Introduction to Sujata Stupa according to Buddhaphumi's philosophy
![]() |
๑.บทนำ
สถูปนางสุชาดา (Sujata Stupa) เป็นวัดพุทธแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเนรัญชราในเมืองพุทธคยา เขตคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย สถูปนางสุชาดาเป็น ๑ ใน ๑๐ พุทธสถาน ที่อยู่ในรายการแสวงบุญในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลและสาธารณรัฐอินเดีย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกมาสักการะที่นี้ทุกวันไม่เคยขาดสาย ผู้เขียนได้มาเยือนวัดแห่งนี้ครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้เขียนรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองและสั่งสมเรื่องราวของสถูปแห่งนี้เป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจว่า สถูปนางสุชาดาเป็นวัดพุทธที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดมหาโพธิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าศากยมุนีตรัสรู้ เราเดินเท้าเปล่าไปตามถนน จากจุดเริ่มต้นของวัดมหาโพธิ์ไปยังหมู่บ้านบากรา (ฺBrakraur Village) และเดินบนสะพานข้ามแม่น้ำเนรัญชราระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที จึงพบสถูปโบราณที่ล้อมรอบด้วยลวดหนาม โครงสร้างของสถูปแห่งนี้ ซึ่งผู้เขียนรู้สึกได้ชัดเจนนั้นได้รับการบูรณะหลายครั้ง โครงสร้างของเจดีย์สุชาดามีฐานกลมคล้ายกับเจดีย์อื่น ๆ ในรัฐอุตตรประเทศและรัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อผู้เขียนสันนิษฐานว่าสถูปสุชาดาสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานเอกสารในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว จึงได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่านางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนว่านางสุชาดามีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเพียงใด พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเจดีย์นี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน รำลึกถึงคุณงามความดีของนางสุชาดาจนกลายเป็นสตรีผู้มีอิทธิพลในพระพุทธศาสนา และเป็นแรงบันดาลใจให้สตรีชาวพุทธทั่วโลก นำวิถีชีวิตมาปรับใช้ในชีวิตของตนเอง ให้มีความสุขและมีความรู้ความสามารถในการบรรลุความจริงขั้นปรมัตถ์ เช่นเดียวกับนางสุชาดา
เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน พบว่ามีเพียงสถูปโบราณ และป้ายที่กรมโบราณคดีรัฐพิหารได้ประกาศเท่านั้น ที่มีประวัติโดยย่อว่าเป็นสถูปบ้านนางสุชาดาที่ถวายข้าวมธุปายาส แด่โพธิสัตว์สิทธัตถะก่อนพระองค์จะทรงตรัสรู้ความจริงของชีวิตมนุษย์ และไม่มีข้อมูลอื่นใดที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่านางสุชาดามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? ผู้เขียนสงสัยเกี่ยวกับความสำคัญของนางสุชาดาในพระพุทธศาสนา และสนใจศึกษาความจริงเกี่ยวกับสถูปนางสุชาดา (Sujata Stupa) ต่อไป โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา พยานวัตถุได้แก่ สถูปบ้านนางสุชาดา พยานบุคคลได้แก่บันทึกของกรมโบราณคดีรัฐพิหาร เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ก็จะใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ โดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้
บทความนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่พระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรไทยในสาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ใช้ในการบรรยายแก่ผู้แสวงบุญชาวไทยให้มีเนื้อหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา พยานวัตถุ เช่น สถูปบ้านนางสุชาดา บันทึกของกรมโบราณคดีแห่งรัฐพิหารและความเชื่อว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าในสมัยพุทธกาลนั้น น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาของนิสิตระดับปริญญาเอก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบ ซึ่งเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินที่สมเหตุสมผล ไม่ทิ้งความสงสัยในความจริงอีกต่อไป และบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน ความรู้ที่ได้นี้สามารถนำไปใช้พัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมายได้.
6 ความคิดเห็น:
สาธุๆๆๆ
" กายมีศีลสุขล้ำ ใจมีธรรมสุขเลิศ
ชีวิตที่มีศีลและธรรม จะมีความสุขล้ำเลิศ "
สาธุๆคนับ
"ความคิด" ก็เหมือนสายน้ำ
ยิ่งกวน...ก็ยิ่งขุ่น ยิ่งวุ่น...ก็ยิ่งทุกข์
ยิ่งนิ่ง...ก็ยิ่งใส ยิ่งสงบได้...#ก็ยิ่งสุข
สาธุๆ
แสดงความคิดเห็น