The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

บทนำ: ปัญหาวรรณะในพระไตรปิฎก

introduction:  The problem of caste in the Tripitaka

บทนำ

          โดยทั่วไปแล้ว    การจาริกแสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลก เกิดขึ้นจากศรัทธาของพวกเขาที่มีต่อพระพุทธเจ้าเพื่อระลึกถึงคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ณ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองโดยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุสัจธรรมแห่งชีวิต  ระหว่างการเดินทางสู่เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่ง จะมีการเทศนาบรรยายเรื่องราวประวัติศาสตร์พุทธศาสนา เพื่อให้ชาวไทยพุทธได้ฟัง มีความเข้าใจในพระพุทธศาสนามากขึ้น มีอีกประเด็นหนึ่งที่พวกเขาสนใจมากเป็นประเด็นเรื่อง "วรรณะ" ในสาธารณรัฐอินเดีย ที่ชาวไทยพุทธมักถามปัญหากับผู้เขียนในเรื่องนี้  เนื่องจากเราไม่ได้ศึกษาเรื่องวรรณะตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้นมากนัก ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งพระพุทธศาสนา  ตามหลักสูตรพุทธศาสนาแทบไม่มีการเอยถึงเรื่องวรรณะในตำราพุทธศาสนาเลย   อาจเป็นเพราะนักปรัชญาชาวพุทธมองเห็นว่าวรรณะไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของพุทธศาสนาในอนุทวีปอินเดีย  ชาวไทยพุทธจึงสนใจศึกษาพุทธศาสนาเรื่องปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อการหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเกิดและการตายในสังสารวัฏมากกว่าสิ่งอื่นใด

        การแบ่งวรรณะเป็น ๑ ในอารยธรรมที่ชาวโกลิยะสร้างขึ้นจากคำสอนของพราหมณ์เกี่ยวกับการบูชาเทพเจ้าและเทวดา  สิ่งนี้สร้างรายได้มหาศาลให้กับพราหมณ์อารยันจากการบูชาเทพเจ้า และพวกพราหมณ์มิลักขะจาการบูชาเทวดา เมื่อพราหมณ์ได้รับรายได้มหาศาลจากการบูชา จึงทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วอนุทวีป เนื่องจากความละโมบของพราหมณ์อารยันที่ต้องการผูกขาดการบูชา จึงพยายามหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์มิลักขะในการบูชาเทวดา ต่อมาเมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตจากมหาราชาแห่งแคว้นสักกะ ให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษามหาราชาแห่งแคว้นสักกะจึงทำให้มีอิทธิพลทางการเมือง พวกเขามองเห็นว่าเมื่อพราหมณ์มิลักขะยังคงได้รับความศรัทธาจากประชาชนต่อไป ในอนาคตมหาราชาแห่งสักกะอาจทรงแต่งตั้งพราหมณ์มิลักขะเป็นปุโรหิตแล้ว ก็จะเป็นเรื่องยากที่มหาราชาจะปกครองแคว้นสักกะให้มีความสงบสุขตามหลักศีลธรรมและกฎหมาย เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงและรักษารายได้จากการบูชาเทพเจ้าของตนเองไว้ พราหมณ์อารยันจึงได้เสนอหลักคำสอนของพราหมณ์อารยันต่อรัฐสภาแห่งชาติสักกะ เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของชาวสักกะให้ชัดเจน โดยแบ่งประชาชนเป็น ๔ วรรณะ คือ วรรณะพราหมณ์มีหน้าที่บูชายัญ วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครอง วรรณะแพศย์มีหน้าที่รับผิดชอบด้านเกษตรและค้าขาย วรรณะศูทรมีหน้าที่รับใช้วรรณะสูง  เป็นต้น มีสภาพบังคับตามกฎหมายวรรณะโดยห้ามการมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะและห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น เมื่อมนุษย์มีตัณหามากมายจนไม่สามารถควบคุมของตนเองได้ ดังนั้น เขาจึงกระทำความผิดฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรงจึงถูกคนในสังคมลงโทษ เมื่อความเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์   เป็นความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตที่ถ่ายทอดกันมาจากผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมในจิตใจของมนุษย์ จนกลายเป็นความเชื่อที่หยั่งรากลึกในจิตใจของคนในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  แม้ว่าวิญญาณของพวกเขาจะผ่านวงจรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดนับไม่ถ้วน แต่อารมณ์เหล่านั้นไม่ได้หายไปจากจิตใจพวกเขาเลย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ มีการบูชาเทพเจ้าทั่วโลกเป็นประจำ  

     ในการศึกษาปัญหาญาณวิทยาเรื่องสาเหตุของการเลือกปฏิบัติทางวรรณะในสังคมอนุทวีปอินเดีย แม้เราจะได้ยินความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณะตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา จากพระธรรมเทศนา และการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน และมหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทย ตามหลักอภิปรัชญาในปรัชญาแดนพุทธภูมินั้น แม้ว่าข้อความในเรื่องนี้เป็นที่ยอมโดยปริยายว่าเป็นความจริง แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อเราได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใด ๆ เราอย่าเชื่อทันทีเราควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ให้เพียงพอ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล  หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงของคำตอบ ถือว่าคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์เพียงปากเดียวไม่น่าเชื่อถือ และรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นไม่ได้ว่าเป็นความจริง เพราะมนุษย์อคติต่อกันและอวัยวะอินทรีย์ ๖ มีข้อจำกัดในการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมความรู้อยู่ในจิตใจของตนเองด้วย เพื่อแก้ปัญหาความไม่น่าถือของพยานหลักฐานโดยเฉพาะประจักษ์พยาน ญาณวิทยาจึงสร้างทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ที่ให้การเป็นพยานได้ ต้องมีความรู้ผ่านผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจเท่านั้น เป็นต้น   

       เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯและพระไตรปิฎกฉบับหลวง ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในรัชสมัยของพระเจ้าโอกกากราชแห่งอาณาจักรโกฬิยะ (Koliya Kingdom) ชาวโกลิยะเชื้อสายอารยันเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพระพรหม พระอิศวร พระอินทร์ เป็นต้น ชาวโกลิยะเชื้อสายมิลักขะบูชาน้ำเป็นเทวดา ในแต่ละปี ชาวโกลิยะจะทำพิธีบูชาเทพเจ้าด้วยสิ่งของมีค่าต่าง ๆ พิธีการเสร็จสิ้นแล้ว ของถวายนี้เป็นของพราหมณ์ที่ทำพิธี ดังนั้นการถวายเครื่องบูชาจึงนำความมั่งคั่งมาสู่ทั้งพราหมณ์อารยันและมิลักขะเมื่อสถานการณ์ทางสังคมเป็นเช่นนี้ พวกพราหมณ์อารยันต้องการผูกขาดศรัทธาของประชาชน และประโยชน์ของการบูชาในเทพเจ้าของตน  พวกพราหมณ์นิกายต่าง ๆ จึงพยายามอธิบายคุณค่าของเทพเจ้าของตนว่าเหนือเทพเจ้าของนิกายอื่น ๆ เพื่อเรียกร้องเอาค่าการบูชาด้วยของมีค่าต่าง ๆ เป็นต้น 

       การบูชาเทพเจ้ากลายเป็นประเด็นทางการเมือง เมื่อมหาราชแห่งแคว้นใดทรงเชื่อเทพเจ้าองค์ใด หากพวกพราหมณ์อารยันหรือพราหมณ์ดราวิเดียนทำพิธีบูชายัญเทพเจ้าองค์นั้น แล้วพระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศแล้ว และทรงแต่งตั้งพราหมณ์เป็นปุโรหิต (priesthood)    ให้มีหน้าที่ให้คำปรึกษามหาราชในด้านกฏหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี ดังนั้นเมื่อพราหมณ์อารยันพิจารณาเห็นว่า หากอนุญาตให้พราหมณ์ดราวิเดียนทำพิธีบูชายัญเทวดาให้กับมหาราชาแห่งแคว้นของตน แล้วทรงประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศ พระองค์จะทรงแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิต (priesthood) ซึ่งส่งผลกระทบต่อนโยบายทางการเมืองในรัฐนั้น เพื่อผูกขาดประโยชน์ของการบูชาเทพเจ้า ความมั่นคงของชาติ และป้องกันไม่ให้ชาวดราวิเดียนกลับมามีอิทธิพลทางการเมืองอีกหากสถานการณ์ทางการเมืองยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป เป็นเรื่องยากที่ชาวอารยันจะใช้อำนาจอธิปไตยของตนมาปกครองประเทศให้เจริญรุ่งเรืองโดยชาวอารยันเพียงกลุ่มเดียว  ปุโรหิตชาวอารยันจึงเสนอให้ตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเพื่อแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หากประชาชนฝ่าฝืนกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ให้อำนาจคนในสังคมลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากสังคมไปตลอดชีวิต พวกเขาหวาดกลัวจึงต้องใช่ชีวิตเร่ร่อนอยู่ตามท้องถนนในพระนครกบิลพัสดุ์  เป็นต้น          

           เมื่อผู้เขียนศึกษาได้หลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ทั้ง ๔๕ เล่มและอรรถกถาแล้ว  ได้ยินข้อเท็จจริงว่า อาณาจักรโกลิยะและสักกะ   ได้ประกาศใช้กฎหมายวรรณะจารีต ประเพณีโดยแบ่งประชาชนในประเทศออกเป็น  ๔ วรรณะ  คือวรรณะกษัตริย์  วรรณะพราหมณ์       วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้นแม้ผู้เขียนจะยอมรับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้โดยปริยายว่าเป็นความจริงก็ตาม  แต่เมื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับวรรณะแล้ว        ก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันความเป็นมาของวรรณะในแคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะได้      และตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดที่เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือปฏิบัติตามประเพณีสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่  โดยข่าวลือ   โดยอ้างตำราหรือคัมภีร์ เพราะตรรกะ (คิดเอาเอง)  อย่าเพ่งเชื่อทันที    ควรสงสัยไว้ก่อนจนกว่าจะสืบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานเพื่อใช้ในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้    เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น  ๆ  เป็นต้น  ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องวรรณะตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น     ยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยและผู้เขียนชอบที่จะศึกษาในเรื่องนี้ต่อไป     ผู้เขียนจึงสอบสวนข้อเท็จจริง   และรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาของการแบ่งชนชั้นวรรณะในแคว้นต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก อรรถกถา    และข่าวสารเกี่ยวกับวรรณะตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว  ผู้เขียนจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบเกี่ยวกับสาเหตุการแบ่งชั้นวรรณะในอนุทวีปอินเดีย    โดยเขียนคำอธิบายในรูปแบบบทความเชิงวิเคราะห์พุทธปรัชญา บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่พระวิทยากร    ผู้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญชาวไทยในสังเวชนียสถานทั้ง ๔  แห่งในสาธารณรัฐอินเดีย      และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า  จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาปริญญาเอกสาขาปรัชญา    พุทธศาสนา  และนิติศาสตร์      เพื่อจัดทำแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยในระดับปริญญาเอก    เพื่อให้ได้ความรู้และความจริง ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินความรู้ที่แท้จริงอย่างสมเหตุสมผล โดยไม่สงสัยความจริงของคำตอบในเรื่องนี้อีกต่อไป   


3 ความคิดเห็น:

Pick pick กล่าวว่า...

ทุกคนล้วนมีความชอบที่แตกต่างกัน
แต่ปลายทางเหมือนกัน...ครับ

ส.ท อภิสิทธิ์ วงษ์ทอง 6606504318 กล่าวว่า...

🥰😇

ส.ท อภิสิทธิ์ วงษ์ทอง 6606504318 กล่าวว่า...

ดีมากครับ.🥰😇

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ