
บทนำ
ธรรมชาติของมนุษย์ทั่วโลกเกิดจากผสมผสานระหว่างปัจจัยทางร่างกายและจิตวิญญาณที่ก่อให้เกิดชีวิตใหม่ในครรภ์มารดา เมื่อเกิดเป็นมนุษย์และมีสภาพบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วนจิตใจมนุษย์ใช้ส่วนของร่างกายที่เรียกว่า "อวัยวอินทรีย์ ๖" นั้น ซึ่งเป็นสะพานรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต และน้อมรับอารมณ์ของสิ่งนั้นมาเก็บสั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตน แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์นั้นมิได้มีหน้าที่แค่รับรู้และสั่งสมอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ในจิตใจของตนเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น เป็นความรู้ที่มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ เป็นต้น ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น โดยธรรมชาติของมนุษย์มีอวัยวอินทรีย์ทั้ง ๖ มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เข้าในชีวิตของตนเอง จนไม่สามารถแยกแยะว่าข้อความเห็นในเรื่องใดจริงหรือเท็จ และมักมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอ โดยมีสาเหตุมาาจากความไม่รู้ของตนเอง ความเกลียดชังต่อผู้อื่น ความรักใคร่ชอบกันเป็นส่วนตัวและความกลัว เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เมื่อเราได้ยินข้อความเห็นในเรื่องใด อย่าเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง ควรสงสัยไว้ก่อนจนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ให้เพียงพอ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ยินความคิดเห็นเรื่องเทพเจ้าว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมา แม้คำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตวรรณะประเพณีก็ตาม ทำให้เกิดปัญหาสังคมในแคว้นสักกะ พระองค์มิได้ทรงเชื่อในเรื่องนี้ทันที่ พระองค์ทรงสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอมาวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องต่อไป เป็นต้น
ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาปัจจุบันมักจะเรียกกันว่า "ทฤษฎีความรู้" ญาณวิทยาสนใจศึกษาบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์ วิธีพิจารณาความจริงของมนุษย์และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์ ญาณวิทยามีหน้าที่ตอบปัญหาว่า เรารู้ความจริงได้อย่างไร อะไรเป็นมาตรฐานชี้ขาดว่า ความรู้ของเราข้อไหนจริงหรือข้อไหนเท็จ ความรู้ของมนุษย์คืออะไร มีลักษณะอย่างไร มนุษย์จะสร้างความรู้ได้อย่างไร ? อะไรคือเงื่อนไขหรือเหตุปัจจัย่ก่อให้เกิดความรู้ เป็นต้น ปัญหาเหล่านั้น มนุษย์รับรู้โดยตรงผ่านประสาทสัมผัส ปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นไกลจากการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสที่จะรับเองได้ แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเพราะมนุษย์ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายสำหรับมนุษย์ในการเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในอีกมุมหนึ่งของโลกไปยังผู้คนอีกมุมหนึ่งของโลกเมื่อข้อมูลมากมายในโลกออนไลน์ให้เราศึกษาตลอดเวลา ในโลกนี้จึงไม่มีใครโง่กว่าใคร ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน พวกเขาจะใช้ความรู้นี้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง ผู้สนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะฉลาดในเรื่องนั้น ๆ คนที่ไม่สนใจจะว่าเรียกว่า โง่ไม่ได้ เพราะเขายังฉลาดในเรื่องอื่นอยู่ ขึ้นอยู่กับว่าคุณ จะใช้มันเพื่ออะไร คนที่ยิ่งใหญ่ในโลกนี้ไม่ใช่คนที่ทำงานทั้งหมดด้วยตนเองเองแต่เขาเป็นคนรู้จักใช้คนเก่งกว่าเขามาทำงานแทน
ภูมิปัญญาของมนุษย์ แต่ละคนมีพลังความคิดที่แตกต่างกัน บางคนอ่อนแอ บางคนเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว บางคนไม่มั่นใจขาดความหนักแน่น พวกเขาจึงไม่กล้าตัดสินใจอะไรที่ซ่อนอยู่ในชีวิตของตัวเอง บางคนคิดไม่ได้และอาศัยคนอื่นคิดแทน เป็นพลังที่ซ่อนอยู่ในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ทำให้มนุษย์แต่ละคนประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่เท่ากัน เมื่อปัญหาเกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับ "สติ" ซึ่งเป็นสภาวะของจิตใจของตนที่จดจำประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมา ที่เรียกว่า "ความรู้" ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของแต่ละคน อาจเป็นสัญญาความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ คำพูดของพวกเขาพูดกับใคร? คำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน เป็นต้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นให้พิจารณาข้อมูลที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ใช้เหตุผลนั้นใช้แก้ปัญหาในชีวิตตนที่กำลังเกิดขึ้น และปัญหาในหน้าที่การงานที่เรารับผิดชอบ หากผู้คนไม่ฝึกฝนตนให้เข้มแข็งด้วยการฝึกจิตในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อชีวิตขาดความเข้มแข็ง ในยามลำบาก ก็ไม่สามารถคิดหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบได้ โลกทุกวันนี้ทำงานง่ายกว่าสมัยก่อน เพราะมีแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตเป็นที่เก็บข้อมูลไว้ขนาดใหญ่ เราสามารถตรวจสอบเนื้อหางานได้ง่ายกว่าสมัยก่อน การขับเคลื่อนเนื้อหาของงานให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น สามารถตรวจสอบได้ง่าย เพราะระบบสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ มนุษย์เป็นเพียงปัจจัยนำเข้าเท่านั้นEpistemological problems regarding Prince Siddhartha's worldly wisdom in the Mahachulalongkorn Tripitaka
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น