Buddhaphumi's philosophy: Dungeshwari Hills is the place where the Asceticism of Bodhisattva 
Buddhaphumi's philosophy: Dungeshwari Hills is the place where the Asceticism of Bodhisattva

ภูเขาดงคสิริสถานสถานบำเพ็ญทุกรกิริยา
บทนำ ในอำเภอพุทธคยา ตั้งอยู่ใเขตปกครองของรัฐพิหาร เคยเป็นสถานที่ตั้งของแคว้นมคธอันยิ่งใหญ่ในสมัยพุทธกาล ที่เรียกว่าตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จะมีภูเขาแห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ชีวิตที่นี้เป็นเวลา เมื่อศากยมุนีพระโพธิสัตว์เป็นที่รู้จักในนามว่า"พระสิทธัตถะโพธิสัตว์" หลังจากสำเร็จการศึกษาในสำนักอาฬารดาบส ทรงระลึกถึงเนื้อหาของความรู้แท้จริงของหลักสูตรในสำนักนี้ ทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน แต่เป็นไปเพื่ออากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น
เราไม่พอใจเบื่อหน่ายในธรรมนั้น จึงลาจากอาจารย์ไปเข้าศึกษาในสำนักอุททกดาบสแล้วและจนสำเร็จการศึกษาหลักสูตร เมื่อระลึกถึงเนื้อหาในหลักสูตรและพิจารณาเห็นว่าธรรมะนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพานแต่เป็นไปเพื่อ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น เราไม่พอใจเบื่อหน่ายในธรรมนั้นจึงลาจากไป เมื่อสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ได้ลาอาจารย์ในเมืองราชคฤห์เดินทางต่อไปจนถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มาถึงบริเวณภูเขาดงคสิริตั้งอยู่ในแคว้นมคธ
ดังปรากฎตามพยาน เอกสารใน "พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๔ ฉบับมหาจุฬาราชมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓.โอปัมมวรรค] ๖.ปาสราสิสูตร หน้า:๓๐๓ ข้อ.๒๗๙ ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแสวงหาอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือความสงบไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเทียวจาริกไปในแคว้นมคธโดยลำดับได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสายมีท่าน้ำสะอาดดีน่ารื่นรมย์มีโคจรคามอยู่โดยรอบ เราจึงคิดว่าภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจมีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสายมีท่าน้ำสะอาดดีน่ารื่นรมย์มีโคจรคามอยู่โดยรอบเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียรเราจึงนั่ง ณ ที่นั้นด้วยคิดว่าที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร" และ
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒๕ (ฉบับมหาจุฬาฯ) ขุททกนิกาย พุทธวงค์ ๒๕. โคตมพุทธวงค์ ข้อ ๑๖.ว่า เราเห็นนิมิต ๔ ประการจึงทรงพระราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว ได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี และในอรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๕. โคตมพุทธวงศ์ กล่าวว่า..ครั้งพระโพธิสัตว์เสด็จจาริกไปตามลำดับ.....มีพระประสงค์จะตั้งความเพียรจึงเสด็จไปยังอุรุเวลาฌเสนานิคม ทรงดำริว่าภูมิภาคนี้รื่นรมย์จริงหนอ ทรงเข้าอยู่ ณ ตำบลแห่งนั้น ทรงตั้งความเพียรที่ยิ่งใหญ่....
จากหลักฐานที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า เมื่อพระโพธิสัตวสิทธัตถะทรงนึกถึงความรู้ที่เปิดสอนในสำนักนั้น และทรงพิจารณาดูแล้วเห็นว่า ไม่มีแก่นแท้ของชีวิตอีกต่อไป พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปศึกษาในสำนักอื่นต่อไป เมื่อเสด็จเดินทางจากเมืองราชคฤห์ถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ระยะทางจากแผนที่โลกกูเกิล จากเมืองราชคฤห์ภูเขาภูเขาดงคสิริแล้วระยะทางไม่ต่ำกว่า ๗๐ กิโลเมตร เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิตผ่านวิธีปฏิบัติอื่น ๆต่อไปการปฏิบัติของนักบวชในยุคก่อนพุทธกาลมีหลายวิธี การบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเพียงวิธีการทรมานกายเพื่อให้ชีวิตหลุดพ้นจากการยึดติดชีวิตที่ไม่เที่ยง
กล่าวอีกนัยหนึ่งร่างกายมนุษย์ถึงแม้จะสวยงามแต่ก็ตกอยู่ในความไม่เที่ยง ต้องเผชิญกับความชราตลอดเวลา และเมื่อร่างกายอ่อนแอเนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ในชีวิตเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในลำไส้จะทำลายสุขภาพและทำให้คนเราเจ็บป่วยได้ พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงบำเพ็ญตบะด้วยการอดอาหาร กลั้นหายใจและวิธีการอื่น ๆ ที่ สมณะ ปริพาชก ฤาษีได้ปฏิบัติ แต่พระองค์ทรงบำเพ็ญตบะอย่างเข้มข้นกว่านักพรตเหล่านั้นเป็นเวลา ๖ ปี จนพระวรกายผอมบางจนผิวหนังปกคลุมกระดูก ไม่มีแรงขยับร่างกายได้เหมือนคนปกติ ล่วงมา ๖ ปี บำเพ็ญตบะก็ถึงที่สุด พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงเป็นลมล้มลง ทรงไม่มีแรงขยับร่างกาย เหลือเพียงลมหายใจอันแผ่วเบา ร่างกายคงสงบนิ่งอยู่ริมฝังแม่น้ำเนรัญชราเป็นเวลา โดยไม่มีใครช่วยพระองค์ให้ฟื้นขึ้นมาอีก
แม้แต่ปัญจวัคคีย์ แต่เวลาใกล้ค่ำ สายลมเย็นจากแม่น้ำเนรัญชราสัมผัสพระวรกายของพระองค์อีกครั้ง ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกถึงพระวรกายอีกครั้ง ทรงระลึกถึงประสบการณ์การบำเพ็ญตบะผ่านประสาทสัมผัสจรและเข้าสู่จิตใจตลอด ๖ ปีอย่างมีสติ การบำเพ็ญตบะนั้นจึงไม่มีผลหรือตระหนักถึงความจริงแห่งชีวิตของพระองค์ได้ การบำเพ็ญตบะคือการลงทุนที่สูญเปล่าในชีวิต เพราะพระองค์ไม่เคยรู้ถึงความมีอยู่ของพระพรหม เพื่อจะได้ขอพรพระพรหมให้ช่วยยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะ
มูลเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชนั้น ก็เนื่องมาจากวิถีชีวิตของชาวแคว้นสักกะ ถูกบังคับจากหลักคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยแบ่งประชาชนออก ๔ วรรณะคือวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น โดยมีสภาพบังตามคำสอนของศาสนาและกฎหมายจารีตประเพณีที่บัญญัติห้ามการแต่งงานระหว่างวรรณะและห้ามชาวแคว้นสักกะปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ทำให้ประชาชนขาดการพัฒนาศักยภาพของชีวิต เพราะจิตของประชาชนตกอยู่ในความมืดบอด ความทุกข์ของชีวิตจรเข้ามาสู่ตลอดเวลาในการชีวิตในสังคม หาโอกาสของชีวิตที่ดีกว่ายากถูกความเชื่อว่าพระพรหมลิขิตชีวิตตามคำสอนของปรัชญาในศาสนาพราหมณ์
ในยุคสมัยก่อนพุทธกาล มีความรู้ในปรัชญาศาสนาพราหมณ์ว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระองค์ทรงสร้างมนุษย์จากส่วนต่างๆ ของกายพระพรหมพรหม ทรงกำหนดหน้าที่ของมนุษย์ที่ทรงสร้างขึ้นมาเป็นตามวรรณะต่าง ๆ ทำให้มนุษย์ในยุคนั้นมีความแตกต่างกันในที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและอาหารกินในการดำรงชีวิตเป็นต้น เมื่อพวกวรรณะกษัตริย์เองมีความเชื่อศรัทธาในพระพรหมเช่นเดียวกัน พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยเอาแนวคิดทางปรัชญาศาสนาพราหมณ์ มาออกกฎหมายแบ่งประชาชนชาวแคว้นสักกะชนบทออกเป็นชนชั้น ๔ วรรณะ ทำงานตามสิทธิหน้าที่ในวรรณะของตนเองทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกทางเดินของชีวิต แม้จะมีจะศักยภาพของความรู้และทักษะในการทำงานในสิ่งที่ตนชื่นชอบเหมือนชีวิตพวกเขาคนถูกสาปไว้ ตามความเชื่อของคำสอนในศาสนาพราหมณ์
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะแห่งชนวรรณะกษัตริย์ทรงเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในความมัวเมาบนปราสาท ๓ ฤดูแล้ว ทรงเสด็จประพาสพระนคร ทรงพบเห็นคนจนมากมายต้องใช้ชีวิตอย่างคนไร้บ้าน ต้องทุกขเวทนา เกิด แก่ เจ็บตายบนเส้นทางเสด็จพระดำเนินไปพระราชอุทยานหลวงแห่งพระนครกบิลพัสดุ์ เมื่อที่มาของความรู้เป็นประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสของพระองค์เอง ทำให้พระองค์ทรงเกิดทุกขเวทนาเกิดขึ้นในพระทัย เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงระลึกได้เช่นนี้แล้ว พระองค์ทรงมีพระทัยปรารถนาด้วยความเมตตา เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน พระองค์ทรงเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการยกเลิกชนชั้นวรรณะต่อรัฐสภาศากยวงศ์ เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนชาวสักกะ ให้หลุดพ้นจากปัญหาของความยากจนได้
แต่เหตุผลของพระองค์ไม่อาจโต้แย้งหักล้างความเชื่อของความเห็นคณะรัฐสภาของศากยวงศ์ได้ ทรงพิจารณาต่อไปอีก แม้พระองค์จะดำรงชีวิตในวรรณะกษัตริย์ต่อไป เพื่อทำหน้าที่ในการปกครองประเทศ แต่พระองค์คงไม่สามารถปฏิรูปประเทศได้อีกต่อไป ระลึกถึงสมณะผู้ทรงค้นพบในวันที่ ๔ ของการเสด็จเยี่ยมประชาชน ทรงพิจารณา เห็นการเสด็จออกผนวชไม่เกี่ยวข้องกับศากยวงศ์อีกต่อไป น่าจะเป็นหนทางที่ประเสริฐที่สุดเพื่อให้ได้ความรู้และความจริงของชีวิตว่าเป็นเพราะพระพรหมลิขิต หรือชีวิตลิขิตเอง เมื่อแสวงาเหตุผลของคำตอบในความรู้ และความจริงของชีวิตแล้วปราศจากข้อสงสัยในความจริงแล้ว จะนำความรู้นั้นมาเผยแผ่เพื่อหักล้างความเชื่อผู้คนสังคมจะได้สิ้นสุดปัญหาของการเลือกปฏิบัติกับประชาชน.
ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคน มีขีดจำกัดของความรู้แค่ประสาทสัมผัสเท่านั้น ส่วนความรู้เกินขอบเขตประสาทสัมผัสขึ้นไป มนุษย์ไม่สามารถรับรู้เรื่องต่างๆ ที่เกิดได้ทุกเรื่องในโลกมนุษย์ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไกลคนละซีกโลก มีหิมะถล่มในโลกตะวันตก อยู่ไกลเกินที่คนเอเซียที่จะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสได้ ส่วนโลกเหนือประสาทสัมผัสมนุษย์ธรรมดาจะรับรู้ได้ เช่น โลกของเทวดา หรือนรก ทุคติ อบาย อยู่เกินประสาทสัมผัสของมนุษย์ทุก ๆ เว้นแต่พระอริยบุคคลได้พัฒนาศักยภาพตนเอง จนบรรลุถึงความรู้ในระดับ เรื่องดังนั้นพื้นฐานของความรู้ที่มาจากประสาทสัมผัสนั้น และนำคิดหาเหตุผลจนเกิดเป็นความรู้ของตัวเองนั้นจึงไม่มีทุกเรื่องราวที่มีอยู่โลกมนุษย์
แม้พระโพธิสัตว์จะทรงสำเร็จการศึกษาใน ๑๘ สาขาวิชาก็ตาม แต่ก็ยังมีสาขาอีกอื่นมากมายที่พระองค์ยังไม่ได้ศึกษาเช่นเดียวกัน เพราะความรู้เหล่านั้นยังไม่ได้ผ่านประสาทสัมผัสของพระองค์เอง แล้วนำมาคิดด้วยเหตุผลจนเกิดความรู้ขึ้นมา การศึกษาจนสำเร็จในหลายสาขาวิชานั้นแสดงให้เห็นว่า พระโพธิสัตว์ทรงมีศักยภาพในการแสวงหาความรู้ที่เปิดสอนในสำนักปรัชญาของพวกพราหมณ์ในยุคนั้น เพราะพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาอย่างรวดเร็วในขณะทรงพระเยาว์อยู่ เมื่อพระองค์ทรงพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งเป็นพวกตระกูลต่ำ ไม่สิทธิหน้าที่ในสังคมเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข อีกทั้งได้รับการรังเกียจจากชนในวรรณะสูง ไม่ยอมคบค้าสมาคม หรือแม้กระทั้งไม่ยอมจ้างเข้าทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านเรือนตน กลัวจะสัมผัสสิ่งของใช้ร่วมกันที่ต้องใช้ร่วมกัน
เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่พระองค์ไม่ได้ศึกษา และเรียนรู้มาก่อนทำให้เกิดความทุกข์ในพระราชหฤทัยของพระองค์ แม้พระองค์จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมเพื่อปรึกษาหารือกัน ตามวิธีการปกครองหลักอปริหานิยธรรมก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่ไม่ยอมรับที่จะให้ในตระกูลต่ำมีสิทธิหน้าเหมือนในวรรณะต่าง ๆ เพราะเปลี่ยนแปลงที่คนรุ่นก่อนได้กระทำไว้ดีแล้ว พระองค์จึงตัดสินพระทัยออกบวช เพื่อแสวงหาความรู้อันเป็นสัจธรรมของชีวิตที่ทำให้มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ที่มีเหตุผลสามารถโต้แย้งล้างความเชื่อของพวกพราหมณ์ ที่เป็นองค์ความรู้ที่สอนให้มนุษย์คิดประกอบด้วยเหตุผล ที่เชื่อว่าพระพรหมเป็นสิ่งที่อยู่จริงทรงสร้างมนุษย์ให้อยู่ในวรรณะต่างไว้แล้วและได้กำหนดหน้าที่ชนชั้นในวรรณะต่าง ๆ ไว้ ที่มนุษย์ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐได้บันทึกไว้ว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงออกผนวชแล้ว ออกบำเพ็ญเพียรเพื่อหาความรู้และความจริงของชีวิต ทรงจาริกไปสู่แคว้นมคธ มีเมืองราชคฤห์เป็นมหานครอันยิ่งใหญ่ตั้งอยู่ในท่ามกลางหุบเขา ๕ ลูก มีเจ้าสำนักที่มีชื่อเสียงมากมายเปิดสอนวิชาปฏิบัติให้ตนพ้นทุกข์ พระโพธิสัตว์ทรงเข้าศึกษาในสำนักของ อาฬารดาบสที่เมืองราชคฤห์ ในสำนักนี้ได้เปิดสอนหลักสูตรวิชาสมถกรรมฐานเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนะ พระองค์ทรงศึกษาได้เพียง ๒ วันก็ทรงสำเร็จการศึกษามีความรู้เท่ากับ อาฬารดาบสอาจารย์ผู้เป็นเจ้าของสำนักดังกล่าว
เมื่อจบหลักสูตรแล้วอาฬารดาบสผู้เป็นอาจารย์พิจารณาแล้วเห็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีปัญญาและศักยภาพในการศึกษาบรรลุถึงความรู้ที่สอนอย่างรวดเร็ว อาจารย์เจ้าของสำนักจึงชวนสิทธัตถะพระโพธิสัตว์อยู่เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานและร่วมบริหารสำนักสำนักปฏิบัติด้วยกันจัดงานพิธีบูชาต้อนรับพระโพธิสัตว์ผู้เป็นอาจารย์องค์ใหม่อย่างใหญ่โต มีบรรดาเจ้าสำนักและสาวกเดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาหลักสูตรคำสอนแล้วเห็นว่าคำสอนของสำนักนี้ มีหลักธรรมคำสอนไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะอภิญญา สัมโพธะและนิพพาน เป็นเพียงการเข้าถึงหลักคำสอน อากิญจัญญายตนะมีค่าของวิชา เทียบเท่าวิชาสมถกรรมฐานเท่านั้น ทำให้พระโพธิสัตว์ทรงเบื่อหน่ายในธรรมนั้น จึงร่ำลาอาจารย์ไปสู่สำนักอื่นเพื่อแสวงหาความรู้ต่อไป ในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐได้กล่าวถึงพุทธพจน์ว่า เมื่อสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ลาอาจารย์อาฬารดาบสไปจากสำนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น