The Truth About the Buddha's Doubts in the Tripitaka
คำสำคัญ ปัญหาความจริง ความสงสัย นักปรัชญา
บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โดยทั่วไป ความรู้ในวิชาต่าง ๆ เช่น ปรัชญา พระพุทธศาสนา ปรัชญาตะวันตก และวิทยาศาสตร์ ที่สอนกันในหลักสูตรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ถือเป็นความรู้ของมนุษย์ เราเรียกเจ้าของความรู้ทางปรัชญาว่า " นักปรัชญา" ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "พระพุทธเจ้า" และเจ้าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า "นักวิทยาศาสตร์" เป็นต้น คำถามก็คือนักวิชาการเหล่านี้สร้างความรู้เกี่ยวกับปรัชญาศาสนาพราหมณ์ พระพทธศาสนา ปรัชญาตะวันตก และวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร ? และขอบเขตความรู้ในแต่ละวิชาแตกต่างกันอย่างไร ? สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เมื่อเราศึกษาและเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้ว เราจะรักที่จะแสวงหาความจริงเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้
ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์อยู่จำนวนหนึ่งที่เป็นนักตรรกะศาสตร์และนักปรัชญา มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง นักตรรกะศาสตร์ นักปรัชญามักใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น บางครั้งก็ใช้เหตุผลถูกบ้าง อาจใช้เหตุผลผิดบ้าง อาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้างหรือเป็นอย่างนี้บ้าง เป็นต้น วิญญูชนเมื่อได้ยินความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นแล้ว ย่อมขาดความน่าเชื่อถือความจริงในเรื่องนั้น เหตุผลของคำตอบนั้น ย่อมไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น เช่น ในสมัยก่อนพุทธกาล เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินเรื่อง พระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระพรหมและสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้น ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา การมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรนั้น เป็นความรู้เหนือการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายของมนุษย์ แต่มนุษย์สื่อสารกับเทพเจ้าได้ผ่านพิธีกรรมของพราหมณ์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในยุคนั้นผู้คนในอนุทวีปอินเดียบูชาเทพเจ้าหลายองค์ด้วยของมีค่าเป็นจำนวนมาก สร้างความั่งคั่งให้แก่พราหมณ์ทุกนิกายทุกปี ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ในการบูชายัญของพราหมณ์เพื่อขอพรเทพเจ้านั้นของพราหมณ์เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ บางครั้งก็ประสบความสำเร็จบ้าง บางครั้งก็ประสบความล้มเหลว เมื่อข้อเท็จจริงของผลจากการบูชาเทพเจ้าเป็นเช่นนี้ พราหมณ์บางคนที่เป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา มักแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นในเรื่องนี้อาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จอาจเป็นเพราะถูกเทพเจ้าลงโทษที่ไม่จงรักภักดี โดยพราหมณ์ใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของตนเองอธิบายความจริงในเรื่องนี้ อาจเป็นการใช้เหตุผลผิดบ้าง การใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง การใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง เช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นจัณฑาล ถูกพระพรหมลงโทษฐานสมสู่กับคนวรรณะอื่น โดยให้คนในสังคมใช้อำนาจตามกฎหมายวรรณะ เพื่อขับไล่ออกจากบ้านไปตลอดชีวิต ไม่มีใครค้าสมาคมด้วยอีกต่อไปต้องสูญเสียสิทธิและหน้าที่ของวรรณะที่ตนเกิดมาไปตลอดชีวิต ไม่สามารถกลับคืนสู่สถานเดิมในสังคมอีกต่อไป
โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีระดับสติปัญญาแตกต่างกัน โดยเฉพาะจิตสำนึกและปัญญาที่ต่างกัน เมื่อมนุษย์บางคนขาดสติสัมปชัญญะในการรับรู้และจดจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ทำให้ชีวิตมืดมิด จึงขาดความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริง โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของสิ่งต่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเองได้ เมื่อชีวิตต้องตัดสินใจ ผู้คนมักเชื่อว่ามันเป็นความจริงโดยไม่มีเหตุผลอันหนักแน่นจึงถูกหลอกลวงได้ง่ายก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
เมื่อเขาได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าอย่าเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง ควรสงสัยไว้ก่อนจนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างเพียงพอ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริง พยานเพียงคนเดียวก็ขาดความน่าเชื่อถือ และนักปรัชญาก็ไม่อาจยอมรับข้อเท็จจริงนั้นว่าเป็นความจริงได้ เพราะธรรมชาติของมนุษย์นั้น มีความเห็นแก่ตัวจึงมักมีอคติต่อผู้อื่น เนื่องจากความโง่เขลา ความกลัว ความรัก และความเกลียดชังซึ่งกันและกัน เป็นต้น นอกจากนี้ มนุษยังมีอายตนะภายในร่างกาย ซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดในสังคมห่างไกล หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
การศึกษาปัญหาความจริงเรื่องความสงสัยของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณ ถือเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาเพราะอภิปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงเรื่องมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โลก และการมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากตำราปรัชญา และเว็บไซต์ต่าง ๆบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต เราได้ยินข้อเท็จจริงว่าปรัชญาคือความรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่า "นักปรัชญา" เช่น เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นนักปรัชญา พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาเช่นเดียวกับเจ้าชายอื่น ๆ ในพระราชวงศ์ศากยะที่ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปเยี่ยมราษฎรในพระนครกบิลพัสดุ์ ทำให้พระองค์ทรงได้เห็นปัญหาจัณฑาลซึ่งเป็นนักโทษทางสังคม ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายวรรณะด้วยการสมสู่กับคนต่างวรรณะ จึงถูกสังคมลงโทษด้วยการขับออกจากที่อยู่ตลอดชีวิตและกลายเป็นคนไร้วรรณะที่เรียกว่า "จัณฑาล" เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น