมนุษย์ในพระไตรปิฎก"นี้   จึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก  อรรถกถา  บันทึกของนักบวชชาวจีนและความเห็นของนักปราชญ์ชาวพุทธ วัตถุพยานได้แก่โบราณสถานฯลฯ  เมื่อรวบรวมหลักฐานข้อมูลได้เพียงพอแล้วจะนำหลักฐานมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบหรือพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ ความรู้ที่ได้จากบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่อ่าน  เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพชีวิตและมีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์และให้เหตุผลตามหลักปรัชญา หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญจะเป็นประโยชน์กับพระวิทยากรในการบรรยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ที่ประเทศอินเดียและเนปาลให้มีเนื้อหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับกระบวนการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงนั้นในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ มาวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระดับปริญญาเอก เพื่อพิสูจน์ความจริงในปัญหาที่วิจัยความจริงของคำตอบจะเป็นความรู้ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาที่ถูกต้องและเป็นความรู้ที่มีความสมเหตุสมผล ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอีกต่อไป           

 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ