The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทนำ : แนวคิดทางอภิปรัชญาการมีอยู่ของพระพรหมในพระไตรปิฎก


Introduction: The  Brahma in the Tripitaka

คำสำคัญ  พระพรหม  อภิปรัชญา 
๑.บทนำ 
๒.ศึกษาความเชื่อเรื่องพระพรหม
๓.วิเคราะห์แนวคิดเรื่องพระพรหมในพระไตรปิฎก

๑. บทนำ ความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎก     
               
               ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจให้ฟังว่า ำพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา   ไม่ได้อธิบายประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์นั้นอย่างเป็นระบบในเหมือนตำราของประวัติศาสตร์ที่เรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วโลก     แต่พระไตรปิฎกจะรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ในบริบทต่าง  ๆ        ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา   ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน  พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า     "บริบทหมายถึง  ข้อความหรือสถานการณ์แวดล้อม    เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของภาษาหรือถ้อยคำ      เป็นต้น  

           ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น       ถือเป็นยุค  "ยุคศิวิไลซ์"   ในระดับหนึ่ง ที่มีการตั้งสถาบันการศึกษาของพราหมณ์นิกายต่าง ๆ ให้กับผู้คนในวรรณะส่งลูกหลานเข้าศึกษาต่าง ๆ      เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมา  มีการสร้างหลักสูตรศิลปศาสตร์สำหรับชนวรรณะกษัตริย์    เพื่อเตรียมความพร้อมในการปกครองประเทศ    แม้ว่าผู้คนในสังคมอยู่กันอย่างสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และกฎหมายของทุกประเทศเป็นความรู้ที่มนุษย์สร้างจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมในจิตใจมาช้านาน  สาเหตุก็คือมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้น    จึงจำเป็นต้องจัดระเบียบสังคมด้วยกฎหมาย การศึกษา  การเมือง เศรษฐกิจ   ศาสนา  และวัฒนธรรม  เป็นต้น   แม้ผู้คนมีความสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรม   มนุษย์มีศรัทธา มีความมั่นเพียร  มีสติสัมปชัญญะ  สมาธิและปัญญาหยั่งรู้ความจริงไม่เท่ากัน  ในยามสงบสุข   ผู้คนจะประมาทในชีวิตโดยขาดความละมัดระวังซึ่งบุคคลในสถานการณ์เช่นนั้น         จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของตน      ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้แต่ไม่เพียงพอซึ่งเราเรียกว่า "ความประมาท"  ทำให้ชีวิตและทรัพย์สินเสียหายนับแสนล้านบาทต่อปี    เป็นต้น   
  
            ในยุคต่อมา   ผู้นำของประเทศต่าง ๆ    ทั่วโลก  เห็นว่าประชาชนไม่ปฏิบัติตามหลักศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย โดยคำนึงถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น          ไม่ศึกษาหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนาและไม่ยอมศึกษาหาความรู้ด้วยการปฏิบัติมรรคมีอค์ ๘       เพื่อให้เกิดตาทิพย์มองเห็นดวงวิญญาณของคนชั่วไปชดใช้กรรมในนรก    หรือมองเห็นดวงวิญญาณของคนดี ไปเสวยสุขบนโลกสวรรค์    อีกทั้งพวกเขาเห็นพฤติกรรมของคนชั่วหลายคน      หนีคดีจนหมดอายุความ       กลับมาใช้ชีวิตในสังคมเดิม อย่างสงบสุข     เป็นต้น  เมื่อปัญหาผิดศีลธรรมมีมากขึ้น  ผู้นำของรัฐบาลจึงบัญญัติหลักศีลธรรมเป็นกฎหมายอาญา  เป็นหลักการที่ประชาชนทั่วโลกควรยึดถือ      และปฏิบัติต่อกันด้วยมาตรฐานเดียวกัน      เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิและหน้าที่ในชีวิตและทรัพย์สินของกันและกัน เพราะมนุษย์ชอบอ้างเหตุผลในการกระทำของตนว่าถูกต้องอยู่เสมอ   

            เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์    จะทำให้มนุษย์รู้ว่าชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทั้งทางร่างกายและทางจิตวิญญาณได้ปรุงแต่งขึ้นในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙  เดือน    ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วมนุษย์ตายไป    ชีวิตมนุษย์จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยงจิตวิญญาณจะต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอย่างไม่สิ้นสุด  เมื่อกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดมาพร้อมอวิชชา  พวกเขาจึงแสวงหาความสุขจากรูป เสียง กลิ่น  รส    โผฏฐัพพะและธรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจต่อไป โดยไม่รู้ว่าชีวิตของพวกเขานั้น    มีจิตวิญญาณที่เคยเวียนว่ายตายแล้วเกิดมาแล้วไม่รู้จบสิ้น     มันเป็นตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา    อาศัยอยู่ในร่างกายและสั่งสมความดีและความชั่วในจิตวิญญาณ     
  
             เมื่อคนเรายังมีกิเลสอยู่ในจิตใจ     ก็แสดงเจตนาที่จะแสวงหาสิ่งที่ตนชอบเพื่อสนองอารมณ์ของตนตัวอย่างช่น  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเพลิดเพลินกับรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ      และธัมมารมย์อันน่ารื่นรมย์ในพระราชวัง ๓ ฤดู ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังกบิลพัสดุ์    ส่วนยสกุลบุตรก็มีความสุขในปราสาทในเมืองพาราณสีเช่นกัน   แต่การสั่งสมความสุขผ่านประสาทสัมผัสของตัวเองมา   เป็นเวลานาน สุดท้ายความสุขก็คือความเบื่อหน่ายกับความมหายาน      ต่อมาพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงได้พัฒนาศักยภาพชีสุขนั้น   ดังปรากฏหลักฐานชัดเจนในพระไตรปิฎกเถรวาทและวิตของพระองค์เอง   จากหลักปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ จนสามารถบรรลุความจริงของชีวิตมนุษย์ที่เรียกว่า "อภิญญา๖ "       

               การพัฒนาองค์ความรู้ของมนุษย์จากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์มาสู่ยุคศิวิไลซ์สมัยพุทธกาล       เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่า คำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะสภาพบังคับของกฎหมายวรรณะวรรณะก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติในสังคมอย่างรุนแรง    โดยการบังคับให้ประชาชนทำงานตามวรรณะที่ตนเองเกิดมาเท่านั้น    และห้ามประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะ   และให้คนในสังคมตรวจสอบกันเองเพื่อความบริสุทธิ์ของวรรณะ        และคนให้สังคมลงโทษด้วยการลงพรหมทัณฑ์ด้วยการไม่คบค้าสมาคม        และห้ามใช้สาธารณะสมบัติร่วมกันวรรณะสูง ต้องหนีออกจากสังคมเดิม ไปใช้ชีวิตคนไร้บ้านตามท้องถนนไปตลอดชีวิตในเมืองใหญ่ของแคว้นต่าง ๆ     


         เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลที่เกิดในแคว้นสักกะและแคว้นอื่น   ๆ        ทั่วอนุทวีปอินเดียพวกเขาถูกเลือกปฏิบัติในสังคมเพราะความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีหลังพุทธกาล        เมื่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกเผยแผ่ไปทั่วโลกตะวันตก    โดยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรโมริยะไปเผยแผ่หลักธรรมพระพุทธศาสนา    และแนวทางปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘          นักปรัชญาตะวันตกได้ใช้ความรู้ทางพระพุทธศาสนามาอธิบายปรัชญาตะวันตกจนเกิดยุคศิวิไลซ์ทางปรัชญาตะวันตก      อย่างไรก็ตาม  เมื่อพยานหลักฐานทางปรัชญาเป็นพยานบุคคลที่เป็นมนุษย์          ที่มีอายตนะภายในร่างกายที่มีความสามารถในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างจำกัดและมนุษย์มีนิสัยเห็นแก่ตัว จึงมักลำเอียงเข้าข้างผู้อื่น   

          ดังนั้น การได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต  จากพยานเพียงคนเดียวย่อม จึงไม่น่าเชื่อถือ   เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในและมักมีอคติต่อผู้อื่น        แม้มนุษย์มีเหตุผลเป็นเครื่องมือทางปรัชญาในการอธิบายความจริงก็ตาม แต่การให้เหตุผลของพราหมณ์ซึ่งเป็นนักตรรกะศาสตร์และนักปรัชญา  ตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงตามปฏิภาณของตนเอง     ย่อมใช้เหตุผลอธิบายความจริงถูกบ้าง  ผิดบ้างทำให้ข้อเท็จจริงของคำตอบเกี่ยวกับมนุษย์ โลกจักรวาล  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น   และข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้าของนักปรัชญาและตรรกศาสตร์ยังไม่ชัดเจน    ทำให้เกิดความสงสัยในข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ของมนุษย์มาทุกยุคทุกสมัย  เป็นต้น   

              เมื่อนักปรัชญาใช้เหตุผล      เป็นเครื่องมือของตนเองในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องต่าง  ๆ     จากบุคคลซึ่งอ้างตัวเป็นประจักษ์พยานในเรื่องนั้น    โดยทั่วไปแล้วประจักษ์พยานนั้นเป็นมนุษย์คนหนึ่ง  ที่มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมีอคติต่อผู้อื่นอาจให้เหตุผลอธิบายความจริงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง    เมื่ออ้างตนเป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุอาจมีข้อน่าสงสัยว่า          จะมีความรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองจริง     ทำให้เกิดความสงสัยว่าพยานจริงหรือพยานเท็จ     ทำให้เกิดข้อโต้แย้งและหักล้างข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เรื่องนั้นด้วยเหตุผลไม่มีที่สิ้นสุดในเรื่องนี้

             ในยุคหลังๆ นักวิชาการสมัยใหม่ ได้พัฒนาความรู้ทางปรัชญาโดยสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์        เพื่อช่วยนักปรัชญาตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง  ๆ ได้มากขึ้น    เมื่อหลักฐานเพียงพอแล้ว     ก็จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาความจริงโดยใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์  โดยอนุมานความรู้หรือการคาดคะเนความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ โดยการใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงในเรื่องต่าง  ๆ    

              ตัวอย่างเช่น กาลิเลโอมีความสงสัยเกี่ยวกับความจริงของแนวคิดทางปรัชญาโบาณว่า        โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีนักปรัชญาชื่อเกลาดีโอส ปโตเลไมโอส และอาริสโตเติลสนับสนุนแนวคิดในเรื่องนี้       ต่อมาโคเปอร์นิคัส   นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์เสนอแนวคิดที่ว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลแทนที่จะเป็นโลกโดยมีโลก       ดาวพุธ  ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม       เป็นต้น  เมื่อกาลิเลโอเป็นมนุษย์ขึ้นหนึ่ง ที่มีอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้ โลกและดาวเคราะห์ต่าง ๆ  อย่างจำกัดและมีอคติต่อผู้อื่น    ทำให้ชีวิตมืดมนและขาดความสามารถในการคิดใช้เหตุผล       เป็นเครื่องมือในการอธิบายความจริงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในเรื่องนี้  ได้อย่างสมเหตุสมผล     

                   กาลิเลโอจึงสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ  เกี่ยวกับเวลาและองศาของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ทุกวันโดยการใช้กล้องโทรทรรศน์      เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว      กาลิเลโอก็ใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆเพื่อพิสูจน์ความจริง  โดยการใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องเหล่านี้    
     
            เมื่อนักปรัชญาใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงเรื่องต่าง ๆ ได้เนื้อสาระสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงพอแล้ว      นักวิทยาศาสตร์จึงแยกเนื้อหาของวิทยาศาสตร์               ออกจากปรัชญามาเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จนถึงทุกวันนี้    แม้นักวิทยาศาสตร์จะแยกเนื้อหาวิทยาศาสตร์ออกไปจากปรัชญาแล้วก็ตาม  แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ละทิ้งปรัชญาในฐานะมารดาแห่งวิทยาศาสตร์            แต่พวกเขาได้นำกระบวนการพิจารณาความจริงของนักปรัชญาได้แก่พระพุทธเจ้า เพลโตและอาริสโตเติล  มาใช้กับวิทยาศาสตร์ของพวกเขามาจนถึงปัจจุบันเป็นต้น  

          ในยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต     เพื่อเชื่อมต่อและสร้างโลกใหม่ไร้พรหมแดน  ผู้คนเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ห่างไกลได้มากขึ้นทางอินเตอร์เน็ต    ทำให้ผู้คนไปต่างประเทศมากขึ้น    ทำให้คนต้องพบเจอกับโชคชะตาและเหตุการณ์ไม่คาดคิดมากมายในชีวิตเช่นความรักของคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา  ต่างวัฒนธรรม  อยู่คนละซีกโลก      แต่ได้พบกันและตกหลุมรักกันโดยสมัครใจ  หลายคนอาจเคยได้ยินในเรื่องราวนี้และคิดว่าคงช่วยจะยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนี้แล้ว  คิดว่าพระพรหมลิขิต เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิต      หลายคนเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้ว  รวมถึงครอบครัวที่เรามีและทุกสิ่งที่เรามี แม้แต่คนรักที่เราพบ และอาชีพที่เราอยากเป็น    
พระพรหมบนเขาแก้ว   วัดถ้ำดาวเขาแก้ว พระไตรปิฎก

       หลายคนเชื่อว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเรา   เพราะพระพรหมกำหนดชะตาไว้แล้ว     คนที่เราพบเจอเพราะได้รับแรงบันดาลใจให้รู้จักกันเป็นบทเรียนชีวิต  ทำให้เราทุกข์บ้างสุขบ้าง     แต่ก็ยังมีคนอีกมากที่เชื่อว่าพระพรหมไม่กำหนดชีวิตใคร    ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาในการกระทำของเราเองและหลายคนก็เถียงว่า       จะมีคู่ครองหรือไม่อยู่ที่ตัวเราเลือกเอง   ไม่มีใครถูกบังคับให้แต่งงานและเสียสินสอดนับล้าน แต่ก็ยังหาสามีหรือภรรยาที่ดีไม่ได้อย่างที่หวังและหลายคู่มองหน้ากัน      เมื่อมองหาเหตุผลของคำตอบนี้  หลายคนคิดว่าสองคนนี้เคยทำบุญร่วมกันตั้งแต่ชาติที่แล้ว      ตามหลักพุทธศาสนาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เป็นต้น  
  
              แม้ว่านักปรัชญาจะรู้จักใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือของตนเองในการอธิบายว่าพฤติกรรมของมนุษย์นั้นดีหรือชั่ว      และพัฒนาศักยภาพของตน     ในการสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต        เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์   จิตเวช ฯลฯ เข้าด้วยกัน        เราจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลชีวิตของตนเองหรือผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง   จนกระทั่งเราสามารถหาเหตุผล  มายืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องที่เราต้องการรู้และไม่สงสัยข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอีกต่อไป  

            แต่เมื่อบุคคล นั้น    ยังขาดการพัฒนาศักยภาพชีวิตให้เข็มแข็งด้วยการทำสมาธิ ชำระจิตใจบริสุทธิ์  ปราศจากอคติ ไม่ขุ่นมัว อ่อนโยน ไม่หยาบกระด้าง เขายังคงในปณิธาน  และไม่หวั่นไหวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตแล้ว ถือว่าบุคคลนั้น  ยังมีชีวิตที่อ่อนแอและไม่สามารถพึงพาจิตใจของตนเองในการแก้ปัญหาชีวิตได้       ทางเลือกในการแก้ปัญหาชีวิตของพวกเขา     คือ การเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพรหมและถวายเครื่องสักการะด้วยดอกไม้และพวงมาลัย    เพื่อขอพรจากพระพรหมให้ประสบความสำเร็จ        ดังน้้น สถานศักดิ์สิทธิ์ของพระพรหมทั่วโลกจึงยังคงเต็มไปด้วยเครื่องบูชา ดอกไม้และเครื่องบูชาอื่น     ๆ นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ซึ่งสร้างรายได้มหาศาลจากการบูชาดังกล่าว

             เมื่อผู้เขียนได้ขึ้นข้อเท็จจริงเรื่องการมีอยู่ของพระพรหมที่เล่าต่อ ๆ กันมา ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า   เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเนื่องหนึ่ง ที่ฟังต่อ ๆ กันมา  อย่าไม่ควรเชื่อทันที เราควรสงสัยเสียก่อนว่าพระพรหมเป็นใคร และเหตุใด จึงเป็นที่ยอมรับในสังคมตั้งแต่ก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน   จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ พิสูจน์ความจริงในเรื่องการมีอยู่ของพระพรหม เป็นต้น    เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นที่น่าสงสัย แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป    ก็จะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระพรหมในพระไตรปิฎก  โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ อรรถกถา เอกสารคัมภีร์ต่างๆ, บันทึกของสมณะจีน ๒ รูปและแผนที่โลกของ Google เป็นต้น 

            บทความที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล จะเป็นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระวิทยากรในการนำไปใช้บรรยายกับพุทธศาสนิกชนชาวไทย และนานาชาติที่จาริกแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบลเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้จากหลักฐานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุและพยานเอกสารดิจิทัลนั้น ผลของการวิเคราะห์จะได้คำตอบที่การผ่านการตัดสินที่สมเหตุสมผลและมีน้ำหนักของความจริงอันเป็นที่สุด ไม่สงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป และเป็นประโยชน์ต่อนิสิตระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนาและปรัชญาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียนวิจัยในงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลของคำตอบในประเด็นที่สงสัย ลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย. 



3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ติดตามบล็อกเหล่านี้

พระสุรศักดิ์ มหาปัญโญ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆและมีสาระ อ่านเข้าใจง่ายด้วยครับ^^

Unknown กล่าวว่า...

อ่านแล้วสบายใจครับ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ