The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2566

ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (ตอน๖)

       ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก (ตอน๖)  

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธ
ศาสนา        

            เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานต่าง ๆ ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคมในอาณาจักรสักกะด้วยกระบวนการทางการเมืองได้ เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ ประชุมพิจารณาร่างกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะ ตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอมาให้พิจารณาที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาแล้ว ไม่เห็นชอบด้วยกับกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะ เพราะมันขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพรีสูงสุดในการปกครองอาณาจักรมาตรา ๓  เป็นต้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเมือง    เศรษฐกิจ การศึกษา และการศาสนาพราหมณ์ของอาณาจักรสักกะแล้ว  พระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อชาวสักกะยึดถือความเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์อารยันเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์อย่างมั่นใจ แม้พวกเขาจะไม่เคยเห็นเทพเจ้าเหล่านั้นมาก่อนและไม่มีสิทธิทำพิธีบูชายัญต่อเทพเจ้าโดยตรงต่อเทพเจ้า แม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะ พระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ซึ่งจะเป็นมหาราชแห่งแคว้นสักกะในอนาคตต่อจากพระราชบิดา พระองค์ก็ไม่สามารถบูชายัญได้เพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ

              ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้คนในชมพูทวีปส่วนใหญ่ขาดการศึกษา จึงไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้า จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนยกเว้นวรรณะพราหมณ์เท่านั้น  เมื่อข้อเท็จจริงเป็นข้ออ้างว่า มีอยู่จริงแต่ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้  ดังนั้น เมื่อคำสอนของพราหมณ์เรื่องวรรณะเป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะทำให้ชาวสักกะถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะถูกเลือกปฏิบัติในสังคมของอาณาจักรสักกะ    สมาชิกรัฐสภามาจากวรรณะกษัตริย์ของราชวงศ์ศากยะ ไม่สามารถปฏิรูปสังคมได้ เพื่อให้ชาวสักกะทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ต่อประเทศชาติอย่างเท่าเทียมกัน ชีวิตชาวสักกะจึงอยู่ในความมืดมนตลอดไป  มีวิธีเดียวที่จะพิสูจน์ความจริงเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าได้ คือพระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละวรรณะกษัตริย์ เพื่อเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธฺสัตว์ พระองค์จึงทรงสามารถประกอบพิธีกรรมบูชายัญและสาธยายพระเวทได้ เพื่อขอพรพระพรหมช่วยเหลือชาวสักกะทุกคนด้วยการยกเลิกวรรณะได้  เมื่อพระองค์ทรงเป็นนักบวช สละบ้านเรือนไม่เกี่ยวข้องกับเรือนอีกต่อไป  พระองค์ก็ทรงสามารถประพิธีกรรมบูชายัญ โดยไม่ละเมิดคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะอีกต่อไป   พระองค์ทรงใช้เวลาหลายปีกว่า พระองค์จะทรงค้นพบหลักปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘  เมื่อพระองค์ทรงลงมือปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์เป็นความรู้ที่เรียกว่า "อภิญญา๖"  เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้แล้วทรงทดสอบความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘  เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ๔๙ วันได้ผลอย่างเดียวกันคืออภิญญา ๖  เมื่อพระองค์ทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพระองค์ทรงนำหลักปฏิจจสมุปบาท มาอธิบายในรูปแบบของหลักคำสอนอริยสัจ ๔  วิชชา ๓  กรรม, ธัมมจักรกัปวัตนสูตร เป็นต้น  พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศแก่ปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ต่อมาเรียกว่าตำบลสารนารถ  อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย  คำสอนอริยสัจ ๔ คือความรู้ที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ทุกคนและผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างมีเหตุผล   โดยปราศจากข้อสงสัยเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ต่อไป  และหลักอริยสัจ ๔ จึงเป็นเครื่องยืนยันต่อการพิสูจน์ของมนุษย์มานานกว่า ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว แม้ว่า จะมีนักปรัชญาในยุคหลังพุทธกาลจะหยิบยกข้อเท็จจริงอื่นใดมาโต้แย้งและหักล้างการพิสูจน์ความจริงตามหลักอริยสัจ๔ ก็ตาม เพราะข้อพิสูจน์เหล่านั้น เปลบงบลลการคิดหาเหตุผลเท่านั้นมิใช่บหลักฐานปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่จะเข้าถึงความจริงของชีวิตมนุษย์ในระดับอภิญญา ๖ ได้

     ติดตามปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก(ตอน๗) การตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระเจ้าพิมพิสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ