The truth problem regarding Brahma in the Mahachulalongkorn Tripitaka
บทความนี้จะจะสำรวจประเด็นเกี่ยวกับการกล่าวถึงพระพรหมในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ โดยเน้นวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับพระพรหมในศาสนาพราหมณ์และความเข้าใจในพระพุทธศาสนา เพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า พระพุทธศาสนาปฏิบัติต่อแนวคิดเรื่องพระพรหมอย่างไร และข้อขัดแย้งหรือความคลุมเครือที่อาจจะเกิดขึ้น
๑.บทนำ
ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับพรหมสร้างมนุษย์ ถือว่าเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่น่าสนใจที่เราควรศึกษา เพราะเป็นความเชื่ออันมั่นคงของชาวชมพูทวีปที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจนถึงทุกวันนี้ผู้คนยังเชื่อในพระพรหมว่าสามารถช่วยมนุษย์ให้สมหวังในชีวิตโดยเฉพาะเรื่องความรัก เมื่อเราเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก จะเห็นว่าเทวสถานซึ่งเป็นที่สถิตย์ของพระพรหมสถิตย์ก็ยังคงเต็มไปด้วยเครื่องเซ่นไหว้พระพรหมที่ผู้คนนำมาถวายเป็นเครื่องบูชา เพราะพวกเขามีความทุกข์ในจิตใจ จึงมาขอพรพระพรหมช่วยให้พวกเขาสมหวังในชีวิตเสียที
ตามหลักวิชาปรัชญานั้น เมื่อใครกล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใด ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นว่าจริง ถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้น จากพยานหลักฐานปากเดียวขาดความน่าเชื่อ เพราะโดยทั่วไปธรรมชาติของมนุษย์นั้น มักมีอคติต่อกัน มักจะยืนความจริงไปข้างใดข้างหนึ่งและอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ทางสังคมที่้เกิดขึ้นห่างไกลออกไป หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น เมื่อลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์เป็นนี้ ทำให้มนุษย์ขาดความน่าเชื่อถือและข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากคำให้การเขาเพียงปากเดียว จึงไม่สามารถยอมรับของนักปรัชญาว่าเป็นจริงได้ เป็นต้น ดังนั้น ตามหลักวิชาการทางปรัชญานั้น จึงแบ่งความจริงออกเป็นสองประการ กล่าวคือ ๑. ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.สัจธรรม คือความจริงขั้นปรมัตถ์

๑. ความจริงที่สมมติขึ้น โดยทั่วไปสถาวะทางธรรมชาติที่อยู่รอบคัวมนุษย์นั้น อาจเป็นปรากฏการณทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไปในอากาศธาตุ ตัวอย่างเช่นแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด, คลื่นยักษ์สึนามิยาวขนาด ๑๐๐ กิโลเมตร เป็นต้น ตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเช่น การแบ่งชนชั้นวรรณะในสังคมของชมพูทวีป จนเกิดคนจัณฑาลใช้ชีวิตเร่ร่อนในเมืองพระนครกบิลพัสดุ์, เหตุกราดหญิงนักเรียนในโรงเรียนมัธยม คนเหยียบกันตายในสนามบอลเป็นร้อยคนในต่างประเทศ, การหลอกลวงให้แชร์ทีผู้เสียหายหลายพันคน เป็นต้น แต่จิตของมนุษย์สามารถรับรู้อารมณ์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะดึงดูดอารมณ์ของเรื่องราวเหล่านี้ เป็นหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง แต่ธรรมชาติของมนุษย์ชอบคิดปรุงแต่งจากหลักฐานทางอารมณ์นั้น ก็จะวิเคราะห์หลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ ว่าจริงหรือเท็จ หรือยังไม่ทราบแน่ชัดสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร นักปรัชญาชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ความจริงอันเป็นที่สุดต่อไป ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ภูเขาไฟระเบิด คลื่นยักษ์สินามิยาวขนาด ๑๐๐ กิโลเมตร เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตัวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไป ตามกฎธรรมชาติมนุษย์รับรู้ได้ด้วยอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของตนเอง ถือว่าเป็นความรู้ในระดับประสาทสัมผัสและเป็นความจริงที่สมมติขึ้น, มนุษย์เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายลงไปด้วยความตาย ตามหลักวิชาการทางปรัชญาจึงถือได้ว่าการมีอยู่ของมนุษย์ทั่วโลก เป็นความระดับประสาทสัมผัสและสั่งอยู่ในจิตใจของมนุษย์ เป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น
๒.สัจธรรม คือความจริงขั้นปรมัตถ์ คือความจริงอันเป็นที่สุด หรือความจริงอันลึกซึ้งที่ปุถุชนยากจะเข้าใจได้ หากเราจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เป็นความจริงที่อยู่่นอกเหนือประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ผ่านอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของมนุษย์ โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงอันเป็นที่สุด ที่เรียกว่า "สัจธรรม" ได้ด้วยตนเอง เพราะมนุษย์มีการรับรู้ผ่านอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของร่างกายของตนเองอย่างจำกัด จึงไม่สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรได้ แม้แต่ร่างกายของเราเอง มนุษย์ก็ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในต่างประเทศได้ ต้องรับรู้จากการถ่ายทอดสดข่าวจากต่างประเทศ นอกจากนี้จิตมนุษย์มีแนวโน้มที่จะอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตตกอยู่ในความมืดมิด แม้ปัจจุบันจะมีการสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาค้นหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานการค้นพบความรู้ที่เป็นปรมัตถ์ ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ แต่ผู้เขียนกลับค้นพบหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ว่าพระสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยหลักปฏิบัติหลายวิธีด้วยกัน แต่ในที่สุด พระองค์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตตามแนวอริมรรคมีองค์ ๘ จนได้ความรู้ในระดับอภิญญา๖ เช่น สภาวะนิพพาน เห็นวิญญาณของมนุษย์เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ และการระลึกชาติ เป็นต้น ตามคำสอนในเรื่องนี้ถือเป็นความจริงในระดับขั้นปรมัตถ์ ผู้จะหยั่งรู้ความจริงอันที่สุดนี้ ต้องเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ เท่าน้น จะต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาศักยภาพชีวิตตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘ กว่าจะได้ความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้ แม้นักวิทยาศาสตร์จะสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์มากมายช่วยเหลือมนุษย์ ให้การค้นหาความจริงของเชื้อโรคที่เล็กที่สุดด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานที่เพียงพอแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานเหล่านั้น แต่สุดท้ายแล้ว ผู้ที่ตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและวิเคราะห์หลักฐานนั้น ก็ต้องใช้จิตของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องและใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์นั้น ๆเป็นต้น
ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และเอกสารทางวิชาการทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในสมัยพระเจ้าสุทโธทนะทรงเป็นมหาราชาแห่งแคว้นสักกะและทรงมีความศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ โดยแต่งตั้งพราหมณ์อารยันดำรงตำแหน่งปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี พระองค์ทรงประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะในอาณาจักรสักกะ และห้ามคนทุกวรรณะมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะ หรือแต่งงานกับคนวรรณะอื่น ถ้าใครฝ่าฝืนกฎหมายวรรณะถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามกฎหมายวรรณะได้ให้อำนาจคนในสังคมนั้น ตรวจสอบกันเองและลงโทษผู้กระทำผิดโดยขับไล่ต้องออกจากถิ่นที่อยู่อาศัยตลอดชีวิต ผู้กระทำความผิดต้องหนีออกจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องเร่ร่อนไปตามท้องถนนตลอดชีวิต เป็นต้น การที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบกับนิมิต ๔ ประการหรือคนจัณฑาล เรื่องนี้ทำให้พระองค์ทรงสนพระทัยที่จะศึกษาการมีอยู่ของพระพรหมเพราะ"พระพรหม"มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวสักกะและชาวโกฬิยะ แม้ประชาชนจะไม่มีความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเองเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าก็ตาม เมื่อมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าพระพรหมและพระอิศวรช่วยคนให้สมหวังในชีวิตได้ จึงพากันมาบูชาเทพเจ้าและเครื่องบูชาอันมีค่าเป็นของพราหมณ์ผู้ทำพิธี สร้างความมั่งคั่งให้พราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการบวงสรวงเทพเจ้า ระหว่างพราหมณ์อารยันกับพราหมณ์มิลักขะ ทำให้มหาราชาในหลายแคว้นประกาศบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยอ้างเหตุผลกับคนในสังคมว่าพระพรหมสร้างวรรณะทั้ง ๔ ไว้
ดังนั้น การตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ จึงเป็นการริดรอนสิทธิมนุษย์อย่างร้ายแรงและชีวิตมนุษย์ตกอยู่ในความมืดบอดเพราะขาดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เมื่อมนุษย์มีชีวิตอย่างอ่อนแอ เพราะขาดการพัฒนาศักยภาพของชีวิต สั่งสมกิเลสจากผัสสะไว้มาก เกิดความคับข้องใจตลอดเวลา กลายเป็นคนหยาบกระด้างไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างมีความสุข ไม่มั่นคงในอุดมการณ์ของชีวิต และหวั่นไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผุ้อื่น จึงขาดสติในการกระทำของตนเอง โดยไม่สามารถนึกถึงหลักศีลธรรมและกฎหมายได้ หากตนกระทำผิดไปถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน พวกเขาจึงขาดปัญญาที่จะนำความรู้จากประสบการณ์ชีวิตนั้นไปใช้ตัดสินแก้ปัญหาของตนเองได้ เมื่อหักห้ามใจตนเองไม่ได้จึงกระทำผิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ด้วยการมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะ หรือการแต่งงานข้ามวรรณะโดยได้รับความยินยอมคนในครอบครัว เป็นต้น เมื่อมนุษย์เกิดมาเพื่อที่จะมีความรักกันทุกคน ไม่ว่าเขาจะมีฐานะสูงตำในสังคม ก็ต้องการความรักด้วยกันทั้งนั้น อารมณ์แห่งความรักทำให้จิตมนุษย์มืดมิดมองเห็นไม่เห็นทุกข์ที่เกิดความรักนั้น แต่เมื่อรักแล้วและยึดติดในอารมณ์สุขแห่งความรักนั้น ย่อมเกิดทุกข์จากความรัก ดังนั้นผู้คนจำนวนมากจึงทิ้งความสบายจากฐานะในสังคมร่ำรวยและหน้าที่การงานเพื่ออยู่กันคนที่ตนรัก ย่อมใช้ชีวิตเร่ร่อน เพื่อจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขแม้จะอยู่ในวัยชรา ยามเจ็บป่วย และนอนตายอยู่เคียงข้างกัน
เมื่อข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนสงสัยรู้ว่าพระพรหมคือใคร และต้องการศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ต่อไป

๑.พระพรหมเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกและมนุษย์ เมื่อผู้เขียนค้นคำว่า"พระพรหม" ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯแล้ว ผู้เขียนพบว่าพระอิศวรและพระพรหม เป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกและมนุษย์ ดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกออนไลน์เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] ทีฆนิกายปาฏิกวรรค [๑.ปาฏิกสูตร] เรื่องการประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลก เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาของศากยมุนีพุทธเจ้าแก่ภัคควโคตรปริพาชกข้อ ๓๗. ภัคควะมีสมณะพราหมณ์บางพวกประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า "ทราบว่าท่านทั้งหลายบัญญัติทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างจริงหรือ "สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้วยืนยันว่า เป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่าพวกท่านประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลก ตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง มีความเป็นมาอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วตอบไม่ได้ กลับย้อนถามเรา เราถูกเขาถามจึงตอบว่า..........
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้นอาจารย์ของสมณพราหมณ์สอนว่าพระอิศวรและพระพรหม เป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกและมนุษย์ให้เกิดขึ้นมา ตามทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกของพวกพราหมณ์ทำให้สมณะพราหมณ์เหล่านั้นเชื่อว่า เป็นความจริงปราศจากข้อสงสัยเหตุผลของการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร แต่อย่างใด ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อไม่มีพยานหลักฐานใดยกเหตุผลขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกอีกต่อไปจึงเชื่อว่าสมณพราหมณ์ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้นมีความเชื่ออย่างนั้นจริง ส่วนประเด็นศากยมุนีพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า พระอิศวรและพระพรหมสร้างโลกและมนุษย์นั้น มีความเป็นมาอย่างไรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้น้ำหนักเหตุผลของความเชื่อว่าเป็นความจริงนั้นน้อยไม่น่ารับฟัง
๒.ประเด็นต้องพิจารณาต่อไปว่าพระพรหมเป็นใครข้อเท็จจริงรับฟังเป็นข้อยุติได้ว่า
พระพรหมเป็นสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากพระวรกายของพระพรหม ดังปรากฏหลักฐานในพยานเอกสารดิจิทัลของพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค [อัคคัญญสูตร] ข้อ.๑๑๓ ครั้งนั้นวาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้เดินจงกรมตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังทรงจงกรมอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งเรียกเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรมาตรัสว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะเธอทั้งสองมีชาติเป็นพราหมณ์มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกจากตระกูลพราหมณ์ บวชเป็นบรรพชิต พวกพราหมณ์ไม่ด่าไม่บริภาษเธอทั้งสองบ้างฤา หรือข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ด่าและบริภาษข้าพระองค์ทั้งสองด้วยคำเหยียดหยามอย่างสมใจ เต็มรูปแบบไม่ใช่ไม่เต็มรูปแบบ...พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม .....สมณะโล้น เป็นคนรับใช้เป็นคนวรรณะต่ำเป็นเผ่าของมารเกิดจากพระบาทของพระพรหม.....

ข้อเท็จจริงจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารวิทยาศาสตร์พระไตรปิฎกออนไลน์รับฟังได้เป็นข้อยุติว่า พวกพราหมณ์มีความเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นจากพระวรกายของพระพรหมโดยพวกพราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม วรรณะศูทรเกิดจากพระบาทของพระพรหมเป็นต้น
๒.๑ ลักษณะของพระพรหม
เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าจากในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ข้อที่ ๑ พรหมชาติสูตรกล่าวไว้ในข้อที่ ๔๒ กล่าวว่าภิกษุทั้งหลายบรรดาสัตว์พวกนั้น ผู้เกิดก่อนมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นท่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ที่เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด เราบันดาลสัตว์เหล่านี้ขึ้นมาเพราะเหตุไร เพราะเรามีความคิดมาก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นพึงมาเป็นอย่างนี้บ้างเรามีความตั้งใจอย่างนี้และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้สัตว์เกิดมาภายหลังก็มีความคิดอย่างนี้แล้วว่าท่านผู้เจริญนี้เป็นพระพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นท่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ที่เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด พระพรหมผู้เจริญนี้บันดาลพวกเราขึ้นมา เพราะเหตุไร เพราะว่าเราเห็นพระพรหมองค์นี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกข้างต้น ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในตำราพรหมชาติสูตรได้บันทึกไว้ว่า มนุษย์ในยุคก่อนมีความเชื่อว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุดที่ไม่มีใครจ่มเห่งได้ เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากพระวรกายของพระองค์ และทรงสร้างสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะของตนเองที่กำเนิดขึ้นมา
ลักษณะของพระพรหม
๑) เป็นเทพเจ้าไม่มีใครข่มเหงได้ กล่าวคือ พระพรหมเป็นนามธรรม เป็นอรูปไม่มีใครเห็นพระองค์ได้ สัมผัสพระองค์ได้ด้วยเหตุผลเป็นเครื่องมือที่ีทำให้มนุษย์เข้าถึงพระองค์ได้
๒) พระพรหมเห็นท่องแท้ เป็นผู้หยังรู้สิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสมองเห็นอดีตและอนาคตของผู้คน
๓) เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นผู้มีอำนาจเหนือมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย โดยการกำหนดโชคชะตาของมนุษย์
๔) เป็นผู้สร้างมนุษย์ เป็นผู้บันดาลมนุษย์มีโชคชะตาตามพรหมลิขิตเป็นต้น
๕) ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ที่เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด
๖) พระพรหมผู้เจริญนี้บันดาลพวกเราขึ้นมา เพราะเหตุไรเพราะว่า เราเห็นพระพรหมองค์นี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดมา ภายหลัง.
๓.ผลของความเชื่อเรื่องพระพรหมในแคว้นสักกะ

ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น เมื่อชาวแคว้นสักกะและแคว้นอื่น ๆ ในชมพูทวีปนั้น มีความรู้และเชื่อว่าเป็นความจริงในเรื่องพระพรหมเป็นเทพเจ้าผู้มีอยู่จริงและผู้สร้างชีวิตพวกเขาขึ้น มาจากส่วนต่าง ๆ ของวรกายพระพรหม และกำหนดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะของตนที่เกิดขึ้นมา แต่ที่ทุกทุกคนไม่สามารถปฏิเสธโดยไม่ยอมปฏิบัติตามความเชื่อมิได้ เพราะความเชื่อนั้นถูกนำมาบัญญติเป็นกฎหมาย ทำให้เกิดสภาพบังคับให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายประกาศใช้บังคับ เมื่อชนวรรณะกษัตริย์เชื่อว่าถูกพระพรหมสร้างขึ้นมาและพระองค์ได้กำหนดมีหน้าที่ปกครองตามคำสอนของพวกพราหมณ์ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพระองค์พระองค์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ออกกฏหมายรับรองความเชื่อในปรัชญาศาสนาพราหมณ์นั้นด้วยการออกกฎหมายแบ่งชนชั้นวรรณะในสังคม ทำให้รัฐสักกะชนบท เป็นรัฐศาสนาการปกครองแคว้นสักกะของวรรณะกษัตริย์ทำการแบ่งผู้คนในแคว้นสักกะออกเป็นชนชั้นวรรณะต่าง ๆ โดยอ้างเหตุผลของการแบ่งแยกนั้น เป็นความประสงค์ของพระพรหม เพราะตามคำสอนของพวกพราหมณ์พวกเขากล่าวผู้คนในยุคนั้นว่าที่ติดต่อสื่อสารกับเทพเจ้าได้เมื่อพระพรหมสร้างชาวสักกะชนบทขึ้นมาแล้ว พวกเขาต้องทำตามความประสงค์ของพรหม ด้วยการทำหน้าที่ตามที่พระพรหมกำหนดไว้จะล่วงละเมิดไม่ได้ จะถูกการลงโทษจากพระพรหม ด้วยการสั่งห้ามมิให้คนในวรรณะสูงนั้นคบค้าสมาคมด้วยแม้ชาวสักกะส่วนใหญ่จะยอมรับปฏิบัติตามแต่ผู้เป็นบัณฑิตนั้นใช้ปัญญาพิจารณาเองได้ว่า การประกาศแบ่งชนชั้นวรรณะในสังคมของสักกะชนบท ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
จากหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้น บันทึกกล่าวถึงวรรณะกษัตริย์และวรรณะศูทร แสดงให้การแบ่งชนชั้นวรรณะ มีมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าโอกกากราชแล้วเรื่อยมาจนถึงอินเดียประกาศเอกราชมีการร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวอินเดียมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อรัฐสภาศากวงศ์ออกกฏหมายแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะแล้ว ทำให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าอยู่ในวรรระสูงหรือวรรณะต่ำต้องอยู่ภายใต้อำนาจของกฏหมาย และดำเนินชีวิตเป็นไปตามกฎหมายสิทธิหน้าที่ไว้อย่างเคร่งครัดไม่อาจจะหลีกเลี่ยงสิทธิหน้าได้แต่การออกกฎหมายดังกล่าวนั้นรัฐสภาลืมไปว่า มนุษย์นั้นย่อมแสวงหาความสุขไม่มีใครชอบความทุกข์โดยเฉพาะความทุกข์เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายเป็นต้น มนุษย์ใช้ชีวิตตามอารมณ์ที่มาผัสสะอินทรีย์ก่อนเข้าสู่จิต มนุษย์ย่อมขาดความยับยั้งช่างใจที่เรียกว่าสติปัญญากล่าวคือ ผู้หญิงในวรรณะสูงรู้ตัวว่าตัวเองอยู่ในวรรณะไหน หากจิตมีสติความรู้ตัวใช้พิจารณาว่าหากตนเองคบหาผู้ชายต่างวรรณะที่ต่ำกว่าตนด้วยปัญญาพิจารณาของตัวเองจะเกิดผลอะไรตามมา เป็นต้น ตัวอย่างเช่นนางปาฏาจารา ลูกสาวเศรษฐีเกิดในวรรณะพราหมณ์ใช้ชีวิตอยู่บนปราสาทอย่างสะดวกสบายทำให้มีโลกทัศน์คับแคบเพราะพ่อแม่ไม่ต้องการให้ลูกสาวคบค้ากับคนวรรณะต่ำกว่าตน แต่ลืมไปว่ามีคนวรรณะศูทรทำงานอยู่ปราสาทของตัวเอง ทำให้เกิดความรักต่างวรรณะขึ้นระหว่างนางปาฏาจาราอยู่ในวรรณะพราหมณ์และชายคนรักอยู่ในวรรณะศูทร เป็นต้น
๓.๑ ผลของการแบ่งชนชั้นวรรณะสังคม

ทำให้พวกศากยวงศ์นั้นถูกจัดอยู่ในวรรณะกษัตริย์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองแคว้นสักกะตามคำสอนของพวกวรรณะพราหมณ์ การปกครองหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามวาระของการดำรงตำแห่งเป็นกษัตริย์และใช้อำนาจอธิปไตยในการแบ่งแยกชนชั้นตามคำสอนของพวกพราหมณ์ กล่าวคือ เมื่อพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาจึงได้กำหนดหน้าที่ให้มนุษย์ที่ทรงสร้างขึ้นมานั้น ดังนั้นพวกอารยันจึงได้แบ่งชนชั้นพวกอารยันเป็น ๓ วรรณะด้วยกัน คือ วรรณะพราหมณ์ วรรระกษัตริย์และวรรรณแพศย์ ส่วนพวกดราวิเดียนเจ้าของดินแดนนั้นถูกจัดให้อยู่ในวรรณะจัณฑาล ดังปรากฎหลักฐานมีข้อความในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกายชาดกภูริทัตตชาดก ข้อ ๙๐๖ กล่าวว่า พวกพราหมณ์ถือการสาธยายพระเวท, กษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ถือการเกษตรกรรมและพวกศูทรยึดการรับใช้ วรรณะทั้ง ๔ นี้เข้าถึงการงานตามคำอ้างมาแต่ละอย่าง กล่าวกันว่า มหาพรหมผู้มีอำนาจสร้างขึ้นไว้
๓.๒ ชนไร้วรรณะ เมื่อศึกษาจากพระไตรปิฎกแล้วผู้เขียนเห็นว่า กฎหมายแบ่งวรรณะนั้นแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรระด้วยกันกล่าวคือ พวกพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทรเป็นมนุษย์ที่พระพรหมทรงสร้างขึ้นมาและสร้างอาชีพไว้ให้แล้วตามวรรณะตามที่ตนเกิดมา ส่วนอีกพวกหนึ่งไม่มีวรรณะ ได้แก่ พวกจัณฑาลที่เกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะกันของพ่อกับแม่ ตามคำสอนของพวกพราหมณ์ถือว่าเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนความประสงค์ของพระพรหม ย่อมถูกลงพรหมทัณฑ์จากชนวรรณะสูงด้วยการไม่คบค้าสมาคมด้วยแม้กระทั่งให้ทำงานรับใช้คนวรรณะสูงมีชีวิตดีกว่าใช้ชีวิตข้างถนนดีอย่างแน่นอน ชนชาวสักชนบท ในความเป็นจริงนั้น วิถีชีวิตชาวแคว้นสักกะมีคน ๒ จำพวกที่ตั้งรกรากอาศัยในสังคมของแคว้นสักชนบท คือชาวอารยันและชาวดราวิเดียน เชื้อชาติทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่อง สีผิวของชาติกำเนิด เรียกว่า วรรณะ นั้นเราวิเคราะห์ได้ดังนี้ ชาวอารยันเข้าอาศัยในแผ่นดินของพวกดราวิเดียน แล้วสร้างฐานอำนาจทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองได้แล้ว เข้าความครอบงำชีวิตของผู้คนด้วยหลักความรู้และเชื่อว่าเป็นความจริงในปรัชญาและศาสนาพราหมณ์ อ้างเหตุความเชื่อว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้ามีอยู่จริง การแบ่งชนชั้นนั้นเป็นอำนาจของพระพรหมสร้างขึ้น ทำให้ชาวสักชนบท เกิดความแตกต่างกันทางฐานะในสังคมให้ชัดเจน ชาวอารยันถูกยกให้อยู่ในวรรณะสูงเช่น กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ ส่วนชาวสักชนบทที่เป็นชนพื้นเมืองเดิมนั้น ให้เป็นในวรรณะศูทร ไม่ได้รับการศึกษา มีอาชีพรับจ้าง ทำให้งานเป็นคนรับใช้ให้แก่คนวรรระสูงเพียงเดียว.

คนวรรณะจัณฑาลเกิดจากพ่อแม่แต่งงานข้ามวรรณะกัน ระหว่างวรรณะแพศย์กับวรรระศูทร เป็นต้น เมื่อเกิดมาแล้วสร้างความยุ่งยากในฝ่ายปกครองว่า จะกำหนดการทำหน้าที่ได้อย่างไร เพราะไม่รู้ว่าจะจัดทำหน้าที่อยู่ในวรรณะใด จึงไม่ถูกจัดให้อยู่ในวรรณะใด แต่ถูกเรียกว่าเป็นพวกตระกูลจัณฑาล เพราะไม่มีหน้าที่ในวรรณะใดตามการสร้างของพระพรหมจึงไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วยแม้กระทั่งคนวรรณะศูทรยังไม่ยอมมาคบค้าสมาคมด้วยจึงหางานทำไม่ได้ แม้กระทั่งอาชีพรับจ้างเป็นคนรับใช้ให้คนวรรณะสูงเพราะทิฐิของคนวรรณะสูงไม่ยอมใช้ของร่วมกับพวกจัณฑาล แม้กระทั่งใช้บ่อน้ำสาธารณะตักน้ำมาดื่มกินดับทุกข์จากความกระหายก็ยังใช้ร่วมกันไม่ได้ พวกนี้จึงมีอาชีพ การละเล่นการแสดงเพื่อแลกกับเศษเงินมีค่าเพียงเล็กน้อยที่หยิบยื่นให้และโยกย้ายถิ่นฐานเรื่อยไปตามหัวเมืองใหญ่ ๆ จึงมีรายได้ไม่แน่นอน ดำรงชีวิตด้วยการอาศัยอยู่ข้างถนนเป็นถิ่นพำนัก เป็นต้น เมื่อมีรายได้ต่ำจึงไม่มีอำนาจเงินเพียงพอที่จะมีโอกาสยกฐานะของตัวเองทางเศรษฐกิจขึ้นมา มีทรัพย์สินเงินทองเป็นเศรษฐีเมื่อไม่มีหน้าที่การงานทำ ย่อมเป็นคนไม่มีค่าเป็นที่ยอมรับในสังคมชมพูทวีป เป็นต้น.
ลักษณะของจัณฑาลนั้นปรากฎข้อความในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ มหาจุฬา ฯ อังคตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตโมตมสูตรว่า ด้วยผู้มืดมาและมืดไป ข้อ ๘๕....บางคนโลกเกิดในตระกูลต่ำคือตระกูลจัณฑาล เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อยเป็นไปอย่างผืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยากและเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอดเป็นหงอย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าวน้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและเครื่องประดับ จากพระไตรปิฏกเราวิเคราะห์ได้ว่าพวกจัณฑาลคือพวกเกิดในตระกูลต่ำ มีการใช้ชีวิตดังนี้
๑. เป็นตระกูลยากจนเพราะมีข้าว น้ำและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันมีน้อยใช้ชีวิตอย่างฝืดเคียงเพราะไม่มีเงินหรือทรัพย์สินแลกเปลี่ยนสินค้าได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น