The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566

บทนำ มนุษย์เป็นเจ้าของความรู้ในพระไตรปิฎกตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

 บทนำ มนุษย์เป็นเจ้าของความรู้ในพระไตรปิฎกตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

๑.บทนำ

    ชีวิตมนุษย์ตามธรรมชาติโดยทั่วไปแล้ว ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับมนุษย์ว่า โครงสร้างชีวิตของมนุษย์ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๒ ประการคือร่างกายและจิตใจ ชีวิตมนุษย์ต้องประกอบด้วยสองสิ่งนี้จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้ หากขาดไปแล้ว จะทำให้ชีวิตมนุษย์มีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนจะไม่เรียกว่ามนุษย์เพราะไม่มีชีวิตดำรงอยู่  ตามธรรมชาติของจิตใจมนุษย์นั้น จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง จิตเป็นดวง ต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิอื่น ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด อาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นถ้ำชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วมนุษย์ก็ตายไป  เมื่อกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็จะปฏิสนธิวิญญาณอยู่ในครรภ์ของมารดา  เพื่อสร้างชีวิตใหม่ในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว ก็จะคลอดออกมามีชีวิตอยู่รอด ก็เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย เป็นต้น   เมื่อมนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ จิตวิญญาณมีหน้าที่ใช้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายของตนในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่ในสภาพชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็สลายไปในอากาศธาตุ แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์นอกจากจะมีหน้าที่รับรู้แล้ว จิตยังมีหน้าที่รวบรวมหลักฐานทางอารมณ์มาสั่งสมไว้ในจิตตน จนเกิดเป็นสัญญาอยู่ในจิตใจในเรื่องนั้น ๆ แต่ธรรมชาติของจิตนอกจากจะเป็นผู้รับรู้, เป็นผู้สั่งสมอารมณ์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นผู้คิดจากสิ่งที่ตนรู้ด้วย เมื่อมนุษย์รับรู้สิ่งใดก็จะคิดจากสิ่งนั้น ก็เกิดตัณหาอยากได้สิ่งนั้นมาสนองตัณหาของตนนั้น ถ้าไม่ได้ตามที่ตนปรารถนาแล้วก็จะเกิดทุกข์เวทนา ถ้าได้ตามที่ตนต้องการก็จะมีความสุข เป็นต้น เมื่อมนุษย์อยู่ในโลก มนุษย์มีธาตุแท้เป็นคนเห็นแก่ตัวซ่อนอยู่ในจิตของตนเอง มักจะแสดงความเห็นแก่ตัว เมื่อเขาต้องการปัจจัย ๔ ในการดำรงชีวิต เพราะมนุษย์ต้องการเพียงความสุขไม่ต้องการความทุกข์ เมื่อไม่มีสติและปัญญาที่จะแสวงหาสิ่งนั้นมาสนองความต้องการของตนเองมักจะใช้วิธีการหลอกลวงผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อแก้ปัญหาการหลอลวงดังกล่าว ตามหลักวิชาการทางปรัชญาได้กำหนดกระบวนการวิเคราะห์พยานหลักฐานเพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงในเรื่องที่น่าสงสัยนั้นว่า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าอย่าเพิ่งเชื่อในทันทีว่าเป็นเรื่องจริง  จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หลักฐานเพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ เมื่อนักปรัชญาวิเคราะห์หลักฐานของเรื่องนี้เสร็จแล้ว แต่แก่นแท้ของเรื่องก็ปรากฏขึ้นในความคิดของเขามันไม่ชัดเจนพอที่จะเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ? นักปรัชญาชอบที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ และก็จะสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์หลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ จนกว่าจะได้คำตอบที่เป็นความจริงอันเป็นที่สุดต่อไป 

     ตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาคนจัณฑาลที่ถูกคนในสังคมลงโทษไล่ออกจากที่พำนักตลอดชีวิต เพราะเป็นฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ พวกเขาต้องสูญเสียสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตว่าด้วยวรรณะ เป็นคนจัณฑาลที่ใช้ชีวิตตามท้องถนนไม่มีแหล่งพำนักแน่นอน เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาคนจัณฑาลเป็นปัญหาสำคัญของแคว้นสักกะ เพราะเป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในยุคนั้น พระองค์ทรงมีพระกรุณาอย่างยิ่งต่อชาวแคว้นสักกะด้วยการปฏิรูปสังคม โดยยกเลิกประเพณีการแบ่งชนชั้น เพื่อให้ชาวสักกะมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกัน  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งเป็นคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว พระองค์ก็ทรงได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะเพื่อทำงานตามหน้าที่และยังยืนยันข้อเท็จจริงว่า พราหมณ์ปุโรหิตในอดีตเห็นพระพรหมและพระอิศวรที่แคว้นสักกะมาก่อน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสถามถึงประวัติของพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีพราหมณ์ปุโรหิตคนใดตอบได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงวิเคราะห์หลักฐานทั้งหมด  จากคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่าแม้พราหมณ์ปุโรหิตจะให้การยืนยันถึงความมีอยู่จริงของพระพรหมและพระอิศวร แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสถามว่า ประวัติของพระพรหมและพระอิศวรก็ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานแล้ว พระองค์ทรงวินิจฉัยว่าแม้พราหมณ์ปุโรหิตซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและมีตำแหน่งปุโรหิตจะยืนยันข้อเท็จจริงถึงการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรก็ตาม แต่การที่พราหมณ์ปุโรหิตไม่สามารถตอบคำถามของเจ้าชายสิทธัตถะได้ในเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่า พราหมณ์ปุโรหิตแห่งแคว้นสักกะนั้นไม่มีความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เกี่ยวกับการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรและอธิบายไม่ได้ว่าขั้นตอนอย่างไร เพื่อเข้าถึงความจริงในการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรได้ แม้พราหมณ์อารยันจะอ้างอิงพราหมณ์ปุโรหิต (priest) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์เป็นประจักษ์พยานที่น่าเชื่อที่ ได้ยืนยันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความจริงของพระพรหมและพระอิศวรว่าเคยเห็นเทพเจ้าทั้งสองในแคว้นสักกะมาก่อน แต่เป็นคำกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ 

      เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้ว แต่ปรากฏเรื่องราวขึ้นในใจของผู้เขียน ยังไม่ชัดเจนและสงสัยว่ามนุษย์เป็นเจ้าของความรู้ในพระไตรปิฎกได้อย่างไร? ผู้เขียนรักที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา  คัมภีร์ต่างๆ และงานวิจัยอื่นๆ เป็นต้นเพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องความรู้ของมนุษย์ในพระไตรปิฎกบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคน เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผลและปราศข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไป และกระบวนการวิเคราะห์หลักฐาน จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยของนิสิตระดับปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา และสามารถนำความรู้ทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของชีวิตสมัยใหม่ได้อย่างลงตัวปราศจากข้อสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไปและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นต้น

      แต่โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนมีอคติอยู่ในจิตใจ ปัญหาของ "อคติ"คืออะไร ?  เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานจากพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า"อคติ" ไว้ว่าความลำเอียงแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ฉันทาคติเป็นความลำเอียงทางจิตใจเพราะความรัก, โทสคติเป็นความลำเอียงทางจิตใจเพราะความโกรธ,  ภยาคติเป็นความลำเอียงทางจิตใจเพราะความกลัว โมหาคติเป็นความลำเอียงเพราะความโง่เขลา  เป็นต้น นอกจากนี้แม้จิตใจของมนุษย์จะใช้อวัยวะอินทรีย์ ๖ ของร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้นในอดีตย้อนเวลากลับไปไม่ได้ หรือจุดที่เกิดเหตุการณ์ไกลออกไปในทะเล หรือดินแดนที่ห่างไกลออกไป   กล่าวคือ บุคคลที่ถูกอ้างเป็นพยานถึงความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นโดยปราศจากความรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตน เพื่อช่วยให้จำเลยพ้นผิดด้วยความลำเอียง เพราะรักจำเลยหรือผู้กระทำความผิด เมื่อพยานมีความลำเอียงในจิตใจ จึงมักจะให้การที่น่าสงสัย กระบวนการตรวจสอบจำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติม ทั้งพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคลและหลักฐานเอกสารดิจิทัลที่แชร์บนอินเตอร์เน็ต เมื่อนักปรัชญาได้รวบรวมหลักฐานเพียงพอแล้วจะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เหตุผล เพื่อสำหรับความเที่ยงตรงของคำตอบก็ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับเหตุผลของคำตอบ ที่ยืนยันความจริงของเรื่องอีกต่อไปคำตอบจะเป็นความรู้แท้จริงในเรื่องนั้น เพื่อสนองความอยากรู้ของมนุษย์ต่อไป แต่ความรู้ของมนุษย์ไม่ใช่แค่ความรู้เท่านั้น เพราะต้องนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ มิฉะนั้นจะเสียเงินเปล่าจึงควรลงทุนในการวิจัยและทดลองในหัวข้อที่น่าสนใจ เมื่อองค์ความรู้ในการพัฒนาและขยายเนื้อหาทางวิชาการให้มากขึ้น ก็นำไปใช้ในธุรกิจและสร้างหลักสูตรใหม่ได้  

        ความรู้ของมนุษย์   ในสมัยอินเดียโบราณนักปรัชญาสงสัยเกี่ยวกับความเชื่อในเทพเจ้า,เทวดา,และธรรมชาติอื่นๆ เป็นต้น เพราะมนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสในการแสวงหาชะตาชีวิตในแหล่งอาหารที่มีความอุดมไป ด้วยน้ำใช้ในการอุปโภคและบริโภคสัตว์น้ำและสัตว์ป่าเพื่อล่าเป็นอาหาร ฯลฯ พราหมณ์สอนชาวอารยันว่า สาเหตุที่ชาวอารยันค้นพบดินแดนอนุทวีปอินเดียที่อุดมด้วยน้ำ ที่มีสัตว์น้ำ และสัตว์ป่าเพื่อล่าสัตว์เป็นอาหารในการดำรงชีพ เพราะเหล่าทวยเทพดลใจให้พบดินแดนศักดิ์สิทธิแห่งนี้ เมื่อชาวอารยันสามารถยึดครองดินแดนแห่งนี้ได้ พระองค์ยังทรงปล่อยให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ในการใช้อำนาจอธิปไตยในดินแดนของตน เพื่อระลึกถึงคุณพระอิศวร พระพรหม ชาวอารยันจำเป็นต้องถวายเครื่องบูชายัญและสวดอ้อนวอนต่อเทพเจ้าเพื่อช่วยให้ชาวอารยันเจริญรุ่งเรืองเพียงผู้เดียว เมื่อพระพรหมเป็นความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทของมนุษย์และไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ แต่พราหมณ์อารยันสามารถใช้เหตุผลอธิบายความจริงของพระพรหมได้ การบูชาเทพเจ้าด้วยเครื่องสังเวยตามคำสอนของพราหมณ์ ได้นำความมั่งคั่งมาสู่นิกายต่าง ๆ ของพราหมณ์ เมื่อประโยชน์ของเครื่องสังเวยมีมูลค่าการตลาดสูงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพราหมณ์อารยันกับพราหมณ์ดราวิเดียนด้วยเหตุนี้ ปุโรหิตชาวอารยัน (Priesthood) จึงหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียน ไม่ให้ทำพิธีกรรมบูชายัญอีกต่อไปโดยให้คำปรึกษาแก่มหาราชาในแคว้นต่าง ๆ และกล่าวถึงเจตจำนงของพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่ของวรรณะตน เมื่อรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะได้ตรากฎหมายจารีตประเพณีด้วยวรรณะ และประกาศบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะในอาณาจักรแห่งรัฐสักกะ ต่อมามีผู้ละเมิดผิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยการแต่งงานข้ามวรรณะ จะถูกสังคมลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากสังคมต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนในพระนครใหญ่ เป็นต้น  

       มีปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่าพราหมณ์มีวิธีแสวงหาความรู้หรือไม่ เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ ได้ค้นพบข้อเท็จจริงว่าในสมัยก่อนพราหมณ์ในนิกายต่างๆ ได้ก่อตั้งสถานศึกษาของศาสนาพราหมณ์สำหรับวรรณะกษัตริย์จากเมืองต่าง ๆ เพื่อศึกษาและแสวงหาความรู้เพื่อการทำงานตามวรรณะตน  แม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะก็ยังทรงได้รับการศึกษาในสถาบันการศึกษาของครูวิศวามิตรเพื่อปกครองประเทศตามวรรณะที่พระองค์ประสูติดังนั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมราษฏร์ในพระนครกบิลพัสดุ์และทรงเห็นปัญหาที่ว่า "จัณฑาล" ถูกจำกัดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะในอาชีพ การศึกษาและการบูชาตามความเชื่อของตน การแต่งงานข้ามวรรณะของจัณฑาลจะถูกลงโทษโดยคนในสังคมขับไล่พวกเขาออกจากสังคมที่เคยอยู่อาศัย ต้องอยู่สองข้างทางในพระนครกบิลพัสดุ์ มีอาชีพรับจ้างคนชั้นสูงไปทิ้งขยะ ทำความสะอาดถนนและอยู่อย่างนั้นแม้ในวัยชรา เจ็บป่วยและตายข้างถนน ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงโทมนัสและไตร่ตรองถึงความทุกข์ยากของประชาชนเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคม โดยเสนอร่างกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะต่อรัฐสภาศากยวงศ์ แต่รัฐสภาศายวงศ์ไม่อนุมัติเพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสักกะที่เรียกว่า "ราชอปริหานิยธรรม" ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการบริหารประเทศ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าปัญหาของประเทศแก้ไขไม่ได้ด้วยระบบรัฐสภาศากยวงศ์เพราะกระทบผลประโยชน์ทางการเมืองของหลายวรรณะ เมื่อทรงพิจารณาถึงสาเหตุของปัญหาในประเทศ เกิดจากความเชื่อในพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์และนำหลักสอนของพราหมณ์ที่อ้างว่า พระพรหมสร้างวรรณะให้มนุษย์ไปตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะด้วยความเห็นชอบของรัฐสภาศากยวงศ์ เมื่อรัฐสภาตรากฎหมายใดแล้ว จะยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะไม่ได้เพราะเป็นข้อห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศ เมื่อปัญหาความทุกข์ของประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบการเมืองผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ได้ แต่ความชรา ความเจ็บไข้และความตายของผู้คนทุกวรรณะ ด้วยเหตุนี้เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงสงสัยว่าถ้าพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมา แต่ทำไมพระองค์ไม่สร้างมนุษย์ให้มีชีวิตอมตะเหมือนพระองค์และเมื่อพระองค์ทรงตรัสถามถึงประวัติความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวรแล้วไม่มีใครตอบพระองค์ได้เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์ให้พ้นจากความมืดมิดเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิตในสำนักการศึกษาต่าง ๆ ในแคว้นมคธเช่น สำนักของอาฬารดาบสและอุททกดาบส เป็นสถาบันการศึกษาเปิดสอนปรัชญาชีวิตในหลักสูตรสมถกรรมฐานขั้นสูงสุดระดับ"สมบัติ๘" เป็นต้น 

     การศึกษาของมนุษย์ในสมัยอินเดียโบราณ เป็นการแสวงหาความรู้ในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อร่างกายของมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ที่เชื่อมโยงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้น และจิตใจของมนุษย์เก็บหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ เมื่อเราวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในจิตใจ เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ  แต่คำตอบนั้นไม่ชัดเจนพอที่จะสรุปได้ว่าความรู้นั้นจริงหรือเท็จ แต่มนุษย์เชื่อในสิ่งที่คิดและรักที่จะศึกษาต่อไป จำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของพวกเขา ในสมัยก่อนพุทธกาลนักปรัชญาจะใช้หลักฐานเป็นพยานบุคคล (witness) ให้ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆแต่มนุษย์ก็มีอคติอยู่ในจิตใจจึงขาดความซื่อสัตย์สุจริตไม่สามารถรับฟังเป็นพยานบุคคลได้ ดังนั้นเมื่อเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องใด ๆ จากพยานบุคคลที่มีอคติจึงเป็นสิ่งที่น่าสงสัยในความจริงเรื่องนั้น มนุษย์จึงหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องอคติของมนุษย์โดยการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยมนุษย์ในการรับข้อมูลที่อยู่เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น ความรู้ของมนุษย์ได้มาจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของพวกเขาเท่านั้นและถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงของมนุษย์และพวกเขาใช้จิตใจของตนเองเป็นผู้คิดหาเหตุผลยืนยันความของคำตอบในเรื่องนั้น แต่คำตอบเชิงปรัชญาในหัวข้อเดียวกันนักปรัชญาหลายคนมีเหตุผลที่แตกต่างกัน ในการยืนยันความจริงของตำตอบตามความเข้าใจของพวกเขาคำตอบเชิงปรัชญาจึงไม่สามารถระบุได้ว่า คำตอบของนักปรัชญาข้อใดเป็นคำตอบที่แท้จริงเพราะทุกคำตอบนั้น  มีเหตุผลด้วยกันทั้งสิ้นแต่มีข้อสงสัยและข้อโต้แย้งทั้งหมดมนุษย์ได้คิดหาทางออก โดยการสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น การที่มนุษย์สร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้ทำให้เนื้อหาวิชาปรัชญาขยายออกไปจนเนื้อหาทางวิชาการแยกออกมาเป็นสาขาวิชาใหม่ๆ อีกมากมายเช่น พุทธปรัชญา พุทธศาสนา เรขาคณิต คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศกรรมศาสตร์เป็นต้น จนกระทั่งการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบคลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นโทรทัศน์และคลื่นไวฟายเป็นต้น  คลื่นเหล่านี้มีสภาวะที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์แต่มนุษย์สามารถสร้างโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องส่งและรับคลื่นเหล่านี้และแปลงเป็นภาพนิ่งวีดีโอและภาพยนตร์ได้ การสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นเครือข่ายสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้คน และการแบ่งปันความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้อื่นได้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ทำให้มีการใช้ความรู้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา 

       ด้วยข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ผู้เขียนได้ยินมาข้างต้น แต่เรื่องที่ปรากฏขึ้นใจของผู้เขียนไม่ชัดเจนเพียงพอว่าความรู้คืออะไร? และมีลักษณะอย่างไร? ผู้เขียนจึงตัดสินใจค้นคว้าข้อมูลเรื่อง"ความรู้ของมนุษย์ในพระไตรปิฎก" โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารในพระไตรปิฎกอรรถกถา คัมภีร์ต่าง ๆ และงานวิจัยอื่น ๆ เป็นต้น เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องความรู้ของมนุษย์ในพระไตรปิฎก บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผลและปราศข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไปและเมื่อศึกษาอย่างเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของตนเองแล้วว่ามนุษย์ว่าสัมพันธ์กับความรู้ได้อย่างไรแล้ว ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะสอนผู้อื่นเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของความรู้ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ