๓.การแสวงหาความรู้โดยใช้ปัญญาหยั่งรู้ความจริง
เมื่อผู้เขียนศึกษาวิธีแสวงหาความรู้ของมนุษย์ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระพุทธเจ้าทรงแบ่งความรู้ของมนุษย์ออกเป็น ๒ ประเภทคือความจริงที่สมมติและความจริงขั้นปรมัติถ์
๑.ความจริงที่สมมติขึ้นนั้น มนุษย์สามารถรับรู้ข้อเท็จจริงผ่านประสาทสัมผัสของตนเองได้มาเก็บสั่งสมอารมณ์ความรู้ไว้ในใจของตนแต่มนุษย์มีขอบเขตจำกัดในการรับรู้จึงไม่มีความรู้ว่าข้อเท็จจริงในเรื่องไหนเป็นความจริง ข้อเท็จจริงในเรื่องไหนเท็จมนุษย์จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้เพื่อกระบวนการพิจารณาความจริงขึ้นมา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่างๆเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้น
๒.ความจริงขึ้นปรมัตินั้น ตามคำสอนในศาสนาพราหมณ์คือการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรผู้สร้างมนุษย์เป็นความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ แม้ว่าคำสอนในศาสนาพราหมณ์จะมีวิธีบูชาเพื่อเข้าถึงการมีอยู่ของพระพรหมด้วยบูชายัญ แต่หลักการปฏิบัติในเรื่องนี้ ไม่มีความเป็นสากลที่ทุกวรรณะจะทำพิธีบูชายัญได้เพราะหลักคำสอนในเรื่องนี้เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และหลักกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ จึงมีข้อห้ามผู้มิใช่พราหมณ์ไม่สามารถทำพิธีบูชายัญได้ แม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติในวรรณะกษัตริย์ ก็ไม่สามารถประกอบพิธีบูชายัญเพื่อขอพรพระพรหมให้ช่วยมนุษย์ด้วยการยกเลิกวรรณะได้ เมื่อพระองค์ทรงเห็นปัญหาจัณฑาลผู้เป็นนักโทษ ถูกสังคมตัดสินลงโทษฐานละเมิดคำสอนทางศาสนาและกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ต้องเสียสิทธิตามวรรณะที่เกิดมา เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป พระองค์ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานพราหมณ์ปุโรหิต ผู้ติดต่อกับเทพเจ้าได้ขอพรพระองค์ช่วยจัณฑาลด้วยการยกเลิกวรรณะ เมื่อวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนี้ แม้พราหมณ์ปุโรหิตจะให้การยืนยันข้อเท็จจริงว่า พระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์ก็ตาม และพราหมณ์ปุโรหิตในรุ่นก่อนนั้น จะเคยเห็นพระพรหมมาก่อนก็ตาม แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามว่าพระพรหมและพระอิศวรมีความเป็นอย่างไร? แต่ไม่มีตอบพระองค์ได้ เมื่อคำให้การของพราหมณ์อารยันขาดความชัดเจนที่จะยืนยันความจริงได้ เจ้าชายสิทธัตถะสงสัยว่า พวกพราหมณ์ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้า พระองค์ทรงปฏิเสขการมีอยู่ของเทพเจ้า ตัดสินพระทัยเสนอกฎหมายยกเลิกจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะแต่สามารถยกเลิกได้เพราะขัดต่อกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองอาณาจักรสักกะที่เรียกว่า"หลักราชอปริหานิยธรรม" ที่ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว ดังนั้น พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ พระองค์ทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุถึงความระดับอภิญญา ๖ เป็นต้น พระองค์ทรงตรวจสอบวิธีการแสวงหาความรู้แสวงหาความรู้ระดับอภิญญา ๖ เป็นเวลา ๗ สัปดาห์หรือ ๔๙ วัน ได้ผลการปฏิบัติอย่างเดียวกันคืออภิญญา ๖ เป็นต้น
ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาครั้งแรกในพระไตรปิฎก (ตอน๕)....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น