The real problem of establishing the Mauryan Empire as a world superpower
โดยทั่วไป ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วโลก ล้วนเป็นความรู้ของมนุษย์ แม้ว่ามนุษย์จะมีอายตนะภายในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และเก็บเรื่องราวเหล่านั้นเป็นหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมไว้ในจิตใจ แต่ธรรมชาติของมนุษย์มิได้เพียงรับรู้และสั่งสมเรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น จิตใจของมนุษย์มีธรรมชาติเป็นนักคิด เมื่อพวกเขารู้สิ่งใดมักจะคิดจากสิ่งนั้น และมักมีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากความไม่รู้ของตนเอง ความกลัว ความเกลียดชังและความรัก เป็นต้น ทำให้จิตใจของมนุษย์มืดมน พวกเขาจึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง
ผู้คนในประเทศต่าง ๆ ของโลกจะก่อตั้งประเทศของตนเอง โดยมีมหาราชาเป็นผู้นำชุมชนทางการเมือง ที่จะทำการรบกับผู้ปกครองดั้งเดิมของดินแดนของประเทศ เพื่อยึดอำนาจอธิปไตยในการปกครองเป็นของตนเอง โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เริ่มตั้งแต่ประชาชนรวมตัวกันเป็นชุมชนทางการเมืองในดินแดนเป็นที่มีอาณาเขตที่ชัดเจนของประเทศ มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งผู้แทนของประชาชนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาและได้รับการรับรองเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้้งสมาชิกรัฐสภาเพื่อ หน้าที่บัญญัติกฎหมายบังคับใช้กับประชาชนในประเทศ เพื่อให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน อย่างสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมายของประเทศทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งรัฐบาลให้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของประเทศ ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประชาชนและปกป้องดินแดนของประเทศส่งเสริมให้ประชาชนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกผ่านอินเตอร์เน็ต และประชาชนสามารถศึกษาค้นคว้าความรู้ โดยเฉพาะเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากอินเตอร์เน็ตได้ฟรี ๒๔ ชั่วโมง
แต่การเป็นมหาอำนาจของโลกได้นั้น ประเทศนั้นจะต้องมีคณะรัฐมนตรีที่ศรัทธาในประเทศของตน คณะรัฐมนตรีต้องขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่โดยศึกษาข้อเท็จจริง และทำงานเพื่อรับใช้ชาติของตน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้การใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ รัฐมนตรีต้องมีสติคือการระลึกถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาในมหาวิทยาลัย และความรู้ที่ได้รับจากการทำงานผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมอยู่ในจิตใจ เพื่อใช้ความรู้นั้นแก้ไขปัญหาของประเทศ ตามนโยบายที่กำหนดไว้และแถลงต่อรัฐสภาของประชาชนแล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนที่สะท้อนออกมาทางอินเตอร์เน็ต มีสมาธิคือตั้งใจทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม องค์ประกอบสุดท้ายคือคณะรัฐมนตรีต้องมีปัญญาหยั่งรู้ของบทบาทหน้าที่ของตน สามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยความซื่อสัตย์บริสุทธิ์ ยุติธรรม สมกับความคาดหวังของประชาชนโดยยึดหลักความมั่นคงของประเทศเป็นพื้นฐาน เป็นต้น
โดยทั่วไปปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ ในสมัยพุทธกาล มนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะ นักปรัชญา บุคคลเหล่านี้ เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมักจะแสดงทัศนะของตนเอง ตามปฏิภาณของตนเอง และคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของตนในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น แต่การใช้เหตุผลของบุคคลเหล่านั้นมักจะใช้เหตุผลถูกบ้างหรือผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้างหรือเป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อเหตุผลคำตอบของนักตรรกะ นักปรัชญาจึงไม่ชัดเจนว่าความจริงของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร ? ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์มีอาตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และมีความลำเอียงต่อผู้อื่น ชีวิตจึงมนุษย์ทุกคนจึงเต็มไปด้วยความมืดมน จึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต
ในการศึกษาปัญหาความจริงของการสร้างอาณาจักรโมริยะเป็นมหาอำนาจของโลกนั้นถือเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาหรือไม่ เมื่อเราศึกษาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้ว ผู้เขียนเห็นว่านักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้าเป็นต้น ในการศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ โลกและปรากฎการณ์ทางธรรมชาตินั้น เป็นความรู้ที่มนุษย์สามารถรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมเรื่องราวเหล่านี้เป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจได้ ส่วนความรู้อีกประเภทหนึ่งหนึ่งความจริงขั้นปรมัตถ์ มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้โดยตรง เว้นแต่ผู้นั้นจะพัฒนาศักยภาพของชีวิตตนเองตามหลักปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘เท่านั้น เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น