Introduction to Gridhrakuta according to Buddhaphumi's Philosophy
คำสำคัญ เมืองราชคฤห์, ภูเขาคิชฌกูฏ, มูลคันธกุฏของพระพุทธเจ้า
๑. บทนำ
๒. เมืองราชคฤห์
๓. ภูเขาคิชฌกูฏ
๔. มูลคันธกุฎี
๑.บทนำ
พระนครราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล ลักษณะของพระนครราชคฤห์ตั้งอยู่กลางหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยภูเขา ๕ ลูก ภูเขาทั้ง ๕ กลายเป็นกำแพงธรรมชาติสูงเสียดฟ้า ที่สามารถขัดขวางมหาอำนาจอื่น ๆ ในชมพูทวีปไม่ให้ยกทัพข้ามภูเขามาโจมตีแคว้นมคธ เพื่อยึดอำนาจอธิปไตยของแคว้นมคธเป็นอาณานิคมของตนได้ พระนครราชคฤห์จึงเป็นดินแดนแห่งความสงบสุข มีความมั่นคงทางการเมืองและเจริญรุ่งเรืองทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เจริญรุ่งเรือง มีมหาเศรษฐีจำนวนมากที่ทำธุรกิจและซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าหลายพันล้านโกฏต่อปี ภายในหุบเขาอันเงียบสงบ เป็นที่ตั้งของพระราชสำนักของพระราชวังโบราณของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นมหาราชแห่งแคว้นมคธ ในแต่ละปีพ่อค้าที่เดินทางจากทั่วอนุทวีปอินเดีย ได้ขนานนาม "พระนครราชคฤห์" ว่า "พระนครคีรี" เมื่อภูเขาคิชฌกูฏเป็นชื่อ ๑ ใน ๕ ภูเขาที่อยู่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ นักเดินทางไกลทั่วชมพูทวีปก็ตั้งชื่อพระนครราชคฤห์นี้ว่า" เบญจคีรีนคร" ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ โดยกล่าวถึงเมืองราชคฤห์ว่า คีรีพชนคร เพราะเป็นพระนครที่ล้อมรอบด้วยภูเขา ๕ ลูก คือ ภูเขาปัณฑวะ ภูเขาอิสิคิลิ ภูเขาเวภาระ ภูเขาเวปุลละและภูเขาคิชฌกูฏ (สาตกงฎีกา ๓/๖๓/๒๘๑) เมื่อผู้เขียนใช้เขตพระราชวังโบราณของพระเจ้าพิมพิสารเป็นศูนย์กลางของพระนครราชคฤห์ ภูเขาคิชฌกูฏตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระนครราชคฤห์ ในบรรดาภูเขาทั้ง ๕ ลูกที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์นั้น มีหุบเขาระหว่างเขารัตนคีรีกับเขาคิชฌกูฏ ซึ่งเป็นเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์ในขณะนั้น ผู้เขียนถือว่าเป็นเหวทิ้งโจร เพราะยอดของภูเขารัตนคีรีมีลักษณะเป็นพื้นที่จตุรัสขนาดใหญ่ พระเจ้าพิมพิสารทรงใช้สถานที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ประหารชีวิตนักโทษในคดีอาญาร้ายแรง เมื่อการประหารชีวิตนักโทษเสร็จสิ้น ศพของนักโทษจะถูกโยนลงไปในหุบเขาแห่งนี้ นกแร้งจำนวนมากเกาะบนเขาคิชฌกูฏก มันก็จะบินลงมากินศพนักโทษที่ถูกโยนลงมาจากยอดเขารัตนคีรี และพระพุทธเจ้าทรงใช้ศพเหล่านี้สอนเรื่องชีวิตไม่เที่ยงแก่พระสารีบุตรจนสำเร็จเป็นอรหันต์ ร่องน้ำระหว่างภูเขารัตนคีรีกับภูเขาคิชฌกูฏเป็นเส้นทางเล็ก ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบิณฑบาตรและพระเจ้าพิมพิสารเสด็จขึ้นเขาคิชฌกูฏ ซึ่งเป็นที่ตั้งพระคันธกุฏีของพระพุทธเจ้า เมื่อประเพณีของการบำเพ็ญกุศลศพผู้ตายเปลี่ยนไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน กษัตริย์มัลละได้จัดพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าหลังจากนั้นประเพณีจัดงานศพของผู้ตายก็เปลี่ยนจากการทิ้งศพในป่าช้า มาเป็นพิธีฌาปนกิจตามความเข้าใจของชาวบ้านคือการเผาศพ เพราะได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพระพุทธศาสนาในแคว้นมัลละ เมื่อไม่มีซากศพให้อีแร้งกินอีกต่อไปแล้ว นกแร้งจึงอพยพถิ่นฐานไปยังพื้นที่อื่นเพื่อค้นหาซากศพของสัตว์และมนุษย์ในดินแดนอื่น ๆ เช่นเขตปกครองธิเบตว่า ยังมีจารีตประเพณีการทิ้งซากศพของคนตายให้นกแร้งกินเป็นอาหาร
๓. ภูเขาคิชฌกูฏ
๔. มูลคันธกุฎี
๑.บทนำ
พระนครราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล ลักษณะของพระนครราชคฤห์ตั้งอยู่กลางหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยภูเขา ๕ ลูก ภูเขาทั้ง ๕ กลายเป็นกำแพงธรรมชาติสูงเสียดฟ้า ที่สามารถขัดขวางมหาอำนาจอื่น ๆ ในชมพูทวีปไม่ให้ยกทัพข้ามภูเขามาโจมตีแคว้นมคธ เพื่อยึดอำนาจอธิปไตยของแคว้นมคธเป็นอาณานิคมของตนได้ พระนครราชคฤห์จึงเป็นดินแดนแห่งความสงบสุข มีความมั่นคงทางการเมืองและเจริญรุ่งเรืองทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เจริญรุ่งเรือง มีมหาเศรษฐีจำนวนมากที่ทำธุรกิจและซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าหลายพันล้านโกฏต่อปี ภายในหุบเขาอันเงียบสงบ เป็นที่ตั้งของพระราชสำนักของพระราชวังโบราณของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นมหาราชแห่งแคว้นมคธ ในแต่ละปีพ่อค้าที่เดินทางจากทั่วอนุทวีปอินเดีย ได้ขนานนาม "พระนครราชคฤห์" ว่า "พระนครคีรี" เมื่อภูเขาคิชฌกูฏเป็นชื่อ ๑ ใน ๕ ภูเขาที่อยู่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ นักเดินทางไกลทั่วชมพูทวีปก็ตั้งชื่อพระนครราชคฤห์นี้ว่า" เบญจคีรีนคร" ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ โดยกล่าวถึงเมืองราชคฤห์ว่า คีรีพชนคร เพราะเป็นพระนครที่ล้อมรอบด้วยภูเขา ๕ ลูก คือ ภูเขาปัณฑวะ ภูเขาอิสิคิลิ ภูเขาเวภาระ ภูเขาเวปุลละและภูเขาคิชฌกูฏ (สาตกงฎีกา ๓/๖๓/๒๘๑) เมื่อผู้เขียนใช้เขตพระราชวังโบราณของพระเจ้าพิมพิสารเป็นศูนย์กลางของพระนครราชคฤห์ ภูเขาคิชฌกูฏตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระนครราชคฤห์ ในบรรดาภูเขาทั้ง ๕ ลูกที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์นั้น มีหุบเขาระหว่างเขารัตนคีรีกับเขาคิชฌกูฏ ซึ่งเป็นเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์ในขณะนั้น ผู้เขียนถือว่าเป็นเหวทิ้งโจร เพราะยอดของภูเขารัตนคีรีมีลักษณะเป็นพื้นที่จตุรัสขนาดใหญ่ พระเจ้าพิมพิสารทรงใช้สถานที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ประหารชีวิตนักโทษในคดีอาญาร้ายแรง เมื่อการประหารชีวิตนักโทษเสร็จสิ้น ศพของนักโทษจะถูกโยนลงไปในหุบเขาแห่งนี้ นกแร้งจำนวนมากเกาะบนเขาคิชฌกูฏก มันก็จะบินลงมากินศพนักโทษที่ถูกโยนลงมาจากยอดเขารัตนคีรี และพระพุทธเจ้าทรงใช้ศพเหล่านี้สอนเรื่องชีวิตไม่เที่ยงแก่พระสารีบุตรจนสำเร็จเป็นอรหันต์ ร่องน้ำระหว่างภูเขารัตนคีรีกับภูเขาคิชฌกูฏเป็นเส้นทางเล็ก ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบิณฑบาตรและพระเจ้าพิมพิสารเสด็จขึ้นเขาคิชฌกูฏ ซึ่งเป็นที่ตั้งพระคันธกุฏีของพระพุทธเจ้า เมื่อประเพณีของการบำเพ็ญกุศลศพผู้ตายเปลี่ยนไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน กษัตริย์มัลละได้จัดพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าหลังจากนั้นประเพณีจัดงานศพของผู้ตายก็เปลี่ยนจากการทิ้งศพในป่าช้า มาเป็นพิธีฌาปนกิจตามความเข้าใจของชาวบ้านคือการเผาศพ เพราะได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพระพุทธศาสนาในแคว้นมัลละ เมื่อไม่มีซากศพให้อีแร้งกินอีกต่อไปแล้ว นกแร้งจึงอพยพถิ่นฐานไปยังพื้นที่อื่นเพื่อค้นหาซากศพของสัตว์และมนุษย์ในดินแดนอื่น ๆ เช่นเขตปกครองธิเบตว่า ยังมีจารีตประเพณีการทิ้งซากศพของคนตายให้นกแร้งกินเป็นอาหาร
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงข้างต้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงที่เล่าต่อกันมา อย่าเชื่อทันทีว่ามันเป็นเรื่องจริง เราควรจะตั้งข้อสงสัยของเราไว้ก่อน จนกว่าจะมีการสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอ เพื่อนำมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องภูเขาคิชฌกูฏนั้น แม้ผู้เขียนได้ไปแสวงบุญบนยอดเขาคิชฌกูฏ ราชคฤห์ รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดียหลายครั้ง แต่ประวัติพระพุทธเจ้าบนยอดเขาแห่งนี้ ปรากฏว่าข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนสงสัยว่า เหตุใดภูเขาคิชฌกูฏจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธทั่วโลก ที่ตั้งใจจะสวดมนต์ภาวนา บนภูเขาคิชฌกูฏตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงปีใหม่ในเดือนมีนาคมของทุกปี
ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เรื่องภูเขาคิชฌกูฏในพระไตรปิฎก (Griddhakuta Hill In Tripitika)ต่อไป ผู้เขียนจึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้แก่พระไตรปิฎก อรรถกถา บันทึกของพระภิกษุจีน และพยานวัตถุได้แก่ภูเขาคิชฌกูฏ และหลักฐานดิจิทัล ได้แก่ แผนที่โลกกิเกิล เพื่อให้ข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ บทความนี้จะเป็นข้อมูลให้พระนักเทศน์รุ่นใหม่ได้ศึกษาเพื่อใช้บรรยายให้ผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธที่เดินทางไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เแห่งเพื่อให้เนื้อหาทางพระพุทธศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกระบวนวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าจากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาตัดสินความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ จะเป็นแนวทางการวิจัยให้กับนิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผลไม่มีข้อสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป เป็นต้น
.
7 ความคิดเห็น:
เพื่อพระพุทธศาสนา ครับผม
สวยมากเหมือนที่อินเดียไหมครับ ผมยังไมเคยไปเลยครับ
คิชฌกูฏที่เขียนอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเคยไปครั้งเดียวนานแล้ว ความสวยมาจากเงียบสงบอิ่มใจเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติบูชาตครับ
อาจารย์ได้สัมผัสสถานที่จริง และได้ปฏิบัติบูชา
สาธุครับ
แสดงความคิดเห็น