ประการที่ ๑๐
the use of Reason as a tool of philosophy explains Buddhaphumi 's philosophy)
คำสำคัญ เหตุผล เครื่องมือ ปรัชญา อธิบาย
บทนำ ความเป็นมาของการใช้เหตุผล
โดยทั่วไป ปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ที่ใช้เหตุผลถ่ายทอดความรู้ออกมาจากจิตใจของมนุษย์ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอาตนะภายในร่างกายและสั่งสมไว้ในจิตใจของตนเอง แต่ธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์นอกจากรับรู้และเก็บอารมณ์ต่าง
ๆ เท่านั้น จิตใจยังมีธรรมชาติในการคิด เมื่อรู้สิ่งใดย่อมคิดจากสิ่งนั้นโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ แต่ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและมีความลำเอียงต่อผู้อื่นเนื่องจากความโง่เขลา ความรัก ความเกลียด และความกลัว เป็นต้น ทำให้ชีวิตของพวกเขามืดมน เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะ นักปรัชญามักแสดงทัศนะของตนตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง เป็นต้น ก็ย่อมมีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง การใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง การใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง
เขียนปรัชญาพุทธภูมิ เมื่อนักปรัชญาตะวันตกยกย่องปรัชญาเป็นมารดาแห่งศาสตร์ทั้งปวง แต่สำหรับชาวตะวันออกอย่างผู้เขียนแล้วถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระบิดาแห่งปัญญาของโลกส่วนใครจะรู้ก่อนหรือรู้ตาม ก็ต้องไปศึกษาประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการแนวคิดของนักตรรกะและนักอภิปรัชญา ที่เกิดขึ้นตั้งสมัยก่อนพุทธกาลในยุคของศาสนาพราหมณ์ แต่ปรัชญาในยุคศาสนาพราหมณ์นั้น ไม่ว่าเราอ้างเหตุผลขึ้นมาอย่างไรในการอธิบายความรู้ที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาหรือปรัชญาก็ตาม ความรู้ของศาสตร์ทั้งมวลเป็นของมนุษย์ เมื่อความรู้สำหรับการศึกษาหลายแขนงนั้น ก็พัฒนามาจากแนวคิดของนักปรัชญา ที่สงสัยความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว เขาก็จะสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ แล้วนำหลักฐานนั้นมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ เช่น ความสมเหตุสมผล คำตอบจะเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น เพื่อให้คนเกิดที่หลังสามารถศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ต่อไป
ส่วนพระพุทธศาสนานั้น เป็นภูมิปัญญาของโลกโดยพื้นฐานของความรู้โดยทั่วไปนั้น เป็นความรู้ของมนุษย์ทั้งสองสาขาวิชา บ่อเกิดความรู้มาจากมนุษย์ที่มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น โลกมนุษย์เต็มไปด้วยความคิดชั่วร้ายของมนุษย์ที่แสดงตัวออก เพื่อหลอกลวงผู้อื่นและร่วมกันเอาเปรียบมนุษย์ด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด โดยอาศัยความโง่เขลาของผู้อื่นที่ไม่มีสติ จนไม่สามารถระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองได้ผู้เขียนตั้งใจที่จะเขียนบล็อคเกี่ยวกับปรัชญาแดนพุทธภูมิ โดยใช้กระบวนการคิดของปรัชญา ที่แบ่งเป็นสาขาอภิปรัชญา ญาณวิทยาและจริยศาสตร์ โดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะอธิบายข้อเท็จจริงจากหลักฐานในเรื่องนั้น ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสตร์ที่มีโครงสร้างทางวิชาการที่ชัดเจน และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่าง ๆ ได้ เมื่อเราวิเคราะห์หลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าผลลัพท์ก็เหมือนกัน
![]() |
การเขียนบทความในปรัชญาพุทธภูมิ เริ่มจากความสงสัยของผู้เขียนเกี่ยวกับปัญหาความจริงของชีวิตมนุษย์ ผู้เขียนสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากที่มาของความรู้ในเอกสารหลักฐาน พยานบุคคลและหลักฐานวัตถุ เพื่อวิเคราะห์ลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงของสาระสำคัญของชีวิตมนุษย์คืออะไร เมื่อได้ข้อเท็จจรงเป็นความจริง ไม่มีข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไป และเผยแผ่ความรู้ที่เป็นจริงในรูปบทความทางวิชาการต่อไป เมื่อผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับแก่นแท้ชีวิตตนเองและผู้อื่น เราสามารถเข้าใจกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ได้ เพราะแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ทุกคน ย่อมเป็นไปตามกฎธรรมชาติเดียวกัน นอกจากทัศนคติจะเป็นไปตามความอยากของตัวเอง เมื่อสนใจในสิ่งที่ชอบ จะมีคนที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจกี่คนส่วนใหญ่เรียนรู้เพื่อที่จะรู้เท่านั้น
จุดประสงค์ของผู้เขียนในการเขียนบล็อคเกี่ยวกับปรัชญาแดนพุทธภูมิ เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีความรู้ญาณวิทยาในการวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่น่าสงสัย และสามารถนำความรู้ทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาศักยภาพชีวิตอย่างมั่นใจ และมีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขท่ามกลางความทุกข์จากปัญหาที่เกิดขึ้น รู้จักปล่อยวางความสำเร็จในการรีบทำงาน และยึดติดในชื่อเสียงมากเกินไป และเรียนรู้วิธีนั่งสมาธิเพื่อลดแรงกดดันของจิตใจจากการทำงานให้ทันกับการแข่งขันทางธุรกิจ พวกเขามีความสุขในการทำงานมากขึ้น เพราะพวกเขามีเหตุผลในการตัดสินใจและมีสติมากขึ้นดังนั้นจึงมีทางออกที่ชัดเจน ในการแก้ปัญหาด้วยซื่อสัตย์สุจริตในเป้าหมายการงานและชีวิต การมีจิตใจที่มั่นคงไม่หวั่นไหวด้วยเหตุอื่นใดที่ทำให้เขาตัดสินใจอย่างไม่ยุติธรรมและมีอคติใหน้าที่ ย่อมรับความคิดเห็นที่ต่างกันและเรียนรู้จากกันและกันมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผู้คนหันมาปฏิบัติธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น