The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ปัญหาความจริงเกี่ยวกับ "วิญญาณ"ในพระไตรปิฎก

"Soul" according to metaphysics

บทนำ          

              ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับ"จิตวิญญาณ"ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ถือเป็นปัญหาอภิปรัชญาที่น่าสนใจ และควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ปรัชญาคือความรู้ของมนุษย์ที่เราเรียกว่า "นักปรัชญา" ที่สนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของสิ่งต่าง ๆ    ปัญหาเกี่ยวกับมนุษย์ การดำรงอยู่ของเทพเจ้า  สภาวะของสิ่งต่าง ๆ   เช่น   การระลึกชาติของมนุษย์, คำสัญญาแห่งความรู้จากประสบการณ์ชีวิต และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบตัวเราเช่น ไฟไหม้บ้าน ภูเขาไฟระเบิด, พายุทะเล และสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส หรือความรู้ที่อยู่นอกขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่น เทพเจ้า เทวดาและ เปรต เป็นต้น    อย่างไรก็ตาม หลักวิชาปรัชญาไม่ใช่ความรู้ที่มาจากความเชื่อ เพื่อฟังข้อเท็จจริงจากปากพยานเพียงคนเดียว   ดังนั้นการอ้างถึงข้อเท็จจริงของนักปรัชญาคนใดจะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น   หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงแล้ว ถือว่าความคิดเห็นในเรื่องนั้นขาดความน่าเชื่อถือเพราะธรรมชาติของมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป หรือการละเมิดต่อชีวิตและทรัพยินของผู้คนในสังคมที่เกิดขึ้นอาคารบ้านเรือน ตามถ้ำ ป่า ภูเขา และทะเลลึก เป็นต้น จึงไม่มีความรู้เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ นอกจากนี้ มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีอคติต่อผู้อื่นเพราะความไม่รู้ความกลัวที่จะถูกลงโทษด้วยอำนาจของเทพเจ้า ความเกลียดชัง และความเสน่าหาส่วนตัว  เป็นต้น     ดังนั้น ความคิดเห็นของพวกเขาจึงขาดความน่าเชื่อถือ พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงยอมรับความคิดเห็นของพวกเขาในเรื่องนั้นเป็นความจริงได้  เป็นต้น

        ด้วยเหตุผลที่อธิบายข้อเท็จจริงตามที่กล่าวมาข้างต้น    ต้นกำเนิดความรู้ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ชีวิตของมนุษย์นั้น   เราสามารถแบ่งความจริงของอภิปรัชญาได้เป็น ๒  อย่างคือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.ความจริงขึ้นปรมัตถ์ นั้น   เราสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ   เพื่อการวิเคราะ์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้    ดังนี้

         ๑.ความจริงสมมติขึ้น  โดยทั่วไปแล้ว ความคิดเห็นของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตมนุษย์นั้น มีทั้งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางสังคม อันเป็นการละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น  เช่น   การฆาตรกรรม การโจรกรรม การข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศ การดูถูกผู้อื่นด้วยคำที่ไม่เหมาะสม การแสวงหาความสุข เพื่อแลกกับปัญหาสุขภาพด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด   ถือเป็นภาระแก่ผู้อื่นในสังคมและประเทศที่ต้องหาเงินค่ารักษาพยาบาล และบรรเทาความเสียหายแก่ผู้อื่นจากการละเมิดชีวิตและทรัพย์สิน  เป็นต้น   เรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  จิตใจของมนุษย์อาศัยร่างกายของตัวเองที่เรียกว่า "อินทรีย๖" ในการรับรู้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ดำรงเป็นสภาวะอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ก่อนที่มันจะสลายไปในอากาศบาง ๆ   เมื่อจิตใจมนุษย์รับรู้แล้ว ก็จะเก็บสภาวะเหล่านั้นและเป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ แต่จิตมนุษย์ไม่เพียงแต่รับผิดชอบในการจัดเก็บหลักฐานทางอารมณ์เท่านั้น  ยังรับผิดชอบในการคิดวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์ที่มีอยู่ในจิตใจเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินความคิดเห็นเรื่องการมีอยู่ของพระพรหม พระอินทร์และพระอิศวรตามคำสอนพราหมณ์ ที่พระพรหมเป็นสร้างมนุษย์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเองเกิดมา เป็นต้น แต่เมื่อคำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เมื่อชาวสักกะไม่สามารถควบคุมตัณหาตนเองได้ถึงกระทำความผิดต่อคำสอนทางศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรงด้วยการร่วมประเวณีกับคนต่างวรรณะจึงถูกคนในสังคมสอบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานบุคคลซึ่งเป็นประจักษ์พยานในเรื่องนี้ให้เพียงพอ สำหรับวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ   เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้  ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีความสมเหตุสมผล โดยปราศจากข้อสงสัยพยานหลักฐานที่ให้การยืนยันข้อเท็จจริงอีกต่อไป เป็นต้น 

        ๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์    โดยทั่วไปแล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของมนุษย์มีทั้งมนุษย์ จักรวาล เทพเจ้าและอื่น ๆ เป็นต้นเรื่องราวเหล่านี้มีทั้งความรู้ระดับประสาทสัมผัส และความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่จะรับได้  เมื่อชีวิตมนุษย์เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางสังคมและธรรมชาติที่อยู่รอบตัวของพวกเขา เก็บข้อมูลทางอารมณ์นั้นไว้ในจิตใจและทำการวิเคราะห์ให้สมบูรณ์ แต่ผลการวิเคราะห์นักปรัชญายังไม่สามารถระบุได้ว่าสาเหตุของปรากฏการณ์ทางสังคมหรือธรรมชาตินั้นจริงหรือเท็จ แต่นักปรัชญาชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ ก็จะตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลอารมณ์ ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ และวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น 

    ในปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ แต่เดิมในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ ผู้คนทั่วอนุทวีปอินเดียเชื่อตามพราหมณ์อารยันสอนว่า พรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพรหม การจะประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องบูชาพรหมและพระอิศวรด้วยของมีค่าและสิ่งอื่น ๆ ที่พราหมณ์เรียกร้อง การบูชาสร้างความมั่งคั่งให้พราหมณ์ในนิกายต่างๆ และกลายเป็นอารยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เมื่อนิกายต่าง ๆ ของพราหมณ์แข่งขันกัน เพื่อบูชาลัทธิ ความศรัทธา และรักษารายได้ของตนเอง เหตุนี้ทำให้พราหมณ์นิกายต่าง ๆ ก็มีเหตุผลที่จะสรรเสริญเทพเจ้าของนิกายของตนเหนือเทพเจ้าของนิกายอื่นๆ และการบูชาของพวกเขากลายเป็นประเด็นทางการเมือง เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพราหมณ์อารยันเป็นปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาด้านกฏหมายจารีตประเพณีปุโรหิตได้แนะนำสมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะให้เอาคำสอนของพราหมณ์อารยันไปตราเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ชาวดราวิเดียนในการบูชาเทพเจ้า และป้องกันปัญหาจากการแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิต ดังนั้น จึงถือว่าเป็นการสร้างอารยธรรมจากความคิดของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาที่ห้ามไม่ให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วและบทลงโทษผู้กระทำผิด โดยให้อำนาจคนในสังคมขับไล่พวกเขาออกจากสังคมไปตลอดชีวิตหากยังคงอยู่ในสังคมพวกเขาอาจถูกประหารชีวิตหรือถูกสังเวย เป็นต้น การกระทำความผิดได้กระทำโดยการสมรสข้ามวรรณะและทำงานในหน้าที่ของวรรณะอื่น  จะถูกเพิกถอนสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมโดยปริยายเป็นคนไม่มีวรรณะเรียกว่า "จัณฑาล" ต้องอยู่อย่างเร่ร่อนแม้ว่าชีวิตจะอยู่ในวัยชรา ป่วยเป็นไข้และนอนตายอยู่ข้างถนน เป็นต้น และมีอีกประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนสงสัยว่าพราหมณ์สอนเรื่องชีวิตหลังความตายหรือไม่ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ก็ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์นั้นพราหมณ์ทั้งหกนิกายสอนเรื่องสัจธรรมแห่งชีวิตที่มนุษย์ตายและกรรมดับไปพร้อมกับความตาย เมื่อฟังข้อเท็จจริงตามคำสอนทางอภิปรัชญาของพราหมทั้งหกนิกาย ผู้เขียนตีความว่าพราหมณ์อารยันมีความรู้ในระดับประสาทสัมผัสเท่านั้นและไม่มีความรู้เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์เพราะยังไม่ได้รู้จักวิธีปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค ๘  พวกเขาจึงไม่มีญาณทิพย์เหนือมนุษย์ ที่มองเห็นดวงวิญญาณไปชดใช้กรรมในนรกหรือไปเสวยสุขบนโลกสวรรค์ เช่นเดียวพระโคตมโคดมพุทธเจ้า 

        ๑.จิตของมนุษย์ ผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค๑ เวรัญชกัณฑ์ วิชชา ๓  ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ[๑๓] "เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้เรานั้นน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ  เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามหรือไม่งาม ดีหรือไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต  มโนทุจริต  กล่าวร้ายพระอริยะ  มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด  พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในอบาย  ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต  มโนสุจริต  ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ  มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นต้น และในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯเล่ม ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๓.จิตวรรค ๔.สังฆรักขิตเถรวัตถเรื่องพระสังฆรักขิตเถระพระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระสังฆรักขิตเถระดังนี้ ข้อ ๓๗." คนเหล่าใดสำรวมจิตที่เที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำ คนเหล่านั้นจักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร"   

         เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้นและได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนจิตของพระองค์ทรงเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากความเศร้าหมอง  มีบุคคลิกภาพอ่อนโยนเหมาะสม สอนว่าพระพรหมไม่ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาเพราะพรหมและเทพเจ้าอื่น ๆ ไม่มีอยู่จริง มนุษย์เกิดจากปัจจัยการปฏิสนธิทางวิญญาณในครรภ์มารดาโดยอาศัยเลือดเนื้อของมารดาหล่อเลี้ยง จนเกิดร่างกายและจิตวิญญาณรวมกันเป็นชีวิตทารกจนอายุครรภ์ได้ ๙ เดือนก็คลอดออกมาก็มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย เมื่อมนุษย์ตายไป กายและจิตแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ร่างกายก็ย่อยสลายคืนสู่ธรรมชาติไป ส่วนจิตออกจากร่างกายไปเกิดในภพอื่นๆตามกรรมของตนเอง 

        ปัญหาคือ มนุษย์จะรู้ได้อย่างไรว่าปัจจัยทางกายและจิตใจทำให้เกิดชีวิต  เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ฟังข้อเท็จจริงได้  เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติธรรมอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว จนพระองคทรงมีชีวิตเข้ฒแข็งด้วยการทำสมาธิจนจิตบริสุทธิ์ปราศจากอคติ ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว บุุคลิกภาพอ่อนโยนเหมาะสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีความมั่นคงในอุดมการณ์ของชีวิตและไม่อ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ด้วยสติสามารถถึงความรู้จากประสบการณ์ที่ชีวิต ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสามารถนำความรู้นั้นไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้เป็นต้น จิตของผู้นั้นก็น้อมไปสู่จุตูปปาตญาณที่เรียกว่า "ตาทิพย์เหนือมนุษย์" มองเห็นจิตวิญญาณของสัตวน้อยใหญ่ไปจุติยังภพอื่นคนไหนทำกรรมดีก็ไปเกิดในภพภูมิที่ดี ส่วนคนไหนทำกรรมไม่ดีก็ไปเกิดในทุคติภูมิ เป็นต้น ดังนั้น การที่บุคคลใดมีความรู้เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเอง เพียงปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยผ่านการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จะมีญาณทิพย์ สามารถเห็นสิ่งอยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนได้ เช่น เปรต สัมภเวสี เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าได้ หากไม่ปฏิบัติธรรมตามคำสอนตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้าที่ยากผู้นั้นจะรู้แจ้งแทงตลอดตามคำสอนของพระองค์ เป็นต้น มีประเด็นที่สงสัยและต้องวิเคราะห์ข้อต่อไปว่าจิตคืออะไร มีลักษณะอย่างไรเราวิเคราะห์เป็นประเด็นได้ดังนี้  ๑.จิตที่เที่ยวไปไกล  ๒.จิตที่เที่ยวไปดวงเดียว  ๓.จิตที่ไม่มีรูปร่าง  ๔.จิตที่อาศัยอยู่ในถ้ำ ประเด็นวิเคราะห์มีดังนี้  
  
          ๑.๑ จิตที่เที่ยวไปไกล เมื่อศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดแล้วต้องตายเป็นสัจธรรมของชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ความตายของมนุษย์ไม่ได้ดับลงแต่จิตอาศัยกายมนุษย์เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมนุษยเสียชีวิตจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ  ความชราและอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือถูกยิงเสียชีวิต เมื่อร่างกายใช้ไม่ได้จิตไม่สามารถพึ่งพาร่างกายเพื่อเชื่อมต่อกับปรากฏการณ์ทางสังคมและธรรมชาติได้อีกต่อไป  จิตวิญญาณจำเป็นต้องออกจากร่างกายเพื่อไปยังอีกโลกอื่นเพราะสังสารวัฏไม่ได้มีเพียงโลกมนุษย์เท่านั้น ยังมีเทวโลและอบาย ทุคติ  นรก  เป็นต้นดังนั้นเมื่อดวงวิญญาณซึ่งเป็นตัวตนแท้จริงของมนุษย์และไม่ตายไปพร้อมกับร่างกาย ผู้มีญาณทิพย์เหนือมนุษย์เท่านั้นจึงจะเห็นปรากฏการณ์ของจิตวิญญาณไปจุติยังโลกอื่นนั้นเมื่อวิญญาณออกจากร่างกายไปจุติอีกโลกหนึ่งผู้เขียนเห็นว่าดวงวิญญาณมีธรรมชาติที่ท่องเที่ยวไปไกลในสังสารวัฏ เป็นไปตามกฎธรรมชาติของวิญญาณของมนุษยทุกคนที่ไม่มีวันสิ้นสุด   


            ๑.๒จิตที่เที่ยวไปดวงเดียว เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกข้างต้น ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าจิตของมนุษย์มีลักษณะเป็นดวงชะตา โดยปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา เมื่อชีวิตมนุษย์ตายลง วิญญาณจะจุติไปยังภพภูมิต่าง ๆ ตามปัจจัยของกิเลสที่สั่งสมอยู่ในจิตเช่น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงประหารชีวิตพระเจ้าพิมพิสารพระบิดาเป็นการผิดศีลข้อที่ ๑  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า อารมณ์ของกรรมเป็นความรู้ที่สั่งสมอยู่ในพระทัยและห่อหุ้มพระทัยอยู่อย่างนั้น เป็นเหตุดวงวิญญาณของพระองค์ ไปจุติยังทุคติภูมิ ส่วนแนวคำสอนที่กล่าวว่าจิตมีหลายดวงนั้น เป็นการแจกแจงโดยพิศดาร โดยเอาอารมณ์เรื่องราวหรือกิเลสมาห่อหุ้มจิตไว้ เช่น จิตที่มีอารมณ์รักเพราะอารมณ์รักนี้ห่อหุ้มจิตไว้  จิตที่มีอารมณ์โกรธเพราะอารมณ์โกรธนี้ห่อหุ้มจิตไว้ จิตที่มีอารมณ์โลภเพราะอารมณ์โลภนี้ห่อหุ้มจิตไว้และจิตที่มีอารมณ์เกลียดชังเพราะอารมณ์เกลียดชังห่อหุ้มจิตไว้  เมื่อเป็นเช่นนี้อารมณ์เหล่านี้ไม่ใช่ตัวจิต ถือว่าจิตมีลักษณะเป็นดวงหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  

           ๑.๓. จิตที่อาศัยอยู่ในถ้ำ   เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า  จิตเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของชีวิตมนุษย์ หากชีวิตมนุษย์ขาดจิตไปแล้ว     ก็ไม่อะไรควบคุมให้ร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตต่อไปอีก เพราะร่างกายเสื่อมสลายตลอดเวลาและแสดงให้ร่างกายรับรู้ตลอดเวลา     ไม่ว่าเวลาหิวอาหารและเวลากระหาย หรือโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เพราะเป็นความทุกข์ประจำสังขารหรือชีวิตมนุษย์   ผู้เขียนสงสัยว่าจิตอยู่ส่วนไหนของร่างกาย   และศึกษาโครงสร้างชีวิตซึ่งเป็นความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า โครงร่างกายของผู้เขียนและมนุษย์ทุกคนมีลักษณะเป็นถ้ำก็อยู่ตรงบริเวณกระโหลกศรีษะ  ซึ่งเป็นบรรจุก้อนสมองอยู่และเชื่อมต่อกับเส้นประสาททั่วร่างกายของมนุษย์ จิตจึงอาศัยอยู่กับสมอง        เพื่อเชื่อมต่ออารมณ์ข้อมูลเก็บไว้ในสมองที่เชื่อมกับจิตได้ ปัญหาว่าเราจะเห็นจิตได้อย่างไร  เมื่อเราพัฒนาศักยภาพของจิตให้บรรลุธรรมถึงความรู้ที่เรียกว่า"อภิญญา๖" ก็จะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้.        

           ๑.๔. จิตไม่มีรูปร่าง   เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ กล่าวว่าจิตเป็นอรูป คือจิตเป็นสิ่งที่ไม่เป็นรูปเหมือนร่างกาย    มีประเด็นที่ผู้เขียนสงสัยว่าจิตคือสมองหรือไม่    เมื่อศึกษาข้อเท็จจริงของความรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า สมองมีลักษณะเป็นก้อนบรรจุอยู่ในกระโหลกศรีษะของมนุษย์ทุกคน  เมื่อดวงจิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างดวงจิตไม่ใช่สมองและที่สำคัญเมื่อมนุษย์ตาย ก้อนสมองก็ถูกเผาไปพร้อมกับร่างกาย   อารมณ์ของกรรมที่มนุษย์กระทำไปก็ถูกเผาไฟขณะประชุมเพลิง กรรมที่มนุษย์ได้กระทำไปเพราะละเมิดหลักศีลธรรมและกฎหมายก็ดับสูญไปพร้อมกับร่างกายนอกจากนี้กายและจิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวิตเพราะหากไม่มีจิตดูแลร่างกายแล้วร่างกายย่อมเสื่อมสลายลงทันที่เมื่อจิตเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างจิตจึงไม่ใช่สมองหรือหัวใจ เพราะสมองและหัวใจเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง เป็นต้น   
      
      ๒.ลักษณะของจิต  เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง   "ชีวิตของมนุษย์" ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส เราวิเคราะห์ลักษณะของชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "ขันธ์ ๕" คือ  รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เราอธิบายได้ดังนี้คือ 

 ๒.๑ รูป หมายถึง "ร่างกายมนุษย์ที่วิญญาณอาศัยอยู่"  เมื่อลักษณะของวิญญาณเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างต้องอาศัยร่างกายเพื่อเชื่อมต่อกับปรากฏการณ์ทางธรรมและสังคม ทำให้เกิดตัณหาในความอยากมี  อยากเป็น และอยากได้สิ่งต่างมาสนองตัณหาของตนเองและเป็นความรู้ซึ่งสั่งสมอยู่ในจิตใจอย่างนั้น  เมื่อตายกลับมาอุบัติในโลกมนุษย์ในครรภ์มารดา แล้วคลอดออกมาเป็นเด็กทารก เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เป็นสภาพบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ต้องอาศัยร่างกายเชือมต่อกับปรากฏการณ์ทางสังคม เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ทำให้มนุษย์ของดวงวิญญาณมนุษย์ที่อยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้นในเวลาสิ้นอายุขัยเพราะร่างกายเสื่อมสภาพลงไปตามกฎไตรลักษณ์ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติของการดำรงอยู่โดยอัตโนมัติ 

      ๒.๒ เวทนา ตามพจนานุกรมแปลไทย - ไทยราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ นิยามคำว่า "เวทนา" หมายถึงความรู้สึกสุขหรือทุกข์ของมนุษย์  เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์เมื่อจิตมนุษย์ได้รับรู้อารมณ์เรื่องราวเกี่ยวกับโลกมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป นำมาคิดพิจารณาแล้วเกิดความไม่พอใจก็ความรู้สึกทุกข์ขึ้นมาในจิตของตน หากพิจารณาเกิดความไม่พอใจก็เกิดความทุกข์หรือเกิดความเชื่อทันที เพราะตนนั้นขาดสติไตรตรองใคร่ครวญพิจารณาย่อมเกิดความทุกข์ขึ้นใจจิตของตน เป็นต้น 

      ๒.๓  สัญญา เมื่อจิตของมนุษย์ผัสสะเกี่ยวกับความรู้เรื่องราวใดขึ้นเป็นประสบการณ์แล้ว มนุษย์ย่อมเก็บเรื่องราวเหล่านั้นผ่านอินทรีย์ ๖ เข้ามาเก็บสั่งสมเป็นความรู้ไว้ในจิตของตนจนกลายเป็นสัญญา  กล่าวคือ เมื่อจิตของมนุษย์ผัสสะสิ่งใดแล้ว จิตของมนุษย์น้อมออกไปเก็บสิ่งนั้นเข้ามาไว้ในจิตของตนเช่น ผัสสะมนุษย์คนใดก็จะเก็บเรื่องราวของมนุษย์คนนั้นไว้     เมื่อพบผัสสะอีกครั้งหนึ่ง  ก็จะรำลึกถึงเรื่องราวของมนุษย์นั้นได้ว่าชื่อว่าอะไร ทำงานอะไรเป็นต้น 

       ๒.๔ สังขาร แปลว่า "การปรุงแต่งของจิต"  เมื่อจิตผัสสะสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมคิดหาเหตุผลจากสิ่งนั้นการคิดเรียกว่าการปรุงแต่งนั้นเอง สังขารของจิตเป็นการปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆในจิตของตนให้เห็น เป็นภาพฝังรากลึกในจิตของตนยาวนานไม่เหมือนกันบางคนมีน้อมโน้มทางความชอบของราคะจริต ก็ชอบสิ่งสวยงามให้ความสำคัญกับตนเองมากกว่าคนอื่นให้ความสนใจตนเองมากกว่าความรู้สึกของคนอื่นเป็นต้น เมื่อตนแสดงความชอบออกไปแล้วจะเกิดผลอย่างไร เกิดความทุกข์และความสุขเป็นสิ่งที่ตนต้องยอมรับสภาพ และกล้าเผชิญกับความจริงเหล่านั้น ส่วนกรรมของมนุษย์แต่ละคนนั้น จะให้ผลช้าหรือเร็วก็แล้วเหตุปัจจัยต่าง ๆเป็นเรื่องสำคัญมากเช่นองคุลีมารฆ่าคนมาแล้วหลายร้อยคนกรรมก็ให้ผลในชาติปัจจุบัน แม้จะบวชก็ไม่อาจหนีกรรมของตนได้ ถูกชาวบ้านทำร้ายด้วยก้อนอิฐและก้อนหินขณะออกบิณฑบาตรเป็นต้น วจีกรรมของมนุษย์ทุกคน ก็มีความคิดเห็นแสดงออกมาด้วยการใช้ถ้อยดูถูก เหยียดหยามผู้อื่น กล่าวหาผู้อื่นด้วยคำพูดในเรื่องราวที่ไม่ใช่ความจริง แม้กรรมเหล่ายังไม่ให้ผลกรรมเหล่านี้ย่อมเก็บสั่งสมและห่อหุ้มจิตไว้และติดตามไปจุติจิตไปภพชาติต่าง ๆ คำว่า "กฎแห่งกรรม" ตามพจนานุกรมแปลไทย-ไทยราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่ากฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรมในที่นี้หมายถึงกฎแห่งกรรมและผลแห่งกรรมของชีวิตมนุษย์ 

         ๒.๕. วิญญาณ หมายถึงการรับรู้สิ่งต่าง ๆที่อยู่นอกตัวมนุษย์ส่วนความหมายอื่นหมายถึงจิตที่ไปเกิดอีกในโลกอื่นกล่าวคือเมื่อจิตของมนุษย์ใช้อวัยวะอินทรีย์ ๖  ที่เป็นส่วนหนึ่งกาย   เป็นทวารเชื่อมไปกับความรู้เกี่ยวกับโลกผ่านการสัมผัสสะที่เรียกว่าความรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสแล้วจิตก็น้อมรับความรู้นั้น  มาเก็บสั่งสมห่อหุ้มไว้ในจิต จนกลายเป็นความรู้ระดับสัญญาดังนั้นสัญญาคือความรู้ที่จิตเก็บมาห่อหุ่มในจิตไว้ ยิ่งชีวิตของมนุษย์มีการเวียนว่ายตายมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขยแล้ว กิเลสความรู้ห่อหุ้มไว้ในจิตของตนย่อมมีมากเป็นเรื่องปกติ

๓.บทวิเคราะห์ปัญหาอภิปรัชญาเรื่อง"วิญญาณ"ในพระไตรปิฎก

  เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ   และได้ฟังข้อเท็จจริงฟังว่าในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์   นักปรัชญาพราหมณ์มีแนวคิดเชิงอภิปรัชญาในศาสนาพราหมณ์ว่า     คนในอนุทวีปอินเดียนับถือเทพเจ้าหลายองค์ และเชื่อว่าเทพเจ้าช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตได้โดยการทำพิธีบูชายัญ  เมื่อชาวอินเดียในอนุทวีปทำพิธีบูชายัญ  เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของพวกเขา   แต่ความเชื่อเรื่องพระพรหมสร้างมนุษย์จากกายของพระองค์ตามคำสอนของพราหมณ์ และนำหลักคำสอนในศาสนาพราหมณ์ไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ โดยแบ่งประชาชนในแคว้นสักกะเป็น ๔ วรรณะให้สิทธิและหน้าที่ทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิด  และมีบทลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายโดยคนในสังคมด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นฐานที่พวกเขาอาศัยได้ เสียสิทธิ   และหน้าที่ตามกฎหมายเป็นจัณฑาลต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนบนท้องถนนตลอดชีวิต    แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามว่า      พระพรหมและพระอิศวรมีประวัติความเป็นอย่างไรแต่ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ทำให้พระองค์ทรงสงสัยในการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เมื่อพระองค์ทรงผนวชและพัฒนาศักยภาพแห่งชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘   จนทรงตรัสรู้กฏธรรมชาติของชีวิตมนุษย์และพระองค์บรรลุญาณทิพย์เหนือมนุษย์ว่า   ที่แท้จริงแล้วมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาจากพระพรหมและพระอิศวรอย่างใด  แต่เกิดจากการปฏิสนธิวิญญาณทำให้ร่างกายและจิตใจเป็นปัจจัยในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน  จึงคลอดออกมามีสภาพบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของราชอาณาจักรไทย  และพ่อแม่ก็จะตั้งชื่อว่านายนั้น นางนี่ เพื่อง่ายต่อการจดจำเพื่อให้นึกถึงว่าเป็นใครมาจากไหน ลูกเต้าเหล่าใคร มีอาชีพและหน้าที่การงานอย่างไรเป็นต้น  ลักษณะของจิตวิญญาณมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเป็นถ้ำคูหา  วิญญาณมีลักษณะเป็นดวงและชอบท่องเที่ยวไปไกลในสังสารวัฏที่ประกอบด้วยภพภูมิต่าง ๆ มากมายคุณสมบัติเฉพาะตัวของจิตวิญญาณรับรู้สิ่งผ่านต่าง ๆ ผ่านอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖  ของร่างกายมนุษย์ดึงดูดรับอารมณ์ของสิ่งต่าง ๆ มาสั่งสมไว้ในจิตใจของมนุษย์ (สัญญา)และใช้อารมณ์ของหลักฐานนั้นมาวิเคราะห์ข้อมูล (สังขาร)   เพื่อหาเหตุผลยืนยันข้อเท็จริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ  ก็สั่งสมเป็นความรู้อยู่ในจิตใจอีกครั้งและติดตามชีวิตไปยังสถานที่ต่าง ๆ    เพื่อนำความรู้นั้นไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง  เป็นต้น  

22 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

มนุษย์ย่อมมีกรรม เป็นของ ตน ฉะนั้นทางที่จะหลุดพ้น คือการตาย จะได้ไม่ต้องรับรู้ อะไร ครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำให้รู้เรื่องเกี่ยวกับพระไตรปิฏก

Unknown กล่าวว่า...

มนุษย์มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ การที่จะให้หลุดจากกรรมคือเป็นผู้จักให้เป็นผู้รู้จักเสียสละ

Unknown กล่าวว่า...

เสริมความรู้เรื่องจิตก่อให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์โลก (ปล.ข้อความช่วงต้นอ่านแล้วไม่สมูทเลยครับ เป็นข้อความอย่างนั้นรึพิมพ์ตกหล่นไม่ทราบแต่สำหรับผมว่าอ่านแล้วมันสดุดนิดๆเหมือนบางคำในประโยคมันหายไป หรือว่าผมคิดไปเอง :) :) )

พระพิชิตชัย มหาญาโณ กล่าวว่า...

เสริมความรู้เรื่องจิตก่อให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์โลก (ปล.ข้อความช่วงต้นอ่านแล้วไม่สมูทเลยครับ เป็นข้อความอย่างนั้นรึพิมพ์ตกหล่นไม่ทราบแต่สำหรับผมว่าอ่านแล้วมันสดุดนิดๆเหมือนบางคำในประโยคมันหายไป หรือว่าผมคิดไปเอง :) :) )

สามเณร ศุภกร วัฒนะ กล่าวว่า...

มนุษย์ย่อมมีกรรมเป็นของตน ไม่มีใครหนีกรรม หรือ หลุดพ้นมันได้นอกจากตาย ครับ

พระจารุกิตติ์ จารุกิตฺติ กล่าวว่า...

เนื้อหาดีครับได้รู้ว่าบางอย่างที่เราคิดเริ่มต้นนั้นอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไปหรือที่เราคิดว่าถูกอาจไม่ถูกเสมอไป เพราะคนเรานั้นมักจะเอาความคิดหรือหรือสิ่งอื่นรวมประกอบเข้าเป็นการตัดสินใจ หรือบางคนอาจได้รับความคิดของคนอื่นมาเพราะไม่สามารถคิดได้เอง ไม่ใช่เพราะไม่ฉลาดแต่มีองค์ประกอบหลายๆอย่างค่อยขีดเส่นกั้นไว้ เช่าวรรณะ การศึกษา หรือชาติตระกูล แต่เมื่อเรามองข้ามสิ่งพวกนี้ใช้จิตคิดพิจารณาแล้วเราจะมองเห็นเอง และรู้ในสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกัยตัวเราและความคิดที่ถูกต้องของเรา ดังนั้นจะทำจะคิดหรือจะทำอะไร ต้องใช้จิตและองค์ประกอบหลายๆรวมเข้าด้วยกัน หรื่อใช้อายตนะทั้ง6รวมเข้าช้วยก็ได้ สาธุๆๆ

พระกิตติธัช สนฺตจิตฺโต กล่าวว่า...

ง่ายๆแต่ได้ใจความก็คือว่าการที่มนุษย์คนจะเกิดมาบนโลกนั้นก็เพราะอำนาจแห่งจิตถ้าจิตไม่เศร้าหมองคือจิตที่ประกอบด้วยกิเลสก็สามารถที่จะไปสู่ภพภูมิที่ดีได้ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเกิดอยู่ในฐานะวรรณะเช่นใดซึ่งเป็นพระประสงค์ของเจ้าชายสิตธัตถะตั้งแต่ยังไม่ออกบวชพระองค์ก็มีความคิดที่จะช่วยให้ประชาชนพ้นจากการถูกกดขี่ทางวรรณะในสังคมของประเทศในขณะนั้นเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วจึงคอยสั่งสอนสาวกให้ตามรักษาจิตเพราะจิตเท่านั้นที่จะสามารถทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาได้ดั่งที่พระองค์เคยบำเพ็ญความเพียรทางจิตจนสามารถมำให้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์จึงทรงนำแนวทางนั้นมาสั่งสอนสาวกของพระองค์ประมาณนี้ครับผม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระไตรปิฎกเป็นคำสอน เพราะเราเป็นพุทธสาวก บำเพ็ญสั่งสมบารมีธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การศึกษาคำสอนของพระองค์มันสำคัญอยู่แล้ว

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระไตรปิฎกเป็นคำสอน เพราะเราเป็นพุทธสาวก บำเพ็ญสั่งสมบารมีธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การศึกษาคำสอนของพระองค์มันสำคัญอยู่แล้ว

Dr.P. Y. Pulperm กล่าวว่า...

ขอบคุณครับคำแนะนำ

Dr.P. Y. Pulperm กล่าวว่า...

ขอบคุณคำแนะนำครับ

Unknown กล่าวว่า...

เป็นเนื้อหาและคำสอนที่ดี คือการที่มนุษย์จะมาเกิดบนโลกนั้นได้ ก็เพราะอำนาจแห่งจิต และเราสามารถนำไปเทศโปรดญาติโยมได้ นำหลักคำสอนไปสอนนักเรียนตามโรงเรียนได้ครับ

พระจเร จนฺทสาโร กล่าวว่า...

เป็นเนื้อหาและคำสอนที่ดี สามารถนำไปใช้กับตัวเราเองและนำไปเผยแผ่ให้สาธุชนและเด็กนักเรียนรับรู้ได้

Unknown กล่าวว่า...

"ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวงก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรดา"

พระชลิต กล่าวว่า...

อ่านแล้วได้รู้ ถึงหลักการใช้ชิวิต

ส.สิริธโร (Phr.Samrerng Siridharo) กล่าวว่า...

จิตของมนุษย์น้อมรับรู้เรื่องราวเข้าสู่จิตของมนุษย์ เรื่องราวเหล่านั้นเราเรียกว่า"ความรู้"
พระไตรปิฏก เป็นที่มาของความรู้และความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคน...

ส.สิริธโร (Phr.Samrerng Siridharo) กล่าวว่า...

จิจของมนุษย์น้อมรับรู้เรื่องราวเข้าสู่จิตของมนุษย์ เรื่องราวเหล่านั้นเราเรียกว่า"ความรู้"
"พระไตรปิฏก เป็นที่มาของความรู้และความจริงของชีวิตมนุษย์...."

ส.สิริธโร (Phr.Samrerng Siridharo) กล่าวว่า...

ใช้ข้อความถัดไปตามชื่อPhr.Samrerng Siridharo ครับ

พระสุรสีห์ ตปสีโล กล่าวว่า...

ได้ควารู้มากจากการควาทเป็นมาของพระพุทธศาสนา
จากแดนพุทธภูมิ

พระสมชาย บุษบา กล่าวว่า...

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วสิ่งนั้นทั้งปวงก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา

พระมหาภูเบศ ภทฺทิโย กล่าวว่า...

สาธุ ขออนุโมทนาบุญครับ พระอาจารย์
สภาพการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์เราล้วนเกิดมาจากกิเลสที่เกาะกินอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์เรา ที่สั่งสมขึ้นมาจากการกระทำ ถ้าจิตประกอบด้วยกุศลประกอบกรรมดีก็เป็นบุญได้รับผลดี เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม แต่ถ้าจิตประกอบด้วยอกุศลประกอบกรรมไม่ดีก็เป็นบาปได้รับผลไม่ดี ก็จะก่อให้เกิดโทษต่อตนเองและสังคม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีหลักคำสอนทางศาสนาเข้ามาเป็นหลักปฏิบัติปรัชญาดำเนินชีวิตให้ถูกต้องและดีงาน

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ