Introduction: The reason why Prince Siddhartha fled to become a Bodhisattva
โดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนทั้งคนไทยและทั่วโลก คงเคยได้ยินเรื่องเจ้าชายสิทธัตถะทรงหนีออกจากพระราชวังกบิลพัสดุ์ไปผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพราะพระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและพระภิกษุ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้พวกเขาได้ยินมาจากพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทและมหายาน ที่เทศน์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันธรรมสวนะ วันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชามานานกว่า ๒,๕๐๐ ปี หรือจากคำสอนของครูบาอาจารย์ในโรงเรียน และมหาวิทยาลัยทั่วโลกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าเรื่องที่เจ้าชายทรงหนีออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นพระโพธิสัตว์นั้นเป็นความจริงโดยปริยาย จึงไม่ต้องสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไปว่าเรื่องนี้เป็นความจริง
แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดสิ่งหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราไม่ควรเชื่อข้อเท็จจริงนั้นทันที เราควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าเราจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อเรามีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราจะใช้หลักฐานนั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงในนั้น โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องนั้นอย่างมีเหตุผล
ถ้าไม่มีหลักฐานที่จะมาพิสูจน์ความจริงของสิ่งนั้น ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ พระพุทธเจ้าไม่ทรงยอมรับว่าเป็นความจริง เพราะมนุษย์มักมีอคติต่อกัน เนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดจากความไม่รู้ ความเกลียดชัง ความกลัวและความรัก เป็นต้น อีกทั้ง มนุษย์ยังมีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ชีวิตมนุษย์จึงเต็มไปด้วยความมืดมน จึงขาดความสามารถในการคิดโดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อเท็จจริงของเรื่องนี้จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ อรรถกถา และคัมภีรฺ์วิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่อาจปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ เพื่อให้คนจัณฑาลมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกับชนชั้นอื่น ๆ ในด้านการศึกษา อาชีพ การบูชาเทพเจ้าในนิกายของตน และสามารถมีส่วนร่วมในทางการเมืองในการปกครองประเทศได้ เมื่อสมาชิกรัฐสภาจากราชวงศ์ศากยะพิจารณาร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอให้พิจารณา สมาชิกรัฐสภาจากราชวงศ์ศากยะ ลงมติเอกฉันท์ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองแคว้นสักกะเรียกว่า "ราชอปริหานิยธรรม" ในมาตรา ๓ ที่ระบุว่ากฎหมายที่บัญญัติขึ้นแล้วไม่สามารถยกเลิกได้
ดังนั้นเมื่อสมาชิกรัฐสภาจากราชวงศ์ศากยะ ลงมติเอกฉันท์คัดค้านกฎหมายยกเลิกวรรณะเพื่อปฏิรูปสังคมในประเทศตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงพิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองของแคว้นสักกะแล้ว ประชาชนยังศรัทธาในเทพเจ้าหลายองค์ และเชื่อว่าเทพเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมา และสร้างวรรณะให้มนุษย์ ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา พวกเขา ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมาและสามารถลงโทษผู้ที่ไม่ฟังคำสอนของพราหมณ์ และละเมิดกฎหมายวรรณะ โดยมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะและปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ผู้เขียนและนิสิตชาวไทยได้เดินทางไปยังเขตกบิลพัสดุ์โบราณ จังหวัดลุมพินี สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลเป็นครั้งแรก เนื่องจากผู้เขียนและนิสิตชาวไทยได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ทรงตัดสินพระทัยที่จะละทิ้งวรรณะกษัตริย์ ทำให้พระองค์ทรงสูญเสียสิทธิและหน้าที่ในการปกครองแคว้นสักกะ พระองค์ทรงได้เป็นพระโพธิสัตว์ไปตลอดชีวิต เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตมนุษย์ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะขึ้นตามคำสอนพราหมณ์อารยันหรือไม่ พระองค์ใช้เวลาหลายปีในการบำเพ็ญตบะ จนพระองค์ได้ตรัสรู้ความจริงแห่งชีวิตมนุษย์ตามกฎธรรมชาติ และทรงเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ของมนุษย์และเทวดา
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้ารับฟังความจริงเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนและนิสิต ๓๐ คนจึงต้องการที่จะไปเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพระพุทธเจ้าอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่อแคว้นสักกะเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าศากยมุนี ผู้ทรงภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของโลก แม้ว่าแคว้นสักกะจะสูญเสียอำนาจอธิปไตยไปแล้วหลายร้อยปี นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็ตาม
ในปัจจุบันดินแดนของแคว้นสักกะโบราณ เป็นเพียงอำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดลุมพินีของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ที่ชาวกบิลพัสดุ์ใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบสุข ตามหลักศีลธรรมของศาสนาฮินดูและกฎหมายของเนปาล บริเวรณพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณถูกล้อมรั้วโดยเจ้าหน้าที่จากกรมโบราณคดีเนปาล เป็นหลักฐานที่รอการขุดค้นเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของนครกบิลพัสดุ์โบราณ ผู้เขียนและผู้แสวงบุญเดินผ่านประตูทางทิศตะวันตก เข้าไปในพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพังโบราณ ด้านหน้าประตูทางทิศตะวันออกของพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณ มีเนินดินขนาดใหญ่เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ทรงช่วยมนุษย์หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเกิดและการตายในสังสารวัฏ เป็นต้น
พระธรรมทูตสายต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยได้อธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ให้เราได้ฟังว่า นี่คืออนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่เสด็จออกจากพระราชวังโบราณแห่งกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อออกไปสู่โลกกว้างเพื่อแสวงหาความจริงแห่งชีวิต เพื่อยืนยันว่าพระพรหมได้สร้างมนุษย์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา ตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน เพราะหากเป็นจริง พระองค์จะทรงทำพิธีบูชายัญเพื่อขอพรจากพระพรหม เพื่อช่วยยกเลิกวรรณะและปลดปล่อยมนุษย์จากการเป็นจัณฑาล และกลับคืนสู่สถานะดั้งเดิมในสังคมให้กับพวกเขา
เมื่อพระองค์ทรงผนวชเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว พระองค์จะทรงทำพิธีบูชายัญด้วยของมีค่าแก่พระพรหม เพื่อขอพรพระพรหมให้ยกเลิกวรรณะที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นในแคว้นสักกะได้ โดยไม่ฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าได้หยั่งรากลึกในจิตใจของชาวสักกะและชาวโกลิยะมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ปกครองแคว้นโกลิยะ และชาวโกลิยะมีความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระพรหม พระอิศวรผู้สร้างมนุษย์ เป็นต้น
ดังนั้นพระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ ละทิ้งสมาชิกแห่งพระราชวงศ์ศากยะ ละทิ้งพระราชวัง ๓ ฤดูซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์และพระสนมสนมอีก ๔๐,๐๐๐ คนไว้ ทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อทำตามปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ทรงต้องการปลดปล่อยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความมืดมนแห่งชีวิต ทั้งนี้เป็นเพราะชาวเมืองสักกะถูกครอบงำด้วยความเชื่อในพระพรหม และพระอิศวรผู้ทรงช่วยให้ผู้คนบรรลุความปรารถนา และบัญญัติกฎหมายวรรณะขึ้นเพื่่อบังคับใช้ในสังคม ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการทำงาน การศึกษาเล่าเรียน และประกอบพิธีกรรมตามเชื่อของนิกายพราหมณ์ของตนเองและถึงแม้จะมีความรักก็ไม่เกินขอบเขตของวรรณะตนเอง
เมื่อผู้เขียนเห็นเนินดินที่อยู่ตรงกันข้ามประตูทางเข้าด้านตะวันออกของพระราชวังกบิลพัสดุ์ โบราณ และพิจารณาเห็นว่า น่าจะเป็นซากปรักหักพังของโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ก็เป็นหลักฐานว่านั่นคือ เส้นทางที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้หลบหนีออกจากปราสาทสามหลัง (The three castels) ซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ในบริเวณพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณมีข้าราชบริพารอาศัยอยู่กว่า ๔๐,๐๐๐ คน พระองค์เสด็จผ่านกำแพงหนา๘ เมตร วึ่งมีทหารลาดตระเวนตลอด ๒๔ ชั่วโมง
แต่เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากกองดินเพียงอย่างเดียว แล้ววิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากพยานวัตถุคือกองดินเพียงอย่างเดียว เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของเรื่องที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงหลบหนีไปผนวช แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในใจของผู้เขียน ยังมีเหตุผลเพียงพอที่จะอธิบายความจริงเรื่องนั้นให้ชัดเจนได้เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ ผู้เขียนมีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ปีแล้วและผู้เขียนมีอคติเพราะไม่รู้ของตนเองชีวิตจึงมืดมนจึงไม่สามารถคิดหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังคงน่าสงสัยและคลุมเครือผู้เขียนชอบแสวงหาความจริงของเรื่องนี้ และสืบเสาะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุเรื่องนี้เพิ่มเติมว่าทำไมเจ้าชายสิทธัตถะทรงหนีไปผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ จึงได้ตัดสินใจรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ทั้งหลักฐานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคลและหลักฐานเอกสารดิจิทัลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้และหาเหตุผล เพื่อยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ โดยเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้ คำตอบจะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมทูตในการอธิบายเรื่องนี้ สำหรับชาวไทยที่แสวงบุญตามสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองหรือวัดต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อปฏิบัติบูชาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า กระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าในการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ หาเหตุผลเพื่อยืนยันความจริงของคำตอบที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงหนีไปผนวชวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญา พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพต่อไป
1 ความคิดเห็น:
กราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ยุทธนา เป็นอย่างสูง ที่เมตตาให้ความรู้เกี่ยวกับเหตุที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสละวรรณะกษัตริย์เพื่อออกผนวช ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนิสิตและประชาชนผู้ที่สนใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง กราบสาธุเจ้าค่ะ
แสดงความคิดเห็น