The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

Principles in Buddhism According to  Buddhaphumi 's Philosophy

บทนำ

    โดยทั่วไปแล้ว   มนุษย์ทุกคนมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง มนุษย์นำความรู้ทางอารมณ์เหล่านี้เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เราได้ยินข้อเท็จจริงว่า ในสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง ชาวแคว้นสักกะสนใจที่จะศึกษาความจริงเกี่ยวกับมนุษย์และเทพเจ้า เพราะเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ถึงความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัตถ์  เมื่อพวกเขาอาศัยอยู่บนโลก พวกเขาเต็มไปด้วยความทุกข์ทางกายจากความเจ็บป่วยต่าง ๆ สงคราม ความตาย และความทุกข์ทางใจที่ต้องพลัดพรากจากคนที่เขารักด้วยความผิดหวังหรือการหย่าร้างกัน เมื่อมีราคะก็มีทุกข์ เพราะใครอยากได้สิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้นมาจะต้องทนทุกข์ทรมาน มนุษย์จึงต้องแสวงหาที่พึ่งอันประเสริฐของตนเองเช่น พราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาชีวิต โดยการทำพิธีบูชายัญต่อพระพรหมและพระอิศวร เพื่อช่วยให้บรรลุความปรารถนาของพวกเขาเอง  อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์จากการบูชาเทพเจ้า ได้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง เมื่อการบูชายัญทำให้ทั้งพราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะมีรายได้มหาศาลเพือความมั่นคงของประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของการบูชาไว้เพื่อพราหมณ์อารยัน มหาราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ จึงประกาศใช้คำสอนของพราหมณ์อารยันเป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี โดยอ้างว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา  เมื่อประกาศเป็นคำสอนในศาสนาและกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีแล้ว   ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนต่างวรรณะและปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น ถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนคำสอนทางศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง จะถูกลงพรหมทัณฑัหรือการลงโทษจากพระพรหมโดยถูกไล่ออกถิ่นฐานไปตลอดชีวิต จะต้องสูญเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมไปตลอดชีวิต   พวกเขาไม่อาจกลับไปคืนสู่สังคมเดิมเพื่อรับสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมของตนได้ 

           เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นปัญหาประชาชนในแคว้นสักกะที่พวกเขาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง พวกเขาไม่มีสิทธิเลือกเส้นทางของชีวิตตัวเอง ชีวิตจะต้องอยู่ในความมืดมนตลอดไป แต่พระองค์ทรงเมตตาต่อประชาชนในแคว้นสักกะและกรุณาช่วยพวกเขาให้พ้นจากความมืดมนแห่งชีวิต แม้พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ แต่พระองค์ทรงไม่อาจรับรู้ถึงความมีอยู่ของเหล่าทวยเทพได้ โดยตรงผ่านพิธีบูชายัญของพระองค์เอง เพราะเป็นกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง เมื่อข้อเท็จจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้ายังคงเป็นที่น่าสงสัย พระองค์จึงทรงได้สอบสวนข้อเท็จจริงแล้วและรวบรวมพยานหลักฐานได้แก่ คำให้การของปุโรหิตที่ปรึกษามหาราชาแห่งแคว้นสักกะ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนี้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบข้อเท็จจริงว่าปัญหาจัณฑาลในแคว้นสักกะนั้น    เกิดจากการที่คนทุกวรรณะในแคว้นสักกะนั้น กระทำความผิดฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรงในการมีเพศสันพันธ์์กับคนต่างวรรณะ จึงถูกลง โทษโดยคนในสังคมโดยถูกไล่ออกจากถิ่นที่อยู่ไปตลอดชีวิต ต้องหนีไปอาศัยอยู่ริมถนนในเมืองใหญ่ เช่น  พระนครกบิลพัสดุ์  เป็นต้น    เมื่อพระองค์ได้ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า พวกเขายอมรับว่าสร้างทฤษฎีกำเนิดของโลกจากลัทธิอาจารย์จริง เพราะเชื่อการมีอยู่พระพรหมและพระอิศวรเพราะพราหมณ์ในรุ่นก่อน ๆ เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรในแคว้นสักกะมาก่อน    พระพรหมเป็นสร้างมนุษย์ และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมาจริง แต่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามว่า พระพรหมมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? แต่ไม่มีใครตอบพระองค์ได้  

      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว  พระองค์ก็ทรงคิดว่าแม้พราหมณ์ปุโรหิตจะอ้างว่าติดต่อกับเทพเจ้าเป็นประจำโดยผ่านพิธีบูชายัญ แต่เมื่อไม่มีพราหมณ์คนใดตอบพระองค์ได้ถึงประวัติของพระพรหม คำให้การของปุโรหิตจึงไม่มีความน่าเชื่อถือว่าจะสามารถสื่อสารกับเทพเจ้าได้ตามคำสอนของพวกพราหมณ์อารยันได้อย่างแท้จริง เจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่เชื่อการมีอยู่ของเทพเจ้า   ถ้าพระองค์จะทรงทำพิธีบูชายัญต่อเทพเจ้าเองเพื่อขอให้พระพรหมยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี แต่พระองค์ก็ทรงกระทำมิได้ ถือเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง เพราะกฎหมายห้ามมิให้ใครปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่นได้    เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเชื่อของพราหมณ์ในการมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำให้การของปุโรหิต ก็เป็นที่น่าสงสัยและพระองค์ทรงไม่เชื่อว่าจะมีจริง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ โดยเสนอกฎหมายยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะ     แต่เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะพิจารณาร่วมกันแล้วก็เห็นพ้องกันว่า ร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะที่เจ้าชายสิทธัตถะเสนอถือเป็นการยกเลิกกฎหมายที่ได้ตราไว้แล้ว ถือเป็นร่างกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแห่งราชอาณาจักรสักกะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่ผ่านร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอ เป็นต้น 

         เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และทรงใช้เวลาหลายปีค้นพบหลักแห่งมรรคมีองค์ ๘ เมื่อพระองค์ทรงปฏิบัติธรรมจนบรรลุความจริงของชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นความรู้ในระดับอภิญญา ๖  ตามคำนิยามดังกล่าวข้างต้นนั้น  ผู้เขียนตีความว่า หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาในพระพุทธศาสนานั้น มิใช่หลักความเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ที่กล่าวว่า เทพเจ้าเป็นสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา ส่วนหลักการปฏิบัติบูชาถึงความมีอยู่ของเทพเจ้านั้น ผ่านการทำพิธีบูชายัญของพราหมณ์เท่านั้น  โดยตรัสรู้กฏปฏิจจสมุปบาทแห่งชีวิต ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทั้งหมด ที่เกิดจากปัจจัยทางร่างกาย และจิตใจรวมกันอยู่ในครรภ์มารดานำชีวิตใหม่มาสู่มนุษย์ เราสามารถอธิบายได้โดยง่ายดายและไม่ต้องลงรายละเอียด" ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าทรงนำหลักปฏิจสมุปบาทมาอธิบายในรูปแบบของคำสอนต่างๆ เพื่อให้สาวกเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ง่ายขึ้น ได้แก่ วัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ, วิชชา ๓, และหลักแห่ง "กรรม" เป็นต้น   เมื่อปัญจวัคคีย์ได้ฟังเทศน์ก็ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งบรรลุความรู้ในระดับอภิญญา ๖ เช่นเดียวกับการตรัสรู้ของพระพุทธองค์

     ปัญหาที่ควรวิเคราะห์ต่อไป พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ ด้วยคำสอนอะไร  เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรคภาค ๑ ธัมมจักปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา 

         ข้อ ๑๓.ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่สุดสองอย่างนี้ บรรพชิตไม่พึ่งเสพคือ (๑) กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย (การหมกมุ่นกับกามตัณหา) เป็นธรรมอันทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริย ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ (๒) อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ไม่ใช่ของพระอริย ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิดย่อมเป็นไปเพื่อสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั่น เป็นไฉน?ปฏิปทาสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละคือปัญญาอันเห็นชอบ๑ ความดำริชอบ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคือ ปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน".     

      เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ที่กล่าวข้างต้น     และได้ยินข้อเท็จจริงว่า    พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ด้วยหลักคำสอนเป็นครั้งแรก "ธัมมจักรกัปวัตนสูตร" มีสาระสำคัญว่าชีวิตของภิกษุไม่ควรดำเนินวิถีชีวิตแบบฆราวาส กล่าวคือ 

         ๑. การหมกมุ่นในกามทั้งหลายหรือความมัวเมาในกามราะ กล่าวคือ การใช้ชีวิตเกี่ยวพันกับสิ่งที่ปรารถนาเช่น ผัสสะในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น
         - คำว่า เกี่ยวพันกับรูปเกินความจำเป็นของชีวิต เช่น มีรถยนต์เกินความจำเป็นมากกว่า ๑ คันในการใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตลอดเวลาหรือ เครื่องประดับมีราคาแพงเกินความจำเป็น เป็นต้น  
          - คำว่า"เสียง"    ต้องใช้ชีวิตจมปลักกับการเที่ยวกลางคืนในสถานเริงรมย์ทุกค่ำคืนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในแต่ละวัน 
          -  กลิ่น น้ำหอมต้นไม้ต่าง  ๆ   มีหลายชนิด  ผู้คนมักแสวงหามาชื่นชมและดมกลิ่นตลอดเวลา เป็นต้น.  
          - รสชาติของอาหารที่มีราคาแพง และเขาก็แสวงหาอาหารนั้นมารับประทาน  
          - กามราคะ  การพัวพันผัสสะกับร่างกายของมนุษย์  เป็นการลุ่มหลงกับสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น        และความเสื่อมสลายหายไปมองไม่เห็นภาพหรือรูปอีกต่อไป เป็นต้น
         ๒. การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน     ด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวดทรมานร่างกายให้ซูมผอมร่างกายทุกทรมาณ    จนเกือบจะอดทนการทรมาณไม่ได้ เป็นการลง ทุนด้วยชีวิตที่สูญเปล่าบางกรณีอาจทุกรมานจนถึงแก่ความตายได้ เช่น พ่อแม่ของพระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน       มีศรัทธาในการบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งเสียชีวิตลงไปโดยจิตไม่สามารถสำรอกกิเลสออกจากจิตของตนได้  การเป็นบำเพ็ญทุกรกิริยาจึงเป็นการลงทุนปฏิบัติที่สูญเปล่าไม่เกิดมรรคผลใด ๆได้.  
           จากพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้นผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงนำความรู้จากการประพฤติวัตรและปฏิบัติธรรมของพระองค์ ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตของพระองค์ทรงเคยปฏิบัติมานั้นมาสอนแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ว่าเป็นวิธีการที่ไม่ควรปฏิบัติเพราะว่านำวิธีการไปใช้ปฏิบัติแล้วไม่เกิดมรรคผลบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญาได้   

3 ความคิดเห็น:

จุรีภรณ์ พรหมกระโทก กล่าวว่า...

อ่านแล้วทำให้รู้ถึงประวัติพระพุทธศาสนามากขึ้น

ส.ท อภิสิทธิ์ วงษ์ทอง 6606504318 กล่าวว่า...

สาธุๆๆๆ🥰😇

ส.ท อภิสิทธิ์ วงษ์ทอง 6606504318 กล่าวว่า...

สาธุๆๆๆๆๆ🥰😇

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ