บทนำการแสวงตนดีกว่าคนอื่นตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ
(Introduction: Discovering Yourself Better Than Others according to Buddhaphumi's Philosophy)
สารบาญ
๑. บทนำ
๒. แสวงหาตน
๓. แสวงหาคนอื่น
๑.บทนำ ทำไมเราต้องค้นหาตัวเอง?
โดยทั่วไป มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมอวิชชา (ความไม่รู้)เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของชีวิตตนเองที่ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ เมื่อเกิดมาก็ใช้ชีวิตอยู่ชั่วช่วงหนึ่งแล้วก็ตายไป ในชีวิตอยู่บนโลก มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความหิวโหย เพราะร่างกายขาดแคลนอยู่ตลอดเวลา ต้องหาอาหารมากินเพื่อบำรุงร่างกายให้ดำรงอยู่ต่อไป ดังนั้น เมื่อชีวิตมนุษย์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วตายไป ชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งไม่เที่ยง จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น อย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ชอบพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนตามหลักการของอริยมรรคมีองค์ ๘ ดีงนั้น พวกเขาจึงไม่รู้จักสัจธรรมสูงสุดที่เรียกว่า “ความจริงขั้นปรมัตถ์แห่งชีวิตตน” ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
อย่างไรก็ตาม มนุษย์ชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริงในเรื่องราวของผู้อื่นมากกว่าของตนเอง แม้ว่าทุกคนจะเป็นเพื่อนกันบนเส้นทางของการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตายเหมือนกัน แต่ชีวิตก็ไม่เที่ยง เพราะทุกคนมีปรารถนาเหมือนกัน ในอดีตก็มีความโง่เขลาเช่นกัน พวกเขาทั้งหมดถูกปฏิเสขจากการสมัครงานมาก่อน พวกเขาก็กลัวว่าคนอื่นจะดีกว่าตัวเอง เมื่อมนุษย์เกิดมาด้วยความไม่รู้ พวกเขาก็ลืมคำสัญญาเก่า ๆ ในอดีตชาติไป แม้ว่ามันจะเป็นความรู้ที่สั่งสมไว้ในจิตใจก็ตาม และวิญญาณของเขา ก็เวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีวันสิ้นสุด แต่พวกเขาไม่รู้ว่าดวงวิญญาณคือตัวตนที่แท้จริงของชีวิต ดังนั้น ชีวิตหลังความตายจึงไม่สิ้นสุด ยังมีวิญญาณอีกหลายดวงที่ออกจากร่างไปเกิดในภพชาติอื่น
ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ มนุษย์ยังคงทำความดีหรือทำความชั่วอย่างไม่ละอาย เพราะไม่รู้วัฏจักรการเกิดใหม่ของตนและผู้อื่น เมื่อทำสิ่งใด แต่ไม่มีใครเห็น พวกเขาเชื่อว่ากรรมไม่มีจริง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดวงวิญญาณจะดึงดูดอารมณ์แห่งกรรมนั้นเข้าสู่จิตใจและติดตามวิญญาณไปชดใช้กรรมในนรกหรือเสวยสุขบนโลกสวรรค์ เป็นต้น ในสมัยโบราณ (ancient times) มนุษย์ต้องดำรงชีวิตอยู่กับปัจจัยภายนอกของชีวิต ทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้น มนุษย์ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติเช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม พายุ ภูเขาไฟระเบิด และภัยคุกคามจากสัตว์ป่า นอกจากนี้ มนุษย์ยังต้องดำรงชีวิตด้วยความยาก และต้องกินอาหารทุกวันเพื่อความอยู่รอด แต่มนุษย์มีความฉลาดพอที่จะหาหนทางเอาตัวรอดบนโลกตามกฎธรรมชาติได้อย่างเต็มที่
มนุษย์แสวงหาปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย (Lodging) เพื่อให้รู้สึกปลอดภัยจากสัตว์ป่าหรือมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมนุษย์มีความกลัวแอบแฝงอยู่ในจิตใจ พวกเขาจึงชอบที่อยู่ร่วมตัวกัน เป็นชุมชนการเมืองในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมมุษย์ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป เนื่องจาก มนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ทั้งในด้านอารมณ์แห่งความเกลียดชัง ความรักใคร่ ความกลัวและความโง่เขลา ชอบกดขี่ข่มเหงกัน ขโมยทรัพย์สินของกันและกัน หลอกลวงกัน และชอบแสวงหาความสุขด้วยการดื่มสุราและยาเสพติด เป็นต้น มนุษย์จึงสวมเสื้อผ้า (clothing) เพื่อปกปิดความอับอาย มนุษย์มีโรคประจำตัวเองที่เรียกว่า"ความหิว"และต้องกินอาหารเพื่อให้มีอายุยืนยาว ที่สำคัญ เมื่อเกิดโรคระบาดต้องกินยา (medicine) เพื่อให้หายจากโรค เป็นต้น
เมื่อมนุษย์มีปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพียงพอแล้ว ก็จะมีเวลาคิดหาวิธีสร้างอารยธรรมจากความคิดของตนเอง โดยทบทวนความรู้และประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในจิตใจของตนเอง เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แต่ไม่มีมนุษย์คนใดอยากจะตายเพราะอาลัยในสิ่งที่มีอยู่ และไม่กลัวที่จะเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็ต้องตายไปอีกในทุกภพทุกชาติที่เกิดมา อีกทั้ง มนุษย์ทุกคนต้องการบรรลุเป้าหมายในชีวิตมากกว่าความจริงของชีวิต เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานเพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงพบว่า การจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องยาก เพราะมนุษย์มีบุคคลิกภาพอ่อนแอ มีจิตใจไม่บริสุทธิ์เพราะมีกิเลสสั่งสมไว้มาก จึงมักเป็นคนเศร้าหมอง เป็นคนหยาบคาย ไม่เหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ไม่มีอุดมการณ์ที่มั่นคงในการดำรงชีวิต กลัวที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจและยุติธรรม จึงมีชีวิตที่มืดมน เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยสติปัญญาของตัวเองได้
ดังนั้น พวกเขาจึงพบทางออกของชีวิต โดยการบูชายัญเทพเจ้า เช่นในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ ผู้คนในอนุทวีปอินเดีย เชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันที่ว่า พระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์ และพราหมณ์มิลักขะสอนชาวมิลักขะว่า น้ำคือเทวดา เทพเจ้าเหล่านี้สามารถช่วยผู้คนในอนุทวีปอินเดีย บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ชาวอนุทวีปอินเดียส่วนใหญ่เชื่อว่าพระพรหมศักดิ์สิทธิ์กว่าเทพอื่น เนื่องจากพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในการทำงานตามกฎหมายวรรณะอื่น ตามกฎหมายวรรณะ เมื่อพวกเขาไม่มีสิทธิและหน้าที่ ที่จะแสดงทักษะความสามารถภายใต้กฎหมายวรรณะแล้ว พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพในชีวิต เพราะพวกเขาไม่มีโอกาสที่จะทำตามฝันในชีวิต เป็นต้น

ในยุคปัจจุบัน คนทั่วโลกมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษ์อักษรของทุกประเทศทั่วโลก ทุกคนมีศักยภาพในการบรรลุความฝันในชีวิต แต่ความสำเร็จไม่ได้มาง่าย ๆ เพราะทุกคนต้องทำด้วยตนเอง และต้องใช้ความอดทนอย่างมาก อาจใช้เวลาหลายวัน หลายเดือน หรือหลายปีในการบรรลุเป้าหมาย การจ้างคนอื่นมาทำงานให้ไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริง บางคนอ้างว่างานของคนอื่น เป็นของพวกเขาเอง หรือบางคนเกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย มีเศรษฐกิจและสังคมที่ดี แต่พวกเขาไม่ต้องการเป็นในสิ่งคนอื่นต้องการให้เป็น ถึงแม้ว่่าพวกเขาจะเป็นแบบนั้นได้ แต่พวกเขาก็จะไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองเป็น ทุกวันนี้มี ผู้คนนับล้านเข้าสู่ระบบการศึกษาของชาติเป็นเวลาหลายปี เพื่อค้นหาอาชีพที่เหมาะกับพวกเขา แต่การค้นหาตัวเองต้องใช้ปัจจัยทางการเงินเมื่อไม่มีทุน พวกเขาก็ต้องละทิ้งความฝัน เพื่อหาเงินมาลงทุนในความฝันของตนเอง แต่มีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่เคยค้นพบตัวเอง พวกเขามีชีวิตที่อ่อนแอ เพราะไม่เคยฝึกตนตัวเองให้เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ แม้ว่าจะมีความทะเยอทะยานสูง แต่ก็ไม่บริสุทธิ์ มีอคติต่อผู้อื่นและ มักจะอารมณ์แปรปรวน พวกเขามีบุคลิกที่หยาบคาย ไม่เหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เป้าหมายชีวิตก็ไม่แน่นอนและอ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น ด้วยซื่อสัตย์และยุติธรรมได้ จึงมักใช้ชีวิตในทางที่เสื่อมเสีย
เมื่อไม่รู้จักตัวเองดีพอ พวกเขามักจะปรึกษาคนอื่นเรื่องชีวิตของตนเอง เช่น หมอดู พระภิกษุและที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน ? เพื่อให้รู้จักตัวเองมากขึ้น พวกเขาจึงเชื่อคำแนะนำของคนอื่น มากกว่าที่เชื่อตัวเองในการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลในชีวิต แม้ว่าพวกเขาจะได้รับคำแนะนำที่ดี คำอธิบายที่สมเหตุสมผล คำตอบที่เข้าใจได้ แต่สุดท้ายแล้วความสำเร็จในชีวิต เริ่มต้นจากการกระทำของเราเอง
การค้นพบตนเองของมนุษย์ เริ่มต้นเมื่อพวกเขาเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาต้องเรียนหนังสือและอยากเป็นที่หนึ่งในชั้นเรียน หลังเรียนจบ พวกเขาต้องการทำงานในหน่วยงานราชการ ห้างสรรพสินค้า บริษัทจำกัดหรือธุรกิจของตนเอง เมื่อมีรายได้เพียงพอ พวกเขาต้องการแต่งงานและมีครอบครัว แต่ความสำเร็จที่พวกเขาต้องการนั้นยากลำบาก พวกเขาต้องอดทนตลอดชีวิต บางครั้งพวกเขาต้องทำงานแลกกับสุขภาพของตนเอง นี่คือความจริงที่มนุษย์ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
มีประเด็นที่เราต้องพิจารณาในการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิตของเรา เพราะแต่ละคนมีความสนใจในชีวิตที่แตกต่างกัน บางคนต้องการความมั่งคั่งจากการมีเงินมากมาย บางคนต้องการชื่อเสียงจากการยกย่องในโลกออนไลน์ บางคนต้องการตำแหน่งเพื่อเป็นหนทางสู่ความสำเร็จในชีวิต เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติในโลกมนุษย์ พวกเขาเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากกายของพระพรหมและทรงกำหนดชะตากรรมของมนุษย์ให้ทำงานตามวรรณะที่เกิด หากมนุษย์อยากประสบความสำเร็จในชีวิต พวกเขาก็ต้องถวายเครื่องบูชาเพื่อขอเทพเจ้าช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต แต่เมื่อพิธีบวงสรวงเสร็จสิ้นไม่ใช่ทุกคนจะสมหวังในชีวิต และผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจารีตวรรณะประเพณีจะต้องกลายเป็นคนจัณฑาลต้องละทิ้งสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพการศึกษา และพิธีกรรมตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ปัญหาจัณฑาลนี้เป็นสาเหตุของการปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ (Sakka country)เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะจารีตประเพณีต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ แต่สมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในการบริหารรัฐสักกะที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" ซึ่งบัญญัติว่าห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้คนรู้ว่าชีวิตมนุษยทุกคนมีวิญญาณอยู่ในร่างกายของมนุษย์ และเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใหม่ในโลกมนุษย์ เมื่อคนตาย วิญญาณจะออกจากร่างไปสู่อีกโลกหนึ่ง วิญญาณคือตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์และไม่สูญหายไปพร้อมกับความตายของมนุษย์ มนุษย์จึงไม่ได้ถูกพระพรหมสร้างขึ้นจากพระกายของพระพรหมตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน แต่เดิมทีในสมัยพระเจ้าโอกกากราช ทรงเป็นมหาราชปกครองแคว้นโกลิยะและเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศากยะพระองค์ทรงเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมและประกาศใช้บังคับให้คำสอนของพราหมณ์เป็นคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ให้แบ่งประชาชนในแคว้นของพระองค์ออกเป็น ๔ วรรณะ ตามเจตจำนงของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์ การออกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะนั้น ทำให้ผู้คนตกอยู่ในความมืดมิดไม่มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของชีวิต เนื่องถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา การทำงาน และการบูชาตามความเชื่อของตนเองได้ เป็นต้น
ปัจจุบัน โลกมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็จเพราะมนุษย์แบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต เมื่อมนุษย์เรียนรู้จากการอ่าน การฟัง การเขียน และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต มันถูกนำไปใช้ในการทำงาน และจิตใจอาศัยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ เป็นสะพานเชื่อมเรื่องราวภายนอกเกี่ยวกับโลก จักรวาล และจิตวิญญาณของมนุษย์ เมื่อสัมผัสสิ่งของต่างๆ ย่อมทำให้จิตของมนุษย์มีความอยากที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ พวกเขาก็จะแสวงหาสิ่งภายนอกเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของพวกเขา และอยากสัมผัสมันอยู่ตลอดเวลา หากได้รับสิ่งใดแล้ว จิตวิญญาณก็จะยินดีด้วยความพอใจและครอบครองมันต่อไป แต่เมื่อจิตวิญญาณได้ครอบครองมัน อยู่สักหนึ่งก็เบื่อหน่าย พวกเขาก็จะค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ต่อไปเพื่อสนองความต้องการของพวกเขาหรืออยากได้อะไรสักอย่าง แต่ไม่ได้สิ่งนั้นก็จะเกิดทุกข์เพราะความไม่พอใจในอารมณ์นั้น ๆ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ทะเลาะวิวาททำร่างกาย ฆ่าผู้อื่น ลักทรัพย์ผู้อื่น ล่วงประเวณีคนรักผู้อื่นและคู่ครองของกันและกัน พูดจาดูถูกเหยียดหยามกัน การดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติดในสถานบันเทิง ความมั่งคั่งและชื่อเสียงของประชาชนในสังคม ฐานะทางการเงินและสามารถท่องเที่ยวรอบโลกได้ ยิ่งแบ่งปันพฤติกรรมในสังคมมากเท่าใด ผู้คนก็ยิ่งสนใจตนมากขึ้นเท่านั้น และพฤติกรรมของคนก็จะนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบมากขึ้นเท่านั้น
ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ข้อเท็จจริงที่ได้ยินยังไม่ชัดเจนว่าการแสวงหาตนดีกว่าคนอื่นได้อย่างไร? ทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยใคร่รู้และสนใจศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับค้นพบตนเองดีกว่าผู้อื่น (Finding yourself better than others)ต่อไป จึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และเอกสารวิชาการอื่นๆและวิเคราะห์หลักฐานเพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ คำตอบในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรเพื่อใช้บรรยายกับผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิ ให้มีเนื้อหาของความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กระบวนการวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบจากแหล่งที่มาของความรู้นั้น ๆ คำตอบจะเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลโดยปราศจากความสงสัยในข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้อีกต่อไปสำหรับกระบวนการวิเคราะห์ในบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยของนิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อให้ได้ความจริงอันเป็นที่สุดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้ความรู้ที่มีเหตุสมมีผลและเข้าใจในพระพุทธศาสนามากขึ้นไป.
6 ความคิดเห็น:
อนุโมทนาสาธุครับ
สาธุค่ะพระอาจารย์...
สาธุคะพระอาจารย์
แสดงความคิดเห็น