The author's philosophical Ideas
(แนวคิดเชิงปรัชญาของผู้เขียน)
โดยทั่วไป ผู้เขียนก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีองค์ประกอบของชีวิต ที่ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับทุกคนทั่วไป ที่เป็นนักคิดโดยธรรมชาติ เมื่อผู้เขียนรู้สิ่งใดก็จะคิดจากสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เขียนได้ยินเรื่องเจ้าชายสิทธ้ตถะตัดสินพระทัย หลบหนีออกจากพระราชวังกบิลพัสดุ์ เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต ผู้เขียนก็เกิดความสงสัยว่า อะไรเป็นปัจจัยทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต เป็นต้น การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและทรงเผยแผ่คำสั่งสอนของพระองค์ ทำให้มนุษย์รู้ว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรูู้สิ่งต่าง ๆ และมีอคติต่อผู้อื่นเนื่องจากความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชังและความรัก เป็นต้น ทำให้ชีวิตของพวกเขาเต็มไปด้วยมืดมน เพราะชีวิตของพวกเขาขาดปัญญาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิ หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษที่เรียกว่า "ญาณ" เป็นต้น
ในสมัยพุทธกาลพราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ นักปรัชญา เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พวกเขาก็จะคิดจากเรื่องนั้น โดยแสดงทัศนะของตนตามหลักเหตุผล และคาดคะนความจริงอย่างนี้ว่า "อัตตา" โลกเที่ยง เป็นต้น นักตรรกะ นักปรัชญาแสดงทัศนะของตนเองมักจะใช้เหตุผล เมื่อคิดแล้วเป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจ พวกเขามักจะใช้เหตุผลอธิบายสิ่งที่ตนคิดได้ให้ตนเองฟังหรือคนอื่นฟัง เพื่ออธิบายเจตนาที่จะกระทำความดีหรือความชั่วของตน เหตุใดเราจึงพูดเช่นนั้นไป ?เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์คือ มีอายตนะภายในร่างกาย ที่มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในป่าที่ห่างไกลถ้ำ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาคาร สถานที่ซ่อนเร้น เป็นต้น นอกจากนี้มนุษย์ยังมีแนวโน้มที่จะมีความคิดที่เห็นแก่ตัวมักมีอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมนุษย์มืดมน ขาดความสามารถคิดโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ด้วยตนเองต้องอาศัยผู้อื่นตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กมีความกลัวพ่อแม่มักจะปกป้องและให้คำแนะนำตลอดเวลา เมื่อพวกเขาโตขึ้นและไปโรงเรียน ครูจะเป็นผู้รับผิดชอบสอนในการสอนของพวกเขา จึงมักชอบศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นชีวิตและมีบุคลิกเป็นของพวกเขา ไม่มีใครคิดเหมือนเราหรือเราคิดต่างจากพวกเขา มนุษย์ทุกคน จึงสร้างอัตลักษณ์จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอารมณ์อยู่ในจิตใจของตนเอง เมื่อพวกเขามีหลักฐานทางอารมณ์เพียงพอแล้ว พวกเขาก็ใช้หลักฐานนั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น แต่ธรรมชาติของมนุษย์คือ พวกเขาเกิดมาโดยขาดความรู้เกี่ยวกับความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัตถ์ พวกเขาจึงไม่สามารถแยกแยะระหว่างเรื่องราวที่เข้ามาในชีวิตของพวกเขา เช่น จริงหรือเท็จ บาปหรือบุญ กรรมดีหรือกรรมชั่ว ความจริงที่สมมติขึ้นหรือความจริงขั้นปรมัตถ์ สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น
ตามหลักปรัชญา เมื่อนักปรัชญาได้ยินความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งพวกเขาจะไม่เชื่อทันที จะสงสัยไว้ก่อน และชอบแสวงหาความรู้ทางปรัชญาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อไป นักปรัชญาจะเน้นการสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น แล้วนำความรู้จากคำตอบในเรื่องนั้นมาใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกเส้นทางแห่งความก้าวหน้าในชีวิตของตนเอง เมื่อมนุษย์มีตัณหาต่างกันและซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจของแต่ละคนไม่มีใครจะรู้จนกว่าจะแสดงเจตนาในการกระทำของตนเพื่อแสวงหาสิ่งที่จะสนองความต้องการของตนเอง
ส่วนเหตุผลและปัจจัยในการเขียนปรัชญาในดินแดนของพระพุทธเจ้านั้น เพราะผู้เขียนต้องแสดงอัตลักษณ์ทางปรัชญาของผู้เขียนเองที่มีทัศนะต่อโลก มนุษย์ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทัศนะต่อเทพเจ้าตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ เป็นเพียงการนำเสนอปัญหาความจริงในเรื่องต่าง ๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้นผู้คนในสังคมทั่วโลกต่างศึกษาค้นคว้าและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ เป็นปัญหาที่มนุษย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเองเพราะมนุษย์ย่อมมีเหตุผลในการกระทำของตนเสมอ
โดยธรรมชาติของผู้เขียนก็เหมือนมนุษย์ทั่วไป ที่มีจิตใจอาศัยร่างกายและใช้ร่างกายรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อผู้เขียนรับรู้ถึงอารมณ์เหล่านี้ผู้เขียนก็จะสั่งสมอารมณ์เหล่านี้ไว้ในจิตใจ และใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์และให้เหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงของเรื่องเหล่านั้น เมื่อปรัชญาคือความรู้ของนักปรัชญาและต้นกำเนิดความรู้เกิดขึ้น เมื่ออายตนะภายในของร่างกายของนักปรัชญาเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังที่เกิดขึ้น จิตของนักปรัชญาเก็บอารมณ์ดังกล่าวไ้ว้เป็นหลักฐานในจิตใจ เมื่อนักปรัชญาวิเคราะห์หลักฐาน แต่ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
นักปรัชญาจึงสงสัยในข้อเท็จจริงนั้นและต้อง การค้นคว้าเรื่องนี้เพิ่มเติม โดยสืบเสาะหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติม จากนั้นจึงวิเคราะห์หลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นนั้น เมื่อผลการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมแล้ว นักปรัชญาสามารถใช้เหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบ และจะนำเสนอปัญหาของความจริงต่อสังคม เมื่อความจริงถูกเปิดเผยต่อสังคม คำตอบก็จะมีทั้งข้อโต้แย้งที่เห็นด้วย และที่ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของนักปรัชญาเป็นหน้าที่ของบุคคลนั้นที่จะต้องหาหลักฐานเพิ่มเติม มาหักล้างความจริงของคำตอบของนักปรัชญาคนนั้น ปัจจุบันวิถีชีวิตของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไป ตามองค์ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อสนองความอยากรู้ของมนุษย์เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตให้มีความชำนาญในการใช้พลังความคิด วิเคราะห์ข้อมูลวิชาการต่าง ๆ จนสามารถสร้างเทคโนโลยี่ด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น