The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565

๗. การใช้เหตุผลในการอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้า

 ประการที่ ๗    การใช้เหตุผลอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้า (7. Using reason to explain the teachings of the Buddha)

            โดยทั่วไปแล้ว  เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนาและได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ที่มาความรู้ของพระพุทธเจ้านั้น เกิดจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส     และสั่งสมอยู่ในจิตใจของพระพุทธเจ้าแล้ว               โดยธรรมชาติของจิตของพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้คิด,        เมื่อพระองค์ทรงรู้สิ่งไหน ก็ทรงคิดจากสิ่งนั้น      เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น   กระบวนการคิดของพระพุทธเจ้านั้น        อาจจะวิเคราะห์จากพยานหลักฐาน  พิจารณาจากหลักฐานหรือใคร่ครวญที่เรียกว่า"สังขาร" หรือ"ปรุงแต่งของจิต" ซึ่งเป็นหนึ่งในขันธ์ห้า    ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์แต่อาการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นภายในจิตเราจึงไม่รู้ว่า  จิตของมนุษย์คิดอะไร ?  เว้นแต่บุคคลนั้น     จะอธิบายข้อเท็จจริงออกมาให้ผู้อื่นทราบว่าตนเองคิดอย่างไร มีหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น โดยแสดงออกมาในรูปคำอธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น   กรรมออกมาแสดงให้ผู้อื่นได้รับรู้ในอาการเหล่านั้น        ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งต้องหาเหตุผลเพื่ออธิบายหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ว่าการกระทำของมนุษย์ว่าถูกหรือผิดตามหลักจริยศาสตร์ในพระพุทธศาสนา และผลของการกระทำของมนุษย์        เป็นผลร้ายต่อชีวิตหรือจิตวิญญาณของพวกเขาอย่างไร       เมื่อพระพุทธศาสนาสอนความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคน    สามารถบรรลุถึงความรู้อันแท้จริงเกี่ยวกับชีวิตของตนได้ โดยการพัฒนาศักยภาพชีวิตผ่านการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ และบรรลุความรู้ในระดับ "อภิญญา๖"ได้     เห็นหลักฐานชัดเจนในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ หลายฉบับ      จากการศึกษาหลักฐานต่างๆพบว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า ได้ผ่านการสังคายนาพระไตรปิฎก (Buddhist councils) หลายครั้ง     ก่อนจะถ่ายทอดเป็นตัวอักษรลงบนใบลานหรือพิมพ์เป็นหนังสือพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ    และแต่งเป็นหนังสืออธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้า       โดยพิมพ์ตำราพุทธศาสนาจำหน่ายให้กับผู้สนใจค้นคว้า    ทำให้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาทนทานต่อการพิสูจน์ด้วยความคิดหาเหตุผลของมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย      เมื่อคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นความรู้ระดับบัณฑิต    ชาวพุทธส่วนใหญ่จักจะไม่ศึกษาโครงสร้างของพระพุทธศาสนาเพราะทุกคนต่างสนใจพิธีกรรมมากกว่าตัวปัญญา   เพื่อแสวงหาในสิ่งที่ตนขาดด้วยความโลภความพึ่งพอใจและไม่รู้จักใช้ความเพียรของตนเอง     จึงเป็นเรื่องยากที่จะเขียนปรัชญาแดนพุทธภูมิให้ผู้คนทั่วโลกอ่าน   และติดตามตลอดเวลาเพราะมนุษย์ทั่วโลกผ่านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องต่างๆ 

        การเขียนบทวิเคราะห์พระไตรปิฎกจำเป็นต้องอธิบายคำสอนทางพระพุทธศาสนาในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจอ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ง่าย เริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ที่เรารับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในเรื่องนั้นแต่เรื่องนั้น ปรากฏขึ้นในจิตใจของเราอยางไม่ชัดเจนในประวัติความเป็นมา ทำให้สงสัยในเรื่องนั้น และปรัชญาสอนมนุษย์ไม่ควรเชื่อว่าเป็นความจริงจนกว่าจะพิสูจน์ด้วยหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ดังนั้นกระบวนการให้เหตุผลเชิงปรัชญาจึงสามารถนำมาอธิบายหลักธรรมของพระพุทธศาสนาได้ในยุคปัจจุบันโลกได้พัฒนาด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เพราะมนุษย์สร้างมือทางวิทยาศาสตร์ช่วยการเก็บข้อมูลมากถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้นมีการสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อช่วยในการแบ่งปันข้อมูลและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญมีการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยให้มนุษย์วิเคราะห์ข้อมูลแม่นยำยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ความสบายของชีวิตใช่มนุษย์มีความสุขเพียงฝ่ายเดียว ความทุกข์ยังคงมีอยู่ เพราะตราบใดที่มนุษย์ยังมัวเมากับสิ่งที่ชอบขาดการพักผ่อนมนุษย์ยังคงมีความสุขที่แลกกับสุขภาพต่อไปวิธีการทางศาสนา ยังคงมีความจำเป็นในการแก้ไขความทุกข์ของมนุษย์ แม้ว่าจะมีการเผยแพร่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามากมายในเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต แต่เป็นมุมวิชาการทางพระพุทธศาสนาส่วนในแง่มุมคิดเชิงปรัชญาที่ใช้อธิบายศาสนามีการถ่ายทอดน้อยมากและนักวิชาการส่วนใหญ่ไม่คิดว่า แนวคิดทางปรัชญาจะใช้อธิบายคำสอนของพระพุทธศาสนาได้เมื่อผู้เขียนเห็นช่องทางที่จะอธิบายคำสอนพระพุทธเจ้าในแง่ปรัชญาได้ ผู้เขียนตัดสินใจเขียนปรัชญาแดนพุทธภูมิและไม่รู้สึกกลัวว่าจะไม่มีคนอ่านปรัชญาพุทธภูมิ เพราะเนื้อหาของการเขียนนั้น คนละแนวคิดทางกับวิชาการทางพระพุทธศาสนาแม้ยุคปัจจุบันผู้อ่านส่วนใหญ่คิดว่า เนื้อหาสาระอันเป็นแก่นแท้ของพุทธศาสนานั้น มีแต่การทำบุญด้วยการบริจาคทานสร้างวัดเท่านี้เอง แต่ความจริงสาระของแก่นแท้จริงในพระพุทธศาสนานั้นมีความรู้ที่ลึกซึ้งและเป็นมากกว่าที่เราคิดกันอย่างผิวเผินเสียอีก 

         การเขียนปรัชญาเชิงพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าปรัชญาแดนพุทธภูมินั้น ผู้เขียนจะวิเคราะห์มีข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ และหลักฐานเอกสารดิจิทัลเพื่อระบุเหตุผลที่แท้จริงคำตอบนั้น จะไม่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับนักวิชาการพระพุทธศาสนาที่เขียนไว้เผยแพร่ไว้เพราะเนื้อหาของพุทธศาสนานั้นหากเราเขียนเชิงวิชาการมากเกินไป ผู้สนใจอ่านแล้วจะเข้าใจยากและเนื้อหาไม่ตรงกับความฝันของผู้อ่าน ก็จะได้รับการตอบรับจากผู้อ่านน้อยมากเพราะจิตใต้สำนึกของผู้อ่านส่วนใหญ่ มักมีอาการของตัณหาในความอยากมี อยากเป็น อยากได้ซ่อนอยู่ในจิตใจทั้งนั้น ตามความฝันที่อยากพบความสำเร็จในชีวิตเมื่อผู้เขียนตั้งสติระลึกถึงเหตุผลว่าทำไมคำตอบจึงเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนจึงตัดสินใจเขียนบทความปรัชญาแดนพุทธภูมิ โดยยึดสาระสำคัญของงานเผยแผ่ของพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เป็นหลักมีรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานเอกสารดิจิทัล เพื่อหาเหตุผลของคำตอบที่มีจุดเริ่มจากความสงสัยในประเด็นหนึ่งประเด็นใดไว้ก่อน จากนั้นผู้เขียนคิดวิเคราะห์ข้อมูลจากการที่มาของความรู้จากพยานเอกสาร และพยานวัตถุ พยานบุคคลคำตอบที่ได้จากการวิเคราะห์นั้นจะผ่านเกณฑ์การตัดสินความรู้ที่สมเหตุสมผลและปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ