The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ปัญหาความจริงเกี่ยวกับวรรณะในพระไตรปิฎก

  ปัญหาความจริงเกี่ยวกับวรรณะในพระไตรปิฎก ( The  problem of the truth about the  caste   in Tripitaka)


๑.บทนำ
  
          โดยทั่วไป    ชาวพุทธทั่วโลกได้ยินเรื่อง "วรรณะ"           ในอนุทวีปอินเดียมาอย่างน้อย  ๒,๕๐๐ ปี จากหลักสูตรพุทธศาสนาและปรัชญาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกหรือ จากพระภิกษุเถรวาทและมหายาน ที่เทศนาในวัดต่าง ๆ ทั่วโลก   เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงนี้แล้ว ชาวพุทธส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นความจริงโดยปริยาย  และโดยไม่ต้องสงสัยข้อเท็จจริงอีกต่อไป มีหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริงของเรื่องนี้  อยู่ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณหลายเล่ม

         เนื่องจากชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝนให้พึ่งพาตนเอง และแก้ไขความทุกข์ โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และไม่กังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต    พวกเขาจึงมักปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุพระอรหันต์ หรือพุทธภาวะด้วยการทำสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์และไม่ลำเอียงต่อผู้อื่น    จะมีผลให้เกิดความไม่มีทุกข์  มีจิตใจอ่อนโยน  เหมาะสมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสงบสุข ตามหลักศีลธรรมและกฎหมาย มีอุดมการณ์มั่นคงในการปกป้องชาติ        ศาสนาและพระกษัตริย์ด้วยชีวิตของตนเอง ไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิยุติธรรม และมีสติในการปฏิบัติด้วยความรอบคอบระมัดระวังเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสำเร็จผล  เป็นต้น   
                                                  
 ๒.ประเภทความจริงในอภิปรัชญา   

          โดยทั่วไป    คนบางกลุ่มเป็นนักปรัชญา
นักตรรกะ ซึ่งมีความสนใจในการศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การมีอยู่ของเทพเจ้า  เป็นต้น ทำไมนักปรัชญาจึงสนใจปัญหาเหล่านี้ ?   เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายที่สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าในชีวิตได้อย่างจำกัด  และมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่น  ทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยความมืดมน  ขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิต   เมื่อนักปรัชญา นักตรรกะเหล่านี้แสดงความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   โดยใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา นักตรรกะเอง บางครั้งใช้เหตุผลถูกบ้าง  บางครั้งใช้เหตุผลผิดบ้าง  บางครั้งใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง  เป็นต้น

         ตัวอย่างเช่น ในสมัยพุทธกาล  พราหมณ์บางคนในอนุทวีปอินเดียเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา แสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงอย่างนี้ว่า อัตตา โลกเที่ยง  เป็นต้น  หรือ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญาจึงแสดงธรรมะตามปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผล หรือคาดคะเนความจริงในเรื่องนั้นโดยการใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ  เป็นต้น 

       เช่น กรณีเรื่องชีวิตของมนุษย์ทุกคนมาต้องตาย เป็นความรู้ที่มนุษย์รับรู้ได้ผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจ  เมื่อนักตรรกะและนักปรัชญาในสมัยพุทธกาลได้วิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์เหล่านั้น โดยแสดงปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงว่า "อัตตา"   
    
            ดังนั้น เมื่อนักปรัชญาได้ยินเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต  ก็มีทั้งเรื่องราวที่พวกเขารับรู้ได้ด้วยอายตนะภายในร่างกาย และเรื่องราวที่พวกเขาไม่สามารถรับรู้ด้วยอายตนะภายในร่างกายได้   เนื่องจากนักปรัชญาเป็นมนุษย์ที่มีการรับรู้จำกัดและมักมีอคติต่อผู้อื่น  ชีวิตเต็มไปด้วยความมืดมน    แม้ว่าพวกเขาจะมีความสามารถคิดโดยใช้เหตุผลของคำตอบตามเชาวน์ไวในการกล่าวแก้หรือ โต้ตอบ เป็นต้น ได้ฉับพลันทันทีและแยบคายที่เรียกว่า "ปฏิภาณ" ก็ตาม  คำตอบจากการคิดของพวกเขานั้นเป็นความจริงที่ไม่สมเหตุสมผล  บางครั้งก็ใช้เหตุผลผิดบ้าง ถูกบ้าง  บางครั้งก็ใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง  เป็นอย่างนี้บ้าง  

          เมื่อข้อเท็จจริงของคำตอบของเรื่องนั้นไม่แน่นอนว่าความจริงเป็นอย่างไร ผู้คนในสังคมย่อมสงสัยในข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นตลอดเวลา  แต่นักปรัชญาชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นต่อไป เพื่อแสวงหาความจริงอันเป็นที่สิ้นสุดเกี่ยวกับเรื่องนั้น  

          ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ  เราเคยได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในยุคทองของศาสนาพราหมณ์นั้น พราหมณ์อารยันสอนเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้า (god) ในขณะที่พราหมณ์มิลักขะสอนเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทวดา  ซึ่งเป็นความรู้อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของพวกเขา แม้ว่าชาวอนุทวีปจะไม่มีความรู้โดยตรงเกี่ยวกับเทพเจ้าและเทวดา  แต่พวกเขาก็ยังเชื่อว่ามีเทพเจ้าและเทวดา ที่สามารถให้ผลบุญและลงโทษพวกเขาได้ ตามคำสอนของปุโรหิตพราหมณ์ (advisor to the King) ซึ่งถือเป็นที่ปรึกษาของมหาราชาและผู้อาวุโสของประเทศ  ชาวสักกะไม่ควรหาเหตุผล  เพื่อโต้แย้งหรือหักล้างคำสอนของปุโรหิตพราหมณ์เหล่านั้น  เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงนี้ เราจะเห็นชัดเจนว่าความรู้ของมนุษย์มีทั้งความรู้ทางประสาทสัมผัสและความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ ดังนั้น ตามหลักอภิปรัชญาของคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณนั้น เราจึงแบ่งความจริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าออกเป็น ๒ ประเภท คือ 
                                                 
     ๒.๑ ความจริงที่สมมติขึ้น  (fictitious reality) โดยทั่วไป มนุษย์มักอยู่ร่วมกับ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง  จากนั้นภาพของสิ่งเหล่านั้นก็จะหายไปในอากาศ อย่างไรก็ตาม  ก่อนที่สภาวะเหล่านั้นจะหายไปจากสายตามของมนุษย์นั้น จิตใจของมนุษย์สามารถใช้อายตนะภายในร่างกาย รับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น และเก็บอารมณ์เหล่านั้นไว้เป็นหลักฐานในจิตใจ   จากนั้นจิตใจของมนุษย์ก็ใช้อารมณ์เหล่านั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการคาดคะเนความจริงจากอารมณ์เหล่านั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง  โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ๆ   แต่ได้รับข้อเท็จจริงของคำตอบยังไม่ชัดเจน  เพราะข้อจำกัดในการรับรู้ของมนุษย์และความคิดลำเอียงต่อผู้อื่น   ทำให้ชีวิตมนุษย์มืดมน จึงไม่สามารถคิดตามหลักเหตุผลหรือการคาดคะเนความจริงผิดบ้าง  ถูกบ้าง        

           ดังนั้น ความจริงที่สมมติ ก็คือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น   ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง  และสภาวะนั้นก็หายไปจากการรับรู้ของอายตนะภายในร่างกายของมนุษย์   และเป็นสิ่งที่มนุษย์ตกลงยอมรับกันเองโดยปริยายโดยไม่คำนึงสภาวะที่แท้จริงเช่น สมมติเทพ   หรือ  เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนลุมพินีในสมัยราชวงศ์ศากยะหลังจากประสูติแล้ว พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่อีก ๘๐  ปี แล้วหายไปจากโลกมนุษย์  เนื่องจากพระชนม์ชีพของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชั่วระยะเวลาหนึ่งคือ ๘๐ ปีและสูญสิ้นไปจากโลกมนุษย์    ก่อนพระองค์จะสวรรคต  เจ้าชายอานนท์ซึ่งเป็นมนุษย์และพระญาติของพระองค์ สามารถรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าชายสิทธัตถะด้วยประสาทสัมผัส และสั่งสมเรื่องราวเป็นอารมณ์อยู่ในจิตของท่านได้  ถือว่าเจ้าชายสิทธัตถะเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น

           อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์    ก็คือการคิดจากหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ วิเคราะห์หลักฐานโดยการอนุมานความรู้ และหาเหตุผล มาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เมื่อความจริงของคำตอบสมเหตุสมผล โดยไม่สงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นก็ถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น   เมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่น ภูเขาไฟระเบิด  น้ำท่วมภาคใต้ของประเทศไทย ฟ้าผ่าในต่างประเทศ  ปรากฏการณ์เหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะถูกนักวิชาการสมมติชื่อขึ้นและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  เป็นต้น       เมื่อ"มนุษย์" ทุกคนเกิดมาจากปัจจัยทางร่างกาย และจิตใจที่รวมเข้าด้วยกันในครรภ์มารดา กลายเป็นทารก     จากนั้นก็เกิดมาจากครรภ์มารดา และได้รับชื่อและนามสกุลเป็นมนุษย์ใหม่ มีชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตายไป การเป็นมนุษย์ ทุกคนสามารถรับรู้ได้ผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมเป็นอารมณ์ในจิตใจของมนุษย์  มนุษย์จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น  เป็นต้น 

     ๒.๒.สัจธรรม  หรือเรียกว่า "ความจริงขั้นปรมัตถ์" คือความจริงอันถึงที่สุด ที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ดวงวิญญาณของมนุษย์ออกจากร่างไปเกิดในภพอื่น อาจเป็นสุคติภูมิคือดินแดนที่เกิดแล้วมีความสุขความสบาย หรือสวรรค์  เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นกับกรรมที่แสดงออกมานั้นเป็นกายทุจริต วจีทุจริต หรือมโนทุจริต หรือ ทุคติภูมิคือดินแดนที่เกิดแล้ว มีความทุกข์หรือนรก เป็นต้น ขึ้นอยู่กับกรรมทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์นั้น 

           โดยทั่วไป มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงขั้นสูงสุดได้ สาเหตุมาจาก มนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อยู่ห่างไกล เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวพุธ เป็นต้น หรือเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นไกลเกินขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์   นอกจากนี้ มนุษย์ก็มักมีอคติต่อกัน ทำให้ชีวิตของพวกเขาต้องมืดมิด เมื่อมีสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเองแล้ว จึงขาดศักยภาพชีวิต ไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตได้  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นพวเขามักจะให้เหตุผลถูกบ้าง ผิดบ้าง  มักจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมูลค่าหลายแสนล้านบาทในแต่ละปี 

      ในยุคปัจจุบัน แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตขึ้นมาทำให้คนทั่วโลกสามารถส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต และสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้มนุษย์ค้นหาความจริงในสิ่งที่ผู้คนกำลังสงสัย  ด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ  เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ก็จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เมื่อได้รับผลการวิเคราะห์แล้ว จิตใจของนักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เกี่ยวข้องจะประเมินค่าของผลการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ๆ  และใช้ข้อมูลนั้นในการแก้ปัญหาความสงสัยนั้น    

               เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้วได้ฟังข้อเท็จจริงว่าพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์ด้วยทางสายกลาง แล้วบรรลุญาณในระดับ "อภิญญา" และได้เป็นพระพุทธเจ้า ความจริงในเรื่องนี้  ถือเป็นความรู้ที่เกินขอบเขตของการรับรู้ของมนุษย์มีเพียงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์เท่านั้นที่จะบรรลุได้ และต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาศักยภาพในชีวิต จึงจะบรรลุสัจธรรมของชีวิตได้ ตามหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่า"อสังขตธรรม" ซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งอื่นได้ มนุษย์สามารถบรรลุความจริงนี้ได้ด้วยตนเองโดยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น จึงจะบรรลุความรู้ในระดับอภิญญา เช่น สภาวะนิพพาน เป็นต้น 
 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวรรณะในพระไตรปิฎก 

            เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เอกสารวิชาการ และบทความในเว็บไซต์ต่าง ๆแล้วจึงได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีก่อน  การบูชาพระพรหม พระอิศวรและเทพเจ้าอื่น ๆ  ก่อให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลแก่พราหมณ์ จนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองระหว่าง ๒  เผ่าพันธ์คือชาวอารยันและมิลักขะ   ระบบวรรณะถูกสร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง  การศึกษา การปกครองประเทศและการบูชาในศาสนาพราหมณ์นิกายของมิลักขะเพื่อทำให้ชาวมิลักขะอ่อนแอ  โดยอ้างความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่ว่า  เมื่อพระพรหมทรงสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์เอง พระองค์ก็ทรงสร้างวรรณะต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้น ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา  เมื่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะได้บัญญัติคำสอนของพราหมณ์อารยันเกี่ยวกับวรรณะนี้ ให้เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ โดยมีเงื่อนไขตามกฎหมายวรรณะว่า ห้ามมิให้บุคคลมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลในวรรรณะอื่น และห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น มีหลักฐานชัดเจนในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ 

          กล่าวคือในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโกลิยะ    สมัยนั้นกล่าวกันว่าอาณาจักรโกลิยะเป็นดินแดนที่ผู้คนจากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่  เช่น ชาวอารยันและชาวมิลักขะ เป็นต้น อาณาจักรโกลิยะเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด   ในน้ำมีปลาให้ผู้คนบริโภคตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ชาวโกลิยะขยันปลูกข้าวตลอดทั้ง และสามารถส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศได้  พวกเขาเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันที่ว่า เทพเจ้าหลายองค์สามารถช่วยให้ผู้คนบรรลุความปรารถนาในชีวิตได้   ส่วนชาวมิลักขะเชื่อในคำสอนของพราหมณ์มิลักขะว่าเทวดาก็ช่วยให้ผู้คนบรรลุความปรารถนาในชีวิตได้เช่นกัน โดยการสังเวยของมีค่าต่าง ๆ  ที่พราหมณ์ต้องใช้ในพิธีกรรมเหล่านี้   หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว พวกเขาจะมอบเครื่องบูชาให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพราหมณ์    ช่วยให้พราหมณ์นิกายต่าง ๆ ได้รับรายได้จากพิธีกรรมมากขึ้น มีฐานะร่ำรวยและได้รับการยอมรับจากสังคม  เป็นต้น  

          เมื่อการบูชาเทพเจ้าและเทวดาของพราหมณ์ เป็นบทบาทหน้าที่ต่อประชาชนในประะเทศ เพื่อช่วยให้พวกเขาพ้นจากความทุกข์ทางจิตใจ และสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้กับพวกพราหมณ์ทุกนิกาย  พวกพราหมณ์อารยันโลภมาก และต้องการผลประโยชน์จากการบูชาเพียงกลุ่มเดียว และมีอคติต่อพราหมณ์ดราวิเดียน พวกเขาจึงต้องการที่จะผูกขาดการบูชา      และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพราหมณ์อารยันเพียงกลุ่มเดียว  พวกเขาไม่ต้องการให้พราหมณ์มิลักขะมีหน้าที่บูชาเทวดาอีกต่อไป เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาทางการเมือง เมื่อพราหมณ์อารยันบูชาพระพรหมและพระอิศวรแล้ว มหาราชาแห่งแคว้นสักกะก็ทรงประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศ และมีความศรัทธาในพราหมณ์อารยันผู้นั้น พระองค์จึงทรงแต่งตั้งพราหมณ์อารยันเป็นปุโรหิต ที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย จารีตประเพณีแและขนบธรรมเนียม   เป็นต้น 

                เมื่อปุโรหิต (priesthood) สืบหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางสังคมในแคว้นสักกะ เมื่อวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้    เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้  แม้ว่าพราหมณ์มิลักขะจะไม่มีอำนาจทางการเมืองในแคว้นสักกะ    แต่พราหมณ์มิลักขะก็ยังมีอิทธิพลต่อชาวสักกะได้เพราะยังสามารถทำพิธีบูชาเทวดาให้ชาวสักกะได้ เมื่อประสบความสำเร็จในชีวิต     ชาวสักกะจำนวนมากก็ศรัทธาในพราหมณ์มิลักขะ  หากในอนาคต พราหมณ์อารยันทำพิธีบูชาพระพรหมและพระอิศวรให้กับมหาราชาของแคว้นสักกะแล้ว   พระองค์ทรงไม่ประสบความสำเร็จในการปกครรองประเทศ มหาราชาทรงอาจแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิต     เพื่อความมั่นคงและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในประเทศ  พราหมณ์ปุโรหิตในฐานะที่ปรึกษาของมหาราชาแห่งแคว้นสักกะ จึงได้คำแนะนำต่อสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ ให้ใช้คำสอนของพราหมณ์อารยันที่ว่า พระพรหมได้สร้างมนุษย์และวรรณะขึ้นเพื่อให้มนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของวรรณะที่ตนเกิดมา และห้ามมิให้มีการแต่งงานข้ามวรรณะ ซึ่งบัญญัติเป็นกฎหมายวรรณะของอาณาจักรสักกะ โดยแบ่งผู้คนในแคว้นสักกะออกเป็น ๔ วรรณะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมราษฎรในเมืองกบิลพัสดุ์   พระองค์ก็ทรงเห็นปัญหาจัณฑาล ที่ถูกสังคมลงโทษ   เพราะละเมิดคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ   โดยถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือนตลอดชีวิตและไม่สามารถกลับคืนสู่สังคมเดิมได้ พวกเขาต้องใช้ชีวิตบนท้องถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ แม้ว่าจะอยู่ในวัยชรา  เจ็บป่วย และเสียชีวิตบนท้องถนน เป็นต้น 
 .
              เหตุผลที่ระบบวรรณะในอาณาจักรสักกะไม่สามารถยกเลิกได้         เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องวรรณะแล้ว  ก็ยังคงไม่ชัดเจนเพราะผู้เขียนเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีความสามารถในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายและมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตจึงมืดมนและสงสัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของ"วรรณะ"  ตามหลักญาณวิทยาเกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ เมื่อใด นักปรัชญาอ้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ?     จะต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น แต่หลักฐานทางปรัชญาส่วนใหญ่  มักจะเป็นคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์    ตามทฤษฎีความรู้นั้น  นักปรัชญามุ่งศึกษาปัญหาต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์    บุคคลนั้นต้องรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในจิตใจเท่านั้น จึงจะถือเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ ซึ่งยืนยันข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นได้ 

            เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้ารัฐธรรมของยุคอินเดียโบราณจากหลักฐานในเว็บไซต์พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณใน https: //84000.org / tipitaka /attha/attha.php?b=32&i=1 โดยนำคำว่า "กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ" ใส่ในแอพพริเคชั่น เพื่อค้นหาข้อความในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ   ผู้เขียนไม่พบคำว่า "กฎหมาย" หรือ "รัฐธรรมนูญ"  แสดงว่าในสมัยพุทธกาล อาณาจักรต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ประกาศใช้เป็นมาตรฐานในการปกครองประเทศ เมื่อผู้เขียนนำคำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น คำว่า "นิติศาสตร์" เพื่อค้นหาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณทั้ง ๔๕ เล่ม พบว่า "ธรรมของกษัตริย์" หมายถึงนิติศาสตร์ซึ่งเป็นหลักการปกครองประเทศ   

          เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ    ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า  ในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ อาณาจักรต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อปกครองประเทศ       แต่กฎหมายฉบับนี้เรียกว่า "ธรรมกษัตริย์"  นักวิชาการพุทธศาสนาทั่วโลกชอบเรียกกฎหมายนี้ว่า "หลักราชอปริหานิยธรรม" ซึ่งเป็นหลักการสำหรับผู้บริหารในสมัยพุทธกาล อย่างไรก็ตาม "นักบริหาร" ในยุคอินเดียโบราณ ซึ่งมีหน้าที่ปกครองประเทศตามกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ก็หมายถึงวรรณะกษัติย์เท่านั้น ดังนั้น คำว่า "ธรรมของกษัตริย์  จึงหมายถึง "หลักราชอปริหานิยธรรม" ซึ่งถือเป็นหลักการปกครองประเทศ ซึ่งเทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรในปัจจุบัน และเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพราหมณ์อารยัน

            ประเดนที่ผู้เขียนสงสัยว่า เหตุใดเจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคมได้ โดยยกเลิกระบบวรรณะในรัชสมัยของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นสักกะได้  ทั้งที่พระองค์จะทรงเป็นรัชทายาทในอนาคตของอาณาจักรสักกะก็ตามเมื่อผู้เขียนศึกษา"หลักอปริหานิยธรรม" อันเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองอาณาจักรสักกะ ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ผู้เขียนตีความกฎหมายดังกล่าวที่เรียกว่า หลักอปริหานิยธรรม ในข้อที่๓. ที่กล่าวว่า.....จะไม่ตรากฎหมายที่ยังไม่ตราไว้ และไม่ทำให้กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วไร้ผล  ดังนั้น เมื่อรัฐสภาแห่งศากยวงศ์ได้ตรากฎหมายใดออกมาประกาศบังคับใช้ในแคว้นสักกะแล้ว ภายหลังจะยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองแคว้นสักกะ ตัวอย่างเช่น เมื่อรัฐสภาศากยวงศ์ได้ ใช้อำนาจนิติบัญญัติในการตรากฎหมายวรรณะจารีตประเพณีประกาศบังคับใช้แล้วต่อมาภายหลังจะลบล้างกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีของรัฐสักกะไม่ได้ เพราะขัดแย้งกับหลักอปริหานิยธรรมในข้อที่๓. บัญญัติไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า"จะไม่ลบล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว"เป็นต้น กฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้ในภายหลังที่กฎหมายรัฐประกาศใช้บังคับไว้จะมาโต้แย้งมิได้
 
        ดังหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ฑีฆนิกาย มหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตร. ข้อ ๑๓๔. กล่าวว่า......

        ๓. อานนท์เธอได้ยินไหมว่า "พวกวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ได้ยินว่า "พวกวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม"อานนท์ พวกวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม   
   
       ๔. อานนท์เธอได้ยินไหมว่า"พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือบูชาเจ้าวัชชี ผู้มีพระชนม์มายุมากของชาววัชชีและสำคัญถ้อย คำเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนม์มายุมากของชาววัชชีและสำคัญถ้อยคำเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง"อานนท์พวกวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกวัชชีสักการะ เคารพ นับถือบูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนม์มายุมากของชาววัชชีและสำคัญถ้อยคำเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง"
 
การวิเคราะห์ความจริงเรื่องวรรณะในพระไตรปิฎก  

            เมื่อผู้เขียนได้วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วได้ความจริงในเรื่องนี้ว่า แคว้นสักกะเป็นรัฐเอกราช มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง มีหลักราชอปริหานิยธรรมเป็นรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศ  แคว้นสักกะมีระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะะคือวรรณะกษัตริย์  วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น  เป็นรัฐศาสนาของพราหมณ์ เพราะคำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี     มีการบังคับใช้ตามกฎหมายที่ห้ามบุคคลใดปฏิบัติหน้าที่ในวรรณะอื่น และห้ามประชาชนแต่งงานระหว่างวรรณะ  แต่ชาวสักกะและแคว้นอื่น ๆ กลับเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ ไม่ได้รับการศึกษาผ่านระบบการศึกษาของประเทศและมีชีวิตที่อ่อนแอเพราะขาดการพัฒนาศักยภาพของชีวิต จึงไม่มีจิตสำนึกและสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เมื่อคนเราจึงมีชีวิตมืดมนและพวกเขามีราคะมาก  จึงขาดสติปัญญาที่จะจดจำผลแห่งการกระทำของตนเอง พวกเขาจึงกระทำผิดฐานละเมิดคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง จึงถูกลงโทษโดยการลงพรหมทัณฑ์จากคนในสังคมไปตลอดชีวิต ด้วยการขับไล่ออกสังคมไปตลอดชีวิตและเรียกคนเหล่านี้ว่า "จัณฑาล" เป็นต้น

        เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมชาวกรุงกบิลพัสดุ์ และพระองค์ทรงเห็นจัณฑาลที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนทั้ง ๆ ที่แก่แล้ว  บ้างก็ป่วย และบ้างก็นอนตายอยู่ข้างทาง นี่เป็นเพราะพวกเขากระทำผิดฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีโดยกระทำความผิดฐานแต่งงานระหว่างวรรณะ กฎหมายให้อำนาจแก่ประชาชนในสังคมในการสอบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายหรือพิสูจน์ความจริงของการฝ่าฝืนกฎหมาย และถูกตัดสินให้ขับไล่ออกจากสังคมไปตลอดชีวิต หากเขาดื้อดึงจะอยู่กับคนในครอบครัวอีกต่อไป ก็จะถูกคนในสังคมประทุษร้ายจนตาย จะต้องสูญเสียสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวรรณะจารีตประเพณี ไปตลอดชีวิต     และไม่สามารถกลับคืนสู่สังคมเดิมได้ 

          เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาคนจัณฑาล พระองค์ทรงพระกรุณาธิคุณช่วยให้พวกจัณฑาลมีสิทธิ และหน้าที่ในการประกอบอาชีพ การศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองประเทศ และประกอบพิธีทางศาสนาของตน เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยที่จะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน ซึ่งเป็นคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตที่เป็นประจักษ์พยานที่น่าเชื่อถือ และเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ประชาชนเคารพนับถือ เป็นต้น  เมื่อพระองค์ทรงได้ตรวจสอบข้อเท็จจากพยานหลักฐานได้ยินข้อเท็จจริงว่า พวกพราหมณ์ปุโรหิตให้การยืนยันว่า พระพรหมและพระอิศวร เป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของตนเอง และในอดีตพวกเขาเคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสถามเพิ่มเติมว่าพระพรหมและพระอิศวรมีความเป็นมาอย่างไร ไม่มีพราหมณ์คนใดตอบได้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัย  และไม่เชื่อการมีอยู่จริงของพระพรหมและพระอิศวร พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสนอกฎหมายยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการแบ่งวรรณะ แต่สมาชิกรัฐสภาแห่งแคว้นสักกะไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครอง ที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว พระองค์ชอบที่จะหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป

    ด้วยเหตุผลของข้อเท็จจริงดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจึงเชื่อว่า สาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคมได้ เนื่องมาจากการบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับการยกเลิกวรรณะนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารราชการอาณาจักรสักกะ ซึ่งเรียกว่า"ราชอปรินิยธรรม"มาตรา ๓ เป็นต้น 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬา ฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาตสูตร] ว่าด้วยทิฏฐิ๖๒ ข้อ ๔๒

1 ความคิดเห็น:

ส.ท อภิสิทธิ์ วงษ์ทอง 6606504318 กล่าวว่า...

ได้ความรู้ดีมากครับ พระไตรปิฎก.

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ