The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ปัญหาทางญาณวิทยาเกี่ยวกับวรรณะในพระไตรปิฎก

 Epistemological problems regarding castes in Tripitaka  

คำสำคัญ ญาณวิทยา  วรรณะ พระไตรปิฎกมหาจุฬา 


บทนำ          

                  โดยทั่วไปแล้ว  ชาวพุทธทั่วโลกมักได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวรรณะในอนุทวีปอินเดีย จากคัมภีร์พระพุทธศาสนา       หนังสือพุทธศาสนาและพระธรรมเทศนาของพระภิกษุตามวัดต่าง      ๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า  ๒,๕๐๐ ปีแล้ว     หลังจากชาวพุทธทั่วโลกได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องวรรณะแล้ว   ก็ยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริงโดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง        และรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ         เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบพิสูจน์ความจริงในเรื่องวรรณะนี้อย่างสมเหตุสมผล        แต่ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น  พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง      เราไม่ควรเชื่อทันทีว่าเป็นเรื่องจริง  เราควรสงสัยไว้ก่อน     จนกว่าจะได้รับการตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น  หากไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ความจริง  ข้อเท็จจริงนั้นก็ขาดความน่าเชื่อถือ  เพราะได้ยินข้อเท็จจริงจากพยานเพียงคนเดียว   ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ   โดยเนื้อแท้ มนุษย์มีอคติต่อผู้อื่นเพราะความรัก  ความเกลียดชัง ความกลัว   ความโง่เขลา  เป็นต้น     และอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกาย        ล้วนมีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง       อาจยืนยันข้อเท็จจริงโดยมีอคติด้านใดด้านหนึ่งในการพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น     ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาจึงไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและมันไม่สามารถเป็นจริงได้ เป็นต้น       การแก้ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของผู้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ตามหลักการญาณวิทยานักปรัชญาได้กำหนดทฤษฎีความรู้ไว้หลายประการ           ในการเขียนบทความนี้           ผู้เขียนใช้ทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยม เพื่อกำหนดความน่าเชื่อของพยานบุคคลว่า    จะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง และสั่งสมอารมณ์อยู่ในจิตใจของผู้นั้น"  ตามหลักการทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นั้นผู้เขียนตีความว่าพยานบุคคล ที่จะยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องที่เป็นจริงจะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองเท่านั้น จึงเป็นหลักฐานน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของนักปรัชญาได้       ตัวอย่าง     เช่นพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เป็นเอกสารที่เชื่อถือได้    เพราะ   พระอานนท์เป็นผู้อุปฐากของพระพุทธเจ้า      เป็นผู้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่ของพระพุทธเจ้าตลอด  ๔๕  พรรษาของพระองค์        เมื่อพระอานนท์ได้รับรู้การทรงงานเผยแผ่ของพระพุทธเจ้า  จนถึงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ   ดังนั้น อารมณ์ของการทรงงานเผยแผ่ของพระพุทธองค์  ย่อมเป็นหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของพระอานนท์  และติดตามไปทุกหนทุกแห่งในอนุทวีปอินเดีย       พระอานนท์พัฒนาศักยภาพชีวิตของตนด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุสัจธรรมเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก  พระอานนท์จึงถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธเจ้า         โดยการมุขปาฐะแก่พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป     จดจำพระธรรมและพระวินัยของพระพุทธเจ้าที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้   เป็นต้น  

              เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่า   สาเหตุที่ประชาชนในแคว้นสักกะ (Sakka country) และแคว้นโกฬิยะ  (koliya country) ถูกแบ่งออกเป็นวรรณะ    ก็เนื่องมาจากการบูชาเทพเจ้าที่สร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน       เมื่อพราหมณ์อารยันประกอบพิธีสักการะเทพเจ้าแล้ว     มหาราชาของอาณาจักรสักกะทรงประสบความสำเร็จในการบริหารบ้านเมือง  และแต่งตั้งพราหมณ์นิกายนั้นเป็นปุโรหิต (priest้hood)     คือพราหมณ์ที่ปรึกษาของมหาราชาในด้านกฎหมาย  ขนบธรรมเนียม  และจารีตประเพณี           ส่งผลให้พวกพราหมณ์อารยันต้องการผูกขาดการบูชาเทพเจ้าเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนฝ่ายเดียว  ในฐานะปุโรหิต (priesthood)  จึงถวายคำแนะนำต่อสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ควรตรากฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพื่อแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ      คือกษัตริย์  พราหมณ์ แพศย์ และศูทร เป็นต้น      เพื่อมั่นคงของประเทศที่เจริญรุ่งเรืองฝ่ายเดียว  เมื่อบัญญัติกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี        ที่มีสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้  ห้ามมิให้ประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะ  และห้ามประชาชนปฏิบัติหน้าที่วรรณะอื่น      เมื่อเกิดการสมสู่ข้ามวรรณะตามกฎหมายให้อำนาจคนในสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงกันเอง และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องเหล่านี้   โดยมีอำนาจไต่สวนลงโทษผู้กระทำผิดได้ด้วยการขับไล่ออกจากสังคมที่เป็นถิ่นพำนักของพวกเขาได้ต่อไปนี้ กฎหมายฉบับนี้จะถูกยกเลิกไม่ได้      เพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของประเทศ  

        เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า  "ปรัชญาคือหลักแห่งความรู้  และความจริง"  จากคำจำกัดความ       ผู้เขียนตีความว่า  ปรัชญาคือหลักการ หรือแก่นแท้ของความรู้ของมนุษย์    ซึ่งเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นอีกต่อไป  มันเกิดขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์       แล้วความรู้และความจริงเกี่ยวกับมนุษย์เป็นอย่างไร? เช่น เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับมนุษย์มีอะไรบ้าง?  เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ        เราพบว่าความรู้เกี่ยวกับมนุษย์นั้น    มีทั้งรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ และความรู้ที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์เกินกว่าที่มนุษย์จะรับรู้ได้        เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์   จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องของมนุษย์นี้           หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์นี้ ข้อเท็จจริงที่นักปรัชญากล่าวถึง   ขาดความน่าเชื่อถือและไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้  เป็นต้น      

              ตัวอย่างเช่น พวกพราหมณ์อารยันสอนชาวอนุทวีปอินเดียว่า   มนุษย์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมและพระอิศวร ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสเกินกว่าที่มนุษย์จะรับรู้ได้  แม้ชาวอนุทวีปอินเดียก็ไม่เคยรู้โดยตรงถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าเลยแต่พวกเขาก็ตกลงที่จะปฏิบัติตาม โดยถวายเครื่องบูชายัญตามคำสอนของพราหมณ์  เมื่อการบูชาเทพสร้างรายได้มหาศาลให้กับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของการบูชา และหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ชาวมิลักขะ เพื่อความมั่นคงทางการเมืองของชาวอารยัน  รัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ     จึงตราคำสอนของพราหมณ์อารยันเป็นกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะโดยอ้างว่า       พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา   ห้ามการแต่งงานระหว่างวรรณะ          และห้ามประชาชนปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่นแต่ประชาชนมีตัณหาราะและขาดสติปัญญาในการดำเนินชีวิต  จึงสมัครรักใคร่กับคนต่างวรรณะ      จึงถูกสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้     เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องการสมสู่กับคนต่างวรรณะ เป็นต้น  

              เมื่อปรัชญาเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักความรู้และความจริง       ในการศึกษาปัญหาญาณวิทยา เกี่ยวกับต้นกำเนิดของความรู้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ โลก ธรรมชาติ       และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า  เป็นต้น ในปัญหาความจริงของมนุษย์          ตามแนวคิดทางอภิปรัชญาศาสนา พราหมณ์    พวกพราหมณ์สอนว่าพรหมสร้างมนุษย์   และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของวรรณะของตนเอง   เมื่อวรรณะกษัตริย์เชื่อว่าพระพรหมมีอยู่จริง            ได้นำหลักคำสอนในเรื่องนี้ไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตว่าด้วยวรรณะตามคำแนะนำของพราหมณ์ปุโรหิต โดยมีบทลงโทษผู้ละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะด้วยข้อหาการแต่งงานข้ามวรรณะ   จะต้องถูกคนในสังคมลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นพำนักอาศัย       ไปอยู่ข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ตลอดชีวิต  เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นปัญหาจัณฑาล และดำริคิดจะช่วยให้พวกเขาพ้นจากความจัณฑาล มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคนวรรณะอื่น   แม้จะได้ยินข้อเท็จจริงข้างต้นว่าเป็นความจริง            แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงสอนมิให้เชื่อข้อเท็จจริงทันที    ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนยังมิใช่ความจริง    จนกว่าจะมีพยานหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้    

              ญาณวิทยาเกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์     บางคนก็เรียกว่า "ทฤษฎีความรู้"        ญาณวิทยามีความสนใจศึกษาปัญหาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์   โครงสร้างหรือองค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์  วิธีการของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ ความสมเหตุสมผลของความรู้  ญาณวิทยามีหน้าที่ตอบคำถามนั้นว่า  "เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นเรื่องจริง  เป็นต้น  เมื่อความรู้ทางญาณวิทยาคือความรู้ของมนุษย์  

             ๑.ปัญหาคือมนุษย์เป็นต้นกำเนิดความรู้ได้อย่างไร?โดยทั่วไปแล้ว   ตามทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยมให้นิยามแนวคิดที่ว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์    จะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเท่านั้น และสั่งสมอยู่ในใจของตนเอง "   จึงถือว่าบุคคลนั้นเป็นพยานหลักฐานสามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องโลก ชีวิตมนุษย์       ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและข้อพิสูจน์การเป็นอยู่ของเทพเจ้าได้ หากบุคคลไม่มีความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง     ก็ไม่สามารถเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้        กล่าวโดยสรุปการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่อง    ต้องมีหลักฐานยืนยันหรือพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น   เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ         แผนที่อินเดียโบราณของอนุทวีปอินเดีย,และแผนที่โลกของกูเกิล   ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ว่า อาณาเขตของอนุทวีปภายนอกที่เรียกว่า  ปัจจันตชนบทเป็นที่ตั้งของรัฐสักกะ รัฐโกลิยะ  รัฐโกศล ฯลฯ     เป็นที่พำนักของชาวอารยันและชาวมิลักขะซึ่งรัฐเหล่านี้มีระบอบการปกครองแบบรัฐศาสนาของพราหมณ์    เพราะรัฐสภาแห่งรัฐโกลิยะและรัฐสักกะรับเอาคำสอนของพราหมณ์    ตราเป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศที่เรียกว่า หลักอปรินิยธรรมซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณี  ที่เทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรในสมัยปัจจุบัน  เมื่อมีการตรากฎหมายใด ๆ แล้ว  จะไม่สามารถยกเลิกได้เพราะขัดต่อกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุด      เมื่อประชาชนทั่วอนุทวีปอินเดียเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์อารยันและดราวิเดียนว่าเทพเจ้า  และเทวดา     ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้    ในยามมีความทุกข์มักจะไปหาพราหมณ์สำนักที่พวกเขาเคารพนับถือ         เพื่อทำการเซ่นสังเวยเทพเจ้า      ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคนั้น  

                สาเหตุการแบ่งวรรณะ           การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอนุทวีปอินเดียของชาวอารยัน      ต้องทำสงครามกับชาวดราวิเดียนซึ่งเจ้าของท้องถิ่นเดิม   แม้พวกเขาจะมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งนี้         การอำนาจทางศาสนาพราหมณ์ยังเป็นของชาวดราวิเดียน มหาราชา   ในแต่ละปีพราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียนได้ประโยชน์จากการถวายเครื่องบูชายัญที่มีมูลค่าสูงเช่น โค แพะ  แกะ   ข้าวหลายพันตัน เมล็ดพันธุ์ อัญมณี และเครื่องประดับอื่น ๆ ในการทำพิธีบูชายัญ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่พราหมณ์ผู้ทำพิธีกรรมบูชายัญจะเรียกร้องเอาเครื่องบูชายัญเหล่านี้เมื่อทำพิธีเสร็จ  เครื่องบูชาเหล่านี้ตกเป็นพราหมณ์       ผู้ทำพิธีสร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน     เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคมของแคว้นต่าง ๆ เป็นเช่นนี้    ทำให้เกิดการแย่งผลประโยชน์จากการบูชายัญระหว่างพราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน    และหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการบูชายัญซึ่งกันและกัน  ดังนั้นเมื่อพราหมณ์อารยัน    ได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตที่ปรึกษากษัตริย์ในด้านขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี   จึงเสนอนำคำสอนของพราหมณ์อารยันไปบัญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียนในการบูชาเทวดา     และบัญญัติไว้แล้วต่อมาภายหลังจะยกเลิกกฎหมายนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามหลักปริหานิยธรรม  ซึ่งเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ     ทำให้แคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียกลายเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ เพราะประชาชนเชื่อคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า    พรหมและอิศวรเป็นเทพเจ้ามีอยู่  และพวกเขาสามารถติดต่อกับเทพเจ้า    เพื่อขอให้เทพเจ้าช่วยมนุษย์สำเร็จในการทำงานและชีวิตได้  เมื่อพราหมณ์อารยันเห็นสถานการณ์ทางการเมืองในการแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิตและมองเห็นอนาคตทางการเมืองของแต่ละรัฐนั้นจะเข้าสู่สงคราม           เพื่อขยายอาณาเขตและยึดอำนาจอธิปไตยคืนจากชาวอารยันไปสู่ชาวมิลักขะดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะปกครองรัฐ        เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียว      การเห็นความจริงเกี่ยวกับอนาคตของรัฐแล้ว   พราหมณ์ปุโรหิตอารยันจึงถวายคำแนะนำแก่รัฐสภาแห่งวรรณะกษัตริย์ให้บัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีเพื่อแบ่งชั้นวรรณะ      และจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวมิลักขะที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ   การประกอบอาชีพ       การศึกษาศาสนาพราหมณ์และการทำพิธีกรรมทางศาสนาของของตน เป็นต้น      โดยแบ่งประชาชนเป็น ๔ วรรณะได้แก่วรรณะกษัตริย์  วรรณะพราหมณ์   วรรณะแพศย์และวรรณะศูทธ     เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเท่านั้น  เมื่อสมาชิกรัฐสภาเข้าประชุมพร้อมเพียงกัน          และเห็นชอบต่อการบัญญัติกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีเพื่อแบ่งชั้นวรรณะ เป็นต้น   

                เมื่อประกาศบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะนั้น ชาวดราวิเดียน (มิลักขะ) ถูกจัดอยู่ในวรรณะศูทร (S้hudra)      โดยทำหน้าที่เป็นเพียงคนรับใช้ชนวรรณะสูงกว่าเท่านั้น     แต่คนทุกวรรณะมีตัณหาซ่อนอยู่ในจิตใจ    เมื่อวรรณะศูทร (S้hudra)   ทำงานรับใช้คนวรรณะพราหมณ์ในปราสาทเกิดความใกล้ชิดกัน      และมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวข้ามวรรณะมีหลักฐานในพระไตรปิฎกหลายเรื่องให้ศึกษา โดยเฉพาะหญิงวรรณะพราหมณ์กับชายวรรณะศูทร (Shudra)  การแต่งงานข้ามวรรณะทำให้เกิดปัญหาในสังคมไม่รู้ว่า   จะจัดอยู่ในวรรณะใด เกิดการดูหมิ่นกัน    ซึ่งเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน       นอกจากยังห้ามคนต่างวรรณะทำงานในหน้าที่ของวรรณะอื่น      ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐  ขุททกนิกายชาดก  (มหานิบาต)       ๖. ภูทัตตชาดกข้อ.๙๐๖ กล่าวว่า "พวกพราหมณ์ถือเอา    การสาธยายพระเวท    พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน  พวกแพศย์ยึดเกษตรกรรมพวกศูทรยึดการรับใช้วรรณะทั้ง ๔         เข้าถึงการงานที่อ้างมาแต่อย่างนั้นพระพรหมผู้มีอำนาจสร้างขึ้นไว้"            เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า   รัฐสภาแห่งแคว้นสักกะได้บัญญัติกฎหมายวรรณะจารีตแบ่งคนเป็น ๔ วรรณะอ้างว่าเป็นเจตจำนงแห่งพระพรหมสร้างขึ้นไว้ให้สิทธิและหน้าที่ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา  โดยพวกวรรณะพราหมณ์มีสิทธิและหน้าที่สาธยายพระเวท       พวกวรรณะกษัตริย์มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองประเทศ     พวกวรรณะแพศย์มีสิทธิและหน้าที่  ในการทำการเกษตรกรรมและค้าขาย     ส่วนพวกศูทรมีหน้าที่รับใช้พวกวรรณะทั้ง ๔ และมีข้อความว่าวรรณะทั้ง๔ พระพรหมผู้มีอำนาจสร้างไว้ ผู้เขียนตีความได้ว่ารัฐในสมัยพุทธกาลเป็นรัฐศาสนา เพราะมีการแบ่งวรรณะในสังคม    และปฏิบัติตามหน้าที่ตามวรรณะของตนเกิดมาจะไม่ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้           หากไม่มีการบัญญัติเป็นกฎหมายรับรองให้มีสภาพบังคับ           ที่คนทุกวรรณะต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้วรรณะที่เกิดขึ้นนั้นจากหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้น     กล่าวถึงว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างวรรณะขึ้นไว้แสดงให้ว่า     กฎหมายวรรณะจารีตประเพณีบัญญัติ        ขึ้นมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และประกาศใช้บังคับในแคว้นโกลิยะและแคว้นสักกะถือว่ารัฐโกลิยะและรัฐสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์  เป็นต้น   

            แม้การแต่งงานข้ามวรรณะระหว่างพวกพราหมณ์กับพวกวรรณะศูทร เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย แต่มนุษย์เป็นคนมีตัณหาซ่อนอยู่ในจิตกันทุกคน เมื่อขาดสติย่อมขาดความยับยั้งช่างใจ ไม่สามารถระลึกถึงปัญหาจากการแต่งงานข้ามวรรณะที่เคยขึ้นก่อนอย่างเท่าทัน และเมื่อเท่าทันพิจารณาว่ากรณีศึกษาที่ผ่านมา ผลของการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมมายวรรณะเป็นอย่างไร จิตผู้คนจึงหลงใหลไปตามอารมณ์ตัณหาของตัวเองในความรักที่ตนเองสร้างขึ้นมาให้ผูกพันธ์กัน แม้บุคคลในครอบครัวจะห้ามปรามมิให้กระทำและไม่ยอมเชื่อฟัง ตัดสินใจหนีไปตามกันไป เมื่่อไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย กฎสังคมในยุคนั้นมีการตรวจสอบค่อนข้างเคร่งครัด คู่รักต่างวรรณะจึงต้องออกไปใ้ช้ชีวิตต่างเมืองเพื่อรับจ้างเทขยะ และงานอื่น และต้องใช้ชีวิตในวัยชรา เจ็บป่วย และตายข้างถนนนั้นเช่น พระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น จนกลายเป็นต้นแบบชุมชนไร้บ้านมาจนถึงทุกวันนี้ คำว่า"พรหมทัณฑ์"นั้นมีความหมายว่าอย่างไร เมื่อวิเคราะห์จากพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬา ฯ] จุลวรรค [พรหมทัณฑกถา] ข้อ๔๔๕ กล่าวว่า "ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับพระภิกษุเถระทั้งหลายดัง นี้ว่า" ท่านผู้เจริญในเวลาจะปรินิพพานพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า"ภิกษุทั้งหลายเมื่อเราลวงไปสงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายถามว่าท่านอานนท์ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่าพระพุทธเจ้าข้า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร "ท่านพระอานนท์ตอบว่า"ท่านผู้เจริญกระผมทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วว่า "พระพุทธเจ้าข้าพรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร พระองค์รับสั่งว่าอานนท์พระภิกษุฉันนะพึงพูดได้ตามที่ปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึ่งว่ากล่าว ไม่พึ่งตักเตือน ไม่พึ่งพร่ำสอนภิกษุฉันนะ ภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายถามว่า ท่านอานนท์ถ้าอย่างนั้น  ท่านนั่นแลจงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ" 

         จากข้อมูลในพระไตรปิฎกคำว่า "ลงพรหมทัณฑ์"เป็นบทลงโทษภิกษุสงฆ์ผู้ว่ายากสอนยากประพฤติฝ่าฝืนพระธรรมวินัยเป็นประจำน่าจะได้แนวคิดมา จากการลงโทษผู้ฝ่าฝืนความเชื่อเรื่องวรรณะในสังคมคนทั่วไปในสมัยก่อนพุทธกาล ที่มีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายแบ่งวรรณะด้วยการแต่งงานข้ามวรรณะทำให้ลูกที่กำเนิดมานั้น กลายเป็นชนไร้วรรณะเรียกว่า"พวกจัณฑาล" ผู้แต่งงานข้ามวรรณะต้องสละวรรณะหมดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพต่อไป  (ยังมีต่อ)


3 ความคิดเห็น:

ส.ท อภิสิทธิ์ วงษ์ทอง 6606504318 กล่าวว่า...

ปรัชญา ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส มีสมาธิในการตัดสินใจในเรื่องต่างไปในชีวิตประจำวันครับ.

อนวัช เพ็งจันทร์ กล่าวว่า...

ได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาแดนพุทธภูมิครับ และมีสมาธิคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน

ปีใหม่ กล่าวว่า...

ดินแดนแห่งปรัชญา​คืออินเดียครับ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ