The Problems of Prasat Hin Phanom Wan in Hindu Philosophy

บทนำ ความเป็นมาของปัญหา
ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับปราสาทหินพนมวันนั้น โดยทั่วไปนักปรัชญาหรือนักโบราณคดีที่ชอบศึกษาค้นคว้าความจริงในเรื่องนี้ เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจนั้น ซึ่งปรุงแต่งเป็นชีวิตมนุษย์ขึ้นในครรภ์มารดาของตนเอง เป็นเวลา ๙ เดือน ก็คลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้วมีชีวิตรอดอยู่ ก็จะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม เมื่อเกิดมาแล้ว ชีวิตมนุษย์นั้นจิตใจอาศัยอายตนะภายในของร่างกายในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต เมื่อรับรู้แล้ว ก็จะเก็บเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจของตนเอง แต่ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ไม่ได้มีหน้าที่รับรู้เท่านั้น และเก็บอารมณ์ต่าง ๆเท่านั้น ยังมีหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์เหล่านั้นว่าความจริงคืออะไร โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญานั้น มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล เพื่อถ่ายทอดความรู้นั้นให้คนอื่นได้ศึกษาความรู้ต่อไปในรูปแบบตำราเรียน ค้มภีร์ทางศาสนา หรือ ภาพวาดโบราณไว้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีต่อไป เพื่อรักษาความรู้ในเรื่องนั้นมิให้สูญหายไปพร้อมความตายของเจ้าของความรู้ในเรื่องนั้น เป็นต้น
นักโบราณคดีกล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักปรัชญาและพระพุทธเจ้าทรงสอนอย่าเชื่อข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นทันที จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างเพียงพอ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริง ถ้าไม่หลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงปากเดียวไม่น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริงในเรื่องนั้นๆ เพราะมนุษย์มีมักมีอคติต่อกันเกิดจากความเกลียดชัง, ความรักใคร่, ความกลัว, ความโง่เขลา นอกจากนี้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งที่อยู่ห่างไกลออกไปจากตัวมนุษย์ เช่นภูเขาไฟระเบิดใต้มหาสมุทร, การทำสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนหรือสิ่งที่เล็กที่สุดเช่นเชื้อโรคต่าง ๆ การดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ เป็นไปตามแนวคิดทางอภิปรัชญา แม้นักปรัชญาจะแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อยืนยันความจริงของคำตอบอย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีคำถามว่า "นักปรัชญารู้ได้อย่างไร ? ว่า คำตอบนั้นเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ ตามทฤษฎีความรู้ ได้กำหนดว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์นั้นต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์และสั่งสมอยู่ในจิตใจของเขา ดังนั้นจึงจะถือว่าผู้นั้นมีความรู้จริงในเรื่องนั้นและสามารถเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นว่าจริงได้"
การมีอยู่ของปราสาทหินพนมวัน เป็นปรากฏการณ์ทางศาสนวัตถุในศาสนาฮินดูที่สร้างขึ้นแล้ว โดยผู้เขียนรับรู้การมีอยู่ของปราสาทหินพนมวันผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เมื่อเดินทางมาเที่ยวชมปราสาทหินแห่งนี้หลายครั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ค้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาห่างจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ระยะทาง ๑๔.๙ กิโลเมตร เมื่อผู้เขียนรับรู้ถึงการมีอยู่ของปราสาทหินพนมวัน ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียนเองในครั้งแรกทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า ปราสาทหินแห่งนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดู หรือเป็นพุทธสถานสร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาพุทธนิกายมหายานเพราะเป็นปราสาทหินที่ไม่มีนักบวชในศาสนาฮินดูเป็นผู้แลพำนักอาศัยอยู่ หรือหากเป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานแต่ก็ไม่เห็นพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่แต่อย่างใด นอกจากนี้ชุมชนที่อยู่รายรอบปราสาทหินแห่งนี้ เป็นสังคมของชาวพุทธศาสนาที่ผ่านการเรียนรู้การใช้ชีวิตตามหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งปราสาทแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติคงอยู่ให้ตราบนานเท่านาน ในอดีต ผู้เขียนเยี่ยมชมภายในปราสาทหินพนมวัน อันบรรยายเงียบสงบตามคำบอกเล่า ผู้คนมาเยี่ยมชมปราสาทแห่งนี้น้อยมาก ผู้เขียนได้ซึ่มซับบรรยายกาศของปราสาทหินพนมวันและถ่ายรูปไว้น่าจะประโยชน์ต่อการเขียนหนังสือระบายความนึกคิดที่ฟุ่งซ่านออกไปให้มากที่สุด ไม่อยากเก็บไว้ในใจอีกต่อไป เพราะไม่มีประโยชน์อันใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ในใจตนเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลคำว่า "เทวสถาน" จากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายคำว่า "เทวสถาน" หมายถึงสถานที่ซึ่งถือว่าเป็นที่ประทับ หรือที่สิงสถิตของเทพเจ้าหรือเทวดา หรือ ที่ประดิษฐานเทวรูป" เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ใน https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/398 ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทยของศูนย์มนุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน ในจารึกปราสาทหินพนมวัน ๒. มีเนื้อหาโดยสังเขปว่า บทเริ่มต้นของจารึกกล่าวสรรเสริญพระศิวะและพระวิษณุจากนั้น ได้กล่าวสรรเสริญพระเจ้าสุริยวรมันที่๑ " เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานและจารึกของปราสาทหินพนมวันข้อเท็จจริงรับฟังได้ข้อยุติว่า ปราสาทหินพนมวันสร้างขึ้นมา เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูนิกายไศวะเพราะมีการค้นจารึกกล่าวสรรเสริญคุณของพระศิวและพระวิษณุ เมื่อไม่มีพยานเอกสารอื่นใดบันทึกข้อความไว้เป็นอย่างอื่น หักล้างถ้อยคำในจารึกอีกผู้เขียนว่าเทวสถานแห่งนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเทวสถานซึ่งเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าสององค์ได้แก่พระศิวะและพระวิษณุ ปราสาทหินพนมวันจึงเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูนิกายไศวะจริง
๒.ญาณวิทยาเป็นที่มาของความรู้มนุษย์
เมื่อมนุษย์ได้ผัสสะสิ่งหนึ่งสิ่งใดย จะสงสัยและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลของคำตอบวิชาปรัชญาจึงเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่างๆของสสาร, มนุษย์, ปรากฏการธรรมชาติ ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เอง เมื่อจิตผัสสะสิ่งใดย่อมคิดสงสัยในสิ่งที่ตนผัสสะนั้นเมื่อเกิดความสงสัยแล้วมนุษย์จึงคิดวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบว่าเป็นอะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วจึงถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เช่นเดียวกับความมีอยู่จริงของปราสาทหินพนมวัน มนุษย์ต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เมื่อรับรู้แล้วเกิดความสงสัยว่าสถานที่แห่งนี้เป็นวัดหรือเทวสถานในศาสนาใด ความจริงที่เราต้องแสวงหาคำตอบกันต่อไป เมื่อสถานที่แห่งนี้เป็นเทวสถานในปรัชญาศาสนาฮินดูแล้วปัญหาความจริงสูงสุดในปรัชญาศาสนาฮินดูนิกายไศวะคืออะไร ปรัชญาศาสนาฮินดูนี้ยอมนับถือว่าพระศิวะเป็นเทพสูงสุดเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไปจุติจิตไปอยู่กับพระศิวะในแดนสวรรค์ในปราสาทหินพนมวันปรากฎ ดังมีหลักฐานของปฏิมากรรมของรูปเคารพของพระศิว และหลักฐานอื่นใดสนับสนุนแนวคิดทางอภิปรัชญาเรื่องพระศิวะในปรัชญาศาสนาพราหมณ์ฮินดูหรือไม่เพียงใดในทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมยอมรับว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์เมื่อมีการรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ของมนุษย์เพราะมนุษย์ใช้จิตน้อมออกไปรับความรู้ของโลกผ่านอินทรีย์ ๖ วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่แยกตัวออกมาจากวิชาปรัชญาเมื่อวิเคราะห์เห็นว่าเนื้อหาของวิชานี้มีมากเพียงพอที่จะพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ให้มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปได้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในการใช้ปัญญาใคร่ครวญ วิเคราะห์ความจริงของสรรพวิทยาการต่างๆ ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นการวิเคราะห์ข้อมูลได้ความจริงมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาความรู้ที่เป็นความจริงของจักรวาลมากยิ่งขึ้นได้เท่านั้น ในขอบ เขตที่มาความรู้ในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประสาทหินพนมวังก็เช่นเดียวกัน
๑. เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๔ มีการบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทหินพนมวัน มีการค้นพบเศียรของพระศิวะที่บริเวณภายนอกระเบียงคตทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะของพระพักตร์แสดงความแข็งกระด้าง พระขนงเป็นเส้นคมยาวติดต่อกันสวมกระบังหน้าด้านบนมีลายบัวขาบเรียงเป็นแถวถัดลงมาเป็นดอกไม้สี่กลีบซึ่งเป็นลักษณะสำคัญในศิลปะแบบบางเค็ง๒ นอกจากนี้ในจารึกปราสาทพนม ๒ สาระสำคัญที่ปรากฎในจารึกเป็นการสรรเสริญพระศิวะ จากหลักฐานปฏิมากรรม ๒ ชิ้นนี้จึงเชื่อได้ว่าปราสาทหินพนมสร้างขึ้น เพื่อถวายความดีแก่พระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดู เมื่อการศึกษาโครงสร้างตัวอาคารหินทรายที่ใช้ก่อสร้าง สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ในตัวอาคารต่าง ๆ แบบขอมโบราญ เรื่องราวที่มีการแกะสลักบนหินทรายเรานั้น มีกรอบความคิดของช่างผู้ออกแบบบนความเชื่อที่เป็นความจริงในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กำกับทุกส่วนบนตัวอาคารทั้งหมดซึ่งล้วนแต่เป็นความดีที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาเพื่ออุทิศถวายพระศิวะทั้งสิ้นแต่ความดีที่ดียิ่งขึ้นไปคือการทำสมาธิเพื่อเป็นวิธีการหลุดพ้นจากความทุกข์เกิดภัยต่างๆที่พบเห็นในขณะเวียนว่ายเกิดในสังสารวัฏ จุดประสงค์การสร้าง จารึกต่าง ๆ ที่ปรากฏในซากอิฐหินเหล่านั้นเป็นหน้าที่ของนักโบราณคดีช่วยวิเคราะห์ตีความความหมายของจารึกเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ของปราสาทหินพนมวัง ขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์การศึกษาปรัชญาและศาสนาได้เช่นเดียวกัน ในเรื่องของความเชื่อที่เป็นความจริงทางปรัชญาศาสนาที่ปรากฎในรายละเอียดของการก่อสร้างไว้เพราะเมื่อปราสาทหินพนมวังเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูการสร้างตัวปราสาทย่อมตีความหมายของการก่อสร้างไปในแนวคิดของความเชื่อและเป็นความจริงของศาสนาที่ปรากฎในตัวอาคารเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ของความเชื่อที่เป็นความจริงที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์มากยิ่งขึ้นเท่านั้นดังนั้นที่มาของความรู้ของปราสาทหินพนมวัน เริ่มต้นที่จิตของฉันรับรู้ตัวปราสาทหินพนมผ่านอินทรีย์ ๖ ของฉันที่เป็นบ่อเกิดของความรู้ด้วยการเดินทางไปดูสถาน ที่ตั้งปราสาทที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ค้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาปราสาทหินพนมวันอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรที่ตั้งอยู่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
เมื่อมาถึงจิตของฉันมองผ่านอินทรีย์ ๖ส่วนที่เป็นเห็นภาพตัวอาคารปราสาทหินเป็นยอดแหลมมา แต่ไกลจิตของฉันระลึกถึงสัญญาเก่าที่เคยพานิสิตมจร นครราชสีมาไปทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรเที่ยวชมแนวคิดทางพุทธปรัชญามหายานในปราสาทหลักพิมายจำได้ว่าเป็นศิลปะขอมโบราณคล้ายกับปราสาทหินพิมายมาก จิตของฉันคิดด้วยเหตุผลว่า สถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูเช่นเดียวกับปราสาทหินพิมาย สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นปฏิบัติบูชาเพราะศาสนาฮินดูนิกายไศวะ เป็นการปฏิรูปศาสนาจากศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาฮินดูการเริ่มต้นของสังกราจารย์ ด้วยการไปแสวงหาความรู้ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ฝ่ายมหายานที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกในยุคหลังพุทธกาลเมื่อเขามีเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานแล้ว ทำให้ความคิดของเขาเปลื่ยนไปด้วยการนำแนวคิดของพุทธปรัชญามหายานไปปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ให้เป็นฮินดู เป็นต้นทฤษฎีความรู้ประสบการณ์นิยมเมื่อฉันเดินทางมาถึงปราสาทหินพนมวัน จิตของฉันได้มองปราสาทหินพนมวันผ่านอินทรีย์ ๖ ของฉันซึ่งเป็นบ่อเกิดหรือที่มาของความรู้เกี่ยวกับปราสาทหินพนมวัน จิตของฉันโน้มออกรับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวปราสาทหินเข้าเก็บไว้เป็นอารมณ์เรื่องราวสั่งสมไว้ในจิตของฉันเอง จิตของฉันก็เก็บอารมณ์เรื่องเหล่านี้ไว้ในจิตตามฉันไปทุกหนทุกแห่งที่ฉันเดินทางไปมาตลอดเวลาจิตของฉันรับรู้ความมีอยู่ของปราสาทพนมวัน และคิดวิเคราะห์จากเอกสารของกรมศิลปากรที่ฉันได้ศึกษามาพบว่าในรูปปราสาทพนมวัน ที่ฉันถ่ายมาเป็นเป็นลักษณะเทวสถานเช่นเดียวที่ฉับพบเห็นมากมายของนิกายไศวะ ที่ฉันมากมายในเมืองพาราณสีส่วนระเบียงวิหารคตที่เป็นทางเดินรอบตัวปราสาทหินนั้นเหมือนวิหารคตของวัดพระแก้ว กรมศิลปากรวิเคราะห์ไว้ว่าเป็นพระราชฐานชั้นในในยามที่สมมติเทพมาปฏิบัติบูชาในตัวปราสาทประธาน เพื่อถวายคุณความดีแด่เทพเจ้าคือพระไศวะที่เทพสูงสุดที่พวกเขานับถือ ระเบียงของปราสาทหินนี้จะมีทหารรายรอบสถานที่แห่งนี้ น่าจะเป็นทางเดินของข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองพระราชอาณาจักรขอมโบราณ มาปฏิบัติบูชาเพื่อเข็มแข้งของพระราชหฤทัยพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เกี่ยวกับ การปกครองบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่ง ๆขึ้นไปโดยเฉพาะการออกสงครามต่อสู้ป้องการแย่งดินแดนการกวาดต้อนผู้คนไปเป็นทาสเป็นคนรับใช้ไม่มีทรัพย์สมบัติเป็นของตนเองชะตากรรมของชีวิตขึ้นอยู่กับเจ้าของทาส.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น