Epistemology problems: The reason why Prince Siddhartha fled to ordain
๑.บทนำ โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกส่วนใหญ่เคยได้ยินเรื่องเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายานที่ได้แสดงธรรม ในวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่เรียกว่า"วันธรรมสวนะ" มาหลายร้อยปี หรือจากตำราเรียนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วโลก หรือจากพระธรรมเทศนาของพระธรรมทูตในราชอาณาจักรไทยหรือพระธรรมทูตในต่างประเทศที่สาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล รวมถึงเนื้อหาความรู้จากพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เป็นต้น
เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้ว ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าเป็นความจริงโดยปริยายโดยไม่สงสัยอีกต่อไป จึงไม่แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม หรือมีหลักฐานที่เพียงพอเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ฟังข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่ฟังตามกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปยึดถือและปฏิบัติจนกลายเป็นระบบ ประเพณีและขนบธรรมเนียม จากตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น เราก็ไม่ควรเชื่อทันที ควรสงสัยเสียก่อนจนกว่าจะได้สืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว นักปรัชญาก็จะใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น

๒.ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา
โดยทั่วไป นักปรัชญาสนใจปัญหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์ แต่สิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ได้รับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายและเก็บสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอารมณ์สั่งสมไว้ในจิตใจของตนเอง แล้วก็คิดโดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงของสิ่งต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล แต่การรับรู้ของมนุษย์มีผิดมีถูกหรือไม่ครบถ้วนญาณวิทยามีความสนใจในการศึกษาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์ วิธีการพิจารณาจริงของพระพุทธเจ้าและความสมเหตุสมผลของความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้น ญาณวิทยาจึงมีหน้าที่หาคำตอบให้กับสังคมเมื่อคนในสังคมตั้งคำถามว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นความจริง?
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาเมื่อญาณวิทยาจึงเป็นความรู้ของมนุษย์เช่นกันกล่าวคือ เมื่อมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายของตนเอง พวกเขาก็จะมีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาคารบ้าน ถ้ำ ป่า และยอดเขา หรือเหตุการณ์เกิดขึ้นในที่ห่างไกลเกินขอบเขตของประสาทสัมผัสของพวกเขาจะรับรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น มีความเป็นมาอย่างไร? เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการรับรู้และอคติของมนุษย์ที่มีต่อกันเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงอย่างสมเหตุสมผลและปราศจากข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับความจริงในเรื่องต่าง ๆ นักปรัชญาจึงศึกษาและค้นคว้าความจริงในเรื่องเหล่านี้โดยสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ เมื่อมีเนื้อหาเพียงพอก็แยกตัวออกไปสร้างสาขาวิชาใหม่ เช่น วิธีพิจารณาความอาญา วิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นต้น

๒.๑ ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์
ปัญหาที่ต้องพิจารณาเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบ ก็คือเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามนุษย์เป็นต้นกำเนิดของความรู้? โดยทั่วไปแล้วตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มนุษย์เกิดมาจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจที่มารวมกันในครรภ์มารดา เมื่อมนุษย์เกิดมา จิตใจจะใช้อายตนะภายในร่างกายรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และสั่งสมเรื่องราวทางอารมณ์เหล่านั้นไว้ในจิต อย่างไรก็ตาม เมื่อจิตของมนุษย์รับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วก็จะเก็บสิ่งเหล่านั้นเป็นหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตของตน มันก็จะคิดวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้นโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงของสิ่งนั้น โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบของเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล แต่ความรู้เหล่านั้นมักจะสูญหายไปพร้อมกับความตายของนักตรรกะหรือนักปรัชญา หรือบุคคลนั้น เพื่อป้องกันความรู้มิให้สูญหายไปพร้อมความตายของผู้นั้น มนุษย์จึงสร้างนวัตกรรมใหม่โดยถ่ายทอดความรู้เป็นภาพ หรือประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นตามฝาผนังถ้ำ หรือใบลาน เป็นต้น แต่ในสมัยหลังพุทธกาล พระอรหันต์ในยุคนั้น สร้างนวัตกรรมด้วยวิธีมุขปาฐะ เป็นต้น ในยุคต่อมาหลังพุทธกาล พระเจ้าอโศกเป็นประธานสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับอโศกการาม จากหลักฐานพยานวัตถุเสาหินพระเจ้าอโศกที่สร้างไว้เป็นอนุสรณ์สถาน ได้มีการสลักอักษรพราหมีถึงเรื่องราวการแสวงบุญของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นต้น
๒.๒ องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์ โดยทั่วไปธรรมชาติของมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจ ที่มารวมกันในครรภ์มารดา จิตใจของมนุษย์อาศัยอายตนะภายในร่างกายของตนเอง มีความสามารถในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้จำกัดและมักมีอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมืดมน จึงไม่สามารถคิดและแยกแยะข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ ส่งผลให้เกิดการตัดสินที่ผิดพลาด ก่อให้เกิดละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นปัญหาเกิดขึ้นทั่วโลก แม้ว่ามนุษย์จะมีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่มนุษย์ก็เป็นสัตว์ที่มีพลังจิต มีสติสัมปชัญญะ มีความสามารถในการคิดอย่างมีจินตนาการอย่างไม่มีขีดจำกัด สามารถเหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของคำตอบในเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเกินขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเองได้จึงเป็นการยากที่จะสร้างความรู้ความเข้าในเรื่องต่าง ๆ ขึ้นมาให้เห็นความจริงได้อย่างชัดเจนเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องต่าง ๆ
นักปรัชญาจำเป็นต้องนิยามองค์ประกอบความรู้ขึ้นมา ปัญหาว่า"ความรู้"คืออะไร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามว่าความรู้เป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถและทักษะในการปฏิบัติ เป็นต้นโดยตามคำนิยาม ดังกล่าวเราสามารถแยกองค์ประกอบความรู้ได้ดังนี้ ๑.มนุษย์ ๒.รับรู้ ๓. สิ่งที่สั่งสมอยู่ในใจจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถและทักษะเชิงปฏิบัติ ๔.การทบทวนของจิต เป็นต้น
๒.๓ วิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า โดยทั่วไปแล้วชีวิตมนุษย์ใช้จิตในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและสั่งสมเหตุการณ์เหล่านั้นไว้ในจิต เมื่อมีหลักฐานทางอารมณ์เพียงพอ จิตก็จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น แต่พยานหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคลนั้นมีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่างๆ จึงไม่มีความรู้แจ้งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชอบมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้พยานบุคคลผู้นั้นขาดความน่าเชื่อ จึงไม่สามารถรับฟังคำให้การของเขาเพื่อยืนยันความจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้เพื่อแก้ปัญหาพยานเท็จจริง นักปรัชญาจึงสร้างทฤษฎีประจักษ์นิยมโดยมีแนวคิดว่าความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจเท่านั้นจึงจะถือว่าผู้นั้นมีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น
ดังนั้น เมื่อเราได้ยินความจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีจากพระราชวังกบิลพัสดุ์เพื่อออกผนวชซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเราจะยอมรับว่าเป็นความจริงโดยปริยายก็ตาม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเราก็ไม่ควรเชื่อทันที เราควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้สืบเสาะหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่างๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราก็ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผล มาพิสูจน์ความจริงหรือหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น
ดังนั้น ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ความจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช จึงยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นความจริง เมื่อเราไม่สามารถเชื่อได้ทันที เราควรสงสัยความจริงเสียก่อน จนกว่าจะได้สืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆพิสูจน์ความจริง เป็นต้น เมื่อผู้เขียนพิจารณาข้อเท็จจริงจากหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาและพระราชินีมายาเทวีพระราชมารดา พระองค์ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บรรพบุรุษองค์แรกแห่งราชวงศ์ศากยะ อาณาจักรสักกะมีระบบการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยชาวสักกะออกเป็น ๔ วรรณะคือวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทรตามกฎหมายวรรณะ พวกเขาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา เมื่อวรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองประเทศ แม้ว่าพระเจ้าสุทโธทนะจะทรงเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศก็ตามแต่พระองค์ทรงไม่สามารถใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียวในการปกครองแคว้นสักกะ พระองค์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองอาณาจักรสักกะผ่านสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ ซึ่งล้วนมาจากวรรณะกษัตริย์อาณาจักรสักกะ มีกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองราชอาณาจักรสักกะ เงื่อนไขของกฎหมายรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อกฎหมายฉบับใดได้รับการประกาศให้บังคับใช้ในอาณาจักรสักกะแล้วกฎหมายนั้น จะไม่สามารถเพิกถอนได้ในภายหลังเช่น กฎหมายวรรณะจารีตประเพณีของราชอาณาจักรสักกะเมื่อได้มีการประกาศให้บังคับในราชอาณาจักรสักกะแล้ว กฎหมายดังกล่าวจะไม่สามารถเสนอรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ เพื่อเพิกถอนในภายหลังได้ เนื่องจากต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแห่งราชอาณาจักรสักกะ เป็นต้น
ในการเขียนบทความเรื่องเหตุทีเจ้าชายสิทธัตถะทรงหนีผนวชนั้น ผู้เขียนได้เลือกทฤษฎีประสบการณ์นิยม เป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานซึ่งเป็นที่มาของความรู้เช่น พยานหลักฐาน หลักฐานเอกสารและหลักฐานทางวัตถุ เป็นต้น ทฤษฎีความรู้นี้กำหนดหลักเกณฑ์จากแนวคิดว่า "ที่มาความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง" ตามทฤษฎีความรู้ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนตีความว่าหลักฐานที่จะยืนยันความจริงของคำตอบเกี่ยวกับ เหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงหนีผนวช จะเป็นพยานบุคคลที่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของบุคคลนั้นเท่านั้น ดังนั้นถ้าไม่มีความรู้จากประะสบการณ์ก็ไม่สามารถยยอมรับเป็นพยานหลักฐานได้ ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตของพระอานนท์ ผู้ถวายงานรับใช้พระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด และเป็นพระญาติที่มีเชื้อสายศากยวงศ์เดียวกันกับพระพุทธเจ้า ความรู้ของพระอานนท์จึงถือเป็นความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของพระอานนท์ เมื่อถ่ายทอดด้วยวาจา(มุขปาฐะ) และด้วยตัวอักษรในพระไตรปิฎกก็ถือเป็นเอกสารหลักฐานที่ยอมรับได้เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานจากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตันตปิฎกเล่มที่๕ (ฉบับมหาจุฬาฯ)มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปันนาสก์ ๕.จังกีสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อจังกี [๔๒๕]...ท่านทั้งหลายได้ทราบว่าพระสมณโคดมทรงสละเงินทองมากมายทั้งที่ฝั่งอยู่ในพื้นดินและในอากาศ ผนวชแล้ว ฯลฯพระสมณโคดมกำลังหนุ่มแน่นมีพระเกศาดำสนิททรงพระเจริญวัยอยู่ในปฐมวัยเสด็จออกจากพระราชวังเป็นบรรพชิตฯลฯ เมื่อพระชนกและพระชนนีไม่ทรงปรารถนา(จะให้เสด็จออกผนวช) มีน้ำพระเนตรชุ่มพระพักตร์ทรงกันแสงอยู่พระสมณโคดมทรงปลงพระเกศา และพระมัสสุแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิด ฯลฯ และหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๐ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกายจุฬนิทเทส[ปารานยวรรค] ๖.ปารายนัตถุติคาถานิทเทสข้อ ๑๐๗....พระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษเพราะส่วนแห่งการบรรพชาเป็นอย่างไร? คือพระผู้มีพระภาคยังทรงหนุ่มแน่น มีพระเกศาดำสนิทดี เพรียบพร้อมความหนุ่มฉกรรจ์ในปฐมวัย เมื่อพระชนกและพระชนนีมีน้ำพระเนตรชุ่มพระพักตร์ ทรงกันแสงร่ำไห้ไม่ปรารถนา(ให้ผนวช)ทรงละหมู่พระญาติทรงตัดความกังวลในการครองเรือน ความกังวลด้วยพระโอรสและพระเหสี ความกังวลด้วยพระญาติความกังวลด้วยพระสหายและอำมาตย์ความกังวลด้วยสั่งสมทุกอย่าง ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวะ เสด็จออกผนวชจากพระราชวังเป็นบรรพซิต ฯลฯ

ผู้เขียนรับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ข้างต้นแล้ว ผู้เขียนตึความว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา และทรงเห็นปัญหาของประเทศที่คนจัณฑาล ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ตามท้องถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ เพราะขาดสิทธิและหน้าที่ในการทำงาน การเรียนหนังสือ การบูชาตามความเชื่อในนิกายพราหมณ์ของตน เนื่องจากได้กระทำความผิดร้ายแรงต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์และละเมิดกฎหมายว่าด้วยวรรณะ ซึ่งเป็นการละเมิดความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนเมื่อกฎหมายมีผลบังคับโดยให้ประชาชนในสังคม มีอำนาจลงโทษคนจัณฑาลด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นฐานในสังคมนั้นจัณฑาลต้องอยู่อย่างเร่ร่อนในพระนครใหญ่ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของจัณฑาล ทำให้พระองค์ทรงทนทุกข์ในพระทัยของพระองค์ ทรงคิดหาทางช่วยจัณฑาลให้พ้นจากความทุกข์ที่ถูกสังคมลงโทษเพราะรักต่างวรรณะ เมื่อพระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับจัณฑาลอยู่หลายวัน จึงได้ทรงพบความว่าสาเหตุเกิดจากความเชื่อในพระพรหมสร้างมนุษย์ และสร้างวรรณะให้สิทธิและหน้าที่ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิด แต่ไม่เคยมีใครเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะเลย ยกเว้นปุโรหิตซึ่งเป็นที่ปรึกษาวรรณะกษัตริย์ในด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี พวกพราหมณ์ได้กล่าวอ้างว่าพราหมณ์ในรุ่นก่อน ๆ ก็เคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อนแต่ไม่มีหลักฐานมายืนยันความจริงข้อนี้ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงถามถึงประวัติความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ โดยเสนอร่างกฎหมายให้สมาชิกรัฐสภาร่วมกันพิจารณาและลงมติว่าร่างกฎหมายว่าด้วยการยกเลิกวรรณะขัดต่อหลักอปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตปะเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศ และปุโรหิตที่ปรึกษาของวรรณะกษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในประเทศได้เสนอว่า หากยกเลิกกฎหมายว่าด้วยวรรณะแล้ว การปกครองแคว้นสักกะให้เจริญรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่เสื่อมถอยเลยคงเป็นเรื่องยาก เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคมได้ พระองค์ทรงเห็นว่าวิธีเดียวที่จะช่วยเหลือจัณฑาลและมนุษย์ทุกคนได้ ก็คือการละทิ้งวรรณะกษัตริย์และทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิตว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์สร้างขึ้นมานั้นปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา เมื่อเป็นนักบวชแล้วพระองค์สามารถประกอบพิธีบูชายัญถวายสิ่งมีค่าต่อพระพรหม เพื่อขอพระพรหมยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะและแคว้นอื่น ๆ ต่อไป
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกได้กล่าวว่า "เมื่อพระชนกและพระชนนีมีน้ำพระเนตรชุ่มพระพักตร์ ทรงกันแสงร่ำไห้ไม่ปรารถนา (ให้ผนวช)" แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะทรงทูลขอพระราชอนุญาตต่อพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางปชาบดีโคตรมีเพื่อทรงออกผนวชจริง แต่พระราชบิดาและพระมารดาเลี้ยงทรงมิได้อนุญาตให้พระองค์ทรงออกผนวชแต่อย่างใด ทั้งสองพระองค์ทรงกันแสงร่ำไห้ด้วยความเสียพระทัยและหลักฐานในพระไตรปิฎกได้กล่าวอีกว่า"ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวะ เสด็จออกผนวชจากพระราชวังเป็นบรรพชิต ฯลฯ" แสดงให้ชัดเจนว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงตั้งใจจะออกผนวช ตั้งแต่อยู่ในพระราชวังจึงเสด็จหนีออกผนวชในวันประสูติของเจ้าชายราหุล ส่วนข้อความที่กล่าวว่าพระองค์ทรงละหมู่พระญาติ ทรงตัดความกังวลในการครองเรือน ความกังวลด้วยพระโอรสและพระเหสี ความกังวลด้วยพระญาติ ความกังวลด้วยพระสหายและอำมาตย์ ความกังวลด้วยสั่งสมทุกอย่าง ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวะเสด็จออกผนวชจากพระราชวังเป็นบรรพชิดแสดงว่า พระองค์มิได้ลาใครในวันเสด็จออกผนวชเป็นต้น ข้อความที่ได้กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกยิ่งสนับสนุนความเห็นของนักวิชาการตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช นอกจากนี้นักโบราณคดีได้ขุดค้นพยานวัตถุตั้งอยู่ไม่ไกลจากประตูทางทิศตะวันตก เขตพระราชวังโบราณกบิลพัสดุ์เชื่อกันว่าสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็ยิ่งเพิ่มน้ำหนักของหลักฐานในพระไตรปิฎกชัดเจนยิ่งขึ้นว่า พระองค์เสด็จหนีออกผนวชจริง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น