The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา(ตอน๓)

 ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก (ตอน๓)

๓.วิธีการแสวงหาความรู้ทางญาณวิทยา  

       โดยทั่วไปแล้วจิตมนุษย์จะใช้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖  อวัยวะในร่างกายของตนเองเพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงกับความรู้ในเรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  แต่ทำไมนักปรัชญายังต้องสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับมีวิธีแสวงหาความรู้ ?   เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงในชีวิตประจำวันในสังคมนั้น ๆ   หรือรับรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน  ปรากฏหลักฐานว่าข้อเท็จจริงที่ผ่านเข้ามาในชีวิตนั้นมีทั้งความจริงและความเท็จที่มิจฉาชีพสร้างเรื่องขึ้นมา  เพื่อหลอกลวงผู้อื่นโดยเจตนาทุจริตให้หลงเชื่อ  และยอมส่งมอบทรัพย์ให้โดยตรงหรือโอนเงินผ่านระบบธนาคาร  เป็นต้น  มีตัวอย่างมากมายหลายปรากฏบนโซเชียล มีเดียเกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ดังกล่าว    นักปรัชญาพุทธและนักปรัชญาตะวันตกหลายท่าน   ได้พยายามศึกษาความรู้ที่ถูกต้องและ  อะไรคือความรู้เป็นที่ยอมรับของนักปรัชญาพุทธ  และนักปรัชญาตะวันตก  ดังนั้นนักปรัชญาหลายคนจึงสร้างวิธีพิจารณาความจริงในขอบเขตความรู้ทางญาณวิทยา     เพื่อพัฒนาวิธีแสวงหาความรู้ญาณวิทยาที่ถูกต้องและสอดคล้อมกับข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น   เพื่อผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต             และยุติธรรมของทุกฝ่ายด้วยเหตุผลนี้ นักปรัชญาทั่วโลกมีแนวคิดทางญาณวิทยาว่าด้วยที่มาของความรู้ ๔  วิธีคือ 
๓.๑.วิธีการแสวงหาความรู้จากศรัทธา

   เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ คนอนุทวีปเชื่อคำสอนของว่าพระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์ต่อมานักปรัชญาพราหมณ์สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการกำเนิดโลกจากคำสอนของอาจารย์ตัวเอง  ทำให้เกิดความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าอย่างมีเหตุผล โดยการอนุมานความรู้จากความคิดที่มีเหตุผลของตนเองโดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานมาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น  ส่วนการติดต่อเทพเจ้าเพื่อขอช่วยเหลือมนุษย์นั้น ก็มีคำสอนของพราหมณ์เรื่องการปฏิบัติบูชายัญ ซึ่งเป็นหน้าที่ของวรรณะพราหมณ์เท่านั้น ส่วนผู้มิใช่พราหมณ์ไม่สามารถบูชายัญและสวดพระเวทได้ เพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักคำสอนในศาสนาพราหมณ์และหลักกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ หลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๓ [๓๖] ภัคควะก็เรารู้ชัดทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก เรารู้ชัดความเป็นมาของทฤษฎีนั้นและรู้ชัดยิ่งกว่านั้นและเมื่อรู้ชัดยิ่งกว่านั้นจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ชัดความดับด้วยตนเองที่เมื่อรู้ชัดตถาคตจึงไม่ดำเนินไปสู่ความเสื่อม 
      ๓๗] ภัคควะ  มีสมณพราหมณ์บางพวก ประกาศว่าด้วยทฤษฎีกำเนิดของโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างว่าพระอิศวรเป็นสร้าง? เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า"ทราบว่าท่านทั้งหลายบัญญัติทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างจริงหรือ ?"   
      สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้วยืนยันว่า"เป็นเช่นนั้น"เราจึงถามต่อไปว่า "พวกท่านประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกตามลัทธิอาจารย์ว่า พระอิศวรเป็นผู้สร้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมีความเป็นมาอย่างไร ? สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ได้กลับย้อนถามเรา เราถูกเขาถามแล้วจึงตอบว่า .......เป็นต้น

๓.๒วิธีแสวงหาความรู้ของเจ้าชายสิทธัตถะโดยพิจารณาความจริง

      เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากหลักฐานแล้ว  ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นจัณฑาล นักโทษผู้ต้องคำพิพากษาของคนในสังคมให้ไล่ออกจากสังคมที่ตนพำนักอาศัยไปตลอดชีวิต ในข้อหาฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะอย่างร้ายแรงเพราะขาดสติปัญญาในการควบคุมราคะของตนเอง จึงเกิดความสมัครใจรักใคร่และมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะ เป็นต้น เมื่อถูกสังคมลงโทษพวกจัณฑาลทั้งชายและหญิง ดำรงชีวิตเร่ร่อนแม้ในวัยชรา เจ็บป่วยและนอนตายอยู่ข้างถนน เป็นสาเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยว่าจัณฑาลมีความเป็นมาอย่างไร? เจ้าชายสิทธัตถะทรงสนพระทัยที่จะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับจัณฑาลต่อไป พระองค์สอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ และรวบรวมพยานหลักฐานจากคำให้การของพราหมณ์ ปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าสุทโธทนะด้วยพระองค์เอง  เมื่อพระองค์ทรงวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงได้ข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนว่าพระพรหมที่ชาวสักกะเคารพนับถือนั้น สร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์สร้างขึ้นนั้น  ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมาเท่านั้น  พราหมณ์ปุโรหิตรุ่นก่อนๆ ก็เคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามว่าพระพรหมและพระอิศวรผู้สร้างมนุษย์นั้นมีความเป็นมาอย่างไร ? แต่ไม่มีพราหมณ์คนใดตอบได้  เมื่อคำพยานของพราหมณ์ปุโรหิตมีข้อพิรุธน่างสงสัยเช่นนี้ก็แสดงให้เห็นว่าพราหมณ์ปุโรหิตเหล่านั้น ไม่มีความรู้เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเอง เกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าจึงไม่ทราบประวัติความเป็นของพระพรหมและพระอิศวร  เมื่อข้อเท็จจริงเรื่องนี้อันเป็นที่สุดแล้ว เจ้าชายทรงปฏิเสขการมีอยู่ ของเทพเจ้าและไม่เชื่อว่าคำสอนเรื่องทฤษฎีกำเนิดของโลกของพราหมณ์เป็นความจริง เป็นต้น

         ดังนั้น วิธีการแสวงหาความรู้โดยกระบวนพิจารณาความจริงของเจ้าชายสิทธัตถะจึงเริ่มต้นด้วยการตั้งปัญหา  เมื่อนักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นการมีอยู่ของเทพเจ้า การสร้างวรรณะของพระพรหมหรือเรื่องอื่น ๆ ก็ได้   เราควรสงสัยก่อนว่าไม่เป็นความจริง  จนกว่าจะมีการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นและรวบรวมพยานหลักฐานได้อย่างเพียงพอ มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงนั้นให้ชัดเจนว่าเป็นความจริงหรือความเท็จ เป็นต้น

ติดตามปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาครั้งแรกในพระไตรปิฎก (ตอน๔)

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ