The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567

ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับความสงสัยของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก


Epistemological Problem regarding the Buddha's doubts

๑.บทนำ ญาณวิทยา ที่มาของความรู้ ความสงสัย พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก

             โดยทั่วไป  เมื่อผู้คนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ยินด้วยอายตนะภายในร่างกายของตนเอง    แล้วเก็บเรื่องราวเหล่านั้นเป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตนเอง จากนั้นพวกเขาก็ใช้หลักฐานเหล่านั้น      เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้   เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ    โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น      แต่ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้น      มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งที่ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมักมีอคติต่อผู้อื่นเพราะความโง่เขลาของตนเอง  ความเกลียดชัง   ความกลัวและความรักต่อมนุษย์ด้วยกัน    ทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยความมืดมิด      ทำให้พวกเขาไม่มีศรัทธาในตนเอง   ไม่มีวิริยะในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง  ไม่มีสติในการนึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา  ไม่มีสมาธิในการกำหนดรู้              

         ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่สนใจศึกษาปัญหาของต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์    องค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์ วิธีแสวงหาความรู้ของมนุษย์  และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์  ญาณวิทยามีหน้าที่ตอบคำถามที่ว่า"เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนี้เป็นความจริง ?       โดยทั่วไป มนุษย์เรียนรู้ความคิดเห็นในเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันของตนเอง     เมื่อมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้  (อวิชชา) และอคติ   ชีวิตของพวกเขาก็จะมืดมน ดังนั้น  เมื่อมนุษย์ไม่สามารถคิดและแยกแยะว่าอะไรจริงอะไรเท็จได้ ?    

                เพื่อแก้ปัญหานี้      พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า  เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   ความคิดเห็นจากตำราหรือคัมภีร์ทางศาสนา  หรือความคิดเห็นในคำสอนของครูบาอาจารย์  เป็นต้น  เราไม่ควรเชื่อทันที  เราควรสงสัยไว้ก่อน   จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง   ๆ  เพื่อหาเหตุผลในการอธิบายความจริงหรือพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น    เราสามารถยืนยันความจริงในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จที่สมเหตุสมผลได้  

              ดังนั้นเมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงใด  ๆ   ในเรื่องความสงสัยของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ        ก็ต้องมีหลักฐาน มาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น      หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น    ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาจากพยานเพียงคนเดียวก็เชื่อถือไม่ได้ และข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น    ก็ไม่สามารถยอมรับว่าเป็นความจริงได้  เพราะธรรมชาติของมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวและมีความลำเอียงเข้าข้างกัน เกิดจากความไม่รู้ ความเกลียดชัง  ความกลัว  และการรับรู้ที่จำกัดต่อเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งย้อนไปถึงสมัยพระพุทธเจ้าเมื่อกว่า  ๒๕๐๐ ปีก่อน  หรือความรู้ที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาทสัมผัส     มันไม่ชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร?  แต่สำหรับนักปรัชญาแล้ว   พวกเขาจะยังคงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป   

                   ๒.ปัญหาต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์  เมื่อผู้เขียนศึกษาทฤษฎีความรู้ประสบการณ์นิยมมีแนวคิดว่า"ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์นั้น ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมเป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจของมนุษย์เท่านั้น   จึงจะถือว่าเป็นความจริงของเรื่องนั้น "  ตามทฤษฎีความรู้ของมนุษย์นั้น       เมื่อความรู้เป็นของนุษย์ ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์นั้น   เกิดจากจิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิต     และเก็บอารมณ์เหล่านั้นไว้ในใจของตน  แต่อายตนะภายในร่างกาย      มีความสามารถจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตและสั่งสมอยู่ในจิตของตนเอง นอกจากนี้มนุษย์ยังขาดความรู้เพราะอคติของตนเองทำให้ชีวิตพวกเขามืดมน      ดังนั้น เมื่อมีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งผ่านเข้ามาในชีวิต  จึงไม่สามารถวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานเพื่อหาเหตุผลอธิบายแยกแยะความจริงของคำตอบเป็นจริงหรือเท็จ     

             ดังนั้น ทฤษฎีความรู้ในเรื่องนี้  จึงเป็นสร้างองค์ประกอบความรู้เกี่ยวกับพยานหลักฐานที่น่าถือ  ก็ต้องมีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นโดยการรับรู้ผ่านอวัยวะอินทรียฺทั้ง ๖  นั้น   และสั่งสมความรู้อยู่ในจิตใจของพวกเขานั้นใช้ได้เฉพาะความรู้ที่สมมติขึ้น   ส่วนพยานบุคคลที่มีความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์นั้น        จะต้องได้พัฒนาศักยภาพตามอริยมรรคมีองค์ ๘ และบรรลุถึงความจริงในระดับอภิญญา ๖  นั้น    มนุษย์ทุกคนจึงไม่สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมได้ทุกเรื่องดังนั้น จึงไม่สามารถเป็นพยานหลักฐานที่เห็นเหตุการณ์ในที่เกิดเหตุได้ทุกคน   เว้นแต่พยานหลักฐานที่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเท่านั้น  จึงจะเป็นพยานหลักฐานน่าเชื่อ และรับฟังเป็นความจริงหากพยานหลักฐานใด ? ไม่ผ่านการรับรู้ของมนุษย์ถือหลักฐานนั้นไม่มีอยู่จริงข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาถือเป็นความเท็จ เป็นต้น

๓.วิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนา   

           เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่       ๑๒   อังคุตตรนิกาย  [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒. มหาวรรค   ๒. เกสปุตติสูตรข้อ.๖๖...........ลำดับนั้น       พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ สมควรบางพวกสนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง  ณ ที่สมควรบางพวกประนมไหว้ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควรบางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง  ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร     พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคผู้นั่ง  ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     มีสมณะพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคมแสดงประกาศวาทะของตนเท่านั้นแต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่นทำให้ไม่น่าเชื่อถือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณะพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคมแสดงประกาศวาทะของตนเท่านั้น       แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่นทำให้ไม่น่าเชื่อถือ  

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าแต่พระองค์ทั้งหลายมีความสงสัยลังเลใจในสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า "บรรดาสมณะพราหมณ์เหล่านี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ"   พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากาลามชนทั้งหลายก็สมควรที่ท่านทั้งหลาย ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัยสมควรที่จะลังเลใจท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยใจในฐานะที่ควรสงสัยอย่างแท้จริง มาเถิดกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา,อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆกันมา, อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ, อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์,  อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ (การคิดเอาเอง),  อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน, อย่าปลงใจเชื่อด้วยการตริตรองตามแนวเหตุผล, อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว, อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้, อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่าท่านสมณะเป็นครูของเรา กาลามาะทั้งหลาย เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า "ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละ(ธรรมเหล่านั้น) เสีย  

                   ข้อเท็จจริงเบื้องต้น     เมื่อผู้เขียนศึกษาเอกสารหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และหลักฐานทางวิชาการอื่น ๆ  ข้างต้น ผู้เขียนได้รู้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อชาวกาลามะได้ฟังคติความเชื่อ   ความคิดเห็นและหลักการที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา ของนักบวชนิกายอื่น ๆ  ที่เผยแพร่คำสอนในหมู่บ้านเกสปุตตะ แต่เมื่อนักบวชนิกายนั้นได้ประกาศคำสอนของตนแล้ว  พวกเขาก็ยังดูหมิ่นคำสอนของศาสนาอื่น พวกกาลามะสงสัยว่า คำสอนของศาสนาใดเป็นความจริงหรือความเท็จ หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงได้ยินข้อเท็จจริงจากชาวกาลามะแล้ว   พระองค์ได้ทรงสอนว่าเมื่อได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องใดที่ฟังต่อกันมา ไม่ควรเชื่อทันที  เราควรสงสัยก่อนว่ามันไม่เป็นความจริง เมื่อพระองค์ชอบที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในเรื่องนี้ต่อไป เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้     เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบ หรือมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องต่อไปตัวอย่างเช่น  ในสมัยยุคศาสนาพราหมณ์กำลังเจริญรุ่งเรือง  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเห็นปัญหาจัณฑาลที่ถูกคนในสังคมพิพากษาลงโทษตลอดชีวิต    ก็ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนในวัยชรา ล้มป่วย และตายข้างถนนในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาล           สิ่งนี้ทำให้พระองค์ทรงสงสัยการมีอยู่ของพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน   แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่เชื่อการมีอยู่ของพระพรหม เพราะพระองค์ทรงไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระพรหมจากประสบการณ์ชีวิตผ่านทางประสาทสัมผัสของพระองค์เอง  แต่พระองค์ทรงชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานทีเป็นประจักษ์พยานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้คือ พราหมณ์อารยันในฐานะปุโรหิต พวกเขาให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเทพเจ้าต่อพระองค์ว่า      พวกเขาเคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อนและพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์จริง แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามว่า พระพรหมและพระอิศวรมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?  แต่ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้  เมื่อพระองค์ทรงได้ยินข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ เป็นสาเหตุให้พระองค์สงสัยในการมีอยู่ของพระพรหม พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง    และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอแล้ว  พระองค์ทรงใช้หลักฐานเป็นข้อมูลวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ว่าจริงหรือเท็จ แต่ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว  ปรากฏข้อเท็จจริงวาเป็นเท็จ  เป็นต้น   

           เมื่อผลการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรเป็นเท็จแล้ว เจ้าชายสทธัตถะทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในรัฐสักกะตามกระบวนการทางเมืองของอาณาจักรสักกะ พระองค์ทรงเสนอตรากฎหมายจารีตประเพณีว่า ด้วยการยกเลิกวรรณะต่อรัฐสภาศากยวงศ์ โดยมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศและประธานรัฐสภาศายวงศ์ แต่สมาชิกแห่งรัฐสภาศากยวงศ์ได้ร่วมกันพิจารณาร่างกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะแล้ว มีมติไม่อนุมัติร่างกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอเพื่อพิจารณา เพราะขัดต่อ "หลักธรรมของกษัตริย์" ซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศในขณะนั้นที่นักวิชาการชาวพุทธเรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีที่บัญญัติไว้ดีแล้วเช่นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเป็นต้น เมื่อการปฏิรูปสังคมผ่านระบบรัฐสภาศากยวงศ์ของเจ้าชายสิทธัตถะไม่สามารถกระทำได้ เมื่อความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าและกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศ เป็นอุปสรรค์ต่อการปฏิรูปสังคมในประเทศเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยผนวช เพื่อค้นหาความจริงของชีวิตต่อไป เป็นต้น 

1 ความคิดเห็น:

พ.ต.ท.หญิง วิสาสิริ เกียรวิลัย กล่าวว่า...

พระพุทธเจ้า ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จากกรณีศาสนาพราหมณ์
ยังพิสูจน์ไม่ได้ เรื่องวรรณะ มีการตาย เกิด แก่ เจ็บ จึงได้
ออกบวช เพื่อหาความจริงของชีวิตค่ะ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ