Epistemological problems regarding Sujata Stupa in the Tripitaka ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวข้องกับสถูปนางสุชาดาในพระไตรปิฎก
สารบาญ
๑.บทนำ
๒.ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้
๒.๑. ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์
๒.๒.โครงสร้างความรู้ของมนุษย์
๒.๓.วิธีพิจารณาความจริงของมนุษย์
๒.๔.ความสมเหตุผลความรู้ของมนุษย์
๑.บทนำ
ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. ๒๐๐๒ ผู้เขียนได้เดินทางไปแสวงบุญที่พุทธคยาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ในสมัยพุทธกาล สถานที่แห่งนี้เรียกว่า "อุรุเวลาเสนานิคม" ตั้งอยู่ในแคว้นมคธ ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถูปนางสุชาดา (Sujata Garh) จากพระธรรมทูตต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยรูปหนึ่ง (foreign Buddhist missionaries ) ที่บรรยายให้คณะของพวกเราฟังว่า สถานที่แห่งนี้เป็นบ้านนางสุชาดา ซึ่งเป็นผู้ได้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ เมื่อผู้เขียนและคณะผู้แสวงบุญได้ฟังข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้ว พวกเราก็ยอมรับความจริงโดยปริยาย และไม่สงสัยข้อเท็จจริงเรื่อง "นางสุชาดา" อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ฟังต่อ ๆ กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตำราหรือคัมภีร์ทางศาสนา สิ่งที่เคยปฏิบัติกันเป็นแบบแผน ประเพณี หรือขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราว่าอย่าเชื่อทันที ควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอ ที่จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงหรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้
ดังนั้น เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงจากพระนักเทศน์เรื่องสถูปนางสุชาดาที่ฟังต่อ ๆ กันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ถือข้อเท็จจริงในความเป็นมาในเรื่องยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงยังไม่เชื่อทันทีว่าเป็นความจริง จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอที่จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริง หรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่า เป็นความรู้ที่มีความสมเหตุสมผล เพื่อเผยแผ่ให้ผู้อื่นได้รับการศึกษาในเรื่องนี้อีกต่อไป
๒.ญาณวิทยาหรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีความรู้" นักปรัชญามีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ โครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ หรือองค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์ วิธีพิจารณาความจริงของมนุษย์ และความสมเหตุสมผลของความรู้ ดังนั้น ญาณวิทยาจึงมีหน้าที่ตอบคำตอบที่ว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง"
๒.๑ ต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์ ในสมัยก่อนพุทธกาล พราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะและนักปรัชญาเชื่อข้อเท็จจริงฟังต่อ ๆ กันมาว่าเป็นความจริง เช่นการมีอยู่ของเทพเจ้า , เมื่อพระพรหมสร้างมนุุษย์จากร่างของพระองค์แล้ว นักปรัชญาส่วนใหญ่เชื่อว่าความรู้ของมนุษย์นั้น เมื่อพระพรหมจึงเป็นผู้สร้างความรู้ให้กับมนุษย์ เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้ค้นพบกฎแห่งธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อมนุษย์ตายไป จิตวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่่ จะออกจากร่างไปเกิดในโลกอื่น ๆ ในระหว่างมีชีวิตอยู่ จิตมนุษย์ก็อาศัยอายตนะภายในของร่างกายของตนในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และเก็บหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตนเอง แล้วก็วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เมื่อพยานวัตถุยืนยันว่าสถูปบ้านนางสุชาดา และมีป้ายของกองโบราณคดีแห่งรัฐพิหารยืนยันไว้ชัดเจนว่า เป็นสถูปบ้านนางสุชาดา
แต่โบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า เรื่องของนางสุชาดามีการบันทึกเป็นหลักฐานไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และอรรถกถาของพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ สิ่งที่ได้ยินมาจากการศึกษาที่มาของความรู้เกี่ยวกับสถูปบ้านนางสุชาดานั้น ตามทฤษฏีความรู้ในญาณวิทยาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า"ญาณวิทยา" ว่าเป็นปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยบ่อเกิดของความรู้, ลักษณะของความรู้ หน้าที่ของความรู้ ระเบียบวิธีของความรู้ และความสมเหตุผลของความรู้ เป็นต้นเมื่อนักปรัชญาได้ฟังข้อเท็จจริงที่จะเชื่อว่า มันเป็นความจริง จะต้องมีหลักฐาน เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานเอกสารดิจิทัล มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น
ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้น เป็นความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตน ในการฟังการบรรยายของพระวิทยากรหลายครั้งต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีว่า นางสุชาดาเป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาสให้กับพระโพธิสัตว์สิทธัตถะก่อนตรัสรู้กฎธรรมชาติชาติเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ สถูปสุชาดาตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดมหาโพธิและตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐพิหารติดป้ายประกาศว่า Sujata Garh เมื่อผู้เขียนรับรู้ถึงการมีอยู่ของสถูปนางสุชาดาซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียน แต่สถูปนางสุชาดายังไม่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในจิตใจของผู้เขียนว่า มีประวัติความเป็นมาของสถูปนางสุชาดาคืออย่างไร ? และหน้าที่ของญาณวิทยาที่จะคำตอบเรื่องที่ว่า "เรารู้ได้อย่างไรว่าเป็นสถูปนางสุชาดา" ตามแนวคิดญาณวิทยาของต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์ นักปรัชญาหลายคนได้ตั้งทฤษฎีความรู้ขึ้นมาหลายทฤษฎีด้วยกัน แต่ในการเขียนบทความนี้ผู้เขียนใช้ทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมมาเป็นหลักในการวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าบุคคลนั้นมีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นและสามารถให้การยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบได้
ตามทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยม ผู้เขียนตีความว่า ความรู้เกี่ยวกับความจริงของโลก มนุษย์ จักรวาล และเทพเจ้า ฯลฯ จะได้รับการพิจารณาความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับ โลก มนุษย์ จักรวาล และเทพเจ้านั้นได้ เราต้องรับรู้ข้อเท็จจริงผ่านประสาทสัมผัสของบุคคลเพื่อยืนยันความจริงในเรื่องนั้น ในความรู้ที่แท้จริงเรื่องนางสุชาดานั้น เมื่อผู้เขียนและผู้แสวงบุญนั่งรถบัสไปตามถนน จากวัดไทยพุทธคยาข้ามสะพานคอนกรีต เพื่อข้ามแม่น้ำเนรัญชรามีความยาวเกือบ ๕๐๐ เมตร จนกระทั่งมาถึงสถูปนางสุชาดา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเจดีย์อิฐขนาดกลาง ที่สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงนางสุชาดา ซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามากว่า ๒,๕๐๐ ปี แล้วบ้านดั้งเดิมของนางสุชาดาสันนิษฐานว่า ปลูกสร้างด้วยไม้และผุพังไปตามเวลา มันยากที่จะเดาว่าบ้านของนางสุชาดานั้น มีโครงสร้างเป็นอย่างไร ? แต่เรื่องราวเกี่ยวกับนางสุชาดาไม่ได้หายไปพร้อมกับความตายของเธอ ยังคงอยู่ในความทรงจำของมนุษยชาติจนถึงปัจจุบัน แม้วิญญาณของมนุษย์ จะหมุนเวียนตามวัฏจักรแห่งความตายและกลับชาติมาเกิดอีกครั้ง แต่ความทรงจำที่สวยงามของชีวิตของนางสุชาดายังคงอยู่ในใจของคนที่เกิดมาทุกยคทุกสมัย และไม่ได้หายไปกับความตายของบุคคลนั้น แต่มันเป็นเงาที่จะติดตามวิญญาณของผู้นั้นไปเกิดในสังสารวัฏไม่รู้จบสิ้น ในแต่ละปีสถูปนางสุชาดายังมีผู้แสวงบุญหลายแสนคนจากต่างประเทศ มาเยี่ยมเจดีย์นี้เหมือนลำธารที่ไหลจากเทือกเขาหิมาลัยที่ไม่มีวันจะเหือดแห้ง เป็นต้น
พระธรรมวิทยากรหลายร้อยองค์เล่าเรื่องของเธอ และอธิบายสถูปสถานที่แห่งนี้ให้กับผู้แสวงบุญโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย แม้จะอธิบายมาแล้วหลายครั้ง แต่ผู้เขียนยังคงเห็นว่ายังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมากมายที่ควรศึกษาโดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆเพิ่มเติมมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบ หรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบ สามารถนำความรู้เกี่ยวกับนางสุชาดา มาประยุกต์เข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เมื่อเรื่องราวของนางสุชาดามีนักวิชาการหลายคนเขียนหนังสือหลายเล่ม แต่ผู้เขียนก็ยังคงสงสัยเกี่ยวกับที่มาของหลักฐานที่นักวิชาการใช้ในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องสถูปนางสุชาดา เป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลที่จะไม่มีข้อสงสัยข้อเท็จจริงเรื่องนี้ และจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสมัยใหม่ที่เน้นความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อด้วยวิจารณาญาณที่สมเหตุสมผลโดยไม่ต้องสงสัย เราสามารถตรวจสอบคำตอบที่ถูกต้องได้ เมื่อผู้เขียนได้ไปฟังการบรรยายที่สถูปนางสุชาดาหลายครั้งและได้รับฟังข้อเท็จจริงของประวัติของนางสุชาดาจากพระวิทยากรนั้นแล้ว ไม่มีรายละอียดว่าเธอเป็นใคร ? มาจากไหน ? และมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร? ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าการมีอยู่ของนางสุชาดา ผู้เขียนจึงต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานทั้งเอกสารหลักฐาน พยานวัตถุ และพยานบุคคลเพิ่มเติม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ แล้ว และเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนางสุชาดานี้ต่อไป
๑. Sujata Stupa เป็นพยานวัตถุที่สำคัญในพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงนางสุชาดาเป็นแบบอย่างของชาวพุทธที่มีศรัทธาในความเชื่อของตนเอง และถวายข้าวมธุปายาสแด่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ Sujata Stupa เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเนรัญชราและเป็นหนึ่งในหลายรายการของโครงการจาริกแสวงบุญของชาวพุทธในสังเวชนียสถาน ๔ เมืองซึ่งตั้งอยู่ในสาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ผู้เขียนรับรู้การมีอยู่ของ Sujata Stupa จากประสบการณ์ชีวิตผ่านผ่านประสาทสัมผัสของตนเองหลายครั้ง เมื่อผู้เขียนจาริกมายังสถานที่ตั้งของเจดีย์นี้ และพบซากโบราณสถานที่มีลักษณะรูปทรงบาตรคว่ำ เป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างกันในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช ดูลักษณะของเจดีย์แล้วน่าจะผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง แต่ยังคงมีมนต์ขลังสำหรับผู้แสวงบุญทั่วโลกที่อยากจะมาเยี่ยมชมประจำมิเคยขาด ในแต่ละวันจึงมีผู้เล่าเรืองของนางสุชาดาในสถานที่แห่งนี้หลายครั้งตลอดทั้งวัน ยิ่งในช่วงเวลาออกพรรษามีผู้มาเที่ยวชมหลายคณะด้วยกัน เมื่อผู้เขียนสัมผัสกับซากโบราณสถานของเจดีย์แห่งแล้ว ผู้เขียนสงสัยว่านางสุชาดามีความสำคัญเพียงใดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นตำนานแก่นางสุชาดาเช่นนี้ แม้ว่าผู้เขียนจะได้เรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับนางสุชาดา ตั้งแต่แรกจากพระวิทยากรรุ่นพี่บรรยายให้ผู้เขียนและนักศึกษาไทยเดินทางไปตามเส้นทางแสวงบุญจากเมืองพาราณสี ถึงเมืองพุทธคยา เพื่อปฏิบัติบูชาในสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเรียกว่าวัดมหาโพธิ (Mahabodhi temple) ดังนั้น เรื่องเล่าเกี่ยวกับนางสุชาดาซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและบ้านเกิดเมืองนอนในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดมหาโพธิ์นั้นก็น่าสนใจไม่น้อย เมื่อผู้เขียนได้สัมผัสเรื่องราวแล้ว ก็เริ่มกระตือรือล้นที่จะศึกษาค้นหาเพื่อหาเหตุผลในคำตอบของนางสุชาดาในพระไตรปิฎกมากขึ้น เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับนางสุชาดา เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของตัวเองและมีความสุขโดยการปล่อยวางความทุกข์ เพราะเข้าใจชีวิตมากขึ้น

๒.ประวัติของนางสุชาดา เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐาน ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ โดยเขียนคำว่า "สุชาดา" ลงในแอปพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต พบหลักฐานที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตร นิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต. ข้อ ๒๕๘. ได้กล่าวว่า" นางสุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพีเลิศกว่าอุบาสิกสาวิกาทั้งหลายของเราผู้ถึงสรณะก่อน ฯ "
เมื่อผู้เขียนสืบข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ที่กล่าวไว้เพียงข้อความสั้น ๆ ว่า นางสุชาดาบุตรีของเสนานีกุฏฺมพี และประเสริฐกว่าอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เป็นผู้ถึงสรณะก่อน หลักฐานก็สั้นเท่านี้ แต่ก็เป็นการยืนยันว่านางสุชาดาเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่จริงในสมัยพุทธเจ้า แต่ยังมีประเด็นที่ผู้เขียนสงสัยอยู่ มีหลักฐานใดยืนยันว่า นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสแก่พระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยิ่งกว่านั้นมีหลักฐานอะไรที่นางสุชาดาและสามีมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่บ้านของตน และจิตนางสุชาดาก็บรรลุธรรมถึงระดับโสดาบัน ส่วนสามีและลูกนั้น ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนกระทั่งเกิดดวงตาเห็นธรรมและบรรลุถึงระดับพระโสดาบัน ส่วนยสกุลบุตรเป็นฆราวาสคนแรกที่บรรลุถึงพระอรหันต์ และได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องเราต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ในอรรถกถาออนไลน์ อังคุตตรนิบาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี เนื้อหาในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๐ ข้อ (๑๕๒) อรรถกถาวรรค ๗ เรื่องอุบาสิกาผู้มีตำแหน่งเป็นเลิศ ๑๐ คน ว่ากันว่า วิญญาณของนางสุชาดาได้เกิดในสังสารวัฏเป็นเวลานาน ดวงวิญญาณของนางสุชาดาเคยปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดา เกิดมาเป็นมนุษย์ในสมัยพระปทุมุตระพุทธเจ้า นางได้ฟังพระธรรมเทศนาและเห็นพระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งอุบาสิกาให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสิกาผู้ถึงสรณะก่อนอุบาสิกาทั้งปวง นางจึงได้ทำบุญกุศลมากด้วยจิตปรารถนาในตำแหน่งนั้น จากนั้นดวงวิญญาณก็เวียนว่ายตายเกิดตายในโลกเทวดาและมนุษย์ไปอีกแสนกัลป์ นางจึงปฏิสนธิวิญญาณมาเกิดในครอบครัวกุกุฏพีชื่อ เสนานิยะตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ก่อนพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อเจริญวัยเป็นสาว ได้ไปขอพรที่ต้นไทรใกล้บ้านพ่อเสนานียะว่า ถ้านางจะแต่งงาน ก็ขอแต่งงานกะคนที่เสมอกัน เมื่อนางแต่งงานแล้ว ก็ขอให้ได้บุตรชายคนแรกนางจะทำพิธบูชาเป็นประจำปี ต่อมาความปรารถนาของนางก็สมหวัง นางสุชาดาได้แต่งงานเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี แคว้นกาสี เมื่อแต่งงานแล้ว เธอมีบุตรชายชื่อยสะกุลบุตร ซึ่งต่อมาได้เป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา.
เราวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า เมื่อนางสุชาดาเกิดในวรรณะพราหมณ์ จึงมีความเชื่อด้วยความมั่นใจว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และสร้างวรรณะสำหรับมนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดเธอจึงมีความฝันที่จะแต่งงานกับคนวรรณะเดียวกัน จึงจัดพิธีบูชายัญเพื่อขอพรให้ประสบความสำเร็จตามฝัน เป็นสิ่งที่นางสุชาดาต้องทำเพราะสตรีในวรรณะพราหมณ์นั้น เธอจะมีโอกาสพบสามีเฉพาะในวันแต่งงานเท่านั้น การแต่งงานสามารถทำได้หลังจากปรึกษาพ่อสื่อพราหมณ์เท่านั้น สิ่งนี้ทำให้พวกเขาไม่มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพของกันและกัน การแต่งงานจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับการอนุมัติของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ดังนั้นชีวิตของสตรีวรรณะพราหมณ์จึงไม่มีโอกาสเลือกวิถีชีวิตของตน เธอต้องทำพิธีบูชายัญเพื่อขอพรให้พระพรหมเพื่อช่วยให้บรรลุความฝัน เมื่อนางสุชาดาบรรลุความฝันด้วยการ แต่งงานกับคนวรรณะเดียวกัน มีฐานะร่ำรวย เป็นคนมีสติปัญญาและมีเหตุผลในการกระทำหรือมีความเชื่ออย่างเดียวกัน นางจำคำอธิษฐานเมื่อตอนที่ยังเด็กได้ เธอจึงทำพิธีบูชายัญที่ใต้ต้นไทรใกล้บ้านของเธอเอง ดังหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ซึ่งระบุว่า สุชาดาธิดาเสนานีกุกุฎพีเลิศกว่าอุบาสีวิกาทั้งหลายของเรา (พระพุทธเจ้า) ผู้ถึงสรณะ (พระรัตนตรัย) ก่อนใคร เป็นต้น
๓.บ้านนางสุชาดาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้กว่า ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงทรงโปรดให้สร้างสถูปเล็ก ๆ ของนางสุชาดา เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของนางสุชาดา สถูปน่าจะมีเล็กกว่าที่เห็นในปัจจุบัน ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ได้มีการขยายฐานสถูปให้เป็นวงกลมขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางกายภาพว่าสถูปที่เรามองเห็นด้วยสายตา มีป้ายประกาศว่า"Sujata Garh" ยืนยันว่าสถูปแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของบ้านเดิมของนางสุชาดาที่เคยอยู่อาศัย และได้ถวายข้าวมธุปายาสพร้อมถาดทองคำแก่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากพยานหลักฐานที่กล่าวในพระไตรปิฎกและอรรถกถาข้างต้น จึงเชื่อได้ว่า นางสุชาดาเป็นอุบาสิกาที่แท้จริง ผู้ได้บรรลุพระโสดาบัน ณ ปราสาทเมืองพาราณสี และได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนา ในฐานะผู้เข้าถึงที่พึ่งก่อนอุบาสิกาทั้งหลาย
๔.มูลเหตุสร้างสถูปบ้านนางสุชาดา


เพราะเมื่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ถูกตัดโค่นทำลายโดยพระนางดิษยรักษ์แล้ว ด้วยศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างอนุสรณ์สถานการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นพระวิหารเล็ก ๆ ตั้งอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่าเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพราะทรงกลัวว่า ในอนาคต พระศรีมหาโพธิ์ถูกทำลายหรือเอง หรือถูกทำลายด้วยมิจฉาทิฐิของมนุษย์ เป็นต้น การทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับทำลายสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพราะความทรงจำของมนุษย์เกี่ยวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ของผู้คน ย่อมสูญสลายไปพร้อมกับความตายของผู้คน หากสร้างสถูปไว้แล้ว ก็ยังมีหลักฐานหลงเหลือเป็นอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ ทำให้ชาวพุทธเกิดมาภายหลัง ก็จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานพระวิหารเล็กๆ แห่งนี้ว่าเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบว่า พระวิหารขนาดเล็ก ๆ นี้คือสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพุทธบริษัทในการศึกษาธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเพื่อนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้น หลังจากทำการสังคายนาครั้งที่ ๓ เสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นผู้แสวงบุญกลุ่มแรกที่เดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง เพื่อค้นหาและปฏิบัติบูชาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ตามที่พระองค์ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อเสด็จเยือนแต่ละแห่งนั้น พระองค์ทรงสร้างเสาหินและและสถูปทรงบาตรคว่ำเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงการแสวงบุญของพระองค์ และเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ถึงพุทธสถานแต่ละแห่ง มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอย่างไร จากสังเวชนียสถานได้ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วอนุทวีป อินเดีย รวมทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ แห่ง ดังนั้น สถูปบ้านนางสุชาดานั้นจึงเป็น ๑ ใน พุทธสถาน ๘๔,๐๐๐ แห่ง ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ในสมัยแรก ๆ เดิมที่น่าจะสร้างเป็นสถูปเล็ก ๆ เป็นที่สักการะเช่นเดียวกับสถูปที่เป็นอนุสรณ์แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ขนาดเท่ากับเจดีย์พุทธศาสนามหายานที่พบเห็นกันทั่วไปในยุคปัจจุบัน ตามลักษณะทางกายภาพของสถูปบ้านนางสุชาดานั้น เป็นสถูปที่มีลักษณะทางพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และฐานของสถูปก็ขยายออกไป ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ฐานของสถูป มีลักษณะเป็นรูปวงกลมขนาดใหญ่มาก รูปร่างของสถูปเป็นทรงบาตรคว่ำ มีเสาหินอโศกปักไว้จำนวน ๑ ต้น แต่ตอนนี้กองโบราณคดีรัฐพิหารได้ยึดเสาอโศกไว้และรักษาไว้ที่บริเวณเจดีย์พุทธคยา.
แม้ตัวสถูปของนางสุชาดาจะเสื่อมโทรมลงตามกาลเวลา แต่คุณค่าของความรู้ และความเป็นจริงเกี่ยวกับนางสุชาดานั้นก็ไม่เสื่อมลงตามกาลเวลา เพราะยังสั่งสมนอนเนื่องอยู่ในจิตใจของคนในยุคนั้น แม้จิตวิญญาณของพวกเขาจะเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่รู้กี่ครั้ง ก็ไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าหาได้ยากในมนุษย์ เพราะนางเป็นสตรีคนเดียว ที่มีโอกาสได้มีโอกาสถวายทานแด่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะก่อนตรัสรู้ ดังนั้น การถวายข้าวมธุปรายาสของนางจึงมีอานิสงส์มาก ด้วยเหตุนี้นางสุชาดาจึงเป็นสตรีเพียงคนเดียวที่ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุธรรมระดับโสดาบัน ภายหลังการตรัสรู้ใหม่ของพระพุทธเจ้า ทำให้ยสกุลบุตรซึ่งเป็นลูกชายของนางสุชาดาได้บรรลุธรรมระดับอภิญญา ๖ ขณะเป็นฆราวาสได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและได้เป็นพระอรหันต์ก่อนจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา.
ในสมัยก่อนพุทธกาลตำบลพุทธคยาแห่งนี้เรียกว่า "อุรุเวลาเสนานิคม" ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเนรัญชรา ในยุคปัจจุบันนี้ บ้านของนางสุชาดากลายเป็นที่ตั้งของสถูปของนางสุชาดา ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งในตำบลพุทธคยา ในแต่ละปีจะมีนักแสวงบุญจากต่างประเทศนับหมื่นคน มาท่องเที่ยวและปฏิบัติบูชาตลอดทั้งปี จัดเป็นพุทธสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่มีอยู่ในโปรแกรมของการแสวงบุญของทุกกลุ่ม ที่เดินทางไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานในแต่ละปี ต้องไปเยี่ยมชมสถูปบ้านนางสุชาดา ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เมื่อเรามาถึงแล้ว เราควรรู้หลักธรรมพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับนางสุชาดา จนเป็นคำสัญญาที่เก็บไว้ในจิตวิญญาณ และสามารถติดตามจิตวิญญาณของเราไปสู่โลกอื่นได้ สถูปนี้อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๒๐๐ เมตรใกล้กับที่ที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะอธิษฐานก่อนจะลอยถาดทองคำ ก่อนตรัสรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ เรื่องราวของนางสุชาดาจึงเป็นตัวแทนของบุคคลในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ที่ได้ถวายข้าวมธุปายาสและได้ฟังธรรมเทศจากพระพุทธเจ้า จนบรรลุธรรมถึงระดับโสดาบัน และเป็นผู้ที่เข้าถึงสรณะอันเป็นที่พึ่งประเสริฐก่อนอุบาสิกาทั้งหลาย เราสามารถอ้างอิงเรื่องราวชีวิตของนางสุชาดาเป็นบทเรียนที่ดีในการสอนชีวิตของผู้คน

การเยือนสถูปบ้านนางสุชาดาระหว่างปี ๒๕๔๕ - ๒๕๕๔ นั้น ผู้เขียนและกลุ่มผู้แสวงบุญชาวพุทธนานาชาติ ได้มีโอกาสขึ้นไปบนยอดสถูปบ้านนางสุชาดาเป็นประจำ และสถูปบ้านนางสุชาดายังคงปกคลุมไปด้วยหญ้าและมีต้นโพธิ์ต้นหนึ่งขึ้นบนยอดสถูปนี้ ปัจจุบันกรมโบราณคดีของอินเดีย ได้ออกประกาศห้ามคนขึ้นไปบนยอดของสถูปเพราะกลัวจะพัง เพราะทุกปีจะมีผู้แสวงบุญมาเยี่ยมเยือนและเล่าเรื่องนางสุชาดาให้กลุ่มผู้แสวงบุญฟังร้อยครั้ง เมื่อเรายืนอยู่บนยอดสถูป เราจะได้เห็นภูเขาดงคสิริ ซึ่งเป็นสถานที่บำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น ในช่วงฤดูหนาวเราไม่สามารถเห็นได้ เนื่องจากมีมีหมอกหนาปกคลุมเขาดงคสิริ และเรายังเห็นแม่น้ำโมหะนี ซึ่งเป็นที่ตั้งของอารามชฏิลคนพี่อุรุเวลากัสสปและชฏิลคนกลาง เราสามารถมองเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถูปบ้านนางสุชาดามากนัก ผู้แสวงบุญสามารถเห็นได้ด้วยสายตาของตนเอง
๕.จริยศาสตร์:วิถีชีวิตที่เสมอกัน
ในสมัยพระเจ้าพิมพิสารทรงปกครองแคว้นมคธ พระองค์ทรงศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ ในยุคนั้นชาวมคธแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น ชาวมคธทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เขาเกิดเท่านั้น ตามคำสอนทางศาสนาและกฎหมายนั้น เป็นผลให้ชาวมคธมีสิทธิและความรับผิดชอบที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น เมื่อพระพรหมทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาและสร้างวรรณะเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ที่เกิดมา การแต่งงานข้ามวรรณะและปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น เป็นสิ่งต้องห้ามในสังคมแคว้นมคธ เพราะมันขัดคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ ผู้ใดฝ่าฝืนก็มีความรักและแต่งงานข้ามวรรณะ จะถูกลงโทษด้วยการถูกดูหมิ่นจากคนในสังคม ครอบครัวถูกห้ามเข้าเขตเทวสถานของพวกพราหมณ์ และไม่สามารถใช้สถานที่สาธารณะร่วมกับคนในวรรณะอื่น ๆ ได้ เช่น บ่อน้ำสาธารณะ เพราะละเมิดเจตนารมย์ของพระพรหมที่สร้างมนุษย์ขึ้นมาที่เรียกว่า "พรหมลิขิต" นั้นเอง
เมื่อนางสุชาดาเกิดมาในวรรณะพราหมณ์ จึงวิเคราะห์ได้ว่า นางความปรารถนาออกเรือนกับวรรณะพราหมณ์ มีทรัพย์สินเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน คือความนึกคิดไปในทางแนวเดียวกันมีศีลเสมอกันและ เมื่อแต่งงานแล้ว ขอได้ลูกชายคนแรกเพราะจะช่วยดูแลครอบครัวได้ ในยามลำบาก เมื่อแต่งงานลูกชายออกเรือนมีครอบครัวพ่อแม่ไม่ต้องลำบากในการหาเงินทอง เพื่อแต่งงานเพราะฝ่ายหญิงเป็นผู้ออกเงินค่าสินสอดในการแต่งงานกัน ส่วนในพระพุทธศาสนานั้น การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นทรงค้นพบกฎของกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของชีวิตมนุษย์ เป็นกฎธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองของมนุษย์ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะเหตุปัจจัยของจิตวิญญาณที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ ได้สั่งสมความรู้เกี่ยวกับกิเลสไว้ในจิตของตัวเอง ทำให้จิตเกิดความอยากในตัณหาต่าง ๆ และแสดงออกมาทางกายกรรรม วจีกรรม และมโนกรรม เพื่อหาสิ่งต่าง ๆ มาสนองอารมณ์ของความอยากตนตลอดเวลา การกระทำเหล่านั้นล้วนมีที่มาจากความนึกคิดของตัวเองโดยมีผัสสะเป็นต้นเหตุของการกระทำทั้งสิ้นโดยจิตคิดมาจากความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประสบการณ์ชีวิตเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในจิตของตัวเอง การกระทำทุกอย่างที่ดีหรือชั่วจึงมาจากความคิดของตัวเองที่เรียกว่าเจตนาของการกระทำที่แสดงออกมาและการกระทำเกิดจากความคิดของตัวเองก็สั่งสมไว้จิตของตนอีกครั้งหนึ่ง.
ตามพจนานุกรมฉบับไทย-ไทยราชบัณฑิตยสถานกล่าวว่าจริยศาสตร์คือปรัชญาสาขาหนึ่งว่า ด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ มนุษย์มีความคิดด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันตามสมาธิและความรู้ที่เป็นสติปัญญานึกคิดของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องแสวงหาเกณฑ์ ที่มีความเป็นยอมรับกันทุกฝ่ายในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าไหนถูก ไม่ถูก ดีไม่ดี ควรหรือไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรมข้อในอรรถกถา อังคุตตรนิกายเอกนิกาย เอตทัคคบาลีอรรถกถาวรรค ๗ ๑.ประวัตินางสุชาดาว่า นางสุชาดาเป็นธิดาแห่งเสนานียะบิดาเมื่อเจริญวัยเข้าสู่วัยสาวได้อธิษฐานบารมี ตั้งความปรารถนาในชีวิตไว้กับเทวดาที่สิงสถิตในต้นไทรต้นหนึ่งใกล้บ้านของนางว่า ถ้านางแต่งงานออกเรือนขอได้แต่งงานกับผู้ชายที่เสมอกัน
๖.หลักธรรมที่ได้จากเรื่องราวของนางสุชาดา

ปัญหาว่าผู้คนเท่าเทียมกันเป็นอย่างไร แม้อรรถกถาจะไม่ได้อธิบายว่า ผู้คนมีความเท่าเทียมกันอย่างไร แต่ก็เทียบได้กับข้อความในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๓ อังคุตตรนิกาย ทุติยสมชีวสูตรว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่าคหบดี และคหปตานี ถ้าสามีและภริยาทั้ง ๒ ฝ่ายหวังจะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้าทั้ง ๒ ฝ่ายพึง มีศรัทธาต่อกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน สามีและภริยาทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น ได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า"
จากหลักฐานในพระไตรปิฎกดังกล่าว เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้คนจะมีความสุขด้วยกันมันเป็นความรู้ที่สั่งสมจากอารมณ์ของแต่ละคน โดยทั่วไป ความประพฤติของมนุษย์ที่หนักไปทางใดทางหนึ่งเรียกว่า"จริต"ซึ่งแตกต่างกัน โลกปัจจุบันแตกต่างจากยุคพุทธกาลมาก เพราะผู้คนทั้งหญิงและชายใช้ชีวิตนอกบ้านมากกว่าใช้ชีวิตอยู่ในบ้านของตน หากเป็นแฟนกัน จึงไม่มีโอกาสศึกษาอุปนิสัยซึ่งกัน และกันกว่าในสมัยนางสุชาดามาก เพราะนางสุชาดาใช้ชีวิตในบ้านเกือบทั้งชีวิตออกจากเรือนในวันแต่งงานเพียงอย่างเดียว มนุษย์สมัยนี้จึงมองเห็นตัวตนที่แท้จริงเรียกว่า จิตวิญญาณของคนที่คบหาเป็นแฟนได้จิตวิญญาณ จะไม่แสดงตัวตนแท้จริง ออกมาในยามที่ตนใช้ชีวิตอยู่ในสังคมจนกว่าจะคบอย่างใกล้ชิดเราถึงจะมองเห็นธาตุแท้ที่ห่อหุ้มอยู่ในจิตของแต่ละคนได้ การวิเคราะห์คนเสมอกันในพระพุทธศาสนา จึงอาศัยเรื่องจิตที่เป็นตัวตนที่แท้จริงออกมาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับหลักธรรมนั้น ๆ.
๖.๑ คำว่า "ศรัทธาเสมอกัน" ตามพจนานุกรมแปลไทย - ไทยราช บัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ศรัทธาคือ ความเชื่อถือ ความศรัทธา ความดีพร้อมความเชื่อมั่นในความรู้และความจริงของชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนามี ๔ อย่างคือ
(๑).กมฺมสัทธา คือความเชื่อในผลของกรรมทั้งสองอย่างเหมือนกัน คือ เมื่อทำกรรมใดไว้ ก็ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น เพราะกิริยาที่กระทำทำไป พฤติกรรมของการแสดงออกทางกายด้วยการทำร้ายผู้อื่นก็ดี ฆ่าผู้อื่นก็ดี ฉ้อโกงคนอื่นก็ดี โกหกคนอื่นก็ดี เมื่อจิตตนเองแสดงโดยเจตนา ย่อมสั่งสมการกระทำของตัวเองไว้ในจิตวิญญาณของตัวเองทั้งสิ้น คำพูดของตัวเอง เยาะเย้ยถากถางคนอื่นเสียดสี กล่าวหาผู้อื่นด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จก็ดี วจีกรรมเหล่านี้ย่อมสั่งสมอยู่ในจิตของตัวเอง ความคิด(มโนกรรม) ของตัวเองในการคิดวางแผนคิดร้ายต่อผู้อื่นด้วยการกระทำที่ไม่ดี ความคิดเหล่านี้เป็นมโนกรรม เมื่อคิดไปแล้วย่อมสั่งสมไว้ในจิตของตนเองเช่นเดียวกัน ดังนั้นมนุษย์ผู้ศรัทธาความเชื่อเสมอกัน จิตของตัวเองย่อมรู้แล้วน้อมออกไปรับรู้พฤติกรรมดีหรือชั่วของตัวเองผ่านอินทรีย์ทั้ง ๖ ของตน ย่อมเก็บอารมณ์ของการกระทำนั้น สั่งสมให้นอนเนื่องเป็นอนุสัยในจิตของตนอย่างนั้น อารมณ์การกระทำผิดจะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง แม้จะหลบหนีความผิดกฎหมาย ตามการจับกุมของเจ้าหน้าที่หรือผู้เสียหาย อยู่ห่างไกลจากที่ทำกรรมก็ตาม จากข้อความในอรรถกถานางสุชาดาและสามีมีความเชื่อเรื่องกรรมเหมือนกัน เมื่อนางสุชาดาตั้งใจในความปรารถนาต่อหน้าเทวดาขอให้ได้แต่งงานคนเสมอกัน ก็มีความชื่อสัตย์ต่อสัจอธิษฐานของตัวเอง มาแก้บนกับเทวดาด้วยถวายข้าวมธุปายาส ส่วนสามี เมื่อพบพระพุทธเจ้าก็มีศรัทธาต่อนักบวชฟังพระเทศนาจนบรรลุธรรม เป็นต้น.
(๒).วิปากสทฺธา (เชื่อในผลของกรรม) เมื่อจิตวิญญาณของมนุษย์ มีธรรมชาติของจิต เป็นผู้เก็บสั่งสมกรรมจนกลายเป็นสัญญาจดจำไว้ในจิตของตนเองเมื่อจิตวิญญาณกระทำอกุศลกรรมจย่อมไปจุติจิตเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ที่ทุคคติภูมิ ตามอารมณ์ของกรรมทุจริตที่สั่งสมไว้ในจิตของตนนั้น นางสุชาดาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเพราะปรารถนาเป็นอุบาสิกาผู้เข้าถึงสรณะก่อนใครในภพชาตินี้เป็นต้น
(๓). กมฺมสฺสกตาสทฺธา (เชื่อว่าคนได้ดีได้ชั่วเพราะกรรม) เมื่อมนุษย์ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่วเพราะจิตของตนน้อมรับความชั่วเข้ามาใส่จิตของตัวเอง หากตัวเองทำดีย่อมได้ดีเพราะจิตน้อมรับความดีไปใส่จิตของตนเช่นเดียวกัน แม้กรรมจะยังมิให้ให้ผลไม่ใช่จะไม่มีผลของกรรมแต่อย่างใด.
(๔).ตถาคตโพธิสทฺธา (เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) ว่าตรัสรู้เรื่องกฎธรรมชาติของการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงเป็นต้น.
๗.๒ ศีลเสมอกัน หมายถึง สามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะความซื่อสัตย์ในคำพูดของตนเพื่อให้จิตเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
๗.๓ จาคะเสมอกัน หมายถึง การรู้จักสละแบ่งปันซึ่งกันและกันและแบ่งปันให้กับคนในครอบครัวแต่ละฝ่ายได้.
๗.๔ ปัญญาเสมอกัน มีสติรลึกถึงเรื่องราวที่ผ่านมาได้ในยามมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจรเข้ามาสู่ชีวิต ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแสดงออกมาจากจิตวิญญาณ ด้วยความเมตตากรุณาต่อกันเอาใจใส่ซึ่งกันและกันมิใช่มีโลกส่วนตัวสูงจนขาดความสนใจและการเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
๗.ทำไมนางสุชาดาต้องการมีลูกชายคนแรก?

เนื่องจากอิทธิพลของความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่ถือว่าผู้ชายเปรียบเหมือนพระศิวะในขนบธรรมเนียมของศาสนาพราหมณ์นั้น พวกพราหมณ์จึงกำหนดให้ฝ่ายของผู้หญิงไปสู่ขอกับฝ่ายผู้ชาย จากบิดามารดาของฝ่ายชายให้ชายมาเป็นสามีของลูกสาวตนการแต่งงานที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบค่สินสอดแก่ชาย เปรียบเหมือนกับพระศิวะ เพราะผู้ชายต้องเป็นผู้นำครอบครัว และพ่อแม่ของฝ่ายชายต้องส่งเสียเลี้ยงดูลูกชายในด้านต่าง ๆ ให้มารับผิดชอบครอบครัวของตน ดังนั้น เมื่อแต่งงานออกเรือน ฝ่ายชายต้องรับผิดชอบผู้หญิงที่แต่งงานด้วย การให้ทรัพย์สินแก่ฝ่ายชาย เพื่อตอบแทนคุณของฝ่ายชายที่เลี้ยงดูลูกชายผู้เป็นเจ้าบ่าวตั้งแต่เล็กจนโต และต้องมาหารายได้เลี้ยงดูหญิงมาเป็นภริยาอีกในปัจจุบันชาวอินเดีย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแต่งงานไม่น้อยกว่าคู่ละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ รูปี แต่ค่านิยมเหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปเพราะหากฝ่ายหญิงทำงานนอกบ้านและมีรายได้มาจุนเจือครอบครัวเช่นเดียวกัน ตัวฝ่ายชายอาจไม่คิดค่าสินสอดของหมั้นในการแต่งงานก็ได้เพราะทุกอย่างล้วนเกิดจากความคิดด้วยเหตุผลของมนุษย์.
อ้างอิง
๑.พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ (ฉบับมหาจุฬาฯ) อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๒.www.84000.org/ tipitakaitem /เอตทัคควรรค สัตตวรรคหมวด๗
๓.http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=152&p=1
๔.http://www.84000.org/Tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=152&p=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น