Introduction Philosophers in Ancient India
๑.บทนำ
บทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของนักปรัชญาอินเดียโบราณในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ โดยทั่วไปแล้ว พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่บรรจุความรู้และมุมมองเกียวกับแนวคิดต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของอนุทวีปอินเดีย ในทางรัฐศาสตร์ พระไตรปิฎกหลายฉบับกล่าวถึง "หลักธรรมะของพระมหากษัตริย์" ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศ หรือนักปรัชญาพุทธศาสนากล่าวว่า หลักธรรมะของกษัตริย์" เป็นหลักธรรมะสำหรับนักบริหารเรียกว่า "หลักราชอปริหานิยธรรม" ในด้านปรัชญานั้น พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณได้ระบุว่า พราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญานั้น พวกเขาแสดงความเห็นตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล และคาดคะเนความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่นักตรรกะ นักปรัชญาเหล่านี้ บางครั้งก็ใช้เหตุผลที่ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้การใช้เหตุผล เพื่ออธิบายความจริงของคำตอบขาดความน่าเชื่อถือ และน่าสงสัยในข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เป็นต้น วิญญูชนจะไม่ยอมรับความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น
เมื่อนักตรรกะ นักปรัชญาให้เหตุผล เพื่อตอบสังคมในเรื่องนั้นแล้ว แต่ข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นยังคงสงสัย คนในสังคมจะสงสัยถึงต้นกำเนิดของความรู้เกี่ยวกับนักปรัญา องค์ประกอบของความรู้เกี่ยวกับนักปรัชญา วิธีพิจารณาความจริงเกี่ยวกับนักปรัชญาและความสมเหตุสมผลของความรู้เกี่ยวกับนักปรัชญานั้น เป็นหน้าที่ของนักตรรกะ นักปรัชญาจะต้องให้เหตุผล เพื่ออธิบายความจริงกับสังคมต่อไปอีกว่า "เราจะได้อย่างไรว่าเป็นความจริง" เมื่อเราศึกษาความหมายของคำว่า "นักปรัชญา" เป็นเรื่องยากสำหรับผู้เขียน เพราะแนวคิดเรื่องนักปรัชญาในสมัยพุทธกาล อาจไม่ตรงกับคำจำกัดความของนักปรัชญาที่เราเข้าใจในปัจจุบันอย่างชัดเจน แต่แนวคิดเกี่ยวกับนักปรัชญาในปัจจุบัน เราอาจต้องมองไปที่บุคคลสำคัญที่มีความคิดเห็นและคำสอน ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตและสังคม ซึ่งในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมาย
โดยทั่วไปแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าสอนเพียงเรื่องเดียวคือชีวิต ซึ่งเรียกว่า เบ็ญจขันธ์" นั้น มนุษย์มีองค์ประกอบชีวิต ๕ อย่างคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นต้น เนื่องจากความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ เป็นความรู้ของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน นักตรรกะและนักปรัชญ์สมัยใหม่ จึงบูรณาการความรู้ของพระพุทธศาสนาเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในลักษณะสอดคล้องกัน ทั้งนี้ ความรู้ทางปรัชญา พุทธศาสนา และวิทยาศาสตร์ล้วนเป็นความรู้ของมนุษย์ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เราสามารถคิดโดยใช้เหตุผลเพื้ออธิบายความจริงของมนุษย์ได้ดังนี้
รูปหมายถึงสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา ซึ่งเป็นที่อยู่ของจิตหรือวิญญาณของมนุษย์ ดำรงอยู่ได้ชั่วระยะหนึ่งแล้วร่างกายจะเสื่อมลงไป เมื่อร่างกายตาย จิตไม่สามารถใช้อายตนะภายในร่างกายได้อีก จะต้องออกจากร่างกายไปเกิดในภพชาติอื่นต่อไป เมื่อความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ เป็นความรู้ในระดับประสาทสัมผัส มีลักษณะเกิดขึ้น ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นแล้วก็เสื่อมสายไป ถือเป็นความจริงที่สมมติขึ้น นักปรัชญ์ซึ่งเป็นเจ้าของศาสตร์นั้น ก็จะพัฒนาความรู้ในศาสตร์ของตนอยู่ตลอดเวลา เมื่อเห็นจุดบกพร่องในสาขาวิชาของตน เขาก็ใช้ความรู้นั้นพัฒนาและให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยใช้ความรู้เหล่านั้นในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก
มีปัญหาที่น่าสงสัยว่า เมื่อชีวิตตายไป มนุษย์มีชีวิตหลังความตายมีอยู่ หรือไม่ ตามคำสอนของนักปรัชญาอินเดียโบราณหลายคนเห็นพ้องกันว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์ เมื่อมนุษย์ตายไป ชีวิตก็จะหายไป และไม่มีชีวิตหลังความตายอีกต่อไป อย่างไรก็ตามตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงค้นพบโดยการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ จนพระองค์ทรงมีดวงตาทิพย์ที่เหนือกว่ามนุษย์ทั้งปวง พระองค์ทรงเห็นดวงวิญญาณของสัตว์ทั้งหลายทั้งใหญ่ทั้งเล็กที่ตายไปแล้ว ก็จะละทิ้งร่างไปเกิดในภพชาติอื่น ผู้ใดทำความดีที่เรียกว่า "บุญ" มีกายสุจริต พูดสุจริตและคิดสุจริต ดวงวิญญาณนั้นย่อมไปสวรรค์ หรือไปเกิดในดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ที่ประชาชนอยู่ได้อย่างสงบตามหลักศีลธรรมอันดีงามของประชาชนตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและกฎหมายบ้านเมือง ถ้าผู้ใดกระทำความชั่วที่เรียกว่า "อกุศลกรรม" มีกายทุจริต พูดจาทุจริตและมีความคิดทุจริตเพราะเป็นการทรยศต่อประเทศในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การศาสนา การเมืองและไม่กตัญญูต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่สร้างบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เป็นสุข เมื่อกระทำความชั่ว กรรมนั้นจะสั่งสมไว้ในใจแล้วดวงวิญญาณไปชดใช้กรรมชั่วที่ตนทำไว้ในนรก เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น