The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

การศึกษากฎหมายของเจ้าชายสิทธัตถะ


Prince Siddhartha's Legal Studies

บทนำ

       โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกคงเคยได้ยินเรื่องราวของเจ้าชายสิทธัตถะมาบ้างแล้วที่ว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ วิชา เพื่อเตรียมพระองค์เป็นรัชทายาทแห่งอาณาจักรสักกะและเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ปกครองอาณาจักรสักกะ (Sakka country) ต่อจากพระราชบิดาคือพระะเจ้าสุทโธทนะ  จากการบรรยายของครูบาอาจารย์ในโรงเรียน  และอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วโลก  หรือพระธรรมเทศนาของพระภิกษุทั้งนิกายเถรวาทและมหายานในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และการศึกษาจากสำนักธรรมสนามหลวง   เป็นต้น    

      เมื่อผู้เขียนศึกษาประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรสักกะจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว ในเบื้องต้เราได้ยินข้อเท็จจริงว่าในรัชสมัยพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงเป็นผู้ปกครองอาณาจักรสักกะ พระองค์ทรงมีโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะซึ่งทรงเป็นรัชทายาทองค์แรกและเจ้าชายนันทะซึ่งทรงเป็นรัชทายาทองค์ที่ ๒ ของราชวงศ์ศากยะทั้ง ๒ พระองค์ทรงมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองอาณาจักรสักกะตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติมา เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ (Liberal Arts  Program ) เพื่อเตรียมพระองค์ขึ้นครองราชย์ หลังจากพระราชบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะสิ้นพระชนม์      ตามรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่ใช้ในการปกครองประเทศ เรียกว่า "หลักธรรมของพระมหากษัตริย์" ซึ่งนักวิชาการด้านพุทธศาสนาเรียกว่า "หลักธรรมสำหรับนักบริหาร"      

ancient Apilavastu  
        
         ดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เล่มที่  ๒๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจนิกบาต [๓.ตติปันนาสก์] ๔.ราชวรรค ๕.ปฐมปัตถนาสูตร ๑ ว่าด้วยความปรารถนาสูตรที่ ๑  [๑๓๕] "พระภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ    ย่อมปรารถนาราชสมบัติองค์ ๕ ประการอะไรบ้างคือพระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราช ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ 
             ๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูล 
                  ๒. เป็นผู้มีรูปร่าง น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก
                  ๓. เป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา
                  ๔. เป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยของชาวนิคมและชาวชนบท
                 ๕. เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์ แห่งกษัตราธิราชได้รับมูรธาภิเษกแล้วเช่นศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ หรือดาบ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้นทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า"เรามีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายบิดาถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ตลอดเจ็ดชัวบรรพบุรุษไม่มีใคร"   

         เมื่อผู้เขียนได้ศึกษารายละเอียดหลักสูตรศิลปศาสตร์ (Liberal Arts  Program )      สาขานิติศาสตร์ ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษา จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ์    พบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้สำเร็จหลักสูตรศิลปศาสตร์สาขานิติศาสตร์       เพราะเจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะ     พระองค์จึงทรงเป็นรัชทายาทพระองค์แรกที่ทรงมีสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ทรงประสูติมา   ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระราชบิดา พระองค์ทรงเตรียมพร้อมที่จะทรงครองราชย์ โดยทรงได้รับการพัฒนาศักยภาพแห่งชีวิตของพระองค์ ทรงมีพละ ๕ ประการคือ ๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ ๓.สติพละ ๔.สมาธิพละ๕. ปัญญาพละ  เป็นต้น    
 
          เมื่อเจ้าชายสิทธัตถทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์ วิชากฎหมายเป็นหนึ่งในวิชาในหลักสูตรศิลปศาสตร์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับขึ้นครองราชย์ในอนาคต  เพื่อให้ทรงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการบริหารราชประเทศให้เท่าทันกับสถานการณ์ และความคิดของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามพฤติกรรมของคนทั่วโลก ที่แชร์กันผ่านแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางความคิด และนำความคิดนั้นมาใช้ในชีวิตประจำวัน          อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมบางอย่างที่แชร์กันผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายของประเทศ เพราะละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น        การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความจริงของวิชากฎหมายจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ    เมื่อผู้เขียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า"นิติศาสตร์" ในแอพพลิเคชั่นในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ และฉบับอื่น ๆ แล้ว แม้ว่าจะไม่มีคำว่า "นิติศาสตร์" ก็ตาม  แต่ว่าจะไม่่มีคำว่า   "ธรรมกษัตริย์" ซึ่งเป็นหลักกกฎหมายและกฎระเบียบในการปกครองประเทศ ในอรรถกถาคำว่า "ธรรมกษัตริย์หมายถึง หลักนิติศาสตร์ ที่ชนวรรณะกษัตริย์ทรงใช้หลักกฎหมายในการปกครองประเทศ   

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ