The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

บทนำ สถูปเกสริยาเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตรในปรัชญาแดนพุทธภูมิ

บทนำ สถูปเกสริยาเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตรในปรัชญาแดนพุทธภูมิ

ภาพโดยก้าวตามธรรม(follow dhamma)
บทนำ
      ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับความจริงของสถูปเกสริยาว่าเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตรในปรัชญาพุทธภูมิ มันเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่น่าสนใจที่สุดและเป็นประเด็นหนึ่งที่เราควรศึกษาเพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับมนุษย์ ตามหลักปรัชญานั้น กระบวนการวิเคราะห์ความจริงได้กำหนดไว้ดังนี้ เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ อย่าเพ่งเชื่อทันที่ว่าข้อเท็จจริงในเรื่องดังหล่าวนั้นเป็นความจริง เราต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริง ตามหลักปรัชญาถือว่าข้อเท็จจริงที่เราได้ยินมาจากคำให้การของพยานที่อ้างว่าได์เห็นการณ์นั้น ขาดความน่าเชื่อถือและตามหลักปรัชญานั้น ไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงได้ว่าเป็นความจริงได้เพราะมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวโดยเนื้อแท้จึงแนวโน้มที่จะมีอคติต่อผู้อื่นที่เกิดจากความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชัง ความรักเป็นต้น นอกจากนี้มนุษย์ยังมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในอดีต ย้อนไปถึงสมัยพระพุทธเจ้าได้ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไกลออกไป เป็นต้น   

       สถูปเกสเรียเป็นหนึ่งในสถานที่ทางพุทธศาสนาที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่บนเส้นทางการแสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกระหว่างเขตเวสารีรัฐพิหาร กับ เขตกุสินารา รัฐอุตตรประเทศสาธารณรัฐอินเดีย สถูปเกสเรียแห่งนี้มีนักปรัชญ์ชาวพุทธหลายคนเชื่อว่าเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงกาลามสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่อธิบายแนวคิดที่มาของความรู้มนุษย์ที่เรียกว่า"ญาณวิทยา" ในยุคปัจจุบันเรียกว่า"ทฤษฎีความรู้" เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด อย่าเพิ่งเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง ควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง  แต่เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อความของคำว่า "สถูปเกสเรีย"หรือเกสริยา"ในแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต https://tripitakaonline.blogspot.com/2016/08/tpd32-02.html เพื่อค้นหาข้อความในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯและอรรถกถา แต่กลับไม่พบคำว่า"เกสเรีย"หรือ"เกสริยา" แต่อย่างใด แต่นักปรัชญาหลายท่านได้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบว่า"สถูปเกสเรีย"คือสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงกาลามสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่แสดงต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์ ต่อมานักปรัชญาตะวันตกได้พัฒนาคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เป็น "ทฤษฎีความรู้" เกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ในปรัชญาพุทธภูมิ เป็นต้น ที่สถูปเกสเรียแห่งนี้ ผู้เขียนเดินทางไปกับนักแสวงบุญหลายคณะในการเดินทางไปปฏิบัติบูชา รำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าและเดินตามรอยพระพุทธเจ้าด้วยฝึกสมาธิ และเพิ่มพลังชีวิตให้บริสุทธิปราศจากอคติและไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวในจิตใจ อ่อนโยนและไม่หยาบกระด้าง ตั้งมั่นเป้าหมายของชีวิตให้มั่นคงและไม่ลังเลใจในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมด้วยสติปัญญาของตนเอง เป็นต้น               

    เมื่อผู้เขียนดูรูปทรงของสถูปเกสเรียจะมีลักษณะเหมือนชามคว่ำสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อผู้เขียนพิจารณาความมีอยู่ของสถูปเกสเรีย ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองแต่เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถูปแห่งนี้ ปรากฏอยู่ในจิตใจของผู้เขียนยังไม่ชัดเจนเพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอสิ่งนี้ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าสถูปเกสรียาเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องกาลามสูตรจริงหรือ? แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จากพยานเอกสาร เช่น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ  อรรถกถา พยานวัตถุได้แก่สถูปเกสเรีย พยานแผนเอกสารดิจิทัลได้แก่แผนที่โลกกูเกิลและแผนที่โบราณ ส่วนพยานบุคคลได้แก่ บันทึกจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน เป็นต้น เพื่อหาเหตุผลยื่นยันความจริงของตอบผลในเรื่องนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากจากพยานหลักฐานเกี่ยวกับสถูปเกสรียาเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนี้ จะเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินทางญาณวิทยาที่สมเหตุสมผล และไม่สงสัยในความจริงของสถูปเกสริยาอีกต่อไป เนื้อหาของบทความในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรในอินเดียและเนปาล สามารถใช้ในการบรรยายได้ ให้แก่ผู้แสวงบุญไทยพุทธและชาวต่างประเทศให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกระบวนวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ จะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อใช้ในการตีความพระไตรปิฎก เพื่อให้ได้ความรู้ที่สมเหตุสมผลและเป็นความจริงตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างไม่ต้องสงสัย. 



4 ความคิดเห็น:

อจ.เลิศ กล่าวว่า...

มหาสถูปเกสเรีย แคว้นวัชชี

มหาสถูปเกสเรียวัดความกว้างได้ 1400 ฟุต ส่วนสูง 123 ฟุต

ขณะที่บุโรบุโดนั้นสูงเพียง 103 ฟุตเท่านั้น

สถานที่แห่งนี้ จะเป็นคนละแห่ง กับหมู่บ้านเกสปุตตนิคม ที่อยู่แคว้นโกศล


ระยะทาง เกสเรียอยู่ห่างจากเมืองไพศาลี 55 กิโลเมตร จากเมืองปัตนะ 120 กิโลเมตร จากมุซาฟาร์ปูร์ 75 กิโลเมตร จากโมติหารี 54 กิโลเมตร ตัวสถูปตั้งอยู่บนทางแยกจากเส้นทางจากไพศาลี-กุสินารา เข้าไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร

อจ.เลิศ กล่าวว่า...

เกสริยา, เกสเรีย (Kesariya, Kesaria)

เกสริยา มหาสถูปเกสริยา (Kesariya Maha stupa) (Champaran) แคว้นวัชชี ปัจจุบัน คือเมืองเขตจังหวัดจัมบารันรัฐพิหาร

เกสริยา มหาสถูป สร้างขึ้นเป็นฐานกลมครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ -๖ และ มีการปฏิสังขรณ์เติมซุ้มคูหาในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ เป็นมหาสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย

เกสริยา เป็นสถูปยุคแรกๆ ของพระพุทธศาสนา


ต้นกำเนิดของเจดีย์มาจากอินเดียเรียกว่า “สถูป” ในภาษาบาลี หรือ “ถูป” ในภาษาสันสกฤต แต่เดิมก่อนมีพระพุทธศาสนาเป็นที่ฝังอัฐิ ใน ในล้านนาเรียกเจดีย์ว่า กู่ เช่น กู่เต้า กู่กุด ต่างจากในภาคตะวันออกเฉียง เหนือนิยมเรียกเจดีย์ว่า ธาตุ

อจ.เลิศ กล่าวว่า...

เกสริยาสถูป

สถานที่ประดิษฐานบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาววัชชี เมื่อครั้งพุทธกาลเกสเรียอยู่ในเขตพรมแดนของแคว้นวัชชีและมัลละต่อกัน รัฐพิหารในปัจจุบัน

มหาสถูปแห่งเกสเรีย หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่า เกสริยา, เกสเรีย (อังกฤษ: Kesaria, อักษรเทวนาครี: केसरिया)สถานที่ประดิษฐานบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาววัชชี

Dr.P. Y. Pulperm กล่าวว่า...

ในวรรคที่สองกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ