บทนำจัณฑาลที่ถูกริดรอนสิทธิมนุษยชนในพระไตรปิฎก
Introduction: Chandala, the deprived of human rights in the Tripitaka
คำสำคัญ จัณฑาล สิทธิมนุษยชน พระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ
บทนำ:ความเป็นมาและความสำคัญของจัณฑาล
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนมีสิทธิมนุษย์ ความหมายของคำว่า"สิทธิมนุษยชน" ตามพจนานุกรมแปลไทย-อังกฤษ Exitronได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "สิทธิมนุษยชนว่าคือ สิทธิความเป็นมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่เกิดเพื่อใช้ในชีวิตของตนเอง ตามพจนานุกรมแปลไทย -ไทยของอ.เปลื้อง ณ นคร สิทธิมนุษยชนหมายถึงสิทธิพื้นฐานการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ทั้งในด้านชีวิต ร่างกาย ความคิด ทรัพย์สิน การเมือง การศึกษา ครอบครัวและหลักประกันทางสังคม เป็นต้น
การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่นการทำร้ายร่างกายหรือฆ่าผู้อื่น การลักขโมยหรือฉ้อโกงทรัพย์ของผู้อื่น การข่มขืนโดยไม่ได้รับความยินยอม การดูหมิ่นผู้อื่น การบังคับให้ผู้อื่นดื่มสุราและเสพยาเพื่อบังคับให้เป็นอาชญากร หรือถูกเลือกปฏิบัติในการใช้บริการสาธารณะ เช่น การห้ามขึ้นรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ การห้ามเข้าร้านอาหาร การห้ามใช้บ่อน้ำสาธารณะ การห้ามเรียนหนังสือร่วมกันกับลูกหลานคนรวยในโรงเรียน การใช้ภาษาหยาบคายต่อผู้อื่นในโซเชียล มีเดีย (Social media) หรือการบัญญัติกฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการทำงาน การศึกษา การห้ามมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และการห้ามปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาตามความเชื่อของตน ล้วนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ประชาชนผู้มีวิจารณญาณควรเรียนรู้ที่จะเข้าใจด้วยการสืบหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ เพื่อร่วมกันหาแนวทางป้องกันปัญหาในสังคม เป็นต้น
ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อประเทศชาติของตนอย่างชัดเจน ในด้านการเมือง การศึกษา การประกอบอาชีพ การทหารในการปกป้องประเทศชาติ ด้วยความศรัทธาในประเทศของตนว่าตนมีสิทธิและเสรีภาพในการเลือกทางดำเนินชีวิตของตน มีความขยันหมั่นเพียรในการเรียนรู้และการทำงาน เพื่อปกป้องชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ในภารกิจของชาติที่ได้รับมอบหมาย ระลึกถึงความรู้จากการศึกษาโดยตรง ในสถาบันการศึกษาและประสบการณ์ทางอ้อม เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ความเข้มแข็ง รัฐบาลควรส่งเสริมให้พลเมืองมีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ ฝึกสติและปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิตที่เกิดผลขึ้นจากการกระทำในแต่ละวัน พลเมืองสามารถวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากข้อมูลต่าง ๆ ผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์กเพื่อร่วมมือในการแก้ปัญหาของชาติ รู้จักปกป้องชาติ และสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติด้วยการเสียภาษี เพื่อให้รัฐบาลสามารถนำภาษีไปสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้กับพลเมือง และให้บริการนักท่องเที่ยวให้มีความสะดวกในการพักผ่อน ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น เมื่อพลเมืองมีรายได้ สามารถพึ่งตนเองได้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตก็เกิดศรัทธาในการปกครองประเทศและมีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ของตน มีสติในการระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิต มีสมาธิแน่วแน่ที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงไปและมีปัญญาหยั่งรู้ผลกรรมในการปฏิบัติงานของตนเอง ก็จะมีความสุขตามหลักศีลธรรมและกฎหมายของประเทศ เมื่อประชาชนมีทักษะความสามารถเช่นนี้แล้ว ประเทศชาติก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองเป็นนิจโดยไม่ตกลงไปสู่ที่เสื่อมเลย เป็นต้น
แต่ถึงแม้ว่า ผู้นำของประเทศจะได้รับความไว้วางใจจากการเลือกตั้งให้บริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตยและมีบทบาทสำคัญในการกำหนดชะตากรรมของประเทศนาน ๔ ปี ผู้นำประเทศได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อประชาชนด้วยความเมตตากรุณาและเป็นที่ยอมรับของประชาชนก็ตาม แต่คุณภาพชีวิตของประชาชนกลับไม่ดีขึ้นเพราะประชาชนขาดสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ๔ ประการคือ ที่อยู่อาศัยที่ดี เครื่องนุ่งห่มที่ดีในฤดูหนาว อาหารเพื่อการยังชีพและยารักษาโรค เป็นต้น เมื่อชีวิตของประชาชนตกอยู่ในความมืดมน ประชาชนไม่สามารถพึ่งตนเองได้เพราะไม่มีงานทำ และรัฐบาลขาดศักยภาพในการสร้างงานและอาชีพให้กับประชาชน ตามทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่กำลังเข้ามาแทนที่มนุษย์ เมื่อสถานการณ์ทางสังคมเป็นเช่นนี้ ประชาชนประสบปัญหารายได้ครัวเรือนไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ส่งผลให้รัฐบาลมีปัญหาในการบริหารประเทศให้ก้าวหน้า ผู้นำประเทศต้องยุติบทบาทก่อนสิ้นวาระ หากยังสติ สมาธิ และปัญญาในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน
เมื่อเราศึกษาข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่รวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว เราจะเห็นพัฒนาการของความรู้ของมนุษย์ ซึ่งเริ่มต้นจากความกลัวไม่เที่ยงของชีวิต สงครามของมนุษย์ ที่ยึดครองอำนาจอธิปไตยของดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ เพื่อปกครองตนเอง เช่น ชาวอารยันที่อพยพไปยังอนุทวีปอินเดียเห็นว่าอนุทวีปอินเดียอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และชาวมิลักขะเป็นคนโง่เขลา เมื่อชาวอารยันสร้างสังคมการเมืองของตนเองโดยทำสงคราม เพื่อยึดอำนาจอธิปไตยในการปกครองอนุทวีปอินเดียของชาวมิลักขะสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทวดาของชาวมิลักขะ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกินขอบเขตการรับรู้และสั่งสมอยู่ในจิตใจของชาวมิลักขะมาเป็นเวลานาน ได้สร้างฐานะความร่ำรวยให้กับพราหมณ์มิลักขะพอ ๆ กับพราหมณ์อารยันที่เชื่อในเทพเจ้า เช่น พระพรหมและพระอิศร เป็นต้น เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่วรรณะกษัตริย์ในเรื่องกฎหมาย ประเพณีและขนบธรรม พวกเขาจึงเสนอให้บัญญัติกฎหมายวรรณะ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของการบูชายัญเทพเจ้าให้พราหมณ์อารยันเพียงฝ่ายเดียว โดยจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวดราวิเดียน ด้วยการกำหนดให้พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมาเท่านั้น โดยอ้างเหตุผลว่าเมื่อพระพรหมและพระอิศวรสร้างชาวสักกะขึ้นมา จึงกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้ปฏิบัติตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมาเท่านั้น
เมื่อผู้ปกครองออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้กับประชาชน ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เมื่อประชาชนเป็นมนุษย์ที่มีอายตนะภายในร่างกาย รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมีความลำเอียงต่อผู้อื่น ชีวิตของประชาชนจึงเต็มไปด้วยความมืดมนอยู่ตลอดเวลาในการพัฒนาประเทศนั้น ประชาชนจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศในด้านการเมือง การศึกษา การเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและการศาสนาให้ก้าวหน้าเท่าทันปประเทศอื่น ๆ การที่ประชาชนจะเข้าถึงระบบการศึกษาที่ดีของประเทศได้ รัฐจำเป็นต้อง ออกกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ของพลเมืองของประเทศต้องปฏิบัติตามในการศึกษา การประกอบอาชีพ การมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ หรือพลเมืองมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเท่าเทียมกันเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว
แต่พลเมืองไม่สามารถเข้าใจสิทธิพื้นฐานและหน้าที่ของตน ตามกฎหมายได้ เพราะพวกเขาขาดความรู้พื้นฐานในการศึกษาและได้รับความรู้โดยตรงจากประสบการณ์ชีวิต จึงไม่สามารถใช้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เมื่อพวกเขาไม่มีความรู้ที่เป็นที่พึ่งของตนเอง แต่ต้องปฏิบัติตามผู้นำประเทศที่ไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตหรือผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่ไม่สามารถชี้แนะคนในสังคมให้ปฏิบัติตามได้ เพราะเป็นความรู้ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริง สามารถใช้เหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบให้กับประชาชนให้เข้าใจได้
ผู้เขียนค้นพบหลักฐานในพระไตรปิฎกมหจุฬาลงกรณ เกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ ลักษณะความรู้ของมนุษย์ วิธีแสวงหาความรู้ของมนุษย์และ ความสมเหตุสมผลความรู้ของมนุษย์ ปรัชญาต้องมีคำตอบของปัญหานั้นว่า"เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นเรื่องจริง?" เมื่อได้ยินความคิดเห็นในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมนุษย์ก็มีทั้งความคิดเห็นที่จริงและเท็จ แต่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้(อวิชชา) เมื่อมนุษย์ไม่สามารถแยกแยะระหว่างสิ่งจริงหรือสิ่งเท็จได้จึงสร้างวิธีพิจารณาความจริงที่เป็นสากลที่ทุกคนสามารถใช้ได้และมีผลในทางปฏิบัติเช่นเดียวกันช่วยให้มนุษย์แยกแยะได้ว่าความรู้ใดจริง หรือความรู้ใดเท็จ
ในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ ผู้คนในอนุทวีปอินเดียได้รับการสอนจากพราหมณ์ว่า พระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระพรหม เมื่อผู้คนในอนุทวีปเชื่อว่ามีพระพรหมและเทพเจ้าอื่น ๆ อยู่มากมาย ก็จะสามารถช่วยให้กษัตริย์ และผู้คนจากทุกชนช้้นทางสังคมทุกระดับประสบความสำเร็จในชีวิตได้ แต่การบูชายัญนั้นได้สร้างความมั่งคั่งนั้น มีมูลค่ามหาศาลทุกปีสำหรับพราหมณ์อารยันและดราวิเดียน แต่พราหมณ์อารยันต้องการผูกขาดการบูชายัญ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์อารยันเท่านั้น เมื่อมหาราชทรงแต่งตั้งพราหมณ์อารยันให้เป็นปุโรหิต(priesthood)พวกเขามีหน้าที่ให้คำปรึกษาในด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี พวกเขาจึงมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองเศรฐกิจ ศาสนาและวัฒนธรรมต่อสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ
เมื่อปุโรหิตเสนอต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะให้บัญญัติคำสอนของพราหมณ์อารยัน เป็นหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาประจำชาติ และเป็นกฎหมายวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิ และหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียนในการทำพิธีบูชายัญ เมื่อหลักคำสอนทางศาสนาพราหมณ์เป็นกฎหมายวรรณะ ทำให้แคว้นสักกะเป็นรัฐทางศาสนาพราหมณ์ เมื่อระบบวรรณะเป็นกฎหมายย่อมมีสภาพบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
กล่าวคือ ห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะและห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น ใครละเมิดบทบัญญัติของกฎหมายวรรณะก็จะเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และกฎหมายวรรณะให้อำนาจประชาชนในการสืบสวนข้อเท็จจริงจากผู้ต้องสงสัยและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอก็จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความผิด เพื่อลงโทษผู้ที่ละเมิดกฎหมายวรรณะโดยมีโทษเนรเทศออกจากถิ่นที่อยู่อาศัยและตัดขาดจากสังคมเดิมไปตลอดชีวิต ต้องอาศัยอยู่บนถนนในเมืองใหญ่
แม้ว่าพวกเขาจะแก่ ป่วย และตายอยู่ข้างถนน เป็นต้น ในยุคที่ศาสนาพราหมณ์รุ่งเรืองเป็นยุคที่เชื่อว่ามีเทพเจ้าอยู่จริง ชีวิตของทุกคนขึ้นอยู่กับความคาดหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น โดยพึ่งพาเทพเจ้าที่ตนอามิสบูชาทุกวัน สมัยพุทธกาลเป็นยุคของบัณฑิต ยุคปัจจุบันเรียกว่า"ยุควิทยาศาสตร์" ที่เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้รับการพัฒนาทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงความรู้ในสาขาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในชนบทหรือในเมือง ผู้คนสามารถใช้ความรู้ของผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ต เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เร็วขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการศึกษา เป็นต้น ในด้านเศรษฐกิจผู้คนเริ่มใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อขายสินค้าออนไลน์และบริการจัดส่งสินค้า ทำธุรกรรมทางการเงิน
ในทางการเมืองอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทชัดเจนและ เป็นตัวขับเคลื่อนนโยบายของรัฐในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิในการรับเงินอุดหนุนจากรัฐได้ง่ายกว่าที่เคย และติดตามการทำงานของรัฐได้อย่างถูกต้องเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นชุมชนการเมืองขนาดใหญ่ที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับบทบาท และความรับผิดชอบต่อประเทศ มีหลักฐานเกี่ยวกับ สิทธิ เสรีภาพและความรับผิดชอบต่อประเทศชาติผ่านอินเตอร์เน็ต และสะท้อนถึงปัญหาสังคมในประเทศ ที่หน่วยงานของรัฐสามารถตรวจสอบได้โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องร้องขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนเช่นเดิม
เมื่อมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตมนุษย์ตกอยู่ในความมืดมิด จึงไม่สามารถคิดในการใช้เหตุผลอธิบายความจริงได้นักวิทยาศาสตร์ จึงสร้างนวัตกรรมในเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ นักวิจัยก็จะใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัย ดังนั้น การสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต จะเป็นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง และจัดเก็บหลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คนในสังคมเพื่อประโยชน์ในการทำงานในสาขาต่าง ๆ
เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตผู้คนมากกว่าสาขาอื่นใด จึงส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนวิธีการทำงาน การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานของรัฐและธนาคารทำให้เรารู้สึกสะดวกสบายมากขึ้นและลดเวลาที่เราอยู่นอกบ้าน ผู้คนเรียนรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรัชญาและพุทธศาสนาได้ตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อโลกจากเนื้อหาบนYouTube และเว็บไซต์เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่รายงานเกี่ยวกับจัณฑาลในสังคมอินเดีย ซึ่งมีการแต่งงานระหว่างหญิงพราหมณ์กับชายจัณฑาล แม้ว่าพ่อแม่ของเด็กสาวจะห้ามไม่ให้ลูกสาวมีความสัมพันธ์กับชายจัณฑาล แต่เธอก็ไม่ฟัง ดังนั้น ผู้เป็นพ่อจึงตัดสินใจฆ่าลูกสาวในวันแต่งงาน หรือข่าวที่พ่อชาวอินเดียตัดสินใจฆ่าเจ้าสาวและตัดหัวเจ้าบ่าวเพื่อรักษาเกียรติของครอบครัว มีหลักฐานในเครือข่ายสังคมออนไลน์
ในปัจจุบัน แม้ว่าสาธารณรัฐอินเดียจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการใช้อำนาจในการปกครองประเทศ และปกป้องชาวอินเดียให้มีสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่เท่าเทียมกันในด้านการเมือง การศึกษา อาชีพ และการบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาของตน การแบ่งชนชั้นวรรณะตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยก่อนสมัยพุทธกาลได้ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย และไม่มีการรับุไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรของสาธารณรัฐอินเดียอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ความเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ ยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจของชาวอินเดียอีกต่อไป ตราบใดที่ชาวอินเดียยังไม่พัฒนาตนเองตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราเดินทางไปแสวงบุญตามเมืองต่าง ๆ ก็ยังคงสามารถเห็นการบูชาเทพเจ้าได้ในรัฐต่าง ๆ ของอินเดีย
เมื่อผู้เขียนได้ยินความคิดเห็นเกี่ยวกับพวกจัณฑาลจากหลักฐานในโซเซียลเน็ตเวิร์ก แม้ว่าผู้เขียนจะยอมรับความจริงโดยปริยาย โดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน หากผู้เขียนต้องแสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ผิดบ้าง ถูกบ้าง ก็อาจเป็นการให้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงในเรื่องนี้ ใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนว่าเมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นก่อนพุทธกาลสู่รุ่นปัจจุบัน เราไม่ควรเชื่อข้อเท็จจริงทันที ควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราก็จะใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงโดยการให้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจัณฑาลนั้นยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนสงสัยว่า จัณฑาลถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนชอบที่จะศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับจัณฑาลต่อไป ดังนั้นผู้เขียนจึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่นหลักฐานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคลหลักฐานเอกสารดิจิทัล และหลักฐานทางวิชาการ เป็นต้น เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ผู้เขียนจะใช้หลักฐานดังกล่าวเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องจัณฑาลนี้ โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา มาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับจัณฑาลอย่างสมเหตุสมผล บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมทูต(Buddhist missionary)แห่งราชอาณาจักรไทยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อให้เนื้อหาคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียนวิทยานิพนธ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอนุมานความรู้ หรือการคาดคะเนความจริงในพระไตรปิฎกและเอกสารอื่น ๆ เพื่อให้ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับเกณฑ์การตัดสินความรู้อย่างสมเหตุสมผล และไม่สงสัยในข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น