The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565

บทนำการแสวงตนดีกว่าคนอื่นตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ

    บทนำการแสวงตนดีกว่าคนอื่นตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ
(Introduction: Discovering Yourself Better Than Others according to Buddhaphumi's Philosophy)


สารบาญ
๑. บทนำ 
๒. แสวงหาตน
๓. แสวงหาคนอื่น

๑.บทนำ

  ทำไมเราต้องค้นหาตัวเอง? โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมความโง่เขลา จึงไม่ชอบที่จะพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘  จึงไม่รู้ความจริงอันเป็นที่สุดที่เรียกว่า “ความจริงขั้นปรมัตถ์แห่งชีวิตตน” ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่มนุษย์ชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริงในเรื่องราวของผู้อื่นมากกว่าของตนเอง   แม้ว่าทุกคนจะเป็นเพื่อนกันบนเส้นทางเกิด แก่ เจ็บและตายเหมือนกัน หรือชีวิตก็ไม่เที่ยงเช่นกัน  ทั้งนี้เพราะทุกคนก็มีตัณหาเหมือนกัน   เมื่อก่อนก็มีความโง่เขลาเช่นกันต่างก็เคยถูกปฏิเสขเข้าร่วมงานมาก่อน กลัวว่าคนอื่นจะดีกว่าตัวเอง  เมื่อมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้    พวกเขาจึงลืมคำสัญญาเก่า ๆ ของชีวิตที่ผ่านมา แม้ว่าจะเป็นความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจก็ตาม และดวงวิญญาณของเขาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่สิ้นสุด แต่พวกเขาไม่รู้ว่าดวงวิญญาณคือตัวตนที่แท้จริงของชีวิต ชีวิตหลังความตายจึงไม่ดับ ยังมีดวงวิญญาณออกจากร่างไปเกิดในภพอื่น ในขณะที่มีชีวิตอยู่บนโลก มนุษย์ยังคงทำกรรมดีหรือชั่วปราศจากความละอายแก่ใจของตนตลอดเวลา เพราะไม่รู้วัฏสงสารของตนและผู้อื่น  เมื่อทำกรรมใดไว้ แต่ไม่มีใครเห็นก็หลงเชื่อว่ากรรมนั้นไม่มีจริงแต่แท้ที่จริงแล้ว ดวงวิญญาณจะดึงดูดอารมณ์แห่งกรรมเหล่านั้นเข้าสู่จิตใจ ในสมัยโบราณ (ancient times)  มนุษย์ต้องอยู่กับปัจจัยภายนอกของชีวิต ทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น มนุษย์ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติเช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม พายุทะเล ภูเขาไฟระเบิด, การคุกคามของสัตว์ป่า นอกจากนี้มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างอดอยาก และต้องกินอาหารทุกวันเพื่อความอยู่รอด แต่มนุษย์ฉลาดพอเพื่อหาทางเอาตัวรอดบนโลกตามกฎของธรรมชาติอย่างเต็มที่  มนุษย์แสวงหาปัจจัย ๔ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย (Lodging) ให้รู้สึกปลอดภัยจากสัตว์หรือมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมนุษย์มีความกลัวซ่อนอยู่ในจิตใจ จึงชอบอยู่รวมตัวกันเป็นชุมชนการเมืองระดับท้องถิ่น, ระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นต้น แต่การอยู่ในสังคมมุษย์ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป เพราะมนุษย์มีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอในอารมณ์เกลียดชัง, รักใคร่, กลัว และโง่เขลา   พวกเขาจึงชอบข่มเหงกัน, ลักทรัพย์สินของกันและกัน, หลอกลวงกัน เพื่อหาความสุขด้วยการดื่มสุราและเสพเมถุน เป็นต้น  มนุษย์จึงนุ่งห่มเสื้อผ้า (clothing) ปกปิดความละอายใจ มนุษย์มีโรคประจำตัวเองที่เรียกว่า"ความหิว"และจำเป็นต้องกินอาหาร เพื่อให้รักษาชีวิตให้ยืนยาว ที่สำคัญเมื่อเกิดโรคระบาดต้องกินยา (medicine) ให้หายจากโรค เป็นต้น 

        เมื่อมนุษย์เจริญด้วยอารยธรรมที่สร้างขึ้นจากความคิดของตนเอง เมื่อมนุษย์มีอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยาที่ใช้รักษาโรคอย่างเพียงพอ ก็จะมีเวลาทบทวนความรู้และประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง เมื่อมนุษย์รู้ว่าเกิด ก็ต้องตาย แต่ไม่มีใครอยากตายและไม่กลัวที่จะเกิดเป็นมนุษย์แล้วตายอีก  นอกจากนี้มนุษย์ทุกคนต่างต้องความสำเร็จในเป้าหมายชีวิต เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา เมื่อวิเคราะห์หลักฐานแล้วพบว่า  ความสำเร็จเกิดขึ้นได้ยากเพราะมนุษย์มีบุคคลิกอ่อนแอ จิตไม่บริสุทธิ์เพราะสั่งสมกิเลสไว้มากจึงเศร้าหมองอยู่เสมอ เป็นคนหยาบคายไม่เหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไม่มีอุดมการณ์ที่มั่นคงในการดำรงชีวิต และกลัวที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจและยุติธรรม ดังนั้นพวกเขาจึงมีชีวิตที่มืดมน เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยสติปัญญาของตัวเองได้ จึงหาทางออกด้วยการบูชายัญเทพเจ้า ตัวอย่างเช่น ในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ ชาวชมพูทวีปจึงเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์อารยันที่ว่าพระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์ และพราหมณ์ดราวิเดียนสอนชาวมิลักขะว่าน้ำคือเทวดา เทพเจ้าเหล่านี้สามารถช่วยชาวชมพูทวีปให้สมหวังในชีวิตได้ แต่ชาวชมพูทวีปส่วนใหญ่เชื่อว่าพระพรหมนั้นศักดิ์สิทธิ์เหนือกว่าเทพอื่นๆ เพราะพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่เกิด แต่ไม่มีสิทธิและหน้าที่ทำงานของคนวรรณะอื่นเพราะถูกห้ามโดยกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เมื่อพวกเขาไม่มีสิทธิและหน้าที่ที่จะแสดงทักษะความสามารถของตนเองตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของชีวิต เพราะไม่มีโอกาสในชีวิตที่จะทำตามความฝันของตนเอง  เป็นต้น  
    
             ในยุคปัจจุบัน คนทั่วโลกมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเป็นลายลักษ์อักษรอย่างชัดเจนของทุกประเทศทั่วโลก        ทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุความฝันในชีวิตได้     แต่ความสำเร็จไม่ได้มาง่าย ๆ  เพราะทุกคนต้องลงมือทำเองและต้องใช้ความอดทนอย่างมาก อาจใช้เวลาหลายวัน, หลายเดือน หรือหลายปีกว่าจะบรรลุเป้าหมายของตนเอง  การจ้างคนอื่นทำงานแทนตัวเองถึงจะสำเร็จก็ไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริงของเขา      บางคนเอางานของคนอื่นมาอ้างเป็นของตนเอง หรือบางคนเกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง มีเศรษฐกิจและสังคมที่ดี        แต่พวกเขาไม่ต้องการเป็นอย่างที่คนอื่นต้องการให้เป็นแม้ว่่าพวกเขาจะเป็นเช่นนั้นได้ แต่พวกเขาก็คงไม่พอใจในสิ่งที่เป็น    ในแต่ละวัน ผู้คนนับล้านเข้าไปเรียนรู้ในระบบการศึกษาของชาติ    เป็นเวลาหลายปีในการค้นหาอาชีพที่เหมาะกับตนเอง  แต่การค้นหาตัวเองต้องอาศัยปัจจัยทางการเงิน      เมื่อไม่มีทุนก็ต้องทิ้งความฝันไว้เบื้องหลังเพื่อหาเงินมาลงทุนตามความฝัน       แต่มีคนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่เคยค้นพบตัวเองพวกเขามีชีวิตที่อ่อนแอเพราะไม่เคยฝึกตนให้แข็งแกร่งด้วยการทำสมาธิ  แม้จะมีจิตใจที่ทะเยอทะยานสูงก็ไม่บริสุทธิ์  มีอคติต่อผู้อื่นมักเจ้าอารมณ์ มีบุคลิกที่หยาบคายไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เป้าหมายชีวิตก็ไม่แน่นอนและอ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยบริสุทธิ์ยุติธรรมได้จึงมักใช้ชีวิตในทางที่เสื่อม   

            เมื่อพวเขายังไม่รู้จักตัวเองดีพอ   พวกเขามักจะปรึกษาคนอื่นเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง  เช่น หมอดู  พระภิกษุ    และที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำว่าเขาเป็นคนอย่างไร ?เพื่อเขาจะรู้จักตัวเองดีขึ้น พวกเขาจึงเชื่อคำแนะนำของผู้อื่นมากกว่าเชื่อใจตัวเองในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ  ที่เข้าในชีวิตอย่างสมเหตุสมผล  แม้จะได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดีมีเหตุผลอธิบายความจริงขอองคำตอบได้อย่างเข้าใจ  แต่สุดท้ายความสำเร็จในชีวิต   ก็เริ่มต้นจากการกระทำของเราเองทั้งสิ้น  การค้นพบตนเองของมนุษย์ เริ่มต้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่     พวกเขามีหน้าที่เรียนหนังสือและอยากเก่งที่สุดในชั้นเรียน      หลังเรียนจบ     อยากทำงานในหน่วยงานราชการ    ห้างสรรพสินค้า  บริษัทจำกัดหรือธุรกิจส่วนตัว    เมื่อเขามีรายได้เพียงพอ  ก็อยากจะแต่งงานมีครอบครัวแต่ความสำเร็จที่อยากได้นั้นยาก  ต้องใช้ความอดทนตลอดชีวิต  บางครั้งเขาต้องทำงานเพื่อแลกกับสุขภาพของตนเอง  นี่คือความจริงที่มนุษย์ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  มีจุดที่เราต้องคำนึงถึงคิดความสำเร็จในชีวิตของเราเพราะแต่ละคนมีความสนใจในชีวิตที่แตกต่างกัน    บางคนอยากได้ความมั่งคั่งจากการมีเงินมาก   บางคนต้องการชื่อเสียงจากการได้รับคำชมในโลกออนไลน์    บางคนอยากได้ยศเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จในชีวิต เช่นก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกมนุษย์เชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า        มนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากกายของพระพรหมและทรงกำหนดชะตากรรมของมนุษย์ให้ทำงานตามวรรณะที่เกิด   หากมนุษย์อยากประสบความสำเร็จในชีวิต  พวกเขาก็ต้องถวายเครื่องบูชาเพื่อขอเทพเจ้าช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต  แต่เมื่อพิธีบวงสรวงเสร็จสิ้นไม่ใช่ทุกคนจะสมหวังในชีวิต  และผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจารีตวรรณะประเพณีจะต้องกลายเป็นคนจัณฑาลต้องละทิ้งสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพการศึกษา   และพิธีกรรมตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์     ปัญหาจัณฑาลนี้เป็นสาเหตุของการปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ (Sakka country)เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะจารีตประเพณีต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ   แต่สมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในการบริหารรัฐสักกะที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" ซึ่งบัญญัติว่าห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว  

       การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้คนรู้ว่าชีวิตมนุษยทุกคนมีวิญญาณอยู่ในร่างกายของมนุษย์   และเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใหม่ในโลกมนุษย์  เมื่อคนตาย วิญญาณจะออกจากร่างไปสู่อีกโลกหนึ่ง  วิญญาณคือตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์และไม่สูญหายไปพร้อมกับความตายของมนุษย์  มนุษย์จึงไม่ได้ถูกพระพรหมสร้างขึ้นจากพระกายของพระพรหมตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน  แต่เดิมทีในสมัยพระเจ้าโอกกากราช ทรงเป็นมหาราชปกครองแคว้นโกลิยะและเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศากยะพระองค์ทรงเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมและประกาศใช้บังคับให้คำสอนของพราหมณ์เป็นคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี   ให้แบ่งประชาชนในแคว้นของพระองค์ออกเป็น ๔ วรรณะ   ตามเจตจำนงของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์     การออกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะนั้น  ทำให้ผู้คนตกอยู่ในความมืดมิดไม่มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของชีวิต เนื่องถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา การทำงาน และการบูชาตามความเชื่อของตนเองได้ เป็นต้น         

              ปัจจุบัน    โลกมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็จเพราะมนุษย์แบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต เมื่อมนุษย์เรียนรู้จากการอ่าน การฟัง  การเขียน   และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต มันถูกนำไปใช้ในการทำงาน และจิตใจอาศัยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖  เป็นสะพานเชื่อมเรื่องราวภายนอกเกี่ยวกับโลก  จักรวาล  และจิตวิญญาณของมนุษย์    เมื่อสัมผัสสิ่งของต่างๆ  ย่อมทำให้จิตของมนุษย์มีความอยากที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ พวกเขาก็จะแสวงหาสิ่งภายนอกเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของพวกเขา  และอยากสัมผัสมันอยู่ตลอดเวลา หากได้รับสิ่งใดแล้ว     จิตวิญญาณก็จะยินดีด้วยความพอใจและครอบครองมันต่อไป   แต่เมื่อจิตวิญญาณได้ครอบครองมัน      อยู่สักหนึ่งก็เบื่อหน่าย พวกเขาก็จะค้นหาสิ่งใหม่ ๆ  ต่อไปเพื่อสนองความต้องการของพวกเขาหรืออยากได้อะไรสักอย่าง    แต่ไม่ได้สิ่งนั้นก็จะเกิดทุกข์เพราะความไม่พอใจในอารมณ์นั้น ๆ  เป็นต้น    ตัวอย่างเช่น  ทะเลาะวิวาททำร่างกาย  ฆ่าผู้อื่น   ลักทรัพย์ผู้อื่น ล่วงประเวณีคนรักผู้อื่นและคู่ครองของกันและกัน  พูดจาดูถูกเหยียดหยามกัน การดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติดในสถานบันเทิง   ความมั่งคั่งและชื่อเสียงของประชาชนในสังคม  ฐานะทางการเงินและสามารถท่องเที่ยวรอบโลกได้  ยิ่งแบ่งปันพฤติกรรมในสังคมมากเท่าใด     ผู้คนก็ยิ่งสนใจตนมากขึ้นเท่านั้น  และพฤติกรรมของคนก็จะนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบมากขึ้นเท่านั้

         ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ข้อเท็จจริงที่ได้ยินยังไม่ชัดเจนว่าการแสวงหาตนดีกว่าคนอื่นได้อย่างไร? ทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยใคร่รู้และสนใจศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับค้นพบตนเองดีกว่าผู้อื่น (Finding yourself better than others)ต่อไป จึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง  และรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และเอกสารวิชาการอื่นๆและวิเคราะห์หลักฐานเพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ คำตอบในบทความนี้  จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรเพื่อใช้บรรยายกับผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิ ให้มีเนื้อหาของความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กระบวนการวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบจากแหล่งที่มาของความรู้นั้น ๆ  คำตอบจะเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลโดยปราศจากความสงสัยในข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้อีกต่อไปสำหรับกระบวนการวิเคราะห์ในบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยของนิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อให้ได้ความจริงอันเป็นที่สุดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้ความรู้ที่มีเหตุสมมีผลและเข้าใจในพระพุทธศาสนามากขึ้นไป.




6 ความคิดเห็น:

ภณ วงศ์ธรรมะ กล่าวว่า...

อนุโมทนาสาธุครับ

ภณ วงศ์ธรรมะ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ภณ วงศ์ธรรมะ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

สาธุค่ะพระอาจารย์...

เพ็ญลดา ใจปิง กล่าวว่า...

สาธุคะพระอาจารย์

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ