The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

บทนำ พระพุทธศาสนาตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ

The Elements  of Buddhism according to   Buddhaphumi's Philosophy  

บทนำ  ความเป็นมาและความสำคัญของพระพุทธศาสนา   

                โดยทั่วไปพระพุทธศาสนาถือกำเนิดในสาธารณรัฐอินเดีย    และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เมื่อกว่า ๒,๕๐๐  กว่าปีที่แล้ว   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะแห่งราชวงศ์ศากยะ ทรงเห็นปัญหาของคนจัณฑาล ซึ่งเป็นนักโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมายวรรณะและคำสอนของศาสนาพราหมณ์อย่างร้ายแรง    โดยการกระทำความผิดในข้อหาสมสู่กับคนต่างวรรณะหรือการปฏิบัติหน้าที่วรรณะอื่น   เป็นต้น             เมื่อผู้คนในสังคมพบพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าว     ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน  เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว   พวกเขาก็จะใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้     เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น     โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องนั้น   เป็นต้น      เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคคลนั้นได้กระทำผิดต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจริง  ก็จะถูกลงโทษด้วยลงพรหมทัณฑ์     คือ  การขับไล่บุคคลผู้คนนั้นออกจากสังคมไปตลอดชีวิต   และไม่สามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมตามกฎหมายวรรณะที่ตนเกิดมา   เป็นต้น

              เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาล  ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง    ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามท้องถนนตลอดชีวิตแม้จะอยู่ในวัยชรา   เจ็บป่วยและนอนตายอยู่ข้างถนน      พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อจัณฑาล    พระองค์ทรงคิดหาทางช่วยเหลือจัณฑาล ให้หลุดพ้นจากความทุกข์   เกิดมาโดยไม่มีความรู้  จึงไม่รู้จักความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ    ที่เกิดขึ้นในชีวิต    เพราะพวกเขายึดติดอยู่กับอารมณ์เหล่านั้น  เมื่อจิตต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งและไม่ได้สิ่งนั้นมา       ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในจิตใจ       เป็นไปไม่ได้ที่จะชำระล้างอารมณ์เหล่านั้นออกจากจิต  มนุษย์จำเป็นต้องหาที่พึ่งของตนเอง  เมื่อเชื่อในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง พวกเขาจะเชื่อและตกลงปฏิบัติตามคำสอนของบุคคลนั้น เมื่อพราหมณ์บางคนเป็นศาสดา   พวกเขาจะได้รับการยอมรับจากผู้คนในสังคม  เมื่อผู้คนอยู่ในความทุกข์    พวกเขาก็จะปรึกษาหารือและตกลงปฏิบัติตาม 
     
              ปรัชญาคือความรู้ของมนุษย์โดยทั่วไป  มนุษย์บางคนเท่านั้นเป็น "นักปรัชญา"       ซึ่งสร้างองค์ประกอบของความรู้ทางปรัชญาจากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย   และเก็บความรู้ดังกล่าวไว้เป็นข้อมูลทางอารมณ์ที่สั่งสมไว้ในจิตใจ            นักปรัชญาก็ใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  ในจิตใจนั้น   เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น  ๆ  โดยใช้เหตุผลอธิบายความจริงของเรื่องนั้น    ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างมีเหตุผล  เป็นต้น          แต่เมือนักปรัชญาและนักตรรกะ         แสดงความเห็นตามปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงเช่นนี้ว่า  "อัตตาและโลกเที่ยง"  เป็นต้น      นักตรรกะและนักปรัชญามัจะใช้เหตุผลอธิบายความจริงของเรื่องนั้น  ๆ      ซึ่งบางครั้งอาจจะถูกบ้าง  อาจจะผิดบ้าง    เป็นอย่างนั้นบ้าง   เป็นอย่างนี้บ้าง   เป็นต้น           เมื่อการใช้เหตุผลของนักตรรกะ  นักปรัชญาอธิบายความจริงของคำตอบไม่แน่นอนในเรื่องนั้นว่า มีความเป็นมาอย่างไร    วิญญูชนย่อมไม่เชื่อความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ     

           ปรัชญาแบ่งออกเป็นหลายสาขา  เช่น อภิปรัชญา  ญาณวิทยา จริยศาสตร์  สุนทรียศาสตร์  ตรรกศาสตร์เป็นต้น       นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงของมนุษย์       ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ    โลก        และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น  โดยทั่วไป    อภิปรัชญาคือความรู้ของนักปรัชญาซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่ง  ที่สามารถคิดโดยการใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือให้นักปรัชญาอธิบายความจริงในเรื่องต่าง ๆ      ได้อย่างสมเหตุสมผล  แต่เมื่อนักปรัชญามีธรรมชาติของอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างจำกัดและมีอคติต่อผู้อื่น       ชีวิตของนักปรัชญาส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในมืดมน ย่อมเกิดความสงสัย             นักปรัชญาจึงสนใจศึกษาปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์     องค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์       วิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์  เป็นต้น     

             พุทธศาสนาสนใจศึกษาแต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความจริงของมนุษย์เท่านั้น       ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปรัชญาและพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่  มาจากหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคล          กล่าวกันว่าแม้เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงเรียนจบหลักสูตรศิลปศาสตร์ใน    ๑๘ สาขาวิชาแล้วก็ตาม           เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นจัณฑาล  ซึ่งกระทำความผิดอย่างร้ายแรงในการละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์    และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ   โดยการมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะ  เขาก็ถูกสังคมลงโทษด้วยการไล่ออกจากบ้านเรือนไปตลอดชีวิต   และต้องใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน (Homeless)      แม้จะแก่ชราภาพ  เจ็บป่วย  และตายอยู่บนท้องถนน    เป็นต้น  

               เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของจัณฑาล   พระองค์ก็ทรงเริ่มสงสัยในความเชื่อเรื่องเทพเจ้า พระองค์ทรงชอบแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนี้       พระองค์ทรงสืบหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานของเรื่องนี้        จากพยานซึ่งเป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าสุทโธทนะ       แต่ไม่มีพราหมณ์คนใดสามารถตอบเกี่ยวกับประวัติของพระพรหมและพระอิศวรได้      เจ้าชายสิทธัตถะผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อค้นหาความจริงของชีวิตว่าพระพรหมและพระอิศวรทรงสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา     ตามคำสอนของพราหมณ์อารยันหรือไม่ ? แล้วเราจะทราบความจริงของเรื่องนี้ได้อย่างไร ?  

                 ส่วนปรัชญาตะวันตกนั้น  ถือกำเนิดภายหลังสมัยพุทธกาล  เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช       ทรงส่งพระธรรมทูตจากอาณาจักรโมริยะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก     นักปรัชญาตะวันตกนำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปบูรณาการกับศาสนาของตน    โดยใช้เหตุผล    อธิบายความจริงของคำตอบในศาสนาของตน   ศาสนาเหล่านั้น    ก็กลับมาเป็นที่ความนิยมอีกครั้งหนึ่งทำให้ชาวตะวันตกความหวังมากขึ้น       อย่างไรก็ตาม   แม้ความเชื่อเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้า  นักตรรกะ นักปรัชญาจะสามารถผลอธิบายได้ด้วยเหตุผล     แต่เหตุผลเหล่านั้น      ไม่สามารถทำให้ชาวตะวันตกเข้าถึงความจริงของการมีอยู่เทพเจ้าได้         ทำให้ชาวตะวันตกเริ่มสงสัยในความมีอยู่ของเทพเจ้าเพราะความเชื่อเหล่านั้น     ไม่สามารถช่วยให้พวกเขาเข้าถึงความจริงของชีวิตตามคำสอนของนักบวชเหล่่านั้นได้      เช่น ความจริงของชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น        ๒ ส่วน คือความรู้ในระดับประสาทสัมผัสจะเห็นว่ามนุษย์เกิดแล้วต้องตาย     เมื่อตายไปแล้ว ร่างกายจะถูกเผาเหลือเพียงกระดูกและเถ้าถ่านเท่านั้น     สำหรับความรู้ระดับปรมัตถ์นั้น   ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยอายตนะภายในร่างกาย  เว้นแต่จะปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘      ก็จะเกิดปัญญาญาณอันประเสริฐเหนือมนุษย์ทั้งปวง              ดังเช่น พระพุทธเจ้าทรงเห็นดวงวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย           ออกจากร่างไปเกิดในภพอื่นต่อไป เป็นต้นแต่โดยธรรมชาติแล้ว จิตใจของมนุษย์ต้องอาศัยอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ  สภาวะต่าง   ๆ  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมได้อย่างจำกัด           กล่าวคือ ไม่สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในที่ห่างไกลได้  หรือพลังงานของสสารที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์  เช่นไฟฟ้า จิตวิญญาณ คลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ นอกจากนี้มนุษย์มักมีอคติต่อกัน มักช่วยเหลือกันในลักษณะที่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมาย

        ดังนั้น  ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ โลกและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเทพเจ้า    มีบ่อเกิดของความรู้ทั้งในระดับประสาทสัมผัสและความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์      มนุษย์จะเข้าใจการมีอยู่ของสิ่งต่าง ๆ ผ่านการรับรู้ได้อย่างไร  ?   เป็นปัญหาที่น่าสนใจมากในการศึกษาแล้วนักปรัชญาจะแก้ปัญหาอย่างไร ?    เมื่อมนุษย์ไม่สามารถใช้อายตนะภายในร่างกายของตนเอง   ในการรับรู้การมีอยู่ของเทพเจ้าได้      เนื่องจากศักยภาพของมนุษย์มีจำกัด     เมื่อความรู้ที่แท้จริงในพระพุทธศาสนานั้น    เราสามารถแบ่งได้เป็น ๒ อย่างคือความรู้ระดับโลกียะและโลกุตตรธรรมปรมัตถ์  

                 ในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงขององค์ประกอบของพระพุทธศาสนาตามหลักปรัชญานั้นเพราะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีมายาวนานกว่า ๒,๕๐๐ ปี  เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์เราก็สามารถศึกษาพระพุทธศาสนาตามหลักปรัชญาพุทธภูมิได้     เมื่อผู้เขียนกล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา        เมื่อใด จะต้องสอบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน         เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น   ส่วนพยานบุคคลที่น่าเชื่อเพื่อยืนยันความจริงนั้นจะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจเท่านั้นที่จะได้รับการยอมรับของทุกฝ่าย หากพยานบุคคลไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในใจของตนเอง  คำพยานนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือ และไม่อาจรับเป็นหลักฐานได้ เหตุผลจึงมีน้ำหนักน้อยและไม่สามารถนำมาใช้พิสูจน์ความจริงในเรื่องได้

                ตัวอย่างเช่นนักวิชาการ    ได้เขียนบทวิเคราะห์ถึงต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย  โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานสำคัญเช่นการสร้างวัดพุทธมากกว่า ๓๐,๐๐๐ แห่ง และเจดีย์จำนวนมากที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุเป็นหลักฐานให้วิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบเกี่ยวกับต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา   แต่ข้อเท็จจริงของพุทธสถานในราชอาณาจักรไทยส่วนใหญ่          มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยหลังพระพุทธกาล        และไม่มีหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯได้ยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบว่าราชอาณาจักรไทยเคยเป็นสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้       สถานที่แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพานของพระพุทธเจ้า      อีกทั้งไม่มีบันทึกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐสุวรรณภูมิ  ส่วนนักปรัชญาที่เชื่อว่าพระพุทธศาสนา     ควรมีต้นกำเนิดในราชอาณาจักรไทยโดยอ้างวัดพุทธเป็นหลักฐาน      ในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับต้นกำเนิดของพุทธศาสนาเหตุผลในเรื่องนี้ จึงมีน้ำหนักน้อย       ไม่เพียงพอที่จะยืนยันข้อเท็จจริงว่าเป็นความจริงเพราะขาดเอกสารหลักฐานและหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้ 

            ปัญหาคือเราจะศึกษาพุทธศาสนาตามแนวคิดปรัชญาพุทธภูมิได้หรือไม่     เมื่อนักปรัชญาสนใจที่จะศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับมนุษย์ จิต       เจตจำนงเสรีและเทพเจ้า เป็นต้น   เมื่อพระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับความจริงของมนุษย์         ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาอภิปรัชญาที่สามารถศึกษาได้ตามวิธีพิจารณาปรัชญา     เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของแก่นแท้ของสรรพสิ่ง      ดังนั้นในการศึกษาความจริงของเมืองประวัติศาสตร์สารนารถว่า เป็นสถานที่กำเนิดของพระพุทธศาสนานั้น        แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด  ๆ อย่าตัดสินใจเชื่อเรื่องราวที่ฟังตาม ๆ กันมา  ควรสงสัยไว้ก่อนจนกว่าจะสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในพระไตรปิฎก     อรรถกถา บันทึกของนักบวชจีน    พยานวัตถุได้แก่โบราณสถานทางพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช                 พยานบุคคลได้แก่นักโบราณคดีชาวอินเดียและอังกฤษที่ขุดค้น เป็นต้น   มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ      เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบ  หรือหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบต่อไป

                 ปัญหาว่า  "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพุทธศาสนามีองค์ประกอบหลักศาสนาครบถ้วน? "   เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ   เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าความจริงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา      ได้รับการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ หลายเล่ม   เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ   มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องพระพุทธศาสนาปรากฏอยู่ในจิตใจผู้เขียนยังไม่แน่ชัดว่า    ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ นั้น พระพุทธศาสนา    มีองค์ประกอบครบถ้วนตามหลักศาสนาหรือไม่?   มีความจำเป็นต้องสอบสวนข้อเท็จจริง  และรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอต่อไป   จึงกำหนดขอบเขตความรู้ของพระพุทธศาสนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  โดยกำหนดองค์ประกอบของ  คำว่า "ศาสนา"ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔   ได้นิยามคำว่า"ศาสนา" ว่า"ศาสนาคือลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลักคือการเกิดขึ้นและสิ้นสุดของโลกเป็นต้นในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่งแสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบาปกับบุญ  อันเป็นฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่งลัทธิพิธีกรรมทำตามความเห็นหรือตามคำสอนในเรื่องของความเชื่อนั้น ๆ
  
        ตามคำจำกัดความของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้เขียนตีความคำว่า "ศาสนา"มีองค์ประกอบทั้งหมดตามหลักศาสนาดังนี้
๑.ศาสดา  
๒.หลักธรรม 
๓.สาวก 
๔.มีพิธีกรรม 
๕.ศาสนสถาน  
      เราพิจารณาถึงองค์ประกอบของศาสนาได้ดังนี้ ๑.ศาสดาคือมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของความเชื่อนั้นและความรู้เกี่ยวกับการเกิดขึ้นและสิ้นสุดของโลกและ ๒.หลักธรรมเกี่ยวกับบาปและบุญ เป็นต้น ๓.สาวก ๔.  พิธีกรรม๔. ศาสนาพิธี  ๕.ศาสนสถาน เป็นต้น (ยังมีต่อ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ