The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับการแสวงหาตน

 Metaphysical problem regarding self- seeking 

บทนำ ตนเป็นใคร 

       โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ได้รับความรู้จากความคิดเห็นของประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอารมณ์ของเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ในจิตของตนเอง ในการศึกษาแนวคิดอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของการแสวงหาตนเองหรือคนอื่นที่ประเสริฐกว่ากัน เป็นปัญหาที่น่าสนใจที่เราควรจะศึกษาประเด็นนี้  เพื่อให้เข้าใจชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น   เพราะมนุษย์ทุกคนเกิดมาและต้องตายเหมือนกัน ความตายจึงเป็นความจริงอันเป็นที่สุดและที่ไม่มีใครหลีกหนีได้  แม้ว่าเราจะประกอบพิธีบวงสรวงด้วยของมีค่าต่าง ๆ แต่โชคชะตาของเราก็ไม่สามารถยื้อชีวิตของเราออกไปได้อีก แม้จิตใตเราอยากจะให้อายุยืนต่อไปก็ตาม ถ้าเราเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า  เมือเราตายแล้วก็จะกลับชาติมาเกิดใหม่อีก เราควรเร่งทำความดีเพื่อสั่งสมอารมณ์ของความดีอยู่ในใจ เหมือนความรู้ที่เราเรียนในมหาวิทยาลัยที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้   ความดีย่อมติดตัวเราไปทุกชาติเช่นกัน  

       แต่ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า    เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด   เราไม่ควรเชื่อทันที เราควรสงสัยก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอ เรามาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ   หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ให้ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียว มีน้ำหนักของเหตุผลน้อย มันไม่น่าเชื่อถือ  และไม่สามารถยอมรับได้ว่าเป็นความจริง เพราะโดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนมีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง๖ ของร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง และไม่สามารถรับฟังข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นได้และมนุษย์ชอบมีอคติต่อกันเพราะชอบพอ,รักใคร่, เกลียดชัง,และความกลัว อาจมีส่วนได้เสียในข้อเท็จจริงนั้น  เจือสมประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   ความจริงในทางอภิปรัชญามีอยู่  ๒ ประเภทกล่าวคือ 

       ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น โดยทั่วไป เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมนุษย์นั้น  มีสภาวะของการเกิดขึ้น ดำรงสภาวะอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว  ก็เสื่อมสลายก็หายไปในอากาศเช่นชีวิตของมนุษย์เกิดขึ้น ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะหนึ่งและเสื่อมสลายตายไปจากโลกมนุษย์  ถึงกระนั้นมนุษย์ก็สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมเหล่านั้นได้ด้วยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของเขา เมื่อรู้แล้ว จิตมนุษย์จะดึงดูดอารมณ์เหล่านั้นมาเป็นหลักฐานที่สั่งสมไว้ในจิต แต่โดยทั่วไปธรรมชาติของจิตมนุษย์ เป็นผู้คิด เมื่อรู้สิ่งใดคิดจากสิ่งนั้น เมื่อรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในเรื่องนั้น ก็วิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบและสมมติชื่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้น  เช่น ลมพายุ, น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด หรือเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้น เมื่อมนุษย์รู้เหตุการณ์ทางสังคมที่เกิด ก็จะวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบได้แล้ว ก็สมมติชื่อเหตุการณ์นั้นเช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน หรือเหตุการณ์คนแตกตื่นและเหยียบกันตายในสถานเริงรมย์ในต่างประเทศ เป็นต้น เมื่อจิตใจของมนุษย์วิเคราะห์หลักฐานแล้ว หากผลการวิเคราะห์ได้คำตอบยังไม่ชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่นักปรัชญา,เจ้าชายสิทธัตถะ, นักวิทยาศาสตร์รักที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นต่อไป ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มต่อไปเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบให้ได้ความจริงอันเป็นที่สุด 

     ตัวอย่างเช่น ชีวิตมนุษย์ที่คลอดจากครรภ์มารดานั้น มีชีวิตอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นและเสื่อมสลายไปพร้อมกับความตาย แต่ปัญหาความจริงของมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงด้วยความตาย เมื่อพวกพราหมณ์อ้างข้อเท็จจริงที่ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์หน้าที่ของตน แต่ผลประโยชน์จากศรัทธามหาศาล ก็นำมาสู่การบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยชนชั้นวรรณะ เพื่อลิดรอนสิทธิและหน้าที่ของชาวดราวิเดียน เพื่อความมั่นคงทางการเมืองของพวกอารยัน เป็นเหตุให้มนุษย์เกิดการตรวจสอบกันเองและขาดความไว้วางใจกันสังคมเพราะมีบทลงโทษคนทุกวรรณะที่สมัครรักใคร่กันจนสมสู่กันข้ามวรรณะ หรือจัดพิธีแต่งงานข้ามวรรณะให้ขับไล่ออกจากที่ถิ่นพำนักไปตลอดชีวิตต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในพระนครใหญ่เช่นพระนครกบิลพัดุ์ เป็นต้น ดังนั้น มนุษย์จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้นเพราะชีวิตตกอยู่ภายใต้อำนาของกฎธรรมชาติเกิดขึ้นในครรรภ์มารดาแล้วคลอดออกมา ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและก็ตามไปตามกฎธรรมชาติ เป็นต้น   

          ๒.ความจริงขั้นปรมัติ   เป็นความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์  โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้วามจริงขั้นปรมัติได้ด้วยตนเองเพราะการรับรู้ของมนุษย์มีจำกัด และมนุษย์กิเลสปกปิดความจริงของชีวิตไว้ จึงมัวเมาในกิเลสนั้นและมักลิมสัญญาของความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจนั้น ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นแม้นักวิทยาศาสตร์จะสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาความรู้ในเรื่องนี้ได้ก็ตาม จนสามารถส่งผ่านคลื่นไวฟายผ่านอากาศธาตุไปยังแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตของคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มืออีกเครื่องหนึ่งได้  แต่ยังไม่หลักฐานการค้นพบความรู้ที่แท้จริงในขั้นปรมัติด้วยเคครื่องมือวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด   เว้นแต่เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตตามอริมรรคมีองค์ เป็นเวลาหลายปีจนบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ต่อมาชาวพุทธเรียก"พระโพธิสัตว์สิทธัตถะว่า "พระพุทธเจ้า" เป็นต้น     

    และเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ถือเป็นความรู้ที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ ความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้แก่ ภาวะนิพพาน,ญาณทิพย์เหนือมนุษย์ทั้งปวงเป็นต้นดังนั้น บุคคลที่จะมีความรู้ที่แท้จริงในระดับนี้ต้องผ่านการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นเรียกว่าพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนความรู้ของวิทยาศาสตร์นักวิทยาศาสตร์สร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นมาเพื่อช่วยมนุษย์ในการค้นหาความจริงต่างๆ โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้ดีกว่าจิตของมนุษย์ก็ตามรวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ นั้น แต่สุดท้าย จิตของมนุษย์เป็นผู้อ่านข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นั้น เพื่อค่าที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในเรื่องนั้นต่อไปอยู่ดี

       เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกไทยเล่มที่  ๔ (ฉบับมหาจุฬา ฯ)ภัททวัคคีย์วัตถุหน้าที่ ๔๕ ข้อที่ ๓๖ ว่า  "ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ กรุงพาราณสี ตามพระราชอัธยาศัยแล้วได้จาริกไปทางตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  เสด็จจากทางเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่งครั้นเสด็จไปยังไพรสณฑ์แห่งนั้นแล้วได้ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง สมัยนั้น สหายภัททวัคคีย์ ๓๐ คนพร้อมภริยาบำเรอในไปยังไพรสณฑ์แห่งนั้น สหายคนหนึ่งไม่มีภริยา  พวกสหายจึงนำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์ของเขาต่อมาหญิงแพศยาได้ขโมยของหนีไปขณะพวกเขามัวบำเรอกันสหายเหล่านั้น    เมื่อจะช่วยเหลือเขาจึงพากันเที่ยวหาหญิงแพศยานั้นจนไปถึงไพรสณฑ์แห่งนั้น     ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ควงต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วจึงไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ครั้นไปถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ "พระองค์เห็นผู้หญิงคนหนึ่งไหม พระพุทธเจ้าข้า"    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ย้อนถามว่า "กุมารทั้งหลายพวกเธอต้องการหญิงไปทำไม"   สหายภัททวัคคีย์กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     พวกข้าพระองค์เป็นสหายภัททวัคคีย์มีประมาณ ๓๐ คน  ในตำบลนี้พร้อมภริยาบำเรอกัน   ในไพรสณฑ์แห่งนี้สหายคนหนึ่งไม่มีภริยาข้าพระองค์นำหญิงแพศยามาประโยชน์แก่เขา ต่อมาหญิงแพศยาได้ขโมยของเขาหนีไป  ขณะพวกข้าพระองค์บำเรอเผอเรอกันเพราะเหตุนั้นพวกข้าพระองค์เป็นสหายกัน   เมื่อจะช่วยเหลือเขาถึงพากันตามหาหญิงแพศยามาถึงไพรสณฑ์แห่งนี้พระพุทธเจ้าข้า ฯ    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า กุมารทั้งหลาย พวกเธอเอาความสำคัญข้อนั้นอย่างไร การที่เธอจะมาแสวงหาหญิงหรือแสวงหาตนอย่างไรประเสริฐกว่ากัน..   การที่พวกข้าพระองค์แสวงหาตนเองนี่แหละประเสริฐกว่า [๒]      
     
       ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้นนั้น ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าสหายภัททวัคคีย์ ๓๐ คนตามหาหญิงแพศยาที่ขโมยของ เพื่อลงโทษและเอาของที่เธอขโมยไปกลับคืนมา พระองค์ตรัสถามว่าแสวงหาตนหรือคนอื่นประเสริฐกว่า สหายภัททวัคคีย์ ๓๐ คน ตอบว่าแสวงหาตนเองประเสริฐกว่าคนอื่น เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯฟังข้อเท็จจริงข้างต้นนั้นยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนตั้งข้อสงสัยในข้อเท็จจริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามีความหมายว่าอย่างไร ผู้เขียนจึงแยกประเด็นที่ต้องวิเคราะห์เพื่อให้ได้ความรู้ที่เป็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้กล่าวคือ 

         ตน เมื่อผู้เขียนศึกษาความหมายจากพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้นิยามคำว่า ตน หมายถึงตัว(ตัวตน) ส่วนคำว่า "ตัวตน" นิยามรูปใช้เรียกแทน "คน"เป็นต้น ในการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนใช้คำว่า "ตน" หมายถึงชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วยกายและจิต เป็นปัจจัยที่สร้างชีวิตใหม่ดังหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่๑  พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ภาค ๑ วิชชา๓ ข้อ๑๓. เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้  เรานั้นน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ  กำลังอุบัติทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง  งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์  เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์  ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้ประกอบด้วยกายทุจริต  วจีทุจริต  มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะมีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นผิด  พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สัตว์ผู้ประกอบด้วยกายสุจริต  วจีสุจริต  มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะมีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นชอบ  พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์"    

           ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้น ผู้เขียนตีความว่า เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงปฏิบัติธรรมโดยเจริญอาณาปานสติตามอริยมรรคมีองค์๘ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (Magadh country) จนกระทั่งจิตของพระองค์เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีอาสวะกิเลส ความเศร้าหมอง อ่อนโยนเหมาะแก่การใช้งาน มีความมั่นคงไม่หวั่นไหวจิตของพระโพธิสัตว์ได้พัฒนาศักยภาพและบรรลุถึงความรู้ขั้นจุตูปาตญานที่เรียกว่า"ตาทิพย์" ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมเราเรียกความรู้ ๑ ใน ๖ ข้อนี้ว่า "อภิญญา๖"(Super knowledge) พระโพธิสัตว์ทรงมองเห็นวิญญาณของสัตว์น้อยใหญ่ไปจุติในภพต่างๆ ตามกรรมที่ห่อหุ้มจิตไว้อย่างหนาแน่นแสดงให้เห็นว่าชีวิตของมนุษย์ทุกคนประกอบด้วยร่างกายและจิตใจก่อให้เกิดชีวิตมนุษย์ใหม่ เมื่อมนุษย์ตายพวกเขาก็จะไม่สูญเสียความเป็นมนุษย์ไป เพราะมนุษย์ยังมีจิตวิญญาณซึ่งเป็นตัวตนที่แท้จริงก็จะออกจากร่างกายที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว เพราะไม่สามารถใช้รับรู้อารมณ์ของโลกและให้วิญญาณอาศัยอยู่อีกต่อไป วิญญาณต้องออกจากร่างนั้นตามกฎธรรมชาติไปสู่โลกอื่นต่อไป ตามอารมณ์ของกรรมของตนเองที่สั่งสมไว้ในวิญญาณนั้นอาจจะเป็นสุคติโลกสวรรค์หรืออบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็ได้ ปัญหาว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนเป็นความจริง พระองค์ทรงมิได้กล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ แต่พระองค์ทรงสอนวิธีปฏิบัติตามหลักคำสอนตามมรรคมีองค์ ๘ ให้ถึงความจริงเหล่านี้ด้วยการแม้ธรรมชาติของจิตจะเกิดและดับลงอย่างรวดเร็ว แต่จิตดวงใหม่มารับอารมณ์ที่ห่อหุ้มจิตดวงเก่าไว้  ทำให้จิตดวงเก่าดับลงกับจิตดวงใหม่มีธรรมชาติของจิตไม่แตกต่างกัน ผู้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับตนเองนั้น ย่อมรู้ความเป็นไปในชีวิตของตนเองว่าชีวิตของมนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่มีวันจบสิ้นทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์สั่งสมกรรมของตนไว้ในจิต กรรมนั้นติดตามจิตไปสู่ภพภูมิต่าง ๆ เมื่อเรารู้ว่าชีวิตเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมของตนแล้วพระพุทธองค์ค้นพบวิธีการสำรอกกิเลสกรรมที่สั่งสมไว้ในจิตของตนวิธีการดังกล่าวเรียกว่ามรรคมีองค์ ๘  เป็นต้น 

   ดังนั้น การศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการค้นพบตนเอง เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจในความเป็นไปของชีวิตเราเป็นไปตามการกระทำของตนเอง ย่อมเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่ชีวิตประสบกับวิบากกรรมชั่วของพวกเขา เกิดจิตมีความเมตตากรุณาต่อพวกเขาโดยการชี้ทางให้พวกเขาหลุดพ้นจากความทุกข์ในการเวียนว่ายตายและกลับชาติมาเกิดใหม่ต้องพบกับภัยในสังสารวัฏไม่มีสิ้นสุด เป็นต้น 
[๑]https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?E=&B=23&A=5523&w=%E2%C5%A1%B8%C3%C3%C1&option=2
[๒] พระไตรปิฎกไทยเล่มที่ ๔ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ภัททวัคคีย์วัตถุ หน้าที่ ๔๕ ข้อที่ ๓๖.
     

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ