๑๑. สรุปเหตุผลในการเขียนปรัชญานั้น
กล่าวคือ ในสมัยก่อนพุทธกาล ชาวอนุทวีปอินเดียเชื่อในการมีอยู่เทพเจ้าว่าเป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เมื่อชาวอนุทวีปอินเดียได้ยินความคิดเห็นของคำสอนในเรื่องนี้จากพราหมณ์และพวกเขายอมรับความจริงในเรื่องนี้โดยปริยายว่าเป็นความจริง โดยไม่มีข้อสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป เมื่อจิตใจมนุษย์ มีหน้าที่เป็นคิดจากสิ่งที่รู้และมีหน้าที่วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องที่น่าสงสัยนั้นดังนั้น ที่มาของความรู้ทั้ง ๓ ด้านคือความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทั้งสามวิชา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักปรัชญา เจ้าชายสิทธัตถะ และนักวิทยาศาสตร์ได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด? เมื่อวิเคราะห์หลักฐาน แต่พิสูจน์ความจริงได้ไม่ชัดเจนว่าที่มาของความรู้มาจากไหน พวกเขาสงสัยเกี่ยวกับความจริงของเรื่องนั้นตั้งประเด็นที่น่าสงสัย เพื่อกำหนดขอบเขตของการศึกษาหลังจากนั้น นักปรัชญา เจ้าชายสิทธัตถะและนักวิทยาศาสตร์ ก็จะสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูล เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หาเหตุผล พิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบ แต่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องราวปรากฏในจิตใจของพระพุทธเจ้า นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ชัดเจนว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
นักปรัชญา พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์ต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อหาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบเพื่อให้ความจริงเป็นที่สิ้นสุดและไม่เปลี่ยนแปลงโดยทั่วไป พยานหลักฐานทางปรัชญาส่วนใหญ่เป็นพยานบุคคล แต่ธรรมชาติของพยานบุคคล มักเป็นคนมีอคติและไม่มีความรู้จากประสบการณ์ของชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตน และสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองจึงไม่สามารถให้ยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบได้ หากเป็นพยานหลักฐานก็ไม่มีความเชื่อถือแม้จะให้การยืนยันก็มีน้ำหนักน้อย ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานยืนข้อเท็จจริงในเรื่องที่น่างสงสัยได้ ตัวอย่างเช่น ในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์เพราะผู้คนเชื่อว่าเทพเจ้ามีอยู่จริง ยอมบูชาเทพเจ้าด้วยของที่มีค่าต่างๆ และสร้างความร่ำรวยให้นิกายต่าง ๆ ของพราหมณ์ ทำให้เกิดอารยธรรมของการบูชาที่เกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจเมื่อนิกายต่าง ๆ คิดหาเหตุผลรักษาศรัทธาและประโยชน์จากการบูชาเทพเจ้าของตนว่ามีอำนาจเหนือเทพเจ้าอื่นๆ สามารถช่วยให้วรรณะกษัตริย์ทรงประสบความสำเร็จในการปกครองอาณาจักรของพระองค์ได้ และแต่งตั้งพราหมณ์เป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของมหาราชาแห่งอาณาจักรต่างๆ จึงเสนอให้ตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิหน้าที่ในการบูชาเทวดาของพราหมณ์ชาวดราวิเดียน โดยอ้างความมั่นคงแห่งอาณาจักรและความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะพราหมณ์อารยันอ้างว่าพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้น มาจากกายของพระองค์และสร้างวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิด เมื่อประกาศใช้บังคับกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะแล้วทำให้พราหมณ์อารยันผูกขาดการบูชาเทพเจ้าเพียงฝ่ายเดียว ส่วนพราหมณ์ดราวิเดียนหมดหน้าทีในการบูชายัญต่อไป มีหน้าที่เป็นเพียงคนใช้วรรณะสูงเท่านั้นและมีข้อห้ามแต่งงานข้ามวรรณะ แต่ชาวสักกะมีชีวิตที่อ่อนแอ จึงไม่สามารถควบคุมราคะของตนเองได้ ทำให้เกิดความสมัครรักใคร่กันฉันท์ชู้สาว ทำให้เกิดปัญหาจัณฑาลที่ถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมตลอดชีวิต ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามท้องถนนในวัยชรา เจ็บป่วยเป็นไข้ และนอนตายข้างถนน
เมื่อความรู้เรื่องกฎธรรมชาติของพระพุทธเจ้านั้น ก็นำประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่แยกจากปรัชญา โดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์มาตรวจสอบของการพัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ด้วยวิธีการปฏิบัติสมาธิมีการตรวจสอบคลื่นสองก่อนฝึกสมาธินั้นว่า สภาพของคลื่นสมองมีลักษณะเป็นอย่างไร หลังจากปฏิบัติสมาธิแล้วคลื่นสมองมีลักษณะเป็นอย่างไร ที่จะแสดงให้เห็นว่าจิตผู้นั้นได้รับการพัฒนาศักยภาพจน มีความมั่นคงและหนักแน่นไม่หวั่นไหวต่อปัญหาของชีวิต ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้มากน้อยเพียงใดกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนั้นไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาใด มนุษย์ควรถูกพัฒนาศักยภาพของตนให้สอดคล้องกับหลักวิชาการทางพุทธปรัชญาหรือพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องวางแนวคิดของการเขียนปรัชญาแดนพุทธภูมิมีจุดเริ่มจากความสงสัยของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกผนวช ขั้นตอนต่อไปก็หาข้อมูลจากพยานเอกสาร พยานวัตถ พยานบุคคลและพยานเอกสารดิจิทัล มาวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลของคำตอบกันในประเด็นที่สงสัย เมื่อใช้วิธีวิเคราะห์หลายครั้งหาเหตุผลของคำตอบอย่างเดียวกันถือว่า เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผล ปราศจากข้อพิรุธสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไปจึงจะถือว่าเป็นความรู้และความจริงในประเด็นนั้น เป็นต้น
เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของจัณฑาล จึงทรงตั้งพระทัยที่จะปฏิรูปสังคม โดยยกเลิกระบบวรรณะในสังคม แต่พระองค์ทรงไม่สามารถทำได้ เพราะขัดต่อหลักอปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสักกะ มาตรา๓ ซึ่งห้ามยกเลิกกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องพระพรหมและอิศวรแล้ว พระองค์ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่าพระพรหมและพระอิศวรมีความเป็นมาอย่างไร ไม่มีพราหมณ์ปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ จึงทำให้พระองค์ทรงเกิดความสงสัยในความจริงของพระพรหมและพระอิศวร เป็นต้น เมื่อพระโพธิสัตว์โคตมะทรงได้พัฒนาศักยภาพชีวิต ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้ (รู้แจ้ง) กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ คือ ความรู้ในระดับอภิญญา๖ และผลแห่งการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงนำไปทดสอบกับนักปรัชญา นักปราชญ์ศาสนา นักบวช นักพรต พราหมณ์ ผู้นำนิกายต่าง ๆ วรรณะกษัตริย์ และองคุลีมาลโจรผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อพวกเขาลงมือปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ก็สามารถบรรลุถึงความจริงในระดับอภิญญา ๖ ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เป็นต้น
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตนเอง แต่เมื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้้น ๆ แต่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดความสงสัยในความสมเหตุสมผลในคำตอบนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมนุษย์มักจะมีอคติแฝงอยู่ในจิตใจ ชีวิตของมนุษย์จึงเต็มไปด้วยความมืดมน จึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้หรือไม่สามารถกำหนดรู้จากอำนาจสมาธิ หรือไม่มีความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ เป็นต้น
มนุษย์จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของชีวิต จนมีทักษะในสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตขึ้นมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาเหตุผลคำตอบที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำไม่เบี่ยงเบียนไปทางใดทางหนึ่ง แม้ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือวิทยาศาสตร์จะตรงไปตรงมาก็ตามแต่ผู้อ่านก็คือจิตมนุษย์ว่าความจริงที่ได้นั้น มีเหตุผลเพียงพอสำหรับลงโทษผู้กระทำผิดสำหรับผู้พิพากษาหรือ เมื่อได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลควรรักษาทางยาต่อไปในปริมาณยาขนาดเท่าไหร่สำหรับหมอหรือผลการอ่านข้อมูลด้วยการสอบอารมณ์ของผู้ปฏิบัติว่าเป็นเพราะอุปทานหรือแกล้งบ้า เป็นต้น
เมื่อความรู้เรื่องกฎธรรมชาติของพระพุทธเจ้านั้น ก็นำประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่แยกจากปรัชญา โดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์มาตรวจสอบของการพัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ด้วยวิธีการปฏิบัติสมาธิมีการตรวจสอบคลื่นสองก่อนฝึกสมาธินั้นว่า สภาพของคลื่นสมองมีลักษณะเป็นอย่างไร หลังจากปฏิบัติสมาธิแล้วคลื่นสมองมีลักษณะเป็นอย่างไร ที่จะแสดงให้เห็นว่าจิตผู้นั้นได้รับการพัฒนาศักยภาพจน มีความมั่นคงและหนักแน่นไม่หวั่นไหวต่อปัญหาของชีวิต ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้มากน้อยเพียงใดกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนั้นไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาใด มนุษย์ควรถูกพัฒนาศักยภาพของตนให้สอดคล้องกับหลักวิชาการทางพุทธปรัชญาหรือพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องวางแนวคิดของการเขียนปรัชญาแดนพุทธภูมิมีจุดเริ่มจากความสงสัยของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกผนวช ขั้นตอนต่อไปก็หาข้อมูลจากพยานเอกสาร พยานวัตถ พยานบุคคลและพยานเอกสารดิจิทัล มาวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลของคำตอบกันในประเด็นที่สงสัย เมื่อใช้วิธีวิเคราะห์หลายครั้งหาเหตุผลของคำตอบอย่างเดียวกันถือว่า เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผล ปราศจากข้อพิรุธสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไปจึงจะถือว่าเป็นความรู้และความจริงในประเด็นนั้น เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น