The second element is the prophet in Buddhism
บทนำ
โดยทั่วไป เมื่อมนุษย์ทุกคนเกิดมามือเปล่าเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ มนุษย์จึงมีความกลัวซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจกันทุกคน พวกเขาจำเป็นต้องหาหลบภัยของตนเอง ไม่ได้มาพร้อมกับทรัพย์สมบัติ แม้ว่ามนุษย์จะมาพร้อมกับความรู้ ที่เรามักเรียกว่า "พรสวรรค์" แต่สิ่งเหล่านั้นก็จะไม่มีประโยชน์ใด ๆ จนกว่าพวกเขาจะนำความรู้นั้นมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วยตนเอง เมื่อมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเขลา โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับความทุกข์ในชีวิต เมื่อมนุษย์เกิดมาแล้วต้องตายและเมื่อตายไปแล้ว มนุษย์มีชีวิตหลังความตายหรือไม่ สำหรับพุทธศาสนิกชนคงตอบปัญหาได้ไม่ยากในเรื่องนี้ เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณฟังข้อเท็จจริงได้ว่า จิตของพระโพธิสัตว์เป็นสมาธิ ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนโยนเหมาะแก่การอยู่ร่วมผู้อื่นในสังคม
ศาสดาในพระพุทธศาสนา โดยทั่วไป ศาสนาทุกศาสนาต้องมีศาสดาที่ตรัสรู้ในคำสอนของศาสนานั้น จะต้องมีสาวกในศาสนานั้น จะต้องมีพิธีกรรม เพื่อแสดงหนทางไปสู่สัจธรรมในคำสอนนั้น และจะต้องมีสถานที่ทางศาสนาที่ผู้ศรัทธาสามารถปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงสัจธรรมในศาสนานั้น ปัญหาคือศาสดาเป็นใคร ? เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาศาสนาต่าง ๆ พบว่ามีคนจำนวนมากอ้างว่าเป็นศาสดา หรือผู้นำนิกายเหล่านั้น แต่ตัวตนของผู้นำนิกายเหล่านั้นยังไม่ชัดเจนว่า พวกเขามีความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้ยินมา ยังคงน่าสงสัย ผู้เขียนจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ผู้เขียนก็จะใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนตามหลักเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริง โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงเกี่ยวกับศาสดาของศาสนาเหล่านั้น อย่างสมเหตุสมผล
อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์ประกอบความรู้เกี่ยวกับศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ ยังไม่ชัดเจน ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ประกอบของความรู้เกี่ยวกับ "ศาสดา" -ขึ้นมา เพื่อกำหนดขอบเขตของความรู้เกี่ยวกับศาสดาในศาสนานี้ โดยใช้คำจำกัดความในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ความหมายของคำว่า "ศาสดา" ว่าคือผู้ก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เช่น พระพุทธเจ้าศากยมุนีทรงเป็นผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนเรื่อง ความจริงของชีวิตมนุษย และหลักปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุความจริงของชีวิต พัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ทั่วโลก ให้มีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ ปราศจากอคติต่อผู้อื่น และทำให้จิตใจเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งความจริง ผู้รู้แจ้งภัยในวัฏสงสาร (round of existences) ย่อมยินดีในการบรรลุอภิญญาทั้ง ๖ ระดับได้
ตามประวัติของพระพุทธเจ้าศากยมุนี พระองค์ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าชายสิทธัตถะ" ทรงศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ วิชา เมื่อทรงศึกษาจบแล้ว พระราชบิดาทรงสร้างปราสาทขึ้น ๓ หลัง เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และทรงจัดพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา เจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับอยู่ร่วมกับพระสนมทั้ง ๔๐,๐๐๐ คนอย่างมีความสุขนานกว่า ๑๓ ปี จนพระองค์ทรงบรรลุความสุขที่ปรารถนา ทรงเบื่อหน่ายกับความสุขที่จำกัดไว้พระราชวังกบิลพัสดุ์ จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปเยี่ยมราษฏร และเสด็จเยือนสวนหลวงในพระนครกบิลพัสดุ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงมองเห็นปัญหาจัณฑาลนักโทษที่ถูกลงโทษโดยคนในสังคมของแคว้นสักกะ กล่าวหาว่าละเมิดหลักคำสอนทางศาสนาและกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง พวกเขาจึงถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือนไปจนตาย โดยไม่มีโอกาสกลับคืนสถานะเดิมในสังคมได้
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณเรียกว่า "นิมิต ๔" หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็น ได้แก่ คนชรา คนป่วย คนตาย และนักบวช เป็นต้น เหตุการณ์นี้ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีความกรุณาธิคุณต่อคนจัณฑาลเป็นอย่างยิ่ง ทรงคิดหาทางช่วยเหลือให้จัณฑาลพ้นจากความทุกข์ของชีวิตและกลับคืนฐานะเดิมในสังคมได้ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยสืบหาสาเหตุที่จัณฑาลเกิดทุกข์ โดยรวบรวมพยานหลักฐานจากคำให้การของปุโรหิตซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินข้อเท็จจริงจากคำให้การของปุโรหิตว่าพระพรหมและพระอิศวรได้สร้างมนุษย์และวรรณะสำหรับมนุษย์ขึ้นมาจริง เหล่าปุโรหิตยังยืนยันเรื่องนี้ว่าพราหมณ์ในรุ่นก่อนเคยเห็นพระพรหมในอาณาจักรสักกะ แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงถามว่า ประวัติของพระพรหมและพระอิศวรเป็นอย่างไร ? ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ เมื่อข้อเท็จจริงของคำให้การของปุโรหิตมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระพรหม และพระอิศวร พระองค์จึงทรงไม่เชื่อว่าพระพรหมและพระอิศวรมีอยู่จริงจึงทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคม โดยเสนอต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะให้ยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่ได้รับการอนุมัติจากสมาชิกรัฐสภาแห่งชาติราชวงศ์ศากยะ เพราะการยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีนั้นเป็นการขัดต่อธรรมของกษัตริย์อันเป็นหลักการนิติธรรมในการปกครองประเทศที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรมมาตรา ๓" เป็นต้น
![]() |
ธัมเมฆสถูปBy Manit Nitiphon |
เมื่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายรัฐธรรมนูญของอาณาจักรสักกะ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปสังคมในอาณาจักรสักกะ เพราะ พระองค์ทรงไม่สามารถยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีได้ ฝ่าฝืนต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรสักกะ และเจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงไม่สามารถประกอบพระราชพิธีบูชายัญ เพื่อถวายเครื่องบูชาพระพรหมด้วยพระองค์เองได้ เพื่อขอพรพระพรหมยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะได้ เพราะผิดกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ซึ่งห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ประกอบพิธีบูชายัญได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าพระองค์ยังทรงมีสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะกษัตริย์อีกต่อไป พระองค์ก็ทรงไม่สามารถแก้ไขปัญหาจัณฑาลได้ เมื่อพระองค์ทรงสงสัยในความมีอยู่ของพระพรหม เจ้าชายสิทธัตถะทรงชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริงแห่งชีวิตว่าจริงหรือไม่ที่พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเองเกิดมาตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน ?
แล้วเราจะรู้ความจริงข้อนี้ได้อย่างไร ? เมื่อการมีอยู่ของพระพรหมเป็นความรู้ที่เหนือการรับรู้ของมนุษย์ แม้พราหมณ์ในนิกายต่าง ๆ จะอ้างว่าสามารถเข้าถึงเทพเจ้าได้โดยการบูชายัญ แต่การบูชายัญไม่ใช่การปฏิบัติที่สากลที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ เพราะการมีอยู่ของเทพเจ้านััน สามารถเข้าถึงได้เฉพาะวรรณะพราหมณ์เท่านั้น ส่วนวรรณะอื่นไม่สามารถบูชายัญได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะแล้ว คนนั้นจะถูกลงโทษโดยคนในสังคม เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถทำบูชายัญต่อเทพเจ้าด้วยพระองค์เอง เพื่อขอให้พระพรหมยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี พระองค์ทรงตัดสินพระทัยละทิ้งวรรณกษัตริย์ เสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต และเป็นเวลาหลายปีที่พระองค์ทรงจาริกไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อค้นหาวิธีพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์เพื่อเข้าถึงการมีอยู่ของเทพเจ้า พระองค์ทรงค้นพบวิธีปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ จนมีญาณทิพย์เห็นวิญญาณสัตว์น้อยใหญ่ไปเกิดในภพอื่น เป็นต้น พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตจนกระทั่งพระองค์ตรัสรู้กฎแห่งธรรมชาติของมนุษย์ว่า เมื่อมนุษย์ตายวิญญาณจะออกจากร่างกายไปเกิดใหม่ในอีกโลกอื่น ส่วนวิญญาณจะไปเกิดใหม่ที่ไหนขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองที่สั่งสมเป็นสัญญาในใจของผู้กระทำ ถ้ากรรมดีเรียกว่า "กุศลกรรม" วิญญาณของผู้กระทำก็จะไปเกิดในโลกสวรรค์ถ้ากรรมชั่วเรียกว่า "อกุศลกรรม" วิญญาณก็จะไปเกิดใน "ทุคติภูมิ" เป็นต้น
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงกฎธรรมชาติ ซึ่งเป็นความรู้ที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ ภายหลังตรัสรู้แล้วพระองค์ทรงเห็นว่า มนุษย์แต่ละคนมีชีวิตเข้มแข็ง หรืออ่อนแอแตกต่างกันออกไป แต่มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพชีวิตได้ ทำให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยออกเผยแผ่หลักการเกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ เพื่อให้ประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ได้ศึกษาหลักธรรมและปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อชำระจิตวิญญาณบริสุทธิ์ ให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสที่เศร้าหมองต่อไป จนกระทั่งมีผู้เชื่อนับหลายร้อยล้านคนในยุคปัจจุบัน ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงเป็นพระพุทธเจ้าองค์เดียว เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ทรงให้เอาพระธรรมวินัยเป็นศาสดาในพระพุทธศาสนาต่อไป
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ก่อตั้งศาสนาที่ปฏิรูปสังคมในพระไตรปิฎกหรือไม่ มีเหตุผลอย่างไร ? ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไปโดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงคำตอบในเรื่องนี้ คำตอบที่ได้จากการคิดวิเคราะห์จะเขียนในรูปบทความวิเคราะห์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของประเทศไทยในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่เน้นให้นักเรียน นักศึกษาได้ศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรไทยในต่างประเทศใช้แสดงธรรมเทศนา แก่ชุมชนชาวพุทธทั่วโลก และใช้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธในสั่งเวชนียสถานทั้ง ๔ ในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สมาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ส่วนกระบวนวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนาปรัชญา และศาสตร์สมัยใหม่ในการวิจัยระดับปริญญาเอก เพื่อให้ได้ผลการวิจัยเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผล เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น