Metaphysical problems in the Mahachula edition of the Tripitaka
ปัญหาอภิปรัชญาในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
โดยทั่วไปใน วิชาอภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา และเป็นความรู้ของมนุษย์บางคนซึ่งเป็นนักตรรกะหรือนักปรัชญา โดยนักปรัชญามุ่งหวังที่จะสำรวจธรรมชาติของความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขารับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองและเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจของตนเอง เมื่อนักตรรกะ หรือนักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตโดยตรงหรือโดยอ้อมแล้ว พวกเขามักจะแสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล และคาดคะเนความจริงของเรื่องนั้น โดยใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ? คำถามพื้นฐานที่วิชาอภิปรัชญามักถามตามความสงสัยของนักปรัชญาได้แก่ ความเป็นจริงคืออะไร ฯ เวลาและอวกาศมีอยู่จริงหรือไม่ ? จิตใจและร่างกายของมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ? พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ ? และคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย แม้ว่าคำถามเหล่านี้อาจดูเป็นนามธรรมและตอบยาก แต่การศึกษาอภิปรัชญาเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำความเข้าใจโลกและตัวเราเอง
๒.ความสำคัญของอภิปรัชญา
วิชาอภิปรัชญามิใช่เป็นเพียงการศึกษาค้นคว้า เพื่อหาคำตอบในการสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งคำตอบเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์สำหรับมนุษย์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิชาปรัชญามีความสำคัญหลาย ๆ ประการ ดังนี้
๒.๑.การสร้างกรอบความคิด โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์บางคนมีความคิดไร้ขอบจำกัดในเรื่องราวต่าง ๆ จนไม่อาจหาตัวตนให้เข้าใจในความรู้ของเรื่องนั้นได้ อภิปรัชญาช่วยสร้างกรอบความคิดพื้นฐานในการทำความเข้าใจ มันช่วยให้เราวิเคราะห์ และประเมินความเชื่อและความคิดของเราได้อย่างสมเหตุสมผล โดยการตั้งคำถามธรรมชาติของความเป็นจริง เราจะสามารถเข้าใจความเชื่อและมุมมองต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
๒.๒. การพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์การศึกษาอภิปรัชญาช่วยพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ เราจะเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์ข้อโต้แย้ง ระบุข้อบกพร่องและการสร้างข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล ทักษะเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจ การแก้ปัญหาหรือการโต้แย้งกับผู้อื่น เป็นต้น
๒.๓.การสร้างความหมายของชีวิต อภิปรัชญาช่วยให้เราสามารถสำรวจความหมายของชีวิตโดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับเป้าหมาย คุณค่าและความหมายของการดำรงอยู่ เราจะสามารถค้นหาความหมายและจุดมุ่งหมายในชีวิตของเราได้ และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่า
๒.๔.การพัฒนาจริยธรรม อภิปรัชญาเกี่ยวข้องกับอย่างใกล้ชิดกับจริยธรรม การศึกษาอภิปรัชญาช่วยให้เราสามารถเข้าใจธรรมชาติของความดี ความชั่วและความถูกต้องซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาจริยธรรมส่วนบุคคลและสังคมที่ดีขึ้น
๓.ความเป็นมาของอภิปรัชญา
อภิปรัชญาไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลัน แต่เป็นผลมากจากการสะสมความรู้และการตั้งคำถามของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เราสามารถแบ่งยุคสมัยสำคัญ ๆ ของอภิปรัชญาได้ดังนี้
๓.๑ ยุคกรีกโบราณ:เป็นอภิปรัชญาเริ่มต้นชึ้นนักปรัชญากรีกเช่น เพลโตและอริสโตเติลได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของความเป็นจริง ความรู้และจิตใจ ผลงานของพวกเขามีอิทธิพลต่อการพัฒนาอภิปรัชญาในยุคต่อมาเป็นอย่างมาก
๓.๒ ยุคกลาง อภิปรัชญาในยุคกลางได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์ นักปรัชญาในยุคนี้มักจะมุ่งเน้นไปที่การพิสูจน์การมีอยู่เทพเจ้าและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับเหตุผล
๓.๓ ยุคเรเนซองส์ เป็นยุคที่เกิดการฟื้นฟูศิลปะ วิทยาศาสตร์และปรัชญา นักปรัชญาในยุคนี้หันกลับไปศึกษาผลงานของนักปรัชญาชาวกรีกและเริ่มพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ เช่น ลัทธิประจักษ์นิยม
๓.๔ ยุคใหม่ นักปรัชญาเป็นยุคเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วของวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาในยุคนี้พยายามที่จะประสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับปรัชญา เช่น ลัทธิประจักษ์นิยมและลัทธิเหตุผลนิยม
๓.๕ ยุคปัจจุบัน อภิปรัชญายังคงพัฒนาต่อไป มีแนวคิดใหม่ ๆ เช่น ลัทธิโครงสร้างนิยมและลัทธิหลังโครงสร้างนิยมที่เกิดขึ้นและมีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับคำถามพื้นฐานของอภิปรัชญา
ดังนั้น อภิปรัชญาเป็นสาขาที่สำคัญของปรัชญาทีี่ช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจโลกและตัวเราเองได้อย่างลึกซึ้ง การศึกษาอภิปรัชญาช่วยพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ สร้างความหมายชีวิตและพัฒนาจริยธรรม อภิปรัชญามีความเป็นมาอันยาวนานและยังพัฒนาต่อไปจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น
อภิปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงที่โคจรรอบตวงอาทิตย์ โลกและดวงอาทิตย์ เป็นสสารที่มีแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เมื่อโลกมีแรงโน้มถ่วงจึงดึงดูดดวงอาทิตย์เข้ามาหาตนเองและในขณะเดียวกันอาทิตย์ก็มีแรงโน้มถ่วงของตัวเองเช่นกัน เมื่อดวงอาทิตย์และโลกต่างฝ่ายต่างใช้แรงโน้มถ่วงของตนเองดึงดูดซึ่งกันและกัน แม้ว่าดวงอาทิตย์เป็นสสารที่มีพลังงานโน้มถ่วงมากกว่าโลกแต่ก็ไม่สามารถใช้แรงโน้มถ่วงของตัวเองดึงดูดโลกเข้าหาดวงอาทิตย์ได้มากกว่านี้แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ทำให้โลกโคจรรอบดวงทิตย์เป็นรูปวงรีส่งผลให้โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันตลอดทั้งปีอุณหภูมิบนโลกไม่เท่ากันในแต่ละวัน มนุษย์จึงสมมติว่ามีฤดูกาลที่แตกต่างกันในแต่ละปี
เมื่อมนุษย์มีอาตนะภายในร่างกายในการรับรู้เรื่องราว แสงอาทิตย์ที่สาดส่อง เป็นสังคมมนุษย์ทั่วโลก ผู้คนมักอยากรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น สภาพอากาศ ภูเขา ลมทะเล หิมะถล่มหรือเรื่องราวของคนประสบความสำเร็จในชีวิตคนชั่วที่แทงคนตายในที่สาธารณะโรงเรียนหรือสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อเราศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปรัชญาตามเว็บไซต์ต่าง ๆบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตเราได้ยินมาว่าสถานบันการศึกษาทั่วโลกเปิดสอนหลักสูตรปรัชญาและพระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของนักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในความจริงของชีวิตของตนเองจะมีอาจารย์ที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านปรัชญาให้กับนิสิตรุ่นต่อไปที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมความรู้นั้นไว้ในจิตใจของตนสามารถนำความรู้ที่อยู่ในใจของตนประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อแก้ปัญหาที่เข้ามาในชีวิตได้ แต่เมื่อวิชาเหล่านี้คือความรู้ของมนุษย์ก็เกิดปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่ามนุษยคือบ่อเกิดความรู้เชิงปรัชญา พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?เป็นเรื่องที่เราควรศึกษาค้นคว้าให้มาก
เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เราจะเห็นการพัฒนาความรู้ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ผู้คนเชื่อกันว่า มีเทพเจ้าหลายองค์พวกพราหมณ์อารยันได้แสดงหลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความมีอยู่ของเทพเจ้าด้วยการบูชายัญ จนเป็นที่นิยมมากจนผู้คนในอนุทวีปอินเดีย ตกลงที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพราหมณ์ด้วยการบูชาเทพเจ้าด้วยของมีค่าต่าง ๆและของบูชาเหล่านี้สร้างรายได้มหาศาลให้กับพราหมณ์นิกายต่าง ๆ ในสมัยนั้นคำสอนของพราหมณ์ เป็นทั้งหลักคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ได้กำหนดข้อห้ามการแต่งงานระหว่างวรรณะและห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น และมีการลงโทษอย่างรุนแรงสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ ด้วยการไล่ออกจากสังคมที่พวกเขาอาศัยไปตลอดชีวิต แต่ชาวอนุทวีปอินเดียส่วนใหญ่มีชีวิตที่อ่อนแอและมักขาดสติปัญญา ดังนั้นพวกเขาจึงดำเนินชีวิตตามตัณหาของตน จนไม่สามารถควบคุมจิตใจของตนได้ พวกเขาจึงฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตวรรณะประเพณี โดยมีเพศสัมพันธ์กับผู้คนวรรณะต่าง ๆ หรือปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น พวกเขาจึงถูกคนในสังคมลงโทษด้วยการถูกไล่ออกจากสังคมที่ตนอยู่อาศัยไปตลอดชีวิตและเรียกคนเหล่านี้ว่า "จัณฑาล"
เจ้าชายสิทธัตถทรงเห็นว่าปัญหาจัณฑาลเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ สิ่งนี้ ทำให้ พระองค์ทรงสงสัยในการมีอยู่ของเทพเจ้า แม้ว่าพระองค์จะทรงสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ๑๘ สาขาแต่พระองค์ทรงไม่รู้เรื่องถึงการมีอยู่ของเทพเจ้า เพราะมันเป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของพระองค์ที่จะรับรู้ได้ ยกเว้นการบูชายัญของพราหมณ์ผู้ทำพิธีเท่านั้น ส่วนพระองค์นั้นทรงไม่สามารถทำการบูชายัญ เพื่อขอพรพระพรหมเพื่อช่วยยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะ เพราะเป็นความผิดอย่างร้ายแรงต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยในความมีอยู่ของเทพเจ้า พระองค์ทรงชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องต่อไปพระองค์จึงทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากคำให้การของปุโรหิตซึ่งเป็นผู้เป็นใหญ่ในประเทศสักกะ และที่ปรึกษาของกษัตริย์ในเรื่องกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี พระองค์ทรงได้ยินข้อเท็จจริง จากคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตว่าหลักคำสอนเรื่องเทพเจ้า เป็นคำสอนของอาจารย์ที่มีความเป็นมายาวนานแล้ว พวกเขาจึงตั้งทฤษฎีกำเนิดโลกและมนุษย์ว่าพระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์ แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามว่าพระพรหมและพระอิศวรนั้นมีความเป็นมาอย่างไร? ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่น่าสงสัยเช่นนี้ พระองค์ทรงไม่เชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์อารยันพระองค์ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ ด้วยการเสนอยกเลิกกฎหมายในแคว้นสักกะต่อรัฐสภาราชวงศ์ศากยะแห่งแคว้นสักกะ เมื่อสมาชิกรัฐสภาราชวงศ์ศากยะ ร่วมการพิจารณาในข้อกฎหมายตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดแห่งแคว้นสักกะ ซึ่งเป็นหลักบริหารประเทศสักกะนั้นสมาชิกรัฐสภาเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแห่งแคว้นสักกะมาตรา ๓ ที่ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว
ดังนั้น การมีอยู่จริงของพระพรหมและพระอิศวร ปัญหาอภิปรัชญาข้อแรกในพระพุทธศาสนาหรือปรัชญาพุทธภูมิ ก็คือสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อศึกษาและค้นคว้าการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร ญาณวิทยามีหน้าที่ให้คำตอบว่าเราจะรู้ความจริงเรื่องการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรไดอย่างไร ? เมื่อปัญหาเกี่ยวกับความจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้า พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดยังเป็นที่น่าสงสัยว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความจริง? แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้อีกต่อไป แต่ธรรมชาติของผู้เขียนมีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ความจริงจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแคว้นสักกะ มาเป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี ผู้เขียนจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมาตามคำสอนของพราหมณ์และมีความสมเหตุสมเหตุผลของความรู้หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น