The teacher of Bodhisattva Siddhartha in the Mahachula edition of the Tripitaka.
คำสำคัญ ครู พระโพธิสัตว์ พระไตรปิฎก
โดยทั่วไป มนุษย์ทุกคนเกิดมา มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และมีคติต่อผู้อื่นเพราะความไม่รู้ของตน มีทั้งความกลัว ความเกลียดชังและความรัก ทำให้ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยมืดมน จึงขาดปัญญาหยั่งรู้ที่จะเข้าใจความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัติ เมื่อเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายและเก็บไว้ในจิตใจของตนเอง ตัวอย่างเช่น ความรู้ในการหาอาหารประทังชีวิต ความรู้ในการสร้างบ้านเพื่อพักผ่อนร่างกายจากความเหนื่อยล้าจากการทำงานโดยไม่ถูกรบกวนขณะพักผ่อน ความรู้ในการแต่งกายเพื่อปกปิดความเขินอายที่เกิดขึ้นในจิตใจจากการถูกผู้อื่นดูหมิ่นด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสม เมื่อชีวิตทุกคนเป็นของไม่เที่ยงเพราะเกิดมาก็ต้องตาย การทำงานแลกกับสุขภาพหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลา อาจต้องตายในวันใดวันหนึ่ง จึงจำเป็นต้องหายามารักษาโรคให้หายขาด เพื่อมีชีวิตอยู่ต่อไป
เมื่อชีวิตเรามีสิ่งเหล่านี้มากพอแล้ว แต่มนุษย์ก็เป็นสัตว์สังคม จึงชอบแสวงหาความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายทางการเมือง แต่จิตใจมักดำเนินชีวิตอย่างประมาท เพราะขาดการศึกษาและแสวงหาความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน จึงดำเนินชีวิตตามอารมณ์ และความพอใจของตนเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น จึงไม่อาจแยกแยะเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตว่าเรื่องไหนจริงหรือเท็จได้ ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกถูกหลอกลวงจากคนในสังคมเป็นประจำ ส่งผลให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปี มนุษย์ต้องหาที่พึ่งอันประเสริฐ เพื่อดำรงชีวิตด้วยความหวัง จนสามารถพัฒนาชีวิตให้มีสติและปัญญาในการแสวงความรู้ จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความจริง เพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตได้
ครูบาอาจารย์ เมื่อมนุษย์ทุกคนมีข้อจำกัดของอายคนะภายในร่างกายในการรับรู้ และมีความลำเอียงเข้าข้างผู้อื่น ทำให้ชีวิตมืดมน ขาดปัญญาในการหยั่งรู้ความจริงของชีวิตได้ ชีวิตจึงเต็มไปด้วยความมืดมน เมื่อมีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิต เพราะไม่มีศรัทธาในตัวเองว่า มีความรู้และความสามารถเช่นคนอื่น จึงไม่มีความพากเพียร ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยตนเอง ทุกประเทศทั่วโลกจึงสร้างสถาบันการศึกษา โรงเรียนและมหาวิทยาลัยขึ้นมา เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของประชาชนให้มีศรัทธาในตนเอง มีความพากเพียรในการศึกษาและการใช้ชีวิต มีสติจดจำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ มีสมาธิอย่างแน่วแน่ในการศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้สำเร็จลุล่วงได้ เพื่อใช้ในการ ต้องช่วยเหลืออยู่จึงต้องมีแบบอย่างของชีวิตในเรียนรู้ และปฏิบัติตามได้ เพื่อให้เกิดศรัทธาในการใช้ชีวิตของตนเอง มีความเพียรในการศึกษาค้นหาความรู้เพื่อใช้ในชีวิตประจำ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้คำนิยามบุคคลที่เรียกว่า "ครู" คือผู้ที่สอนนักเรียน, ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ชีวิตมนุษย์เกิดมาจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจ รวมตัวกันในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน ก็คลอดออกมาเป็นมนุษย์ใหม่ มีสิทธิและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย มีความสงบสุขในชีวิตบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมาย เมื่อร่างกายและจิตใจเป็นปัจจัยที่ขึ้นอยู่ซึ่งกันและกัน จิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกาย รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งดีและร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตตลอดเวลา เราต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตัดสินใจผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในชีวิต แม้ว่าบาดแผลในใจจะเกิดจากความเจ็บปวดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากความประมาทในชีวิต แต่คนเรามักไม่อยากเรียนรู้ เพราะความไม่รู้ ความท้อแท้ หรือความอ่อนแอในชีวิตจึงไม่กล้าเผชิญกับความจริงของชีวิต ดังนั้น พวกเขาจึงมีชีวิตมืดมน ตกเป็นทาสของกิเลสของตนเองหรืออคติของตนเอง มักกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็นเพราะพวกเขาคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ความเกลียดชังที่ฝังรากลึกในจิตใจ เนื่องจากความผิดพลาดในอดีตที่เกิดขึ้นและหยั่งรากลึกในจิตใจของตนเอง และความรักส่วนตัวที่มองไม่เห็นความผิดพลาดได้ พวกเขามักจะปล่อยให้เรื่องต่าง ๆ ผ่านไปโดยปริยาย
ในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ วิชาจากสถาบันการศึกษาครูวิศวามิตร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับหน้าที่ในการปกครองประเทศสักกะตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติมา แต่เมื่อพระองค์ทรงเห็นปัญหาจัณฑาล ที่ถูกสังคมลงโทษอย่างรุนแรง เพราะละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ จัณฑาลก็ถูกตัดสินว่ามีความผิด โดยถููกลงพรหมทัณฑ์จากคนในสังคมไปตลอดชีวิต เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีเมตตาต่อมนุษย์ เมื่อพระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว พระองค์ทรงวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลในการอธิบายความจริงและตัดสินว่าเทพเจ้าไม่มีอยู่จริง พระพรหมจึงไม่ใช่ผู้สร้างมนุษย์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ตามคำสอนของพราหมณ์ เมื่อข้อเท็จจริงจากการคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตในเกี่ยวกับการมีอยู่เทพเจ้าก็ยังน่าสงสัย เพราะไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวรได้ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงพิจารณาข้อเท็จจริงจากคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการประกอบพิธีบูชายัญเป็นประจำ เมื่อพราหมณ์ปุโรหิตไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องนี้ได้ เจ้าชายสิทธ้ตถะทรงเห็นว่าเทพเจ้าไม่อยู่จริงตามคำสอนของพราหมณ์ ดังนั้น พระองค์ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคม แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะการยกเลิกกฎหมายวรรณะตามจารีตประเพณีนั้น ถูกห้ามตามรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของประเทศ หรือหากพระองค์เอง ได้ทรงทำพิธีบูชายัญด้วยพระองค์เอง เพื่อขอพรพระพรหมให้ยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ก็ถือว่าฝ่าฝืนข้อห้ามของคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีที่ห้ามมิให้ผู้มิใช่พราหมณ์ทำพิธีบูชายัญ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยผนวชเพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตว่า พระพรหมได้สร้างมนุษย์ตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน หากเป็นความจริง พระองค์ก็ทรงประกอบพิธีบูชายัญ เพื่อพรพระพรหมให้ยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีต่อไป
อย่างไรก็ตาม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว เราอย่าเชื่อทันที เราควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ มาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ เป็นต้น ดังนั้น เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องครูของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ เราก็ยอมรับความจริงโดยปริยายก็ตาม แต่เมื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เราสงสัยเสียก่อนว่า "ใครเป็นครูของพระโพธิสัตว์ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา" และเราก็ชอบแสวงหาความรู้ในเรืองนี้ต่อไป จึงตัดสินใจสืบหาข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานค่าง ๆ ได้แก่ พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา ฎีกาและอนุฎกา บทความทางวิชาการอื่น ๆ หลักฐานวัตถุที่สร้างเป็นอนุสรณ์สถานในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พยานเอกสารดิจิทัลได้แก่ แผนที่โลกกูเกิล เป็นต้น เมื่อพยานหลักฐานเพียงแล้ว ผู้เขียนจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนี้ วิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสืบค้นข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ที่มาของความรู้ องค์ประกอบความรู้ และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์ เพื่อไปทำวิทยานิพนธ์ ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น