Epistemological problems regarding castes in Tripitaka
คำสำคัญ ญาณวิทยา วรรณะ พระไตรปิฎกมหาจุฬา
๑.บทนำ
โดยทั่วไปแล้ว แม้ว่าชาวพุทธทั่วโลก จะเคยได้ยินเรื่อง "วรรณะ" ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวรรณะในอนุทวีปอินเดีย จากหลักฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา หนังสือเรียนพุทธศาสนา และพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์นิกายเถรวาทและมหายานในวัดต่าง ๆ ทั่วโลกมานานกว่า ๒,๕๐๐ ปี เมื่อชาวพุทธทั่วโลกได้ยินเรื่องวรรณะที่เกิดขึ้นในสมัยศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง ก็ยอมรับการแบ่งวรรณะในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณว่าโดยปริยายทันทีว่าเป็นความจริง ไม่มีเหตุที่จะสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกต่อไป โดยไม่มีความจำเป็นที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่มเติมเพื่อพิสูจน์ความจริงอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ได้ฟังตามกันมา เราไม่ควรเชือทันทีว่าเป็นเรื่องจริง เราควรสงสัยเรื่องนั้นเสียก่อน จนกว่าเราจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเสียก่อน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราจะก็นำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผลว่าจริงหรือเท็จ หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ความจริงนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือเพราะการได้ยินความจริงจากพยานเพียงคนเดียวไม่น่าเชื่อถือ เพราะมนุษย์มีอคติต่อผู้อื่นเนื่องจากความรัก ความเกลียดชัง ความกลัว ความโง่เขลา เป็นต้น นอกจากนี้ อายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง อาจยืนยันข้อเท็จจริงโดยมีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายฝ่ายหนึ่งใดในการพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเรื่อง "วรรณะ"ที่ได้ยินมานั้น ยังน่าสงสัยเพราะขาดพยานหลักฐานไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และมันไม่สามารถเป็นความจริงได้ เป็นต้น
๒.๑ บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ โดยหลักทั่วไปแล้ว วิชาญาณวิทยาเป็นความรู้ของมนุษย์บางคนที่เรียกว่า "นักปรัชญาและนักตรรกะ" คำว่า "มนุษย์ " ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เกิดจากปัจจัยร่างกายและจิตใจ ทั้งสองปัจจัยต่างอาศัยซึ่งกันและกัน กล่าวคือ จิตใจของมนุษย์อาศัยอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง เมื่อรับรู้แล้ว ก็เก็บอารมณ์ของเรื่องราวต่าง ๆนั้นไว้ในจิตใจ แต่ทำธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์ เพียงแต่รับรู้และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ เป็นอารมณ์อยู่ในจิตของตน ยังมีหน้าที่คิดวิเคราะห์อารมณ์เรื่องราวต่าง ๆ ที่มีอยู่ในจิตใจโดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆนั้น โดยใช้เหตุผล เป็นเครื่องมืออธิบายความจริงในเรื่องเหล่านั้นอย่างสมเหตุผล
แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ยินจากพยานเพียงปากเดียวนั้น ขาดความสมเหตุสมผล เพราะพยานที่เป็นบุคคลนั้น เป็นมนุษย์ที่มีข้อจำกัด ในการรับรู้สิ่งที่ห่างไกลออกไปเกินขอบเขตประสาทสัมผัส และมีอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยมืดมนจึงขาดความสามารถในการรับรู้ เก็บข้อเท็จจริงนั้น และคิดหาเหตุผลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง เมื่อวิชาที่สอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วโลก เป็นความรู้ของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ความรู้เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าหลายองค์ในศาสนาพราหมณ์เป็นความรู้ของมนุษย์ที่เราเรียกว่า "พราหมณ์" ซึ่งเป็นนักตรรกะและนักปรัชญา ความรู้ในพระพุทธศาสนาก็เป็นความรู้ของมนุษย์ที่เราเรียกกันว่า "พระพุทธเจ้า" ส่วนปรัชญาตะวันตกก็เป็นความรู้ของนักปรัชญาตะวันตกซึ่งเป็นมนุษย์เช่นกัน
มีปัญหาหนึ่งที่ผู้เขียนต้องพิจารณา นั่นคือมนุษย์คือใคร ? เมื่อเราศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์ จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเมื่อศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองพราหมณ์บางคนซึ่งเป็นนักตรรกศาสตร์และนักอภิปรัชญา สามารถใช้เหตุผลอธิบายความจริงของมนุษย์ได้ว่า พระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากร่างกายของพระองค์ และพระพรหมได้สร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา และพวกเขาก็ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเองเกิดมาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อพระพรหมและพระอิศวรได้ทรงสร้างมนุษย์ บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จึงมาจากพระพรหมเป็นผู้สร้างให้
ตามทฤษฎีความรู์ของประสบการณ์นิยม แนวคิดดังกล่าวได้ให้คำจำกัดความของแนวคิดที่ว่า "บ่อเกิดของความรู้ของมนุษย์นั้นต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเท่านั้นและสั่งสมไว้ในใจของตนเอง " ดังนั้น บุคคลใดจะเป็นพยานหลักฐานที่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงของชีวิตของมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โลก และหลักฐานการมีอยู่ของเทพเจ้าได้ หากบุคคลใดไม่มีความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเขาก็ไม่สามารถเป็นพยานเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ กล่าวโดยสรุป การกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานเพื่อยืนยันหรือพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ แผนที่อนุทวีปอินเดียโบราณและแผนที่โลกของกูเกิล
ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้วว่า ดินแดนของอนุทวีปภายนอกที่เรียกว่า "ปัจจันตชนบท" เป็นที่ตั้งของรัฐสักกะ รัฐโกลิยะ รัฐโกศล ฯลฯ ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวอารยันและชาวมิลักขะซึ่งรัฐเหล่านี้ มีระบบการปกครองแบบรัฐศาสนาแบบพราหมณ์ เนื่องจากรัฐสภาแห่งรัฐโกลิยะและรัฐสักกะรับเอาคำสอนของพราหมณ์ ได้บัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศที่เรียกว่า "หลักอปรินิยธรรม" ซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณี ที่เทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรในสมัยปัจจุบัน เมื่อมีการตรากฎหมายใด ๆ แล้ว จะไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะขัดต่อกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุด
เมื่อประชาชนทั่วอนุทวีปอินเดียเชื่อ ตามคำสอนของพราหมณ์อารยันและดราวิเดียนว่าเทพเจ้าและเทวดา ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ในยามมีความทุกข์มักจะไปหาพราหมณ์สำนักที่พวกเขาเคารพนับถือเพื่อทำการเซ่นสังเวยเทพเจ้า ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคนั้น การแก้ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของผู้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
ตามหลักการญาณวิทยานักปรัชญา ได้กำหนดทฤษฎีความรู้ไว้หลายประการ ในการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนใช้ทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยม เพื่อกำหนดความน่าเชื่อของพยานบุคคลว่า จะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอารมณ์อยู่ในจิตใจของผู้นั้น" ตามหลักการทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นั้นผู้เขียนตีความว่าพยานบุคคล ที่จะยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องที่เป็นจริงจะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองเท่านั้น จึงเป็นหลักฐานน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของนักปรัชญาได้
พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เป็นพยานเอกสารที่เชื่อถือ เพราะพระอานนท์เป็นผู้อุปฐากของพระพุทธเจ้า และได้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่ของพระพุทธเจ้าตลอด ๔๕ พรรษา เมื่อพระอานนท์ได้รับรู้ถึงงานเผยแผ่พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าจนเสด็จปรินิพพาน และท่านได้รวบรวมหลักฐานการเผยแผ่พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นหลักฐานทางอารมณ์ ที่สั่งสมไว้ในจิตใจและติดตามตัวพระอานนท์ไปทุกหนทุกแห่งในอนุทวีปอินเดีย พระอานนท์ได้พัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ จนได้บรรลุสัจธรรมแห่งชีวิตมนุษย์ ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก พระอานนท์ได้ถ่ายทอดพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าด้วยการมุขปาฐะให้พระอรหันต์ ๕๐๐ รูปได้ฟังและได้ท่องจำพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่า สาเหตุที่ประชาชนในแคว้นสักกะ (Sakka country) และแคว้นโกฬิยะ (koliya country) ถูกแบ่งออกเป็นวรรณะ ก็เนื่องมาจากการบูชาเทพเจ้าที่สร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน เมื่อพราหมณ์อารยันประกอบพิธีสักการะเทพเจ้าแล้ว มหาราชาของอาณาจักรสักกะทรงประสบความสำเร็จในการบริหารบ้านเมือง และแต่งตั้งพราหมณ์นิกายนั้นเป็นปุโรหิต (priest้hood) คือพราหมณ์ที่ปรึกษาของมหาราชาในด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี ส่งผลให้พวกพราหมณ์อารยันต้องการผูกขาดการบูชาเทพเจ้าเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนฝ่ายเดียว ในฐานะปุโรหิต (priesthood) จึงถวายคำแนะนำต่อสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ควรตรากฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพื่อแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร เป็นต้น เพื่อมั่นคงของประเทศที่เจริญรุ่งเรืองฝ่ายเดียว เมื่อบัญญัติกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ที่มีสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ห้ามมิให้ประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะ และห้ามประชาชนปฏิบัติหน้าที่วรรณะอื่น เมื่อเกิดการสมสู่ข้ามวรรณะตามกฎหมายให้อำนาจคนในสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงกันเอง และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องเหล่านี้ โดยมีอำนาจไต่สวนลงโทษผู้กระทำผิดได้ด้วยการขับไล่ออกจากสังคม ที่เป็นถิ่นพำนักของพวกเขาได้ต่อไปนี้ กฎหมายฉบับนี้จะถูกยกเลิกไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของประเทศ
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า "ปรัชญาคือหลักแห่งความรู้ และความจริง" จากคำจำกัดความ ผู้เขียนตีความว่า ปรัชญาคือหลักการ หรือแก่นแท้ของความรู้ของมนุษย์ ซึ่งเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นอีกต่อไป มันเกิดขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ แล้วความรู้และความจริงเกี่ยวกับมนุษย์เป็นอย่างไร? เช่น เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับมนุษย์มีอะไรบ้าง? เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เราพบว่าความรู้เกี่ยวกับมนุษย์นั้น มีทั้งรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ และความรู้ที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์เกินกว่าที่มนุษย์จะรับรู้ได้ เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์ จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องของมนุษย์นี้ หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์นี้ ข้อเท็จจริงที่นักปรัชญากล่าวถึง ขาดความน่าเชื่อถือและไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น พวกพราหมณ์อารยันสอนชาวอนุทวีปอินเดียว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมและพระอิศวร ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสเกินกว่าที่มนุษย์จะรับรู้ได้ แม้ชาวอนุทวีปอินเดียก็ไม่เคยรู้โดยตรงถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าเลยแต่พวกเขาก็ตกลงที่จะปฏิบัติตาม โดยถวายเครื่องบูชายัญตามคำสอนของพราหมณ์ เมื่อการบูชาเทพสร้างรายได้มหาศาลให้กับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของการบูชา และหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ชาวมิลักขะ เพื่อความมั่นคงทางการเมืองของชาวอารยัน รัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ จึงตราคำสอนของพราหมณ์อารยันเป็นกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะโดยอ้างว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา ห้ามการแต่งงานระหว่างวรรณะ และห้ามประชาชนปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่นแต่ประชาชนมีตัณหาราะและขาดสติปัญญาในการดำเนินชีวิต จึงสมัครรักใคร่กับคนต่างวรรณะ จึงถูกสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องการสมสู่กับคนต่างวรรณะ เป็นต้น
เมื่อปรัชญาเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักความรู้และความจริง ในการศึกษาปัญหาญาณวิทยา เกี่ยวกับต้นกำเนิดของความรู้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ โลก ธรรมชาติ และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ในปัญหาความจริงของมนุษย์ ตามแนวคิดทางอภิปรัชญาศาสนา พราหมณ์ พวกพราหมณ์สอนว่าพรหมสร้างมนุษย์ และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของวรรณะของตนเอง เมื่อวรรณะกษัตริย์เชื่อว่าพระพรหมมีอยู่จริง ได้นำหลักคำสอนในเรื่องนี้ไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตว่าด้วยวรรณะตามคำแนะนำของพราหมณ์ปุโรหิต โดยมีบทลงโทษผู้ละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะด้วยข้อหาการแต่งงานข้ามวรรณะ จะต้องถูกคนในสังคมลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นพำนักอาศัย ไปอยู่ข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ตลอดชีวิต
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นปัญหาจัณฑาล และดำริคิดจะช่วยให้พวกเขาพ้นจากความจัณฑาล มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคนวรรณะอื่น แม้จะได้ยินข้อเท็จจริงข้างต้นว่าเป็นความจริง แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงสอนมิให้เชื่อข้อเท็จจริงทันที ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนยังมิใช่ความจริง จนกว่าจะมีพยานหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ สาเหตุการแบ่งวรรณะ การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอนุทวีปอินเดียของชาวอารยัน ต้องทำสงครามกับชาวดราวิเดียนซึ่งเจ้าของท้องถิ่นเดิม แม้พวกเขาจะมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งนี้ การอำนาจทางศาสนาพราหมณ์ยังเป็นของชาวดราวิเดียน มหาราชา ในแต่ละปีพราหมณ์อารยัน และพราหมณ์ดราวิเดียนได้ประโยชน์จากการถวายเครื่องบูชายัญที่มีมูลค่าสูงเช่น โค แพะ แกะ ข้าวหลายพันตัน เมล็ดพันธุ์ อัญมณี และเครื่องประดับอื่น ๆ ในการทำพิธีบูชายัญทั้งนี้ขึ้นอยู่พราหมณ์ผู้ทำพิธีกรรมบูชายัญจะเรียกร้องเอาเครื่องบูชายัญเหล่านี้เมื่อทำพิธีเสร็จ เครื่องบูชาเหล่านี้ตกเป็นพราหมณ์ผู้ทำพิธีสร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน
เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคมของแคว้นต่าง ๆ เป็นเช่นนี้ ทำให้เกิดการแย่งผลประโยชน์จากการบูชายัญระหว่างพราหมณ์อารยัน และพราหมณ์ดราวิเดียน และหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการบูชายัญซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อพราหมณ์อารยัน ได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตที่ปรึกษากษัตริย์ในด้านขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี จึงเสนอนำคำสอนของพราหมณ์อารยันไปบัญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียนในการบูชาเทวดา และบัญญัติไว้แล้วต่อมาภายหลังจะยกเลิกกฎหมายนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามหลักปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ ทำให้แคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียกลายเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ เพราะประชาชนเชื่อคำสอนของพราหมณ์อารยันว่าพรหมและอิศวรเป็นเทพเจ้ามีอยู่ และพวกเขาสามารถติดต่อกับเทพเจ้า เพื่อขอให้เทพเจ้าช่วยมนุษย์สำเร็จในการทำงานและชีวิตได้ เมื่อพราหมณ์อารยันเห็นสถานการณ์ทางการเมืองในการแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิตและมองเห็นอนาคตทางการเมืองของแต่ละรัฐนั้น จะเข้าสู่สงคราม เพื่อขยายอาณาเขตและยึดอำนาจอธิปไตยคืนจากชาวอารยันไปสู่ชาวมิลักขะดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะปกครองรัฐ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียวการเห็นความจริงเกี่ยวกับอนาคตของรัฐแล้ว พราหมณ์ปุโรหิตอารยันจึงถวายคำแนะนำแก่รัฐสภาแห่งวรรณะกษัตริย์ให้บัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีเพื่อแบ่งชั้นวรรณะเพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวมิลักขะที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ การประกอบอาชีพ การศึกษาศาสนาพราหมณ์และการทำพิธีกรรมทางศาสนาของของตน เป็นต้น โดยแบ่งประชาชนเป็น ๔ วรรณะได้แก่วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทธ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเท่านั้น เมื่อสมาชิกรัฐสภาเข้าประชุมพร้อมเพียงกัน และเห็นชอบต่อการบัญญัติกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีเพื่อแบ่งชั้นวรรณะ เป็นต้น
เมื่อประกาศบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะนั้น ชาวดราวิเดียน (มิลักขะ) ถูกจัดอยู่ในวรรณะศูทร (S้hudra) โดยทำหน้าที่เป็นเพียงคนรับใช้ชนวรรณะสูงกว่าเท่านั้น แต่คนทุกวรรณะมีตัณหาซ่อนอยู่ในจิตใจ เมื่อวรรณะศูทร (S้hudra) ทำงานรับใช้คนวรรณะพราหมณ์ในปราสาทเกิดความใกล้ชิดกัน และมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวข้ามวรรณะมีหลักฐานในพระไตรปิฎกหลายเรื่องให้ศึกษา โดยเฉพาะหญิงวรรณะพราหมณ์กับชายวรรณะศูทร (Shudra) การแต่งงานข้ามวรรณะทำให้เกิดปัญหาในสังคมไม่รู้ว่า จะจัดอยู่ในวรรณะใด เกิดการดูหมิ่นกัน ซึ่งเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกจากยังห้ามคนต่างวรรณะทำงานในหน้าที่ของวรรณะอื่น ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกายชาดก (มหานิบาต) ๖. ภูทัตตชาดกข้อ.๙๐๖ กล่าวว่า "พวกพราหมณ์ถือเอา การสาธยายพระเวท พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดเกษตรกรรมพวกศูทรยึดการรับใช้วรรณะทั้ง ๔ เข้าถึงการงานที่อ้างมาแต่อย่างนั้นพระพรหมผู้มีอำนาจสร้างขึ้นไว้" เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า รัฐสภาแห่งแคว้นสักกะได้บัญญัติกฎหมายวรรณะจารีตแบ่งคนเป็น ๔ วรรณะอ้างว่าเป็นเจตจำนงแห่งพระพรหมสร้างขึ้นไว้ให้สิทธิและหน้าที่ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา โดยพวกวรรณะพราหมณ์มีสิทธิและหน้าที่สาธยายพระเวท พวกวรรณะกษัตริย์มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองประเทศ พวกวรรณะแพศย์มีสิทธิและหน้าที่ ในการทำการเกษตรกรรมและค้าขาย ส่วนพวกศูทรมีหน้าที่รับใช้พวกวรรณะทั้ง ๔ และมีข้อความว่าวรรณะทั้ง๔ พระพรหมผู้มีอำนาจสร้างไว้ ผู้เขียนตีความได้ว่ารัฐในสมัยพุทธกาลเป็นรัฐศาสนา เพราะมีการแบ่งวรรณะในสังคม และปฏิบัติตามหน้าที่ตามวรรณะของตนเกิดมาจะไม่ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ หากไม่มีการบัญญัติเป็นกฎหมายรับรองให้มีสภาพบังคับ ที่คนทุกวรรณะต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้วรรณะที่เกิดขึ้นนั้นจากหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้น กล่าวถึงว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างวรรณะขึ้นไว้แสดงให้ว่า กฎหมายวรรณะจารีตประเพณีบัญญัติ ขึ้นมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และประกาศใช้บังคับในแคว้นโกลิยะและแคว้นสักกะถือว่ารัฐโกลิยะและรัฐสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น

3 ความคิดเห็น:
ปรัชญา ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส มีสมาธิในการตัดสินใจในเรื่องต่างไปในชีวิตประจำวันครับ.
ได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาแดนพุทธภูมิครับ และมีสมาธิคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน
ดินแดนแห่งปรัชญาคืออินเดียครับ
แสดงความคิดเห็น