องค์ประกอบที่ ๓ ของพระพุทธศาสนาคือนักบวช
The third element of Buddhism is the monks
บทนำ

ตามแนวทางปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุความจริงของชีวิต ชีวิตของพวกเขาเกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจในครรภ์มารดารวมกัน เป็นทารกเป็นเวลา ๙ เดือนแล้วเกิดจากครรภ์มารดา แล้วเป็นมนุษย์มีชื่อนามและสกุลใหม่ พระพรหมไม่ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาตามคำสอนของพราหมณ์แต่อย่างใด ความรู้ที่พระองค์ได้รับจากการตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์ ก็จะสูญหายไปจากโลกมนุษย์พร้อมกับการปรินิพพานของพระพุทธองค์ ชีวิตของมนุษย์ก็ตกอยู่ในความมืดมนของความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าต่อไป จนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าองค์ใหมเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ต่อไป พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่คำสอนในพระพุทธศาสนาให้กับเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่อไป ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี ในการเผยแผ่คำสอนของพระองค์ได้สั่งสมอยู่ในจิตใจของชาวชมพูทวีปอินเดีย มีผู้คนจำนวนมากศึกษาและปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ศาสนบุคคล คือนักบวชในศาสนา" เช่น พระภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา แต่มีคำอีก คำหนึ่งที่ให้คำจำกัดความว่า "ศาสนิกชน" หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง จึงเรียกศาสนบุคคลในพระพุทธศาสนาว่า"ชาวพุทธ" เป็นต้น เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้กฎธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษย์ พระองค์จึงทรงค้นพบแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ คือ "วิญญาณ" ซึ่งเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และประทับอยู่ในร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อรับรู้อารมณ์ของโลกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสังคม และเก็บอารมณ์เหล่านั้นไว้ในจิตใจ มนุษย์ทุกคนดำเนินชีวิตตามกรรมที่ตนได้กระทำไว้ อารมณ์แห่งกรรมจะสั่งสมเป็นสัญญา(ความจำ) ในจิตใจ
เมื่อปัญจวัคคีย์ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ได้ความรู้ความเข้าใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยจิตใจบริสุทธิ์ ปราศจากอคติและความขุ่นเคืองใจ มีบุคลิกสุภาพอ่อนโยน เหมาะแก่การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ยึดมั่นในอุดมคติในการดำเนินชีวิตที่จะรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และไม่่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น จนความสามารถระลึก ถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตน มาเป็นหลักพิจารณาในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ เมื่อปัญจวัคคีย์มีศรัทธาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเรียกว่า "นักบวช" เป็นต้น ส่วนฆราวาสฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถือพระธรรมเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง และพระสงฆ์เป็นที่พึงตลอดชีวิตเรียกว่า "พุทธศาสนิกชน" เป็นต้น
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะทรงเผยแผ่หลักธรรม และวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุความจริงแห่งชีวิตนั้น พระองค์ทรงเห็นว่าหลักธรรมแห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับมนุษย์นั้นลึกซึ้งและยากที่ยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจ แต่เมื่อพินิจพิเคราะห์ดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนเกิดมาจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมกันเกิดเป็นชีวิตใหม่ และมีจิตวิญญาณที่สั่งสมความรู้ตามความสนใจของตัวเอง พระองค์ทรงใช้ปัญญาพิจารณาว่ามนุษย์ทุกคนมีระดับสติปัญญาที่แตกต่างกัน ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งพร้อมจะฟังธรรมจากพระองค์ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
ดังปรากฎหลักฐานในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ วินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรคภาค ๑ [๑ มหาขันธกะ] ๕. พรหมจนคาถาเรื่องพิจารณาเปรียบเวไนยสัตว์เปรียบเหมือนดอกบัวข้อ๙.ว่า "ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหมและเพราะอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย (มนุษย์) ผู้มีธุลีในตาน้อยก็มีมีธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน ที่มีอาการดี ที่มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี มีอุปมาเหมือนในกออุบล ในกอปทุมหรือในกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ ไม่แตะน้ำฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย (มนุษย์) ผู้มีธุลีในตาน้อยก็มี มีธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้ามีอินทรีย์อ่อน ที่มีอาการดี ที่มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มีบางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี".
พระพุทธเจ้าทรงดำริแสดงธรรมกับใครถึงใครก่อน กล่าวคือเมื่อสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้ในกฎธรรมชาติเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเมื่อทรงตัดสินใจ แสดงหลักธรรมที่ทรงค้นพบแก่บุคคลหลายคนที่มีบทบาทช่วยเหลือพระองค์ในการแสวงหาวิธีการหลุดพ้นจากความทุกข์ของภัย ที่พบเห็นในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของมนุษย์ เมื่อค้นพบสัจธรรมของชีวิตแล้ว พระพุทธองค์ทรงมีเมตตา คิดถึงบุคคลที่มีศรัทธาต่อกันไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับ มนุษย์ผู้ประสบความสำเร็จการศึกษาแล้ว มีหน้าที่การงานที่ดีทำแล้ว ย่อมมีทรัพย์ ควรจะระลึกถึงบุคคลที่มีศรัทธาต่อกันในยามตกทุกข์ได้.
๑) อาฬารดาบส เมื่อทรงตรัสรู้แจ้งไป ๔๙ วัน ทรงระลึกถึงบุคคลที่จะทรงแสดงธรรมให้ฟังคืออาฬารดาบส แต่อาฬาร ดาบสนั้น เสียชีวิตไปก่อนพระองค์ตรัสรู้ได้ ๗ วันแล้ว ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่ม ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มหาสวรรคภาค ๑. ว่าด้วยพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่าด้วยอาฬารดาบส กาลามโคตร ข้อ.๑๐ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจะรู้จักธรรมได้ฉับพลัน แล้วทรงดำริต่อไปอีกว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในตาน้อยมานาน ถ้ากระไร เราจะแสดงธรรมแก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน. ลำดับนั้นเทวดาผู้ไม่ปรากฏกายมาทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละได้ ๗ วันแล้ว แม้แต่พระผู้มีพระภาคก็ได้เกิดญาณขึ้นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละได้ ๗ วันแล้ว จึงทรงดำริว่าอาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้เสื่อมนานหนอเพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน.
๒) อุททกดาบส รามบุตร เมื่อทรงตรัสรู้แจ้งไป ๔๙ วัน ทรงระลึกถึงบุคคลที่จะทรงแสดงธรรมให้ฟังคืออุททกดาบส เสียชีวิตไปก่อนพระองค์ตรัสรู้ได้ ๑ วันแล้ว ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่ม ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มหาสวรรคภาค ๑. ว่าด้วยพระภิกษุปัญจวัคคีย์เรื่องว่าด้วยอุททกดาบส รามบุตรข้อ.๑๐ .... ต่อมาพระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจะรู้จักธรรมได้ฉับพลัน แล้วทรงดำริต่อไปอีกว่า อุททกดาบส รามบุตร เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในตาน้อยมานาน ถ้ากระไร เราจะแสดงธรรมแก่อุททกดาบส รามบุตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน
ลำดับนั้นเทวดาผู้ไม่ปรากฎกาย มาทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระองค์ผู้เจริญอุททกดาบส รามบุตร ทำกาละได้เมื่อวานนี้แล้ว.
แม้แต่พระผู้มีพระภาค ก็ได้เกิดญาณขึ้นว่าอุททกดาบส รามบุตรทำกาละได้เมื่อวานนี้แล้ว จึงทรงดำริว่า อุททกดาบส รามบุตร เป็นผู้เสื่อมนานหนอเพราะถ้าเธ๓)
๓.ปัญจวัคคีย์ เมื่อทรงตรัสรู้แจ้งไป ๔๙ วันเมื่อทรงรู้ว่าอาจารย์ทั้งสองท่านเสียชีวิตไปทั้งหมดแล้วทรงระลึกถึงบุคคลที่จะทรงแสดงธรรมให้ฟังคือ อาฬารดาบส ในพระไตรปิฎกเล่ม ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มหาสวรรคภาค ๑. ว่าด้วยพระภิกษุปัญจวัคคีย์เรื่องว่าด้วยอุททกดาบส รามบุตรข้อ.๑๐..... ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริดังนี้ว่า เราจะแสดงธรรมแก่ผู้ใดก่อนหนอ ใครจักได้รับรู้ธรรมได้ฉับพลัน จึงทรงดำริว่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามากที่ได้ปรนนิบัติเราผู้มุ่งหน้าบำเพียรมา ถ้ากระไร เราจะพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วทรงดำริต่อไปอีกว่า บัดนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ....ก็เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์."
๓.ปัญจวัคคีย์ เมื่อทรงตรัสรู้แจ้งไป ๔๙ วันเมื่อทรงรู้ว่าอาจารย์ทั้งสองท่านเสียชีวิตไปทั้งหมดแล้วทรงระลึกถึงบุคคลที่จะทรงแสดงธรรมให้ฟังคือ อาฬารดาบส ในพระไตรปิฎกเล่ม ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มหาสวรรคภาค ๑. ว่าด้วยพระภิกษุปัญจวัคคีย์เรื่องว่าด้วยอุททกดาบส รามบุตรข้อ.๑๐..... ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริดังนี้ว่า เราจะแสดงธรรมแก่ผู้ใดก่อนหนอ ใครจักได้รับรู้ธรรมได้ฉับพลัน จึงทรงดำริว่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามากที่ได้ปรนนิบัติเราผู้มุ่งหน้าบำเพียรมา ถ้ากระไร เราจะพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วทรงดำริต่อไปอีกว่า บัดนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ....ก็เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์."
จากข้อความในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ นั้น เราวิเคราะห์ได้ว่าพระพุทธองค์จึงตัดสินใจเดินทางจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคมปัจจุบันเรียกว่า "พุทธคยา" ห่างจากป่าอิปตนมฤคทายวัน ๒๕๕ กิโลเมตร เพื่อแสดงธรรมให้แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์เพราะพวกเขาเป็นผู้มีอุปการะคุณแก่พระพุทธองค์ขณะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ภูเขาดงคสิรินั้น ได้ช่วยเหลือปรนนิบัติรับใช้พระองค์ เชื่อว่าพระองค์จะบรรลุธรรมด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยาให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้.
1 ความคิดเห็น:
สาธุๆๆๆ🥰😇
แสดงความคิดเห็น