Element 2: Principles of Buddhism According to Buddhaphumi 's Philosophy
คำสำคัญ หลักธรรม พระพุทธศาสนา
บทนำ
โดยทั่วไปมนุษย์ทุกคนมักจะได้ยินข้อเท็จจริง(fact) เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตโดยผ่านอายตนะภายในร่างกายของตน และจิตใจของมนุษย์ มักจะเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้ในจิตใจ อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์นั้น ไม่เพียงแต่รับรู้ และเก็บเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่คิดโดยเมื่อรู้สิ่งใด ก็จะคิดจากสิ่งนั้น โดยคาดคะเนความจริงจากหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจอีกด้วยเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงของคำตอบของสิ่งเหล่านั้นแต่เมื่อวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์โดยอนุมานความรู้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ยังไม่ชัดเจนว่าเรื่องราวเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะหลักฐานมีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องหาพยานบุคคล และหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นต่อไป
เมื่อเราศึกษาคำสอนของศาสนาพราหมณ์และข้อเท็จจริงของศาสนาพราหมณ์จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เราได้ยินข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่าในสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง ผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ เผชิญอันตราย ๕ ประการคือ อัคคีภัย อุทกภัย และภัยเวรของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพื่อบูชายัญ ผู้ลักขโมยทรัพย์ ผู้ประพฤติผิดในกาม ผู้พูดเท็จ และผู้ประมาทหรือโจรภัย เป็นต้น ชาวแคว้นสักกะประสบกับความทุกข์ที่เข้ามาในชีวิต และต้องหาที่พึ่งของตนเอง จึงแสวงหาพราหมณ์ตามสำนักต่าง ๆ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามีความสามารถพิเศษหรือปัญญาหยั่งรู้ ที่เรียกว่า "ญาณ" (insight) โดยเฉพาะเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้า เช่น พระพรหม เป็นต้น เมื่อพราหมณ์เหล่านี้บางคนเป็นนักปรัชญาและนักตรรกะ จึงมีความสามารถคิด โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ และสื่อสารกับเทพเจ้าผ่านการบูชายัญด้วยของมีค่าต่าง ๆ เพื่อขอให้เทพเจ้าช่วยพวกเขาบรรลุความปรารถนาในชีวิตได้ เป็นต้น
เมื่อชาวอนุทวีปอินเดีย เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้เกี่ยวกับความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัตถ์ เมื่ออยู่ในภพชาตินั้น เต็มไปด้วยทุกข์ทางกายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ สงคราม ความตาย และความทุกข์ทางใจจากความพลัดพรากจากคนรัก เมื่อมีความปรารถนาก็ย่อมมีทุกข์ไปด้วย เพราะผู้ใดปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นย่อมต้องทุกข์ไปด้วย ดังนั้นผู้คนจึงต้องแสวงหาที่พึ่งอันประเสริฐ เช่น พราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาชีวิตโดยทำพิธีบูชายัญต่อพระพรหมและพระอิศวรเพื่อช่วยให้บรรลุความปรารถนา
อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ของการบูชาเทพเจ้ากลายเป็นประเด็นทางการเมือง เมื่อการบูชาเทพเจ้าทำให้พราหมณ์อารยัน และพราหมณ์มิลักขะมีรายได้มหาศาล เพือความปลอดภัยของประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของการบูชาสำหรับพราหมณ์อารยัน มหาราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ ประกาศให้คำสอนของพราหมณ์อารยันว่า เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ โดยอ้างว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา เมื่อประกาศให้เป็นคำสอนทางศาสนาและกฎหมายวรรณะ กฎหมายดังกล่าวก็บังคับให้ประชาชนจะต้องปฏิบัติตาม กล่าวคือ ห้ามมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลในวรรณะอื่นหรือปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น หากผู้ใดกระทำดังกล่าว ถือว่าเป็นผู้ละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง จะถูกลงโทษโดยพราหมณ์ด้วยการขับไล่ออกจากบ้านไปตลอดชีวิต พวกเขาจะสูญเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมตลอดชีวิต ไม่สามารถกลับไปคืนสู่สังคมเดิมเพื่อรับสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมได้
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาชาวแคว้นสักกะที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง พวกเขาก็ไม่มีสิทธิเลือกเส้นทางของชีวิตตนเอง ชีวิตของพวกเขาจะต้องมืดมนตลอดไป แต่พระองค์ทรงมีความเมตตากรุณาต่อชาวแคว้นสักกะ และทรงช่วยให้พวกเขาพ้นจากความมืดมนแห่งชีวิตได้ แม้จะสำเร็จการศึกษาด้านศิลปศาสตร์ แต่พระองค์ก็ทรงไม่สามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของเหล่าทวยเทพได้โดยตรงผ่านพิธีการบูชาด้วยพระองค์เองได้ เพราะถือเป็นความผิดร้ายแรงต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้ายังไม่ชัดเจน พระองค์จึงทรงสืบเสาะหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน เช่น คำให้การของปุโรหิตที่ปรึกษาของมหาราชาแห่งแคว้นสักกะ เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อพิสูจน์ความจริง โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบข้อเท็จจริงว่าปัญหาจัณฑาลในแคว้นสักกะนั้น เกิดจากคนทุกวรรณะในแคว้นสักกะนั้น กระทำผิดอย่างร้ายแรงต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะโดยการมีเพศสัมพันธ์์กับผู้คนต่างวรรณะ จึงถูกคนในสังคมลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากบ้านเรือนไปตลอดชีวิต ต้องหนีไปใช้ชีวิตตามท้องถนนในเมืองใหญ่ เช่น พระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น เมื่อพระองค์ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่ายอมรับหรือไม่ พวกเขาสร้างทฤษฎีกำเนิดของโลกขึ้นจากลัทธิอาจารย์ของตน เพราะเชื่อว่ามีพระพรหมและพระอิศวรเพราะพราหมณ์ในรุ่นก่อน เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรในแคว้นสักกะมาก่อน พระพรหมเป็นผู้ที่สร้างมนุษย์ และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา แต่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามว่า พระพรหมมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? แต่ไม่มีใครตอบพระองค์ได้
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว พระองค์ก็ทรงคิดว่าแม้พราหมณ์ปุโรหิตจะอ้างว่าติดต่อกับเทพเจ้าเป็นประจำโดยผ่านพิธีบูชายัญ แต่เมื่อไม่มีพราหมณ์คนใดตอบพระองค์ได้ถึงประวัติของพระพรหม คำให้การของปุโรหิตจึงไม่มีความน่าเชื่อถือว่าจะสามารถสื่อสารกับเทพเจ้าได้ตามคำสอนของพวกพราหมณ์อารยันได้อย่างแท้จริง เจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่เชื่อการมีอยู่ของเทพเจ้า ถ้าพระองค์จะทรงทำพิธีบูชายัญต่อเทพเจ้าเองเพื่อขอให้พระพรหมยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี แต่พระองค์ก็ทรงกระทำมิได้ ถือเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง เพราะกฎหมายห้ามมิให้ใครปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่นได้
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเชื่อของพราหมณ์ในการมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำให้การของปุโรหิต ก็เป็นที่น่าสงสัยและพระองค์ทรงไม่เชื่อว่าจะมีจริง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ โดยเสนอกฎหมายยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะ แต่เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะพิจารณาร่วมกันแล้วก็เห็นพ้องกันว่า ร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะที่เจ้าชายสิทธัตถะเสนอถือเป็นการยกเลิกกฎหมายที่ได้ตราไว้แล้ว ถือเป็นร่างกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแห่งราชอาณาจักรสักกะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่ผ่านร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอ เป็นต้น
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และทรงใช้เวลาหลายปีค้นพบหลักแห่งมรรคมีองค์ ๘ เมื่อพระองค์ทรงปฏิบัติธรรมจนบรรลุความจริงของชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ตามคำนิยามดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนตีความว่าหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นศาสดาในพระพุทธศาสนานั้น มิใช่หลักความเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ที่กล่าวว่า เทพเจ้าเป็นสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา ส่วนหลักการปฏิบัติบูชาถึงความมีอยู่ของเทพเจ้านั้น ผ่านการทำพิธีบูชายัญของพราหมณ์เท่านั้น โดยตรัสรู้กฏปฏิจจสมุปบาทแห่งชีวิต ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทั้งหมดที่เกิดจากปัจจัยทางร่างกาย และจิตใจรวมกันอยู่ในครรภ์มารดานำชีวิตใหม่มาสู่มนุษย์
เราสามารถอธิบายได้โดยง่ายดายและไม่ต้องลงรายละเอียด" ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าทรงนำหลักปฏิจสมุปบาทมาอธิบายในรูปแบบของคำสอนต่างๆ เพื่อให้สาวกเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ง่ายขึ้น ได้แก่ วัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ, วิชชา ๓, และหลักแห่ง "กรรม" เป็นต้น เมื่อปัญจวัคคีย์ได้ฟังเทศน์ก็ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งบรรลุความรู้ในระดับอภิญญา ๖ เช่นเดียวกับการตรัสรู้ของพระพุทธองค์

ปัญหาที่ควรวิเคราะห์ต่อไป พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ ด้วยคำสอนอะไร เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรคภาค๑ ธัมมจักปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา
ข้อ ๑๓.ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่สุดสองอย่างนี้ บรรพชิตไม่พึ่งเสพคือ (๑) กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย (การหมกมุ่นกับกามตัณหา) เป็นธรรมอันทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริย ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ (๒) อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ไม่ใช่ของพระอริย ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิดย่อมเป็นไปเพื่อสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั่น เป็นไฉน?ปฏิปทาสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละคือปัญญาอันเห็นชอบ๑ ความดำริชอบ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคือ ปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน".

เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ที่กล่าวข้างต้น และได้ยินข้อเท็จจริงว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ด้วยหลักคำสอนเป็นครั้งแรก "ธัมมจักรกัปวัตนสูตร" มีสาระสำคัญว่าชีวิตของภิกษุไม่ควรดำเนินวิถีชีวิตแบบฆราวาส กล่าวคือ ๑. การหมกมุ่นในกามทั้งหลายหรือความมัวเมาในกามราคะ กล่าวคือ การใช้ชีวิตเกี่ยวพันกับสิ่งที่ปรารถนา เช่น ผัสสะในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น
- คำว่า เกี่ยวพันกับรูปเกินความจำเป็นของชีวิต เช่น มีรถยนต์เกินความจำเป็นมากกว่า ๑ คันในการใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตลอดเวลา หรือ เครื่องประดับมีราคาแพงเกินความจำเป็น เป็นต้น
- คำว่า"เสียง" ต้องใช้ชีวิตจมปลักกับการเที่ยวกลางคืนในสถานเริงรมย์ทุกค่ำคืน ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในแต่ละวัน
- กลิ่น น้ำหอมต้นไม้ต่าง ๆ มีหลายชนิด ผู้คนมักแสวงหามาชื่นชมและดมกลิ่นตลอดเวลา เป็นต้น.
- รสชาติของอาหารที่มีราคาแพง และเขาก็แสวงหาอาหารนั้นมารับประทาน
- กามราคะ การพัวพันผัสสะกับร่างกายของมนุษย์ เป็นการลุ่มหลงกับสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น และความเสื่อมสลายหายไปมองไม่เห็นภาพหรือรูปอีกต่อไป เป็นต้น
๒. การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน ด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวดทรมานร่างกาย ให้ซูมผอมร่างกายทุกทรมาณ จนเกือบจะอดทนการทรมาณไม่ได้ เป็นการลงทุนด้วยชีวิตที่สูญเปล่าบางกรณีอาจทุกรมานจนถึงแก่ความตายได้ เช่น พ่อแม่ของพระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน มีศรัทธาในการบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งเสียชีวิตลงไป โดยจิตไม่สามารถสำรอกกิเลสออกจากจิตของตนได้ การเป็นบำเพ็ญทุกรกิริยาจึงเป็นการลงทุนปฏิบัติที่สูญเปล่าไม่เกิดมรรคผลใด ๆได้.
จากพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้นผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงนำความรู้จากการประพฤติวัตรและปฏิบัติธรรมของพระองค์ ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตของพระองค์ทรงเคยปฏิบัติมานั้นมาสอนแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ว่าเป็นวิธีการที่ไม่ควรปฏิบัติเพราะว่านำวิธีการไปใช้ปฏิบัติแล้วไม่เกิดมรรคผลบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญาได้
3 ความคิดเห็น:
อ่านแล้วทำให้รู้ถึงประวัติพระพุทธศาสนามากขึ้น
สาธุๆๆๆ🥰😇
สาธุๆๆๆๆๆ🥰😇
แสดงความคิดเห็น