โดยทั่วไป ปรัชญา พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ล้วนเป็นความรู้ของมนุษย์ แต่มนุษย์บางคนในโลกถูกเรียกว่า "นักปรัชญา" ศาสดา และนักวิทยาศาสตร์ เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงของวิชาเหล่านี้แล้ว เราเป็นนักศึกษาก็มีความสงสัยว่า ต้นกำเนิดของความรู้ในวิชาเหล่านี้ของมนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? ในสมัยก่อนพุทธกาล ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยความมืดมน แม้ว่ามนุษย์บางคนซึ่งเป็นมหาราชาแคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีป จะได้รับการศึกษาจากเมืองตักศิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ เป็นสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เปิดหลักสูตรศิลปศาสตร์ จำนวน ๑๘ สาขาวิชา เพื่อให้เจ้าชายจากแคว้นต่าง ๆ ทั่วอนุทวีปอินเดีย เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมืองตักศิลา แคว้นปัญจาบ เป็นต้น
ทำไม่มนุษย์ต้องศึกษาหาความรู้ โดยทั่วไป ชีวิตของมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ จะสร้างสถานการศึกษารับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์แล้ว ก็จะสั่งสมสิ่งต่าง ๆ หรือ เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจของมนุษย์ แต่ธรรมชาติของมนุษย์มิใช่เพียงรับรู้และสั่งสมเรื่องราวของสิ่งต่าง ๆ เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจเท่านั้น แต่มนุษย์ยังมีธรรมชาติเป็นนักคิดอีกด้วย เมื่อสิ่งไหนก็คิดจากสิ่งนั้น โดยการใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือของตนเองในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น เป็นต้น แต่การใช้เหตุผลของมนุษย์ถูกบ้าง ผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง
ทำให้วิญญชนสงสัยว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นจริงหรือเท็จ ? เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ แล้ว เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นจัณฑาลใช้ชีวิตคนแก่ชรา คนเจ็บป่วย และนอนตายอยู่ข้างถนน และทรงเห็นนักบวชจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต พระองคทรงสงสัยเกี่ยวกับความเป็นของจัณฑาล เมื่อพระองค์ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ และรวบรวมหลักฐานจากคำให้การจากพราหมณ์สำนักต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว พระองค์ก็จะทรงวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องเทพเจ้า เป็นต้น
ปัญหาคือ ประวัติศาสตร์ของนิมิตทั้ง ๔ มีความเป็นมาอย่างไร ? เหตุใดนิมิตทั้ง ๔ จึงทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาเรื่องนิมิตทั้ง ๔ นี้ จากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่าเมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่าเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง ควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเพียงพอ วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล ในการอธิบายความจริงของคำตอบ
การฟังความคิดเห็นของพยานเพียงคนเดียวมีน้ำหนักน้อย ไม่สามารถยอมรับความจริงนั้นได้ เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ข้อเท็จจริง ตามเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในที่ห่างไกลและมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่น เนื่องจากความไม่รู้ ความเกลียดชัง ความรักและความกลัวของตนเอง เป็นต้น พวกเขามักจะยืนยันข้อเท็จจริงที่่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก่อให้เกิดความไม่บริสุทธิ์และไม่ยุติธรรม ในการโต้แย้งเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นได้อย่างไร? เพราะยุคก่อนพุทธกาลนั้น เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง อย่างไรก็ตาม ชีวิตมนุษย์ในอนุทวีปอินเดียตกอยู่ในความมืดมนทางปัญญา เพราะพวกเขาถูกครอบงำด้วยความเชื่อในคำสอนของพราหมณ์ ที่มีเหตุผลยืนยันความจริงที่ว่า พระพรหมสร้างมนุษยชาติ และวรรณะเพื่อให้มนุษย์ที่พระองค์สร้างขึ้นมา เพื่อทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา อย่างไรก็ตาม คำสอนของพราหมณ์นั้นมีทั้งผู้ศรัทธาและผู้ที่ไม่ศรัทธาก็เต็มใจที่จะปฏิบัติตาม เพราะเมื่อปฏิบัติตามคำสอนของพราหมณ์โดยประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า และถวายเครื่องบูชาอันมีมูลค่ามหาศาล แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ประสบความสำเร็จได้ดังใจที่พวกเขาปรารถนา มันทำให้มนุษย์สงสัยการมีอยู่ของเทพเจ้า
พวกพราหมณ์แก้ปัญหาด้วยการสร้างเทพเจ้าองค์ใหม่เพื่อสร้างความเชื่อในเทพเจ้าองค์ใหม่ต่อไป แต่ผลบุญมหาศาลของการสักการะก็สร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์อารยัน และพวกพราหมณ์ดราวิเดียน เมื่อพวกพราหมณ์อารยันได้รับการแต่งตั้งเป็นปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในด้านกฎหมาย ขนบธรรมและจารีตประเพณี มีอำนาจทางการเมือง จึงเสนอว่าคำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี มีการลงโทษอย่างรุนแรงต่อผู้กระทำผิดต่อศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง เป็นต้น
เมื่อมีการตรากฎหมายวรรณะจารีตประเพณีแล้ว มีบทลงโทษห้ามมิให้แต่งงานระหว่างวรรณะ และห้ามมิให้ประชาชนปฏิบัติหน้าที่ในวรรณะอื่นเว้นแต่วรรณะที่พวกเขาเกิดมา หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสอนในศาสนา และกฎหมายวรรณะจะถูกคนในสังคมลงโทษอย่างรุนแรง เป็นต้น แต่บางคนก็มีอคติและไม่ละอายใจ จึงกระทำผิดโดยไม่เกรงกลัวต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย พระพรหมจึงลงโทษมนุษย์ ผู้ฝ่าฝืนคำสอนของพราหมณ์โดยการแต่งงานข้ามวรรณะ ส่งผลให้เด็กที่เกิดมาพร้อมกับสายเลือดไม่บริสุทธิ์ ไม่รู้ว่าตนจะอยู่ในวรรณะใด ก่อให้เกิดการไม่เคารพกันต่อชนชั้นวรรณะในสังคมซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมของประชาชน
จึงอนุญาตให้ลงโทษบุคคลนั้นด้วยการลงโทษ และไล่ออกจากที่อยู่อาศัยไปตลอดชีวิต สามีภรรยาต่างวรรณะหนีไปอยู่เมืองใหญ่ ๆ เช่นพระนครกบิลพัสดุ์ เทวทหะ พาราณสี สาวัตถี เป็นต้น การตรากฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมานั้น เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว ต่อมามหาราชาผู้ครองนครรัฐทรงได้แสดงเจตจำนงที่จะปฏิรูปสังคม เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบเทียมกันภายใต้กฎหมายรัฐธรรมของประเทศได้ แต่พระองค์ไม่สามารถเสนอกฏหมายยกเลิกวรรณะจารีตประเพณีต่อรัฐ สภาได้เนื่องจากเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุด ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ต้องเคารพและเชื่อฟังปุโรหิตซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในประเทศ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรสภาพอันเลวร้ายของจัณฑาลซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของแคว้นสักกะ เพราะถูกจำกัดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายงรรณะจารีตประเพณีในการประกอบอาชีพ การศึกษาและการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ การบูชาตามความเชื่อในศาสนาของตนเอง และการไม่เคารพกันในสังคม เป็นต้น จัณฑาลถูกไล่จากสังคมต้องอยู่อย่างคนเร่ร่อนตามท้องถนนของพระนครกบิลพัสดุ์ไปตลอดชีวิต แม้พวกเขาจะอยู่ในวัยแก่ชรา ล้มป่วยตายข้างถนนในเมืองใหญ่ เป็นต้น เมื่อพระองค์ทรงตัดสินใจปฏิรูปสังคม ตามสิทธิและหน้าที่ของวรรณะในราชวงศ์ศากยะที่พระองค์ประสูติ ด้วยการเสนอร่างกฎหมายจารีตประเพณีว่า ด้วยการยกเลิกวรรณะต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ เมื่อสมาชิกราชวงศ์ศายะแห่งรัฐสภาสักกะได้ประชุมกัน เพื่อพิจารณาและสมาชิกรัฐสภาเห็นพ้องกันว่า กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการปกครองตามจารีตประเพณีสูงสุดของประเทศ ซึ่งห้ามมิให้มีการยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว เป็นต้น
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทำให้มนุษย์มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตว่า มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองเพื่อให้บรรลุถึงระดับความรู้ที่เหนือประสาทสัมผัสได้ โดยการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้ชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการฝึกจิตให้มีสมาธิ บริสุทธิปราศจากความโกรธ อ่อนโยนเหมาะกับการงาน มีความมั่นคงไม่หวั่นไหวกับปัญหาต่างๆที่เข้ามาในชีวิตอยู่เสมอ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่าวิญญาณเป็นองค์ประกอบหลักของชีวิตมนุษย์ในครรภ์ของมารดา ไม่ใช่พระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน เมื่อจิตใจอยู่ในร่างกายและใช้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายเป็นสะพานเชื่อมต่อกับทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต
เมื่อจิตใจชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบที่ต้องการ เมื่อได้รับคำตอบแล้ว ก็เชื่อว่าเป็นความจริง มันก็จะเป็นความรู้ในเรื่องนั้นและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตัวเองต่อไป เมื่อความรู้ถูกสั่งสมในจิตวิญญาณ มันก็จะกลายเป็นสัญญาอยู่ในจิตใจ และไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้นั้น หากไม่นำความรู้มาสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ หากไม่ใช้ความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ ไปประกอบอาชีพ ธุรกิจการงานหรือช่วยผู้อื่นให้ได้รับความรู้ ความรู้ที่มีอยู่ในจิตใจนั้นก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน เพราะเป็นการลงทุนด้านศึกษาไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายนั้น
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์หรือไม่ ? เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง "มนุษย์" จากหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ และพระไตรปิฎกฉบับหลวงแล้ว เราก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าความรู้ของมนุษย์ในพระพุทธศาสนานั้น มีต้นกำเนิดจากความสงสัยของเจ้าชายสิทธัตถะ มีต่อคำสอนของพราหมณ์เรื่องการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิด เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่าชีวิตของชาวกบิลพัสดุ์อยู่ในความมืดมนแห่งปัญญา เพราะถูกจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการศึกษา อาชีพ การบูชาตามเชื่อในศาสนาพราหมณ์ของนิกายตน และการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศรวมทั้งการแต่งงานข้ามวรรณะ เป็นต้น
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์หรือไม่ ? เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง "มนุษย์" จากหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ และพระไตรปิฎกฉบับหลวงแล้ว เราก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าความรู้ของมนุษย์ในพระพุทธศาสนานั้น มีต้นกำเนิดจากความสงสัยของเจ้าชายสิทธัตถะ มีต่อคำสอนของพราหมณ์เรื่องการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิด เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่าชีวิตของชาวกบิลพัสดุ์อยู่ในความมืดมนแห่งปัญญา เพราะถูกจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการศึกษา อาชีพ การบูชาตามเชื่อในศาสนาพราหมณ์ของนิกายตน และการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศรวมทั้งการแต่งงานข้ามวรรณะ เป็นต้น
ทำให้ชีวิตไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้เพราะไม่สามารถคิดหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยความเชื่อในศาสนาพราหมณ์เพื่อประกอบพิธีบูชาขอพรเทพเจ้า ให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา และเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงอย่างเดียว สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติสักกะได้หลักคำสอนของพราหมณ์มาเป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ และเมื่อได้ตราเป็นกฎหมายแล้วต่อมาสมาชิก รัฐสภาไม่สามารถตรากฎหมายจารีตประเพณีเพื่อยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะได้ เพราะถือว่า ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีอย่างชัดเจน
ดังนั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นจัณฑาลที่ถูกสังคมลงโทษจึงจำต้องออกมาอาศัยอยู่ตามถนนในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ แม้จะมีอายุมากแล้วก็ยังล้มป่วย และตายอยู่ข้างถนนที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จพระราชดำเนินไป พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสนอการปฏิรูปสังคม โดยการเสนอร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะ แต่รัฐสภาศากยวงศ์ไม่เห็นด้วย เพราะขัดต่อหลักธรรมของกษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมจารีตประเพณีของประเทศสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นต้นเรื่องยากที่จะแก้ไขความเชื่อได้และยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพื่อปฏิรูปสังคมได้ เพราะยังขาดการพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการฝึกสมาธิเพื่อให้ชีวิตเข้มแข็ง มีอคติจึงขาดความบริสุทธิยุติธรรมในใจตน และมีความทุกข์เศร้าหมองตลอดเวลา ไม่มีความอ่อนโยนเพราะขาดสติ และไม่มั่นคงกับอุดมการณ์ของชีวิตและหวั่นไหวต่อปัญหาหนักที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปการเมืองผ่านระบบรัฐสภาด้วยการยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีได้ และเปลี่ยนความคิดของสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ได้ในเรื่องความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ได้ พระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวชทรงพัฒนาศักยภาพหลายวิธีด้วยกัน แต่ไม่ประสบความเร็จที่บรรลุถึงความรู้แท้จริงของชีวิต วิธีสุดท้ายของสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ทรงเลือกปฏิบัติคือการปฏิบัติธรรมมรรคมีองค์จนบรรลุถึงความรู้แท้จริงของชีวิตในระดับอภิญญา ๖ ทรงตรัสรู้(ค้นพบ) กฏธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ของเหตุปัจจัยทำให้เกิดชีวิตมนุษย์คนใหม่ คือ กายและจิตเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้
ชีวิตมนุษย์อยู่ภายใต้อำนาจของกฎไตรลักษณ์ เมื่อเกิดขึ้นในครรภ์มารดา เมื่อวิญญาณมาอุบัติในครรภ์มารดา ตั้งอยู่บนโลกคือใช้ชีวิตดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ดับไป การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นการรู้แจ้งในความจริงของชีวิตมนุษย์ว่า ชีวิตมนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงเท่านั้น จิตวิญญาณยังออกจากร่างของคนตายไปจุติจิตในภพภูมิอื่น อาจะเป็นภพภูมิของนรก สวรรค์ และโลกมนุษย์ ตามการกระทำของของตนที่เรียกว่าอกุศลกรรมบ้าง กุศลกรรมบ้าง ที่สั่งสมไว้ในจิตของตนเองซึ่งเป็นกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคน ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นจากกฎแห่งกรรมนี้ได้ กรรมที่ทำไปแล้วนั้นเป็นเหตุให้จิตวิญญาณผู้ทำอกุศลกรรมไปจุติจิตในทุคติภูมิ
ส่วนผู้ทำกุศลกรรมแม้มนุษย์จะแก้เคล็ดมิให้กรรมนั้นสนองตน ด้วยประกอบพิธีกรรมบวงสรวงให้เทพเจ้าองค์หนึ่งองค์ใด ช่วยให้ตนหลุดพ้นจากผลของการกระทำไปแล้วก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วไม่อาจหลุดพ้นจากรรมนี้ได้เป็นต้น เมื่อทรงตรัสรู้แล้วมิได้ทรงแค่รู้ในความจริงของชีวิตเพียงพระองค์เดียวแต่พระองค์ทรงนำความรู้ที่ตรัสรู้นั้น ไปใช้ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยการนำวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ไปสอนให้ผู้อื่นรู้ตามด้วยเช่นสอนปัญจวัคคีย์ทั้งห้าจนเป็นพระอริยบุคคลสอนยสกุลบุตรและสหายอีก ๕๔ คนจนเป็นพระอริยบุคคล สอนชลิฏ ๓ พี่น้องและบริวารอีก ๑,๐๐๐ รูปจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทรงเทศน์สั่งสอนพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวเมืองราชคฤห์จนบรรลุธรรมถึง ๑๑๐,๐๐๐ คน และเทศสั่งสอนชาวกบิลพัสดุ์จนบรรลุธรรม ๘๕,๐๐๐ คนเป็นต้น
ด้วยเหตุผลที่อธิบายความจริงของคำตอบแล้ว แต่ไม่ชัดเจนว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ปรัชญาหรือวิทยาศาสตร์หรือไม่ ? เพราะผู้เขียนมีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร่างกายของตนเองและยังไม่ได้เข้าใจเรื่องราวของพุทธเจ้าเป็นอย่างดี นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีที่แล้ว แต่ผู้เขียนกลับชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป เราจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เช่นพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถาและเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์หรือไม่?
โดยผู้อ่านสามารถตรวจสอบต้นกำเนิดความรู้ทางพระพุทธศาสนา องค์ประกอบความรู้ทางพระพุทธศาสนา วิธีแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและความสมเหตุสมผลของความรู้ทางพระพุทธศาสนาได้ คำตอบในเรื่องนี้จะเขียนในรูปบทความเชิงวิเคราะห์และจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในโรงเรียน และนักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วราชอาณาจักรไทยที่เน้นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ พระนักเทศน์ใช้บทความนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการบรรยายประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาแก่ผู้แสวงบุญในสาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ให้เนื้อหาของพระพุทธศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน วิธีพิจารณาพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนาและปรัชญา จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาปรัชญา พระพุทธศาสนา และนิติศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางสืบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างเพียงพอในการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น