The problems with the truth of the ancient Phra Nakhon Kapilavastu in the Tripitaka
บทนำ ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับพระนครกบิลพัสดุ์
โดยทั่วไป ชาวพุทธทั่วโลกคงเคยได้ยินเรื่องราวของพระนครกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือประเทศสักกะ(Sakka country)ที่เล่าขานสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือที่เทศน์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันมาฆบูชา วิสาขบูชา หรือจากสื่อสังคมออนไลน์เช่น youtube facebook ฯลฯ หรือการศึกษา ค้นคว้า และแสวงหาความรู้จากพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เมื่อชีวิตของพวกเขารับรู้สิ่งเหล่านี้ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองและเก็บเรื่องราวเหล่านั้นที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมไว้ในจิตใจของตนเอง เมื่อรับรู้ จิตใจของมนุษย์จะรวบรวมเรื่องราวเหล่านั้นไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ
แต่ธรรมชาติของมนุษย์มิได้เพียงแค่รับรู้และรวบรวมเรื่องราวเท่านั้น แต่ยังมีธรรมชาติของการคิด เมื่อมนุษย์รู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง พวกเขาจะคิดจากสิ่งนั้น ผลของการคิดนั้นยังไม่ชัดเจนพอ ที่จะเข้าใจความจริงคืออะไร ทั้งนี้เพราะมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอที่จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา เพื่ออธิบายความจริงของคำตอบหรือพิสูจน์ความจริงของสิ่งที่ได้ยินมานั้น แต่ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเกิดมาพร้อมอวิชชา จึงมักลำเอียงเข้าข้างผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้ชีวิตพวกเขามืดมน มักแสดงความเห็นหรือมุมมองในเรื่องต่าง ๆ ตามปฏิภาณของตนเอง ตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความรู้ ความจริงของคำตอบมักถูกบ้าง ผิดบ้าง เป็นต้น
เมื่อเราศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่นพระนครกบิลพัสดุ์โบราณ สวนลุมพินีเป็นต้น ตามหลักปรัชญานั้น กระบวนการวิเคราะห์ความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนิยามไว้ว่า เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียวนั้นไม่น่าเชื่อถือและมีน้ำหนักของเหตุผลน้อย และนักปรัชญาไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงนั้นว่าเป็นความจริงได้ เพราะพยานหลักฐานทางปรัชญาส่วนใหญ่มาจากคนธรรมดา พวกเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว มักชอบอคติต่อผู้อื่น ซึ่งเกิดจากสาเหตุของความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชัง และความรักใคร่ เป็นต้น
นอกจากนี้มนุษย์มีข้อจำกัดของอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ที่ย้อนหลังไปได้กว่า๒,๕๐๐ ปี หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นห่างไกลเกินกว่าประสาทสัมผัสจะรับรู้ได้ เป็นต้น ตามแนวคิดอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมนุษย์ นักปรัชญาจึงมีความจึงมีความสนใจศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ โลก จักรวาลและ การพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ความจริงทางอภิปรัชญา สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น (hypothetical reality) โดยทั่วไป มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ในสื่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งอาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น มันจะอยู่ในสถานะนี้ ชั่วขณะหนึ่งแล้วหายไปในอากาศ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะหายไปจากสายตาของมนุษย์ จิตใจของมนุษย์สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมเหล่านี้ด้วยประสาทสัมผัส เมื่อจิตใจของมนุษย์รับรู้ถึงอารมณ์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น จิตใจจะยอมรับเอาเรื่องราวเหล่านั้น เป็นหลักฐานของอารมณ์เหล่านั้นและสั่งสมไว้ในจิตใจ
เมื่อมนุษย์มีหลักฐานเพียงพอแล้ว พวกเขาหลักฐานทางอารมณ์นั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา เพื่ออธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัยนั้น ดังนั้น สภาวะของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะคงอยู่ในสถานนั่น ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไป เมื่อสิ่งต่าง ๆ เป็นของไม่เที่ยง มนุษย์สมมติชื่อขึ้นมาเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น พระนครกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ และเป็นชุมชนการ เมืองที่ก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่พระเจ้าโอกกากราชทรงเป็นมหาราชาที่ปกครองแคว้นโกลิยะ พระองค์ทรงอภิเษกสมรส ๒ ครั้งและพระองค์ทรงมีพระโอรส และพระธิดาหลายองค์ที่ประสูติจากพระราชินีกษัตรีย์ซึ่งเป็นพระมเหสีองค์แรก ต่อมาพระองค์ทรงอภิเษกสมรสใหม่กับพระราชินีกัญญาอีกครั้งและทรงมีพระโอรส๑ พระองค์ด้วยกัน
เมื่อพระเจ้าโอกกากราชทรงพระราชทานราชบัลลังก์แก่พระราชโอรสพระองค์ใหม่ เป็นรัชทายาทแห่งแคว้นโกลิยะต่อไป พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระราชโอรส และพระราชธิดาที่ประสูติกับพระราชินีกษัตรีย์ ไปสร้างเมืองใหม่และตั้งชื่อเมืองนั้นว่ากบิลพัสดุ์ เมืองนี้ดำรงเอกราชอยู่มาหลายร้อยปีก่อนจะเสียเอกราช เพราะพระเจ้าวิฑูฑพะ พระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล ที่ประสูติจากพระนางวาสภขัตติยา ซึ่งเป็นข้าราชบริพารแห่งราชวงศ์ศากยะ เป็นต้น เมื่อพระนครกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ เป็นสิ่งเกิดขึ้น ดำรงเอกราชอยู๋ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไปตามกฎธรรมชาติ ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ดังนั้นพระนครกบิลพัสดุ์โบราณ จึงเป็นชุมชนทางการเมืองที่ก่อตั้งขึ้น ดำรงเอกราชอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี และเสื่อมสลายลงไปตามกฎธรรมชาติคือเสียเอกราชให้แคว้นโกศล กลายเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนอาศัยอยู่อีกต่อไป ปัจจุบันเป็นอำเภอเล็ก ๆ ขึ้นกับจังหวัดลุมพินี สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ดังน้้น พระนครกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะจึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น
๒. สัจธรรมหรือความจริงขั้นปรมัตถ์(Reality) มันคือ"ความจริง"ที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ของสิ่งอื่นหรือความเป็นจริงที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ ที่มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ถึงความจริงของเรื่องราวได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น กรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะฆ่าคน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ คือการกระทำที่มนุษย์มีเจตนาต่อมนุษย์หรือสัตว์ เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในจิตใจที่ยังไม่เปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ได้ จนกว่าจะแสดงเจตนาโดยคำนึงผลถึงของการกระทำนั้น ๆ หากเป็นสภาวะของการกระทำทางร่างกายที่เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่จะรับรู้ได้เพราะเงื่อนไขที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วครู่หนึ่ง แล้วก็ดับไป หรือสภาพของนิพพานเป็นสภาวะแห่งสัจธรรมที่เข้าถึงด้วยตัวเราเองโดยการปฏิบัติธรรมตามอริมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น เป็นต้น
ในศึกษาปัญหาที่มาของความรู้ของเมืองพระนครกบิลพัสดุ์โบราณในปรัชญาแดนพุทธภูมิ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯแล้วได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า อาณาจักรสักกะเป็นความจริงที่สมมติขึ้น(hypothetical reality) ตามหลักอภิปรัชญาในปรัชญาแดนพุทธภูมิ ที่กำเนิดขึ้นก่อนสมัยพุทธกาลในฐานะรัฐศาสนาของพราหมณ์ มีอธิปไตยของตนเอง และปกครองแบบสามัคคีธรรมแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ เมื่ออาณาจักรสักกะเป็นชุมชนทางการเมืองที่เกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่งและเสื่อมสลายไปในธรรมชาติเพราะสิ้นสุดความเป็นรัฐ หลังสมัยพุทธกาลไปมากกว่า ๒๑๘ ปีเพราะอาณาจักรสักกะถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรโมริยะ
ดังนั้นเมื่ออาณาจักรสักกะเป็นความจริงที่สมมติขึ้นเป็นชุมชนทางการเมืองมนุษย์และหายไปจากแผนที่โลก แต่ยังคงมีหลักฐานเหลือให้ชาวพุทธสมัยใหม่ศึกษาจากเอกสารหลักฐานได้แก่พระไตรปิฎก อรรถกถา และบันทึกของพระภิกษุชาวจีน พยานวัตถุทางโบราณคดีหลายแห่งที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และพยานเอกสารดิจิทัลที่เป็นแผนที่โลกกูเกิลที่ถ่ายภาพดินแดนต่างๆทั่วโลกใช้เป็นหลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบเกี่ยวกับที่ตั้งพระนครกบิลพัสดุ์นั้น จะเป็นความรู้โดยอาศัยวิจารณญาณอย่างสมเหตุสมผลโดยไม่มีเหตุผลเพิ่มเติมที่จะสงสัยในข้อเท็จจริง
ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลในพระพุทธศาสนาจะอาศัยหลักฐานในพระไตรปิฎกเพียงอย่างเดียว มีเหตุผลเพียงเล็กน้อยและจำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเช่น อรรกถา ฏีกา และอนุฏีกาเพื่อเพิ่มน้ำหนักของการให้เหตุผล เพื่อยืนยันความถูกต้องของคำตอบได้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในสมัยหลังมีการค้นพบวัตถุพยานในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่๓และสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ถึง ๘๔,๐๐๐ แห่ง แม้จะผ่านไปกว่า ๑,๐๐๐ ปี ศาสนาพราหมณ์ก็ได้ปฏิรูปตนเอง โดยนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับศาสนาพราหมณ์และเรียกศาสนาใหม่ว่า "ศาสนาฮินดู"
เปลี่ยนเสาหินอโศกเป็นศิวลึงค์และยึดวัดพระพุทธศาสนาเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู เมื่อโลกเจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือที่ช่วยแบ่งปันข้อมูลของสถานที่ทางพุทธสถานทั่วโลกและช่วยให้ผู้เขียนใช้หลักฐานจากเอกสารดิจิทัลในการวิเคราะห์อาณาจักรต่างๆได้ง่ายขึ้นเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบ นอกจากนี้นักปรัชญ์ชาวพุทธยังได้สร้างแผนที่โลกในสมัยพุทธกาลและแผนที่โลกของกูเกิลบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตได้จัดทำข้อมูลเพื่อศึกษาแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลที่ตั้งของพระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของวรรณะกษัตริย์แห่งศายวงศ์นั้น จะใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก มาวิเคราะห์เหตุผลคือน้ำหนักไม่เพียงพอในการตรวจสอบความจริงของคำตอบของสถานนั้นจำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติม รวมถึงหลักฐานที่เป็นเอกสาร หลักฐานที่เป็นวัตถุและแผนที่โลกกูเกิลเพื่อวิเคราะห์และหาเหตุผลยินยันความจริงของคำตอบเกี่ยวกับที่ตั้งพระนครกบิลพัสดุ์อย่างชัดเจนขั้นตอนการวิเคราะห์หลักฐานดังนี้
๑.พระนครกบิลพัสดุ์จากหลักฐานในพระไตรปิฎก
ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระเจ้าโอกกากราชทรงเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นโกลิยะและทรงอภิเษกพระนางกษัตริย์เป็นพระมเหสีครั้นประสูติพระราช บุตรและพระราชบุตรี ๙ พระนางกษัตริย์เสด็จสวรรคต ในเวลาต่อมาพระเจ้าโอกกากราชทรงอภิเษกพระนางกัญญาเป็นพระมเหสี พระนางกัญญาทรงทำให้พระเจ้าโอกกากราชพอพระทัยขอพรอะไรก้ได้สมปรารถนา พระนางจึงหาทางเนรเทศพระราชบุตรและพระราชบุตรีสร้างเมืองใหม่
พระเจ้าสุทโธทนะทรงโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประทับส่วนพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงคำทำนายของพวกพราหมณ์ถึงชะตาชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะในสมัยเยาว์วัยว่าชีวิตของเจ้าชายสิทธัตะมีทางเลือก ๒ ทางคือเป็นกษัตริย์และศาสดาเอกของโลก เมื่อตั้งสติระลึกคำทำนายเช่นนี้แล้วพระเจ้าสุทโธทนะเกิดความหวั่นไหวในพระทัยของพระองค์ เกรงว่าในภายภาคหน้านั้น เจ้าชายสิทธัตถะจะตัดสินพระทัยออกผนวช ทรงมีพระราชประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะนั้นดำรงพระองค์อยู่ในวรรณะกษัตริย์ต่อไป ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภาศากยวงศ์ต่อจากพระองค์เพราะวรรณะกษัตริย์ได้ปกครองแคว้นสักกะในระบบสามัคคีธรรม ชนวรรณะกษัตริย์แห่งศากยวงศ์มีหน้าที่ปกครองแคว้นสักกะนั้น โดยใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และอำนาจบริหาร เป็นต้น
สมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ทั้งหมดนั้นมาจากวรรณะกษัตริย์ มีหลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมของกษัตริย์ใช้ในการปกครองประเทศ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกถึงคำพยากรณ์ของปุโรหิตแล้ว พระองค์ทรงโปรดสร้างปราสาท ๓ ฤดูในเขตพระราชฐานพระราชวังกบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนส่วนพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะและทรงใช้ชีวิตติดสุขอยู่กับความมัวเมาในกิเลสของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมย์ที่จรเข้ามาผัสสะสู่ชีวิต พระองค์ทรงสุขเกษมสำราญในพระทัยทุกทิวาราตรีด้วยเครื่องดีด สี ตี เป่าและนางสนมไม่น้อยกว่า ๔๐,๐๐๐ นางได้บรรเลงและฟ้อนร่ายรำ ให้เจ้าชายสิทธัตถะเกิดปิติสุขจากผัสสะสิ่งปรุงแต่งพระทัยเหล่านั้น
ชีวิตพระองค์ทรงติดในสุขของโลกีย์วิสัย และไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในวิถีการใช้ชีวิตแบบฆราวาส เป็นเวลาหลายปีจนพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระทัยของพระองค์ทรงเกิดอาการนิพพิทา (ซึ่งแปลว่าความรู้สึกความเบื่อหน่ายในผัสสะเหล่านั้นและไม่อยากเสพสิ่งนั้นอีกต่อไป) ทรงตัดสินพระทัยออกสู่โลกภายนอกเขตพระราชฐานของพระราชวังกบิลพัสดุ์และเห็นปัญหาของประชาชนไร้วรรณะนั้นหมดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามกฎหมาย เพราะรัฐสภาศากยวงศ์ได้ออกกฎหมายแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ จำกัดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพของคนแต่งงานข้ามวรรณะทำให้เกิดปัญหาของประชาชนไร้วรรณะตามมา การถูกจำกัดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพทำให้มีฐานะยากจนไร้บ้านอยู่อาศัยต้องใช้บริเวณสองข้างทางเสด็จพระดำเนินในพระนครกบิลพัสดุ์เป็นที่พักผ่อนในยามค่ำคืน เป็นต้น
การออกกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชนชั้นวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพให้สงวนไว้เฉพาะชนในวรรณะนั้นเท่านั้น เมื่อทรงเสนอแก้ไขปัญหาของประเทศด้วยปฏิรูปสังคมด้วยกระบวนนิติบัญญัติผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ แต่ที่ประชุมของรัฐสภาศากยวงศ์ไม่อนุมัติเห็นด้วยตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอแก้ไขเพื่อปฏิรูปสังคม เพราะรัฐสภาศายวงศ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมของกษัตริย์ต้องยึดถือเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ มีศักดิ์เทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ทั่วโลกในยุคสมัยปัจจุบัน
ลักษณะของเขตพระราชฐานของพระราชวังกบิลพัสดุ์
เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒๕ ขุททกนิกาย อปทานภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ข้อ ๒๕ โคตมพุทธวงศ์ ข้อ ๑๔ กล่าวไว้ว่าเราครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง คือสุจันทปราสาท โกกนุทปราสาทและโกญจปราสาท
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้น ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่าเขตพระราชฐานของพระราชวังกบิลพัสดุ์ประกอบด้วยปราสาท ๓ ฤดู เช่นสุจันทปราสาท โกกนุทปราสาท และโกญจปราสาท เป็นต้นดังที่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ได้ยืนยันถึงความมีอยู่ของพระราชวังกบิลพัสดุ์นั้นมีปัญหาอื่นที่ต้องวิเคราะห์กัน ในยุคสมัยปัจจุบันนั้นพระราชวังกลิพัสดุ์เป็นที่ประทับของเจ้าชายสิทธัตถะตั้งอยู่ที่ไหนในชมพูทวีป ปัจจุบันที่เรียกว่า "ทวีปเอเซียใต้"เมื่อเขียนค้นคว้าพยานเอกสารปฐมภูมิคือพระไตรปิฏกอันเป็นคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนานั้นมีหลายฉบับด้วยกัน
ผู้เขียนตัดสินใจเลือกพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทานถาค ๒ -พุทธวังสะ จริยาปิฎกในข้อ ๑๓ ได้กล่าวว่ากรุงเราชื่อกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดาเราพระมารดาบังเกิดเกล้าชาวโลกเรียกพระนามว่า"มายาเทวี" จากเนื้อความในพระไตรปิฎกผู้เขียนเห็นว่าพระนครกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะจริง เมื่อเสาหินอโสกที่วัดมายาเทวียืนยันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าจริงเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์ของเจ้าชายสิทธัตถะ น่าจะตั้งอยู่ไม่ไกลจากสวนลุมพินีมากนัก แต่เวลาผ่านถึง ๒,๖๐๐ ปี สภาพพระนครกบิลพัสดุ์ตกอยู่ในอำนาจของกฎไตรลักษณ์ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา
แคว้นสักกะได้สูญเสียอำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐแล้วต้้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว จะมีพยานวัตถุของซากโบราณสถานของพระราชวังกบิลพัสดุ์เก่าแก่ หรือไม่หลงเหลือเป็นสภาพเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ มีซากปรักหักพังให้ค้นหาความหมายจากเศษอิฐิ เศษหินได้อีกหรือไม่เป็นเรื่อง ที่ผู้เขียนต้องค้นหาข้อมูลกันต่อไปแต่ผู้เขียนพบร่องรอยในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ว่าแคว้นสักกะแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ราบใกล้กับเชิงเขาของเทือกหิมาลัยอันยาวไกลไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กิโลเมตร เป็นต้น นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ค้นพบสวนป่าลุมพินีอันเป็นสถานที่ประสูติของศากยมุนีพระพุทธเจ้าแล้ว มีเสาหินอโศกสลักด้วยอักษรพราหมีสร้างไว้ เป็นอนุสรณ์สถาน ดังนั้นพระนครกบิลพัสดุ์น่าจะอยู่ไม่ไกลจากสวนลุมพินีมากนัก จำเป็นต้องค้นหาพยานหลักฐานกันต่อไป
๒. แผนที่โลกกูเกิล (Google Map)

เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศของเขตกบิลพัสดุ์ (kapilvastu districts) จังหวัดลุมพินี (Lumbini Province) ของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล บนแผนที่โลกกูเกิล (Google Map) และได้ยินข้อเท็จจริงว่าแผนที่โลกกูเกิลได้ระบุเมืองโบราณกรุงกบิลพัสดุ์ (Ancient kapilvastu) อย่างชัดเจนในแผนที่โลกกูเกิล ซึ่งตั้งอยู่ในที่ราบเตอร์ราย (terrai) ติดเชิงเขาหิมาลัยในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลห่างจากสวนลุมพินีเพียง ๔๕ กิโลเมตร สอดคล้องกับหลักฐานบันทึกระบุรายละเอียดที่ตั้งของพระนครกบิลพัสดุในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯห็นได้ชัดเจนว่าพระนครกบิลพัสดุ์มีอยู่ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจริง
หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้นแล้วผู้เขียนเห็นว่าที่ราบเตอร์ราย(terrai) เหมาะสำหรับการตั้งแคว้นสักกะเพราะเป็นแอ่งน้ำที่ไหลจากเทือกเขาหิมาลัยดังนั้น พื้นที่ราบนี้จึงเหมาะสำหรับการเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของชาวสักกะตลอดทั้งปีตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระเจ้าโอกกากราชทรงให้พระโอรสและพระธิดาที่ประสูติจากพระนางกษัตริย์ไปสร้างเมืองใหม่ ในป่าที่ฤาษีกบิลอาศัยอยู่ห่างจากเทวทหะเกือบ ๑๐๐ กิโลเมตรตั้งชื่อพระนครใหม่ว่าพระนครกบิลพัสดุ์เมืองหลวงแคว้นสักกะเพราะมีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกข้าวยังมีปลาและนกอีกหลายล้านตัวอยู่ที่นั่น ให้มนุษย์ตามล่าหาอาหารโดยไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อหาอาหารอีกต่อไป
เมื่อแผนที่โลกของกูเกิลระบุว่าเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเทือกเขาหิมาลัยซึ่งเป็นม่านหมอกที่รวมตัวกัน เป็นเม็ดฝนจำนวนมหาศาลในฤดูฝนของทุกปี และชาวกบิลพัสดุ์เคยทำสงครามกับชาวโกลิยะเพื่อแย่งชิงน้ำในการเกษตรเพื่อปลูกข้าว การค้นพบซากปรักหักพังของโบราณสถานซึ่งเป็นพยานวัตถุ เมื่อนำหลักฐานเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์แล้ว ผู้เขียนเห็นว่าซากปรักหักพังของเมืองโบราณตั้งอยู่ไม่ห่างจากเทือกเขาหิมาลัย ตามหลักฐานที่ระบุไว้พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ จริง เมื่อข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ จึงเป็นข้อเท็จจริงสอดคล้องต้องกันไม่มีข้อพิรุธสงสัยอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าซากปรักหักพังของโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในอำเภอกบิลพัสดุ์เป็นพระราชวังกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะจริง
๓. พระราชวังโบราณเมืองกบิลพัสดุ์
ในบันทึกที่จารึกบนเสาหินด้วยอักษรพราหมีในพระเจ้าอโศกมหาราชในสวนลุมพินี บันทึกของสมณะฟาเหียนและพระถั่มซั่มจังผู้แสวงบุญชาวจีน เมื่อนำเอกสารที่สำคัญเหล่านี้ มาวิเคราะห์และตีความแล้วนำไปสู่การค้นหาเมืองโบราณที่ตั้องอยู่ใกล้ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน เจ้าหน้าที่โบราณคดีของนานาชาติได้ค้นพบซากปรักหักพังของเมืองโบราณเป็นกองกิฐขนาดใหญ่การค้นหานั้นเจ้าหน้าที่โบราณคดีประเทศเนปาลได้เอาเสาหินพระเจ้าอโศกที่ตั้งตระหง่าน ณ ลุมพินีเป็นศูนย์กลางในการค้นหาเมืองกบิลพัสดุ์ ระยะทางห่างออกไปอีกประมาณ ๔๕.๐๐ กิโลเมตร จึงได้ค้นพบพระราชวังกบิลพัสดุ์เก่าแก่ที่มีสภาพเหลือแค่ซากปรักหักพัง
ในปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองติเลาราโกตความมีอยู่ทางกายภาพของเมืองกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะนั้น ได้ปรากฏพยานวัตถุเหลือเป็นเพียงซากปรักหักพังของโบราณสถานของพระราชวังกบิลพัสดุ์ ทำให้จิตผู้เขียนรู้เข้าใจอย่างชัดแจ้งว่าพระพุทธเจ้ามีตัวตนเป็นมนุษย์อยู่จริง ดังที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกมิใช่มนุษย์ถูกแต่งสมมติขึ้นมาตามจินตนาการของผู้เขียนแต่อย่างใด ดังนั้นความรู้ในพระพุทธศาสนาที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้น จึงเป็นเรื่องของมนุษย์ที่มีชีวิตเมื่อ ๒๖๐๐ กว่าปีมาแล้วจริง เมื่อผู้เขียนได้เขียนบล็อกในโลกออนไลน์ ยิ่งเขียนเราก็ยิ่งสงสัยในสิ่งนั้นและความจริงชัดเจนอีกมากมายหลายประเด็นด้วยกัน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้ศึกษาต่อไปไม่รู้จบ
สิ่งที่ผู้เขียนเคยสงสัยนั้นหายไปหมดสิ้น เมื่อมีโอกาสได้เดินทางมาสู่เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเคยประทับในพระวังกบิลพัสดุ์ใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่แห่งนี้ถึง ๒๙ ปี ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ประเทศเนปาล ผู้เขียนได้เห็นซากปรักหักพังของโบราณสถานเป็นหลักฐานหลงเหลือให้ผู้เขียนได้รับรู้และได้คิดวิเคราะห์เพื่อจินตนาการถึงเรื่องราวที่กล่าวในพระไตรปิฎกต่อยอดความรู้จากเศษอิฐของซากปรักหักพังของพระราชวังกบิลพัสดุ์เก่าให้สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น แม้พระราชวังกบิลพัสดุ์เก่าจะเป็นโบราณสถานที่เหลือแต่เศษซากของอิฐ หิน ปูนที่ปรักหักพังแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้า เพราะอย่างน้อยก็เป็นฐานของข้อมูลที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาสืบค้นตรวจสอบข้อมูลจากอิฐ หิน ปูน เพื่อกำหนดอายุขัยของสิ่งเหล่านี้ได้
ทำให้เราสามารถเชื่อมยุคสมัยพุทธกาลได้เช่นเดียวซากไม้โบราณใต้มายาเทวีวิหาร นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวนหาอายุได้ใกล้เคียงกับยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่เดินทางสู่สวนลุมพินีค้นหาสถานที่ประสูติหลังจากสมัยพุทธกาลผ่านไปได้ ๒๐๐-๓๐๐ ปีแล้ว ทำให้เกิดการก่อสร้างสัญลักษณ์ของเสาหินไว้ทั่วชมพูทวีป การเห็นซากปรักหักพังของโบราณเป็นจุดเริ่มต้นให้จิตของเราได้นึกคิดถึงถ้อยคำที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกย้อนหลังไปสู่สมัยก่อนพุทธกาลไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ปีได้เข้าใจเป็นอย่างดี
๔.แคว้นสักชนบทในพระไตรปิฎก
ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยุตโต)กล่าวว่าสักกะเป็นชื่อของแคว้นหนึ่งในอนุทวีปตอนเหนือบนพื้นที่ราบติดกับเชิงเขาหิมาลัยเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตชาวสักกะตั้งแต่ก่อนพุทธกาล เจ้าชายสิทธัตถะทรงนับถือศาสนาพราหมณ์เชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และสร้างวรรณะให้ชาวสักกะทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมาทรงประสูติในวรรณะกษัตริย์ศากยวงศ์มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองประเทศมีระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรมโดยอำนาจอธิปไตยในการบริหารประเทศนั้น รัฐสภาศากยวงศ์เป็นใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง ๓ อำนาจ มีประวัติศาสตร์สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าโอกกากราช
ปัจจุบันแคว้นสักกะชนบทตั้งอยู่ในสหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เมื่อผู้เขียนเดินทางมาแสวงบุญเมืองติเลาโกศ จังหวัดลุมพินีของสหพันธ์ ฯ เนปาลเพื่อมาแสวงบุญที่เมืองโบราณกบิลพัสดุ์ เมื่อผู้เขียนได้สัมผัสกับซากปรักหักพังของพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณนั้น ทำให้จิตใจของผู้เขียนนึกถึงหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจฬา ฯ ได้กล่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับอยู่ในปราสาท ๓ ฤดูเป็นเวลาหลายปีใช้ชีวิตอยู่กับการมัวเมาในความสุขกับข้าราชบริพาร ๔๐,๐๐๐ คนมีหน้าที่คอยถวายงานรับใช้เจ้าชายสิทธัตถะในความปรารถนามิให้ขาดตกบกพร่อง แต่ในที่สุดของของตำนานในพระราชวังอันเก่าแก่แห่งนี้คือความเงียบของแคว้นสักชนบท
โดยมีพระไตรปิฎกหลักฐานชิ้นสำคัญที่บันทึกถึงเหตุการณ์เหล่านั้นไว้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดที่มาของความรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติได้เป็นอย่างดีเรื่องราวของสถานที่ของพระราชวังโบราณล้วนสอดคล้องกับข้อความที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น นำจิตเราน้อมเข้าหาความจริงในพระไตรปิฎก เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับพระราชวังกบิลพัสดุ์ด้วย ความเข้าใจในความจริงอย่างแจ่มแจ้งแล้ว เวลาเขียนหนังสือย่อมง่ายกว่าการไม่มีความรู้ผ่านผัสสะและไม่มีความเข้าใจที่สั่งสมในจิตของตนมาก่อนได้ ดังนั้นการศึกษาหาความรู้จากผัสสะนั้นย่อมง่ายมากกว่าเขียนแบบไม่รู้เรื่องราวมาก่อน ถึงแม้ว่าจะเคยได้รับประสบการณ์จากการฟังมาบ้างแล้ว แต่ก็ไม่อาจปะติดปะต่อเรื่องราวเพื่ออธิบายได้ให้ชัดแจ้ง ดังนั้นแม้วันเวลาอายุของพระราชวังกบิลพัสดุ์ผ่านมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ทุกสิ่งย่อมเสื่อมสลายลงไปเองตามธรรมชาติ
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้เคยครอบครองและใช้พระชนม์ชีพบนปราสาท ๓ ฤดูเมื่อคร้้งยังดำรงพระองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะและพระราชวังเคยตั้งอย่างโดดเด่น งดงามสง่า กลางทุ่งนาที่ชาวสักชนบทประกอบอาชีพเกษตรกรรม พระราชวังเป็นสถานที่ประทับใจแก่ผู้คนในยุคนั้นได้พบเห็นจะเหลือเพียงแต่ร่องรอยในซากปรักหักพังของพระราชวังกบิลพัสดุ์เก่าแก่ เป็นสถานที่เคยเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะและพระประยูรญาติผู้คนในยุคนั้น แต่การเข้าถึงความจริงเหล่านั้นด้วยการอนุมานหาความจริง ก็ยังอยู่โดยอาศัยเหตุผลจากความคิดวิเคราะห์จาก ซากปรักหักพังที่เหลือแต่หิน อิฐทรายและปูนเหล่านั้น ในความรู้เชิงประสบการณ์ที่มนุษย์เราเกิดการรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ซึ่งเป็นประสบการณ์ของประสาทสัมผัสของย่อมทำให้นึกคิดจินตนาการย้อนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรแคว้นสักชนบทยังเจริญรุ่งเรืองด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนไม่เหตุผลของความสงสัยในสิ่งต่างๆที่จะหักล้างความเชื่อที่เป็นความคิดว่าเป็นจริงของเราแล้วย่อมเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๕.บทวิเคราะห์ของผู้เขียน
เมื่อผู้เขียนจาริกไปยังเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอกบิลพัสดุ์ จังหวัดลุมพินี มองสองข้างทางเต็มไปด้วยบ้านเรือนของชาวฮินดู ซึ่งส่วนใหญ่รับประทานอาหารมังสวิรัติที่ทำจากผัก ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นอาหารหลักเพื่อความบริสุทธิ์ของกายและจิตวิญญาณของตนเอง เมื่อผู้เขียนลงจากรถบัสของคณะผู้จาริกแสวงบุญแล้ว เดินผ่านประตูเข้าไปในบริเวณเขตพระราชวังโบราณ ตั้งอยู่ในเขตโบราณสถานของพระนครกบิลพัสดุ์ เราสามารถมองเห็นประตูพระราชวัง และกำแพงด้านทิศตะวันตกของพระราชวังโบราณแห่งนี้ ซึ่งมีขนาดกว้างประมาณ ๘ เมตร เพื่อให้กองทหารรักษาพระราชวังกบิลพัสดุ์เดินตรวจตราบนกำแพงสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตั้งตระหง่านอยู่นั้น จะมองเห็นวิถีชีวิตของข้าราชบริพารที่ทำงานอยู่ในเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์ไม่น้อยกว่า ๔๐,๐๐๐ คน สามารถมองเห็นได้ทุกซอกมุมในเขตพระราชฐานทั้งสิ้น
การสร้างกำแพงในเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์ให้มีขนาดสูงใหญ่ขนาดนี้แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงรู้อยู่ในพระทัยของพระองค์ตลอดเวลาว่า พระราชโอรสทรงตัดสินพระทัยสละวรรณะกษัตริย์ เพื่อออกผนวชเพื่อแสวงหาเหตุผลของความรู้อันเป็นสารัตถะในความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคนอย่างแน่นอน ดังนั้นความจริงที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงดำริไว้ก็เริ่มปรากฏจะเป็นความจริงขึ้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอกฎหมายยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะชนบทต่อรัฐสภาศากยวงศ์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนไร้วรรณะนั้นมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในการประกอบอาชีพตามศักยภาพของความรู้ และทักษะการทำงานของตนอย่างเท่าเทียมกันกับชนวรรณะอื่นอีก ๔ วรรณะสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพมิควรได้สงวนไว้เฉพาะชนมีวรรณะสูงอีกต่อไป เพราะพวกจัณฑาลก็เป็นประชาชนแห่งแคว้นสักกะเช่นเดียวกัน
เมื่อฟังคำอธิบายของพระธรรมวิทยากรได้ อธิบายให้ผู้แสวงบุญฟังอย่างชัดเจนแล้วคณะผู้เขียนก็เดินต่อไปตามถนนที่สร้างด้วยไม้กว้างประมาณ ๑.๕๐ เมตรไปสู่ประตูด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นประตูทางออกที่เจ้าสิทธัตถะนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินหนีออกผนวชในวันที่ประชาชนทุกวรรณะในพระนครกบิลพัสดุ์ กำลังร่วมกันเฉลิมฉลองการประสูติกาลเจ้าชายราหุล พระราชโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะผู้เขียนเดินผ่านเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเป็นสถานที่ตั้งของปราสาท ๓ ฤดู ผู้เขียนมองไปยังสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเป็นพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณที่ตั้งของปราสาท ๓ ฤดูของเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ทรงใช้เป็นสถานที่ประทับส่วนพระองค์ ประกอบด้วยปราสาทฤดูฝน ปราสาทฤดูหนาว และปราสาทฤดูร้อนเป็นเวลาเกือบ ๑๓ ปี พระองค์ใช้ชีวิตร่วมกับข้าราชบริพารถึง ๔๐,๐๐๐ คน
ที่สุดของความสุขของเจ้าชายสิทธัตถะคืออาการของพระทัยของพระองค์ (จิต) ทรงเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายในความมัวเมาของรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะและธัมมารมย์ เป็นสุขภาวะของสิ่งแวดล้อมที่จรเข้ามาสู่ชีวิตที่เป็นอยู่อย่างจำเจและซ้ำซากอย่างนั้นตลอดเวลา ซากปรักหักพังของพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่แห่งนี้ก็สอนชีวิตเราให้รู้ว่าเป็นสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ทุกคนในความจริงว่าที่สุดของความสุขนั้นคือความเบื่อหน่ายต่อสิ่งปรุงแต่งเหล่านี้ ล้วนจากใจของเราทั้งสิ้นเพราะฉะนั้นเรามิควรยึดในสิ่งไม่เที่ยงเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ภายนอกชีวิตของเราเอง อาการนิพพิทาของจิตเราต่อความสุขที่เคยต่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตที่เคยมีนั้นก็บ่งบอกจิตใจเราก็มีความเที่ยงเช่นเดียวกัน พระเจ้าสุทโธทนะทรงโปรดสร้างไว้ให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้เป็นที่ประทับขณะดำรงชีวิตในฆราวาสวิสัยให้มีความสุขในตัณหาของความอยากมี อยากเป็น อยากได้
แต่ท้ายที่สุดของชีวิตก็คือความเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิตแบบนั้นเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในยุคปัจจุบันควรจะเรียนรู้เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้กลายเป็นศากยมุนีพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาผู้นั่งอยู่ในใจของผู้คนในแคว้นกาสี แคว้นมคธแคว้นวัชชีเพราะหลายบุคคลที่มาจากวรรณะต่างๆ สามารถยกจิตของตนเข้าสู่ระดับพระอริยบุคคลในดินแดนดังกล่าวได้ข้ามพ้นอวิชชาอันเป็นข้อจำกัดของชีวิตในการหลุดพ้นจากวังวนของความทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดในชีวิตของตนแล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาสู่งกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อแสดงธรรมโปรดพระราชบิดาและพระมารดาเลี้ยงของพระองค์ทำให้ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลอยากเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองกบิลพัสดุ์โบราณสักครั้งหนึ่งของชีวิต
แต่ผู้เขียนต้องการไปศึกษาสถานที่จริงอีกสักครั้งหนึ่งก่อนอดีดเคยทางไปสู่ที่พระราชวังกบิลพัสดุ์มาครั้งหนึ่งนั้นผู้เขียนยังไม่เห็นสภาพของเมืองโบราณอย่างชัดเจน แต่ไม่น่าเชื่อว่าความคิดฝันจะเป็นความจริงในปีนี้เพราะผู้เขียนได้มีโอกาสไปกรุงกบิลพัสดุ์โบราณอีกครั้งหนึ่งจริงๆความนึกคิดจินตนาการของผู้เขียน กลับมาอีกครั้งหนึ่งทำให้มองภาพรวมของพระราชวังกบิลพัสดุ์ชัดเจนยิ่งขึ้นไปแม้วันเวลาจะผ่านไป ๑๐ กว่าปีแล้วการเดินทางจากเมืองลุมพินี เมื่อคณะเราเดินทางจากวัดไทยลุมพินีไปตามถนนหลวงแคบ ๆ ไปที่เมือง Taulihawa เมื่อถึงตัวเมืองแล้ว นั่งรถอีก ๒๘ กิโลเมตรมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์โบราณผ่านพิพิธภัณฑ์เมืองกบิลพัสดุ์โบราณ
มาถึงลานจอดรถ คณะของพวกเราได้ชมประตูทิศตะวันตกของพระราชวังกบิลพัสดุ์เก่า กำแพงโบราณหนา ๓ เมตรเพราะสร้างจากอิฐล้วนๆ ไม่มีคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างการก่อสร้างในปัจจุบัน แล้วคณะของเราเดินทางไปสู่ทางทิศตะวันออกผ่านซากปรักหักพังของปราสาทที่นักโบราณของประเทศเนปาลวิเคราะห์ว่า เป็นปราสาทสามหลังของเจ้าสิทธัตถะเพราะเห็นสระน้ำโบราณเก่า ๓ แห่งด้วยกันในบริเวณนี้ เราเดินทางถึงประตูทางทิศตะวันออกมองเห็นทุ่งนาอันกว้างใหญ่เชื่อว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระราชวัง เพื่อออกไปแสวงหากฎธรรมชาติของความเป็นไปวิถีชีวิตของมนุษย์ หรือประตูสู่อิสระภาพทางจิตวิญญาณที่นั้นมีซากกำแพงโบราณขนาดใหญ่หนาประมาณ ๓ เมตร รั้วรอบของพระราชวังกบิสดุ์เก่าจากนั้น
พวกเราก็เดินทางไปศึกษาสถูปพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา คณะผู้แสวงบุญของพวกเราเดินทางตามรอยกำแพงเก่าปีนรั้วออกมาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเราผ่านเทวสถานในศาสนาฮินดูนิกายไศวะที่นับถือพระศิวะไม่ไกลจากกำแพงพระราชวังมากนักเพราะนิกายนี้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย ด้วยเหตุผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานเอกสารพยานวัตถุ และแผนที่โลกของกูเกิลนั้น ผู้เขียนเห็นว่าตำแหน่งของซากปรักหักพังของโบราณสถานอยู่ตรงหน้าผู้เขียน เป็นพยานวัตถุของพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่นั้นอย่างแน่นอนปราศจากข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไปเพราะโบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสวนลุมพินีซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะมากนักและใกล้กับเชิงเขาหิมาลัยตามที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกชัดเจน และห่างจากวัดนิโครธารามเพียง ๑.๕ กิโลเมตรเท่านั้นพื้นที่รายล้อมพระราชวังนั้นเป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมทั้งหมดสอดคล้องกับพระไตรปิฎกที่ว่าวรรณะกษัตริย์แห่งศากยวงศ์นั้น ได้แย่งน้ำเข้าที่นาของแคว้นสักกะ จนจะเกิดสงครามแย่งน้ำกันผู้เขียนจึงเชื่อได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้คือพระราชวังอันเก่าแก่ศากยวงศ์ตามที่กล่าวในพระไตรปิฎกและกองโบราณคดีของประเทศเนปาลได้วิเคราะห์ไว้ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น