The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทนำ สถูปนางสุชาดาตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ


Introduction to Sujata Stupa  according to  Buddhaphumi's philosophy 

๑.บทนำ

        สถูปนางสุชาดา (Sujata Stupa) เป็นวัดพุทธแห่งหนึ่ง    ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเนรัญชรา   ตำบลพุทธคยา    อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย     สถูปนางสุชาดาเป็น ๑      ใน ๑๐  รายชื่อในโปรแกรมแสวงบุญในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลและสาธารณรัฐอินเดีย  ทุกวันชาวพุทธหลายร้อยคนทั่วโลก   มาสักการะที่นี้ทุกวันไม่เคยขาด ผู้เขียนมาที่วัดแห่งนี้เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๕๔๕    ผู้เขียนรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจว่าสถูปนางสุชาดา     เป็นวัดพุทธที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดมหาโพธิ    ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้า  เราเดินเท้าเปล่าไปตามถนน     จากจุดเริ่มต้นที่วัดมหาโพธิ์ไปยังหมู่บ้านบากรา (ฺBrakraur Village)  และเดินบนสะพานข้ามแม่น้ำเนรัญชรา ระยะทางประมาณ  ๒ กิโลเมตร     ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาทีพบสถูปโบราณ ล้อมรอบด้วยลวดหนาม ลักษณะของโครงสร้างสถูปแห่งนี้รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของผู้เขียนเห็นได้ชัดว่า  เจดีย์แห่งนี้ผ่านการบูรณะหลายครั้ง โครงสร้างของเจดีย์สุชาดามีลักษณะของฐานทรงกลมคล้ายกับเจดีย์อื่น ๆ      ในรัฐอุตตรประเทศและรัฐพิหาร  สาธารณรัฐอินเดีย ผู้เขียนสันนิษฐานว่า สถูปสุชาดาสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในสถูปนางสุชาดา      ได้ยินข้อเท็จจริงว่า  นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ  ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า     แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่ชัดเจนว่านางสุชาดามีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเพียงใด    พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเจดีย์นี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีในชีวิตนางสุชาดา จนกลายเป็นสตรีผู้มีอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและเป็นแรงบันดาลใจแก่สตรีชาวพุทธทั่วโลก    เพื่อนำวิถีชีวิตของนางมาปรับใช้ในชีวิตของตนให้มีความสุข   และมีความรู้ความสามารถอันเป็นอริยบุคคลซึ่งทุกคนปรารถนาเช่นเดียวกับนางสุชาดา  

            เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานแล้ว   ก็เหลือเฉพาะสถูปโบราณ   และป้ายที่กองโบราณคดีรัฐพิหารได้ประกาศไว้นั้นมีประวัติโดยย่อว่า เป็นสถูปบ้านนางสุชาดาที่ถวายข้าวมธุปายาส    แด่พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ก่อนจะตรัสรู้ความจริงของชีวิตมนุษย์และไม่มีข้อมูลอื่นที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่านางสุชาดามีความเป็นมาอย่างไร?         ผู้เขียนสงสัยว่านางสุชาดามีความสำคัญอย่างไรในพระพุทธศาสนาและสนใจที่จะศึกษาความจริงเกี่ยวกับสถูปนางสุชาดา (Sujata Stupa) ต่อไป        โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ   เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา  พยานวัตถุได้แก่ สถูปบ้านนางสุชาดา พยานบุคคลได้แก่บันทึกของเจ้าหน้าที่กองโบราณคดีของรัฐพิหาร    และนำมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ   เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้   บทความนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่พระวิทยากรในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เพื่อใช้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญชาวไทยให้มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน   และวิธีพิจารณาปรัชญาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา   พยานวัตถุ    เช่น สถูปบ้านนางสุชาดา บันทึกของเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี  และความเชื่อในพระพรหมเป็นเทพเจ้าในสมัยพุทธกาลนั้น  น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยด้านพระพุทธศาสนา  และปรัชญาของนิสิตระดับปริญญาเอก      เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบ ซึ่งเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินอย่างสมเหตุสมผล    ไม่มีข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไป และบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน ความรู้นี้สามารถนำไปใช้พัฒนาศักยภาพในการใช้ชีวิตอย่างสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมายได้.  



6 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สาธุๆๆๆ

Unknown กล่าวว่า...

" กายมีศีลสุขล้ำ ใจมีธรรมสุขเลิศ
 ชีวิตที่มีศีลและธรรม จะมีความสุขล้ำเลิศ "

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

สาธุๆคนับ

Unknown กล่าวว่า...

"ความคิด" ก็เหมือนสายน้ำ
ยิ่งกวน...ก็ยิ่งขุ่น ยิ่งวุ่น...ก็ยิ่งทุกข์
ยิ่งนิ่ง...ก็ยิ่งใส ยิ่งสงบได้...#ก็ยิ่งสุข
สาธุๆ

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ