Introduction to Kapilavastu the hometown of Lord Buddha in Buddhaphumi's Philosophy
บทนำ
ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับพระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ อันเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าสุทโธทนะนั้น ถือว่าเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่น่าสนใจและควรศึกษาอย่างยิ่ง เพราะปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมความรู้ไว้ในจิตใจเมื่อธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์คือการคิด เมื่อรับรู้สิ่งใด เขาก็คิดจากสิ่งนั้น โดยมนุษย์ใช้อายตนะภายในของร่างกายในการรับรู้โลก มนุษย์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น และข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น เมื่อมนุษย์รู้แล้ว จิตมนุษย์ก็จะรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์มาสั่งสมไว้ในจิตใจของตน และวิเคราะห์โดยอนุมานจากหลักฐานต่างๆ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ หากผลของการวิเคราะห์ออกมาแล้วได้คำตอบยังไม่ชัดเจนว่าความจริงของเรื่องนั้นมีที่มาอย่างไร? ถ้านักปรัชญารักที่จะแสวงหาความรู้ต่อไป ก็จะต้องสืบหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อไป
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ และได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า"พระศากยมุนีพุทธเจ้า" ซึ่งมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นพระโอรสองค์โตในพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางมายาเทวีพระองค์ทรงเชื่อในคำสอนของศาสนาพราหมณ์และประสูติในพระราชวงศ์ศากยะ ณ สวนป่าลุมพินีซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นที่พักผ่อนระหว่างหยุดพักการเดินทางของชาวสักกะและชาวเทวทหะ เจ้าชายแห่งราชวงศ์ศากยะทรงเป็นเจ้าของสวนป่าลุมพินีนี้ พระเจ้าสุทโธทนะทรงเป็นกษัตริย์ ผู้ปกครองอาณาจักรสักกะ มีพระนครกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงพราหมณ์ในฐานะปุโรหิตได้ทำนายชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะไว้ ๒ ประการคือทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทีปกครองโลกมนุษย์ และทรงเป็นศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก เจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับอยู่ในปราสาท ๓ ฤดูอย่างมีความสุขเป็นเวลาหลายปีในฤดูฝนนั้น พระองค์ทรงประทับอยู่ในพระราชวังไม่เสด็จลงจากปราสาทในฤดูฝนเลยเป็นเวลาหลายเดือน และจุดสูงสุดของความสุขของมนุษย์ทุกคน คือเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายกับความสุขในรูป รส กลิ่นเสียง สัมผัสและอารมณ์น่ายินดี ที่พระองค์ทรงหมกมุ่นอยู่เป็นเวลานานมาหลายปี จึงทรงไม่ต้องการความสุขในพระราชวังอีกต่อไปเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปเยี่ยมชาวพระนครกบิลพัสดุ์ และประพาสสวนหลวงกบิลพัสดุ์ระหว่างเส้นทางพระราชดำเนินนั้น พระองค์ทรงเห็นปัญหาของชนจัณฑาลที่ถูกสังคมลงโทษตลอดชีวิต เพราะกระทำผิดฐานละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนน แม้ในวัยชรา ล้มป่วย และตายตามท้องถนน เป็นต้น
ในปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้เขียนและนักแสวงบุญได้เดินทางไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของอาณาจักรสักกะโบราณเป็นครั้งแรก ตั้งอยู่ในอำเภอกบิลพัสดุ์ จังหวัดลุมพินี สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตนเนปาล ผู้เขียนและนักแสวงบุญได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองพระนครกบิลพัสดุ์โบราณ จากพระธรรมทูตสายต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งได้อธิบายให้ผู้เขียนและนักแสวงบุญทราบว่า เมืองนี้ถูกทิ้งร้างมานานหลายร้อยปีแล้ว และกลายเป็นเมืองเล็กๆในชนบทใกล้เชิงเขาหิมาลัย ปัจจุบันประชากรในเขตกบิลพัสดุ์ ทั้งหมดนับถือศาสนาฮินดู และทำอาชีพเกษตรกรรมโดยใช้ผักเป็นอาหารมังสวิรัติ เพื่อชำระล้างร่างกายและจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่สอนโดยพราหมณ์ เป็นต้น
ในยุคปัจจุบัน ประชาชนในอำเภอกบิลพัสดุ์ไม่รู้จักพระปัญญาอันยิ่งใหญ่ของพระศากยมนีพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระปัญญาของโลก เพราะพระธรรมทูตต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรโมริยะ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้เผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้าไปทั่วโลก ในยุคหลังบาทหลวงชาวยุโรปได้บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ค้นพบในดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นหลักฐานในรูปแบบของจดหมายเหตุของตนเองแล้ว ส่งจดหมายเหตุฉบับนั้นกลับไยังประเทศของตนและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เก็บไว้ในโลกตะวันตก เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ ความรู้หลายแขนงได้ขยายจากเนื้อหาของคำสอนของพระพุทธเจ้า และแตกแขนงออกไปสู่สาขาใหม่ ๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม ทุกคนกลับลืมภูมิปัญญาของพระพุทธเจ้าและโต้แย้งว่าภูมิปัญญานี้ ได้รับการพัฒนาโดยนักปรัชญารุ่นใหม่ในสาขานั้น ได้เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับความจริงในเรื่องนั้นขึ้นมา
ในปัจจุบัน พระราชวังกบิลพัสดุ์ที่เจ้าชายสิทธัตถะประทับอยู่ส่วนพระองค์และข้าราชบริพารไม่น้อยกว่า ๔๐,๐๐๐ คนอาศัยอยู่ กลายเป็นซากปรักหักพัง ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เนื่องจากข้าราชบริพารอาศัยอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ ได้หลบหนีสงครามระหว่างกองทัพของพระเจ้าวิทูฑภะแห่งแคว้นโกศล กับกองทัพมหาราชามหานามะ แห่งแคว้นสักกะ ที่พระเจ้าวิทูฑภะทรงยกทัพไปกวาดล้างวรรณะกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศากย เหลือเพียงซากปรักหักพังของโบราณสถานที่ผุพังไปตามกาลเวลา เมื่อคณะของเรามาถึงมีพระภิกษุไทยรูปหนึ่ง เป็นแสดงธรรมเทศนาแก่คณะผู้แสวงบุญของเรา และชี้ให้ผู้แสวงบุญเห็นซากปรักหักพังของแหล่งโบราณคดีพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับอยู่ นอกจากคณะของเรายังได้เห็นหลักฐานทางโบราณคดีของกำแพงพระราชวังทางด้านทิศตะวันตก และด้านตะวันออก แม้ว่าจะมีหลักฐานเหลือเพียงให้คณะของเราได้ชมเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ก็เป็นร่องรอยของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของพระนครกบิลพัสดุิ์ ซึ่งเป็นหลักฐานสอดคล้องกับบันทึกที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯและพระไตรปิฎกอื่น ๆ อีกหลายฉบับ
แม้พระวิทยากรจะยืนยันหนักแน่นว่าเป็นเขตพระราชวังโบราณ ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะ แต่ข้อเท็จจริงได้ยินจากหลักฐานซึ่งเป็นพระวิทยากรเพียงคนเดียวและนักปรัชญาก็ยอมรับไม่ได้ว่าเป็นความจริงได้ เพราะมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ในร่างกายถึง ๖ อวัยวะในร่างกาย มีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นย้อนหลังไปกว่า ๒,๖๐๐ ปี และมนุษย์ก็เห็นแก่ตัวมักมีอคติต่อกันเพราะเหตุแห่งความไม่รู้, ความกลัว, ความเกลียดชัง และความรักใคร่ชอบพอ เป็นต้น เมื่อพยานเพียงคนเดียวไม่น่าเชื่อถือ ก็เหมือนกับไม่มีหลักฐานมายืนยันข้อเท็จจริงของเรื่องได้ เมื่อเรื่องราวของโบราณสถานปรากฏขึ้นในจิตใจของผู้เขียนจึงไม่ชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร? ใครเป็นผู้ค้นพบหลักฐานนี้และใช้ยืนยันความจริงคำตอบว่าคือ พระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณจริง แต่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าเมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดแล้ว อย่าเชื่อข้อเท็จจริงทันที่ว่าเป็นจริง เพราะได้เล่าสืบทอดตามกันมาจากรุ่นสู่รุ่น, เพราะเป็นครู, เพราะเป็นตำรา เป็นต้น ควรตั้งข้อสงสัยก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และตำราทางพุทธศาสนา พยานวัตถุเช่น ซากเมืองโบราณมีระยะห่างจากสวนลุมพินี ๒๘ กิโลเมตร พยานบุคคลได้แก่ นักโบราณคดีผู้ขุดค้นโบราณสถานและเอกสารดิจิทัลเช่น แผนที่โลกกูเกิล เป็นต้น เมื่อรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอแล้ว ผู้เขียนจึงตัดสินใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ แผนโลกกูเกิล บันทึกจดหมายของสมณะชาวจีน ๒ ท่านและพยานวัตถุจากพุทธสถานโบราณในพระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับพระนครกบิลพัสดุ์โบราณที่ประสูติของพระพุทธเจ้า (Phra Nakhon Kapilavastu, the birthplace of Lord Buddha) เป็นต้น บทความนี้ จะเป็นเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมทูตสายต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยในรุ่นได้ศึกษาค้นคว้า และใช้เนื้อหาความรู้ซึ่งได้จากการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบอย่างสมเหตุสมผล ใช้ในการปฏิบัติงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วโลก และได้บรรยายให้กับผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิฟังในขณะปฏิบัติบูชา เพื่อให้เนื้อหาของพระพุทธศาสนาได้อธิบายในลักษณะเดียวกัน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพชีวิตให้ผู้แสวงบุญมีความเข้าใจในพระพุทธศาสนา และกระบวนการวิเคราะห์ จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนาและปรัชญาซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปเพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบเพื่อการวิจัยระดับปริญญาเอกต่อไป
3 ความคิดเห็น:
อธิบายได้ละเอียดจนเห็นภาพเลยนะ๊ครับ
ดีคับ
"ถ้าคิดได้....... ให้ช่วยคิด
ถ้าคิดไม่ได้...... ให้ช่วยทำ"
แสดงความคิดเห็น