The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

๑. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปรัชญาในแผ่นดินของพระพุทธเจ้า

1. The factors that caused the philosophy in the land of the Lord Buddha  

บทนำ     

      โดยธรรมชาติแล้วทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในหลุมดำ มันถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์โดยใช้กล้อง โทรทรรศน์และถ่ายภาพนับล้านภาพนั้น เมื่อพวกเขาตรวจสอบข้อเท็จจริงของหลุมดำ และรวบรวมพยานหลักฐานจากภาพถ่ายแล้ว ขอบเขตของหลุมดำ อาจเกิดจากการเผาไหม้ของก๊าซธรรมชาติบนดวงดาวหลายล้านดวง ควันจากการเผาก๊าซธรรมชาติเหล่านั้น ก็ถูกปล่อยออกมาและลอยอยู่บนขอบฟ้าสีดำ หลุมดำเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจักรวาลนั้น ผลก็คือนักวิทยาศาสตร์รู้ว่าไม่มีสิ่งใดในจักรวาลเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง  แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างรวมกันแม้แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถหลีกหนีกฎธรรมชาตินี้ได้ ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่อง"หลักปฏิจจสมุปบาท" ที่ว่ามนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกาย และดวงวิญญาณที่รวมตัวกันอยู่ในครรภ์มารดา เพื่อสร้างชีวิตมนุษย์ขึ้นมาใหม่  ร่างกายมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการปฏิสนธิของดวงวิญญาณในครรภ์มารดา จึงมีร่างกายของมนุษย์เกิดขึ้นมาใหม่ ในจักรวาล โลก ดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์และดวงดาวนับล้านลอยอยู่ในหลุมดำ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่มันเกิดจากปัจจัยอย่างที่ก่อให้เกิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์เหล่านั้น เมื่อมนุษยชาติตระหนักถึงดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน มันเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมเป็นอารมณ์แห่งความรู้อยู่ในจิตใจของตนเอง  แต่ธรรมชาติของจิตใจไม่ใช่เพียงการรับรู้และเก็บหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจเท่านั้น แต่จิตใจมนุษย์ยังเป็นผู้คิด  เมื่อรู้สิ่งใดแล้วก็จะคิดจากสิ่งนั้น  ซึ่งเป็นหลักฐานทางอารมณ์ที่มีอยู่ในใจ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลในการพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัย ในทัศนะของผู้เขียนสันนิษฐานว่าสาเหตุของการเกิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์นั้นคือฝุ่น ซึ่งเป็นสารที่มีพลังงานในตัวเองดึงดูดกัน และก่อตัวเป็นโลกดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เป็นต้น 

     หากข้อเท็จจริงของคำตอบยังไม่ชัดเจนคืออะไร ?ทำให้เกิดข้อสงสัย นักปรัชญาจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบของเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น ดวงดวงที่ลอยอยู่บนฟ้าและนักปรัชญาจะตั้งชื่อพวกมันว่า โลก ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  เป็นต้น  เมื่อนักปรัชญามองเห็นดวงดาวเหล่านั้น และรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์เป็นข้อมูลสั่งสมอยู่ในจิตใจของตัวเอง แต่เมื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานแล้ว ก็ยังไม่แน่ชัดว่ากำเนิดของโลกและดวงดาวเกิดขึ้นอย่างไร? นักปรัชญาตั้งคำถามว่าองค์ประกอบในยุคเริ่มแรกของโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หรือปัญหาแห่งความเป็นจริงของมนุษย์นั้นพราหมณ์อารยันได้ยืนยันการมีอยู่ของพระพรหมและทรงสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์เอง แต่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ถึงแม้จะอ้างว่าพราหมณ์ในรุ่นก่อน ๆ จะเคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะแต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามถึงประวัติของพระพรหมแต่ไม่มีพราหมณ์คนใดตอบเจ้าชายสิทธัตถะได้ คำให้การของพราหมณ์นั้นน่าสงสัยและไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่สามารถยืนยันความจริงของการมีอยู่ของเหล่าทวยเทพได้  สิ่งนี้ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยในความจริงของการมีอยู่ของพระพรหมและเจ้าชายสิทธัตถะทรงประสงค์ที่จะแสวงหาความรู้เกี่ยวข้องกับพระพรหมต่อไป เมื่อพระองค์ทรงสืบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอแล้ว พระองค์ก็จะทรงวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้  เป็นต้น 

    แนวคิดปรัชญาพุทธภูมิ คือ ความรู้ที่ไม่ได้เกิดจากจินตนาการของผู้เขียน แต่เป็นความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้เขียนที่เดินทางไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔แห่งเหล่านี้ยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการดำรงอยู่ของพระพุทธเจ้า เมื่อผู้เขียนเดินทางไปถึงสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา  ปรินิพพานก็ได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่เหล่านี้และยอมรับพยานวัตถุเหล่านี้โดยปริยายว่า เป็นสถานที่จริงตามประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาก็ตาม แต่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าเมื่อได้ยินข้อความคิดเห็นในเรื่องใด  อย่าเชื่อทันทีว่าจริงแต่ให้สงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ แต่เมื่อวิเคราะห์หลักฐานแล้ว เหตุผลไม่เพียงพอในการอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบได้ เรื่องจากเรื่องราวยังไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร? เมื่อข้อเท็จจริงมีข้อสงสัยและผู้เขียนชอบที่จะค้นคว้าในเรื่องนี้เพิ่มเติม โดยสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากพระไตรปิฎกมหาจุฬา พระไตรปิฎกหลวง บันทึกการจาริกแสวงบุญของภิกษุชาวจีน แผนที่โลกกูเกิล  แผนที่อินเดียโบราณ พยานวัตถุได้แก่ พุทธสถานโบราณในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลหลักฐานของนักโบราณคดีชาวอินเดียบทความบนเว็บไซต์ ความรู้จากประสบการณ์ชีวิตในการทำงานเป็นพระนักเทศน์ ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในใจของผู้เขียนซึ่งทำงานเป็นพระวิทยากรเป็นต้น ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้เกิดปรัชญาในดินแดนพุทธภูมิ นั้น สาเหตุมาจากการตัดสินใจของผู้เขียนเองที่จะเขียนปรัชญาพุทธภูมิในบล็อค(Blog) กล่าวคือ

     ประการแรกความฝันของผู้เขียน เมื่อผู้เขียนยังเป็นเด็กและชอบอ่านหนังสือท่องเที่ยว ในห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองสกลนคร หนังสือนวนิยาย ที่พ่อของผู้เขียนซื้อจากร้านขายหนังสือสกลพิทยา เป็นร้านขายหนังสือแห่งเดียวในย่านนั้น จนกระทั่งผู้เขียนมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมเป็นความรู้ทางอารมณ์ในจิตใจ ความรู้เหล่านี้ทำให้ผู้เขียนเกิดจินตนาการและความฝันของผู้เขียนต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพราะผู้เขียนคิดว่าชีวิตในต่างประเทศคงจะมีความสุข ผู้เขียนต้องใช้เวลาหลายปีในการค้นหาเส้นทางแห่งความฝัน และวันที่ผู้เขียนรอคอยมาถึงในปีพ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้เขียนเริ่มค้นหาความฝัน โดยตัดสินใจไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ของมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู (Banaras Hindu university) ที่ตั้งอยู่ในเขตพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย หลังจากที่ผู้เขียนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญา มีทุนการศึกษาเพียงพอและตัวแทนของผู้เขียนได้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยแล้ว ผู้เขียนได้ขึ้นเที่ยวบินของการบินไทยจากสนามบินนานาชาติดอนเมืองไปยังสนามบินนานาชาติกัลกัตต้า เวลาเช็คอินคือ ๑๐ โมงเช้า กว่าเครื่องจะบินได้ก็เกือบ ๑๓.๐๐ น. เครื่องบินของสายการบินไทยมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติกัลกัตตาเวลา ๑๖.๐๐ น.  นี่เป็นครั้งที่สองที่ผู้เขียนเดินทางไปต่างประเทศ ความฝันที่ผู้เขียนเคยจินตนาการได้ชัดเจนขึ้นไม่มีอะไรต้องกังวลแม้ทางข้างหน้าจะยาวไกลและไม่แน่นอนว่าจะเป็นจริงก็ตาม

         ในปี ๒๐๐๒ ท่าอากาศนานาชาติกัลกัตตา ยังคงเป็นสนามบินขนาดเล็กเท่านั้น ในอดีตพระไทยที่เดินทางไปสาธารณรัฐอินเดียเพื่อแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นประจำและนั่งรถไฟจากสถานีเฮาล่าร์ เมืองกัลกาต้าไปเมืองคยาผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นอย่างมาก ที่ได้เห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา หลังจากเช็คเอ้าท์จากสนามบินเรียบร้อยแล้วใจของผู้เขียนคิดว่าเรามาถึงเมืองพาราณสีที่เรามาเรียนแล้วแต่ปรากฏว่าเรานั่งแท็กซี่ไปวัดพุทธมหายานเพื่อรอรถไฟเวลาประมาณ ๑ ทุ่มสถานีรถไฟเฮาล่าร์ ตั้งอยู่ในเมืองกัลกัตตา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตกของสาธารณรัฐอินเดียระหว่างการเดินทางโดยรถไฟจากเมืองกัลกัตตาไปยังเมืองพาราณสี ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงจากนักศึกษารุ่นพี่เกี่ยวกับเมืองพาราณสีซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานว่าเป็นบ้านเกิดกำเนิดของพระพุทธศาสนา  เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก เมื่อผู้เขียนและคณะมาถึงสถานีรถไฟเฮาลาร์ ผู้เขียนเห็นว่าชาวอินเดียจำนวนมากขึ้นรถไฟโดยสารไปยังเมืองต่างๆ ทั่วอินเดียซึ่งส่วนใหญ่เดินทางกับครอบครัวอาคารสถานีรถไฟเป็นจุดเชื่อมต่อขนาดใหญ่ที่มีป้ายประกาศที่สถานีรถไฟส่วนใหญ่เป็นภาษาฮินดี โดยใช้ภาษาอังกฤษน้อยมากในการสื่อสารกับคนต่างชาติ ผู้เขียนรู้สึกว่าตนเองมิใช่คนแปลกหน้าในอินเดีย ชีวิตเริ่มเดินทางอีกครั้งหนึ่งและผู้เขียนไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เราต้องจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้ ผู้เขียนมาถึงเมืองพาราณสีเกือบแปดโมงเช้า และมีรุ่นพี่มารับที่สถานีรถไฟ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ๒.หลักฐานพิสูจน์พุทธประวัติในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง)
   

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ