Epistemological Problems regarding
Tapodharam in The Tripitaka
บทนำ เรารู้อย่างไรว่าเป็นความจริง
โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกต่างก็เคยได้ยินข้อเท็จจริงเรื่อง "ตโปธาราม" เป็นสถานที่อาบน้ำพุร้อนสำหรับผู้คนต่างวรรณะ ในรัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย เรื่องนี้เล่าขานสืบทอดกันมาของชาวพุทธไทยที่ไปแสวงบุญที่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เมื่อได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับตโปธารามแล้ว ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็เชื่อความจริงเกี่ยวกับ "ตโปธาราม"นี้ ยอมรับโดยปริยาย และไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องสงสัยในข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกต่อไป
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่ควรเชื่อทันทีว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง ควรสงสัยก่อนว่า สิ่งนั้นไม่จริง จนกว่าเราจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อเรามีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราจะใช้หลักฐานนั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริง โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างมีเหตุผล เป็นต้น
ตามทฤษฎีญาณวิทยา นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงของต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์ วิธีการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า ความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์ และทฤษฏีญาณวิทยามีหน้าที่ตอบคำถามว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นความจริง
ในการศึกษาต้นกำเนิดความรู้ของความรู้ของมนุษย์ แหล่งที่มาของความรู้ของมนุษย์ จะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมความรู้อยู่ในจิตใจมนุษย์เท่านั้น ดังนั้น บุคคลที่จะถือเป็นหลักฐานเพื่อยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัยได้ เขาต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเท่านั้น จึงจะสามารถเป็นพยานบุคคลได้ ถ้าไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เขาก็ไม่สามารถยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้ ตามทฤษฏีทางปรัชญา เมื่อนักปรัชญาพูดถึงความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น จะต้องมีหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐาน ที่จะพิสูจน์ความจริง นักปรัชญาจะถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้น เป็นเท็จ เป็นต้น
ในปัญหาความจริงของมนุษย์ ตามหลักอภิปรัชญาถูกมองว่า มนุษย์เป็นความจริงที่สมมติขึ้นกว่า ๒,๕๐๐ ปีให้หลัง เมืองราชคฤห์เมืองหลวงแห่งอาณาจักรมคธอันยิ่งใหญ่ กลายเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนเนื่องจากย้ายไปยังเมืองปาฏลีบุตร เมืองชายแดนของรัฐมคธโบราณ เมืองราชคฤห์ จึงกลายเป็นเมืองแห่งความทรงจำของมนุษยชาติเหลือเพียงหลักฐานทางวัตถุ เช่น ภูเขาห้าลูกโอบล้อมเมืองแห่งนี้และหลักฐานเอกสารในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ และเป็นสัญญาที่จะห่อหุ้มวิญญาณ เพื่อติดตามวิญญาณไปสู่ภพชาติอื่น หรือเกิดใหม่เป็นมนุษย์ตามกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ จากหลักฐานเอกสารสู่หลักฐานทางวัตถุ โดยการสร้างโบราณสถานขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงเหตุการณ์เกิดขึ้นในสมัยครั้งพุทธกาล แม้ความรู้หลายอย่างติดตามวิญญาณของบุคคลในยุคสมัยพุทธกาล ไปเกิดในภพชาติอื่นก็ตาม เมื่ออายุขัยในภพชาตินั้นสิ้นสุดลง ก็จะไปเกิดใหม่ในโลกมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง การตามรอยบาทพระพุทธเจ้าจึงเริ่มกลับมายังแดนพุทธภูมิอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมนุษยชาติเห็นคุณค่าของพระพุทธเจ้า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ช่วยสนองความอยากรู้ของมนุษย์ได้มาก
๒.๑ ทฤษฎีประสบการณ์นิยม เป็นทฤษฎีญาณวิทยาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์ มีแนวคิดที่ว่า มนุษย์รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเพียงเดียว นั่นคือผู้เขียนรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เมื่อผู้เขียนได้เดินทางมาสู่ Saptadhara เป็นแหล่งอาบน้ำพุร้อน ตั้งอยู่บนเส้นทางจากเมืองเก่าราชคฤห์ไปยังเมืองเก่านาลันทา ถัดจากวัดเวฬุวันมหาวิหารไปทางทิศตะวันออกนั้น แหล่งอาบน้ำพุร้อนแห่งนี้เรียกว่าสัปตธารา (Saptadhara) ตั้งอยู่บนเชิงเขาไวภาวะ (Vaibhava) เป็นสถานอาบน้ำร้อนตั้งอยู่ในวัดต่าง ๆ ทั้งหมด ๗ แห่งด้วยกัน แต่ละวัดมีน้ำพุร้อนเป็นของตัวเอง ในแต่ละวัด มีเทพเจ้าต่างๆ ประดิษฐานอยู่ในวัด ซึ่งผู้คนสามารถมองเห็นได้ ผู้คนจะไปอาบน้ำพุร้อนในวัดที่มีเทพเจ้าที่ตนบูชา บนยอดเขาไวภาวะเป็นที่ตั้งของถ้ำสัตบรรณคูหา ซึ่งเป็นสถานที่ที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก. สายน้ำที่ไหลออกมาจากสัปตธาราเป็นสายน้ำเล็ก ๆ เรียกว่า เป็นแม่น้ำเดือด มีต้นกำเนิดจากแอ่งทะเลสาปใต้ภูเขาไวภาระ ไหลผ่านเมืองราชคฤห์ เมื่อไหลผ่าน "ขุมภีนรก" แม่น้ำจะเดือดทันที เนื่องจากสถานที่นี้ มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก จึงทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาเรื่องราวของตโปทารา น่าจะมีประโยชน์ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นไป.

ความสำคัญของแม่น้ำตโปธารานี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานเวฬุวัน ซึ่งเป็นพระราชอุทยานที่พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายเป็นที่จำพรรษาของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพทางจิตของชาวเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยพุทธกาล ให้มีการดำเนินชีวิตที่เข้มแข็ง มีความเพียรพยายาม อดทนต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตตลอดเวลา เพราะการปฏิบัติธรรมทำให้จิตไม่อ่อนแอ ปราศจากกิเลสในจิต เป็นผู้บริสุทธิ์ มีจิตใจอ่อนโยน เหมาะกับการทำงาน..ไม่มีจิตใจหยาบกระด้าง มีสมาธิมั่นคง จิตจะไม่หวั่นไหวในอารมณ์ต่าง ๆ ผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมไว้ในจิต
ตโปธารามเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยวเชิงศาสนาฮินดู ในเมืองราชคฤห์ ดังนั้น ผู้เขียนได้เคยมาที่นี้หลายครั้งในฐานะพระวิทยากรสอนธรรมะให้กับผู้แสวงบุญชาวไทยมาหลายปี การเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ ช่วยให้เราเข้าใจวิธีคิดในเชิงปรัชญาและศาสนาได้เป็นอย่างดี การเดินทางในแดนพุทธภูมิจะไม่สูญเปล่าจากความพึงพอใจของการเดินทางที่รู้สึกเหมือนเสียเวลาและเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ทำให้เราเข้าใจความทุกข์ของชีวิต
เมื่อเราศึกษาพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬาฯ) มหาวิภังค์ ภาค ๒ ชข้อ ๗ นหานสิกขาบทว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัยเรื่องพระเจ้าพิมพิสาร ข้อ ๓๕๗. ว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นพระภิกษุทั้งหลายทรงน้ำในแม่น้ำตโปทา ที่นั้นพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐ เสด็จไปแม่น้ำตโปทา ด้วยพระราชประสงค์จะทรงสนานพระเศียร ประทับรออยู่ด้านหนึ่งด้วยพระดำริว่า เราจะสนานต่อเมื่อคุณเจ้าทั้งหลายสรงน้ำเสร็จแล้ว" พระภิกษุสรงน้ำจนพลบค่ำ ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพรับมคธทรงสนานพระเศียรในเวลาพลบค่ำ เมื่อประตูเมืองปิดจำเป็นต้องประทับนอกเมือง เช้าตรูจึงเสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับทั้ง ๆ ที่เครื่องประทินพระวรกายยังไม่จางหาย ครั้งแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับในที่อันควร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถาม พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพรัฐมคธ เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมิกถา ลำดับนั้นพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพรัฐมคธผู้ซึ้งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมิกถา ทรงลุกขึ้นจาอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทักษิณแล้วเสด็จไป.
![]() |
เมืองราชคฤห์ |
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบทลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งประชุมทรงสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอเห็นพระราชาอาบน้่ำยังไม่รู้จักความพอดีจริงหรือ"ภิกษุทั้งหลายทูลว่า" จริงพระพุทธเจ้าขา " พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิว่า "ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้น เห็นพระราชาแล้วยังอาบน้ำไม่รู้ความพอดีเล่า ภิกษุทั้งหลายการกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นเลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ บัญญัติก็ภิกษุใด ยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบน้ำต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่พระภิกษุทั้งหลายดังนี้.
จากพระไตรปิฎกเราวิเคราะห์ได้ว่า ตโปธาม เป็นสถานที่ตั้งอยู่ในวัดเวฬุวันมหาวิหาร เพราะเคยเป็นพระราชอุทยานมาก่อน แต่ถวายเป็นที่จำพรรษาของพระพุทธเจ้า หลังจากพระองคืได้เสด็จมาเผยแผ่พุทธศาสนา ทำให้ผู้คนสละวรรณะเดิมออกบวชเป็นจำนวนมากและเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งในยุคต่อมา. จากหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธเจ้าและพุทธสาวก ทรงรอเข้าคิวสนานน้ำพุร้อนหลังจากพระภิกษุในวัดเวฬุวันจนถึงดึก จนเสด็จเข้าสู่ตัวเมืองราชคฤห์ไม่ได้เพราะประตูเมืองปิดก่อนเป็นต้นเหตุพระพุทธเจ้าทรงประชุมสงฆ์ เพื่อบัญญัติพระธรรมวินัยให้สรงน้ำ ๑๕ วันครั้งยกเว้นมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น